อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ส่วนมากพบใน 2 วัย คือ
1. กลุ่มวัยทำงาน เช่น กรรมกร เป็นต้น
2. กลุ่มผู้สูงอายุ พบได้ค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เกิดจากไขข้อกระดูกสันหลังเสื่อม
กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกายและเป็นแกนหลักในการรับน้ำหนัก ซึ่งประกอบด้วย กระดูกสันหลัง 33 ชิ้น ได้แก่
ส่วนคอ 7 ชิ้น, ส่วนอก 12 ชิ้น ซึ่งจะเป็นที่ยึดเกาะของกระดูกซี่โครง
กระดูกสันหลังส่วนเอว 5 ชิ้น, กระดูกกระเบนเหน็บ 5 ชิ้น ซึ่งจะเชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว ส่วนล่างของกระดูกสันหลังเชื่อมกับกระดูกเชิงกรานซึ่งเป็นข้อต่อให้กับกระดูกขาทั้งสองข้าง
กระดูกสันหลังแต่ละปล้องเชื่อมต่อกันด้วย หมอนรองกระดูกและข้อต่อของตัวกระดูกสันหลังทำให้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ ในแกนกลางของโพรง กระดูกสันหลังเป็นที่อยู่ของไขประสาทสันหลัง ที่ต่อเนื่องมาจากสมองและมีแขนงเป็นรากประสาทสันหลัง ส่งไปเลี้ยงแขน ลำตัว และขา นอกจากนี้ยังมีเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ หลายๆ มัด และเนื้อเยื่ออ่อนยึดต่อเนื่องเป็นแผ่นหลัง
1.กล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งมักเกิดจากท่าทางของร่างกายที่ไม่ถูกต้อง
2.กล้ามเนื้อเคล็ดหรือฉีกขาด มักเกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรืออุบัติเหตุ
3.หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักพบในผู้ที่ก้มตัวยกของหนักมากเกินไป หรือบิดเอี้ยวตัวขณะยกของหนักเมื่อมีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก มักจะมีการกดทับ รากประสาททำให้มีอาการปวดหลังและปวดร้าวลงไปที่ขาตามแนวรากประสาทนั้นๆ
4.กระดูกหลังเสื่อมมีการหนาตัวของกระดูกสันหลังและเส้นเอ็น ทำให้โพรงกระดูกสันหลังกดรัดไขสันหลัง มักพบในผู้สูงอายุ มักจะมีอาการชาขาเวลาเดิน
5.การติดเชื้อ เช่น วัณโรคของกระดูกสันหลัง
6.เนื้องอก เช่น การกระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่น มาที่กระดูกสันหลัง
7.กระดูกสันหลังคด ทั้งที่เป็นเองแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลัง เช่น หิ้วของหนักมากข้างเดียวเป็นประจำ
8.ภาวะกระดูกพรุน มักจะทำให้มีการอาการปวดเมื่อยเมื่อมีการใช้หลัง เช่น ยืน นั่ง เดิน แต่เมื่อนอนจะไม่ค่อยมีอาการปวด และอาการจะมีการทรุดตัวของกระดูกสันหลัง ทำให้มี ลักษณะของหลังค่อม
9.ความเครียด อาจส่งผลถึงกล้ามเนื้อหลังทำให้มีอาการเกร็งและปวดหลังได้
10.อวัยวะภายใน เช่น ไตอักเสบ มดลูกอักเสบ นิ่วในไต หรือ ท่อไต
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ถ้ามีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูกบริเวณหลังหมอนรองกระดูกสันหลัง มักจะเริ่มต้นด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม หมายถึง การรักษาโดยไม่ผ่าตัดก่อน เสมอ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กระดูกสันหลังหักกดทับไขสันหลัง จำเป็นต้องได้รับ การผ่าตัดด่วนเพื่อไม่ให้เกิดภาวะอัมพาต
การรักษาแบบอนุรักษ์นิยมได้แก่
1.การพัก เป็นการนอนพักโดยที่สามารถลุกนั่ง ทานอาหารและเข้าห้องน้ำได้ ในกรณีที่ ปวดหลังจากสาเหตุทั่วไป การพักจะทำให้อาการดีขึ้นได้ภายใน 1-2 วัน
2.การบริหารยา ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ Steroid ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์โดยใกล้ชิด
3.การทำกายภาพบำบัด หรือการให้การฟื้นฟูสภาพเพื่อรักษาอาการปวดหลังนั้น ได้แก่ การใช้เครื่องมือเพื่อให้ความร้อน ความเย็น หรือเครื่องมือในการดึงหลัง หรือกระตุ้นกล้าม เนื้อด้วยไฟฟ้า เพื่อบรรเทาอาการปวด อักเสบที่หลัง
4.สำคัญที่สุดของการฟื้นฟูสภาพหลัง คือ การให้การบริหารกล้ามเนื้อ ที่เหมาะสมในแต่ละรายการ ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การทำกิจวัตรประจำวัน หรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง
ซึ่งการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ ก็เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้ดีเพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังเป็นกล้ามเนื้อที่คอย ตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้มีการเคลื่อนไหวมากเกินไป การควบคุมปัจจัยเสื่ยงอื่นๆ เช่น น้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป หรือไม่ให้รูปร่างอ้วนเกินไป เพราะการที่มีรูปร่างอ้วนจะทำให้แนวกระดูกสันหลังเปลี่ยนไป การรักษาด้วยการผ่าตัดจะพิจารณาทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน
ที่มา : หนังสือห่วงใย รพ.สุขุมวิท แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
วันที่: Wed Jan 15 14:56:20 ICT 2025
|
|
|