กลยุทธ์ชนะใจคน Dealing with difficult People
นายกปู องค์ลง ประชาชนเฮ ได้ตัง กบฏเมือกล้ม ปชช.เสียตัง
พาหุรัด
รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com
รัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "ถนนพาหุรัด" ขึ้น โดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 10 ปี
ทรงให้สร้างถนนขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทาน และพระราชทานนามถนนว่า ถนนพาหุรัด ตามพระนามพระราชธิดา ปัจจุบันถนนพาหุรัดอยู่ในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ (สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร (สี่แยกพาหุรัด) จนถึงถนนจักรเพชร
ถนนพาหุรัดในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้การคมนาคมสะดวกสบายขึ้น จึงมีผู้คนมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย โดยเฉพาะชาวอินเดียซึ่งเดิมค้าขายผ้าอยู่แถบบ้านหม้อ วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์) ได้อพยพเข้ามาทำมาหากินในแถบพาหุรัดกันมากขึ้น
ที่ดินบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นของวัดเลียบ (วัดราชบุรณราช วรวิหาร) มีที่ดินเอกชนบ้างก็ไม่มากนัก ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดลงบริเวณสะพานพุทธ วัดเลียบและโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า แต่บริเวณโดยรอบเป็นตึกแถวขายเสื้อผ้ายังคงอยู่
ในช่วงนี้มีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขายข้าวปลาอาหาร แต่ไม่มากนัก ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าตลาดปีระกาที่อยู่ในเวิ้งนาครเขษม และตลาดบ้านหม้อซึ่งเป็นตลาดใหญ่กว่าและเปิดมานานแล้ว ซึ่งสุดท้ายก็ไปไม่รอด ต้องเลิกไปโดยปริยาย แต่กิจการขายผ้าของชาวอินเดียเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ มีการสั่งผ้าจากต่างประเทศ ทั้งยุโรป อเมริกา และอินเดียเข้ามาจำหน่าย ผ้าที่ได้รับความนิยมเป็นพวกผ้าชีฟองและผ้าลูกไม้ชั้นดีจากเมืองนอก
ช่วงหลังมีพ่อค้าชาวจีนในสำเพ็งขยับขยายออกมาสร้างตึกแถวขายสินค้าบนสองฟากถนนพาหุรัด เข้ามาแบ่งตลาดการค้าเสื้อผ้าจากกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดีย แต่กลุ่มพ่อค้าชาวอินเดียก็ยังคงรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น รักษาวัฒนธรรมประเพณี การแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน การยึดมั่นในพิธีกรรมตามหลักศาสนา โดยมีคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภาเป็นศาสนสถานสำคัญของชาวซิกข์ มียอดโดมสีทองอร่ามสูงเด่นเป็นสง่า
แรกที่ชาวซิกข์จากอินเดียเดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้เข้ามาค้าขายผ้า เริ่มตั้งแต่เดินเร่ขายไปตามบ้านเรือนต่างๆ กระทั่งตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่แถวบ้านหม้อ พาหุรัด ฝั่งพระนคร ก่อนกระจายไปอยู่ย่านสี่แยกบ้านแขก วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี รวมทั้งออกไปตามจังหวัดใหญ่ๆ เช่น อุดรธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต
นอกจากชาวซิกข์แล้ว ในย่านพาหุรัดยังมีชาวฮินดูและชาวมุสลิมตามตรอกซอกซอยระหว่างถนนจักรเพชรกับถนนตรีเพชรจะพบวิถีชีวิตผู้คนที่ยังคงรักษาความเป็นอินเดียไว้อย่างเหนียวแน่น มีร้านค้าขายเสื้อผ้า ส่าหรี อาหาร เครื่องเทศ ข้าวของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของใช้จำเป็นของชาวอินเดีย และยังมีร้านขายเครื่องหอม ของชำร่วย ร้านขายเครื่องเขียน รวมทั้งร้านขายที่นอนหมอนมุ้งเก่าแก่
ทุกวันนี้ถนนพาหุรัดเป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลาย ทั้งผ้าตัด อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ทั้งชุดไทย ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี นอกจากนี้ พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆ ที่ยังคงดำเนินวิถีแบบภารตะ เป็นที่มาของชื่อ "ลิตเติ้ล อินเดีย เมืองไทย"
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- พฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2557 00:00:28 น.
"ผมมองอย่างนั้น" ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ตอบทันทีเมื่อนักข่าวถามว่า...แสดงว่าหลังสงกรานต์มีเรื่องแน่
ก่อนที่จะตอบประโยคนี้ออกมา ร.ต.อ.เฉลิม รมว.แรงงาน ให้สัมภาษณ์นักข่าว เช้า 12 มี.ค.2557 ถึงประเด็นที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ระบุว่า ตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค.สถานการณ์จะรุนแรง
"ผมเป็นคนไม่ค่อยเชื่อหน่วยงานด้านความมั่นคง แต่มีแหล่งข่าวของตัวเอง สำคัญที่สุดประมาณกลางเดือนเมษาฯ ป.ป.ช.จะชี้มูลคดีรับจำนำข้าวแล้ว ส่วนผลจะออกมาอย่างไรไม่ทราบ ผมเป็นห่วงนายกฯ เรื่องนี้ ส่วนกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ถ้าไม่ได้ก็ไม่มีเงินมาพัฒนาประเทศ รัฐบาลไม่เห็นต้องรับผิดชอบอะไร รอ ป.ป.ช.อย่างเดียว ตรงอื่นไม่มีอะไร เมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูลเรื่องข้าว และนายกฯ ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ แม้จะมีรองนายกฯ รักษาการ แต่ก็จะเกิดผลกระทบต่อรัฐบาล ผลกระทบมี เพราะนายกฯ ได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง ถ้าเอาคนอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐบาลจะเซและทรุด ซึ่งอันตราย ผมถึงบอกว่า ถ้า ป.ป.ช.ตัดสินมีเหตุผล ความรุนแรงจะไม่เกิด แต่ถ้าตัดสินค้านสายตาคนดู มีเรื่องแน่ เพราะผู้รักความเป็นธรรมเขามี ไม่ได้มองว่าเป็นคนเสื้อแดงอย่างเดียว แต่คนทั้งประเทศเขาดูอยู่ ในทางปฏิบัตินายกฯ ไม่เกี่ยว ไม่เช่นนั้นต่อไปใครจะเป็นรัฐบาล มีนโยบายอะไรต้องไปขออนุญาต ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ และ กกต.อย่างนั้นหรือ"
ร.ต.อ.เฉลิม พูดได้ดีมาก และเพราะ "นายสบาย" ติดตามสถานการณ์เกาะติดรู้เป็นอย่างดีว่า ฝ่ายสนับสนุนนายกฯ ปู ได้เตรียมการอะไรไว้บ้าง จะไม่ให้รับคำตัดสิน แล้วขึ้นไปตั้งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นทางเหนือกับอีสาน...แล้วกรุงเทพฯ ก็จะกลายเป็น fail state ของแท้
"นายสบาย" เคยเขียนย้ำหลายครั้งแล้วว่า...ที่เขียนมาทั้งหมดเพราะไม่อยากให้เกิดสงคราม กลางเมือง และเคยเขียนฝากท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปบอกชนชั้น Elite ไทยด้วยว่า "คนจนไทยไม่มีสมบัติ" ถ้าเกิดสงครามกลางเมือง คนจนจะไม่สูญเสีย เพราะไม่มีทรัพย์สิน
ฝ่ายปราบปรามที่เหนือกว่ามาก...ฆ่าตายเป็นเบือ วันนี้ขอเขียนย้ำอีก บอกแก่ชนชาว Elite ไทยว่า พวกท่านทุกคนมีที่ดินอยู่ทางเหนือกับอีสานเยอะมาก ทุกคนมีสินค้าที่ส่งขึ้นไปขายเหนือ-อีสาน
ถ้าเกิดสงครามกลางเมืองท่านจะขึ้นไปดูที่ดินของท่านไม่ได้ จะส่งสินค้าของท่านขึ้นไปขายไม่ได้
ประชานิยม คือ สิ่งที่อำมาตย์กับ Elite เชื่ออย่างหัวปักหัวปำว่า ทำให้ประชาชนคนยากจนในชนบทรักทักษิณมากกว่า
จึงทำลายประชานิยม 30 บาทรักษาทุกโรคของทักษิณ เป็นประชานิยมที่ได้ผลที่สุด คนบ้านนอกที่เคยไม่กล้าไปหาหมอเพราะไม่มีเงิน ก็ได้ไปหาหมอ ทำให้ผู้ค้าเวชภัณฑ์ถูกทุบ โรงพยาลบาลเอกชนที่แพงมากก็ลูกค้าลดน้อยลงเพราะชนชั้นกลางก็ใช้ 30 บาทรักษาทุกโรคเช่นกัน บุคลากรสาธารณสุขจึงโดดเข้าร่วมขยี้ทักษิณทันที เมื่อม็อบผุด
ชาวนา เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดของทุกประเทศ ในจีนเริ่มต้นพรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่มีชาวนาร่วมก่อตั้ง แต่ "เหมา เจ๋อ ตุง" ที่ร่วมกับพวกรวม 13 คนผู้ก่อตั้ง พคจ.ก็ได้อ้าแขนรับสมาคมชาวนาเข้าร่วมการปฏิวัติ
ที่ดินให้ชาวนาทุกคน และเหมาก็แจกจริง ซึ่งหลังยึดจีนได้ชาวนาทั่วประเทศจีน ได้เข่นฆ่าเจ้าของที่นาเจ้าของที่ดิน อย่างโหดร้ายมาก
เอาเรื่องชาวนาจีนมาเขียนก็เพื่อที่จะบอกแก่ชนชั้น Elite ไทยในขณะนี้ว่า...อย่าต้อนชาวนาให้จนตรอก
ชาวนาไทยถูกพ่อค้ากับโรงสีข่มเหงมาชั่วชีวิต เมื่อทักษิณมาเป็นรัฐบาล เอาประชานิยมมาใช้ ช่วยชาวนาด้วยการรับจำนำข้าวเกวียนละ 15,000 บาท ทำให้ชาวนาได้เงินเยอะมาก
จำนำข้าวของทักษิณหมดอายุแล้ว 28 ก.พ.2557 และขณะนี้ราคาข้าววูบลงเหลือเกวียน 6,000 บาท
การปิดล้อมกระทรวงพาณิชย์ และตัดไฟ เช้า 12 มี.ค.2557 ทำให้การประมูลขายข้าว 240,000 ตัน เพื่อที่รัฐบาลปูจะได้มีเงินไปจ่ายค่าข้าวให้ชาวนาที่รออยู่...ล่มทันที
ชาวนาไม่ได้โง่นะ.... ชาวนารู้...ชนชั้นใดบงการ เป็นการบงการให้ทำลายประชานิยมของทักษิณ การทำอย่างนี้คือการต้อนชาวนาไทยให้จนตรอก ข้าวเกวียนละ 6,000 บาทในขณะนี้ชาวนาอยู่ไม่ได้ อย่าคิดว่าระบอบคอมมิวนิสต์ไม่มีแล้ว "เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ" ไม่ได้มีระบอบคอมมิวนิสต์อย่างเดียว
ฤดูปลูกข้าวใหม่ถ้าทักษิณรับจำนำข้าวไม่ได้อีก เพราะถูกสกัดกั้นทำลาย แล้วชาวนาขายข้าวได้แค่เกวียนละ 6,000 บาท มันไม่พอกับทุน ชาวนาก็ต้องสู้
ย้ำ.... เขียนแล้วเขียนอีกด้วยหวังดี ชนชั้น Elite ไทย คือ ผู้ที่กำลังต้อนชาวนาให้ก่อสงครามกลางเมือง
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- พฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2557 00:00:21 น.
มีความประทับใจรูปของท่านเลขาธิการ กปปส.รูปนี้มาก ลงอยู่ในเว็บบอร์ดฝ่ายเชียร์ท่านสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งผมเข้าใจว่า คนมวลมหาประชาชนเป็นคนถ่ายรูป เช้า 12 ม.ค.2557 ขณะเตรียมจะเข้าเสวนา วันที่ 2 ที่ศูนย์เยาวชนสวนลุมพินี และโพสต์เข้ามา พร้อมเขียนไว้ด้วยว่า
เรารักลุงกำนันค่ะ แม้ว่าแกนนำคนอื่นๆ จะลงใต้ไปเตรียมหาเสียงเลือกตั้ง ส.ว.กันแล้ว เพื่อชาติเราต้องชนะแน่นอนค่ะ
อ่านแล้วใจหายครับ ผมมีความไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างมาก จึงขอถามลุงกำนันสุเทพดังนี้ครับ
ฝ่ายพรรคเพื่อไทยเขาออกข่าวมาแล้วว่า ยอมรับคำตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 เป็นโมฆะ
ผมไม่เข้าใจครับลุงกำนัน ดูจากข้อเขียนของคนที่โพสต์รูปนี้ เธอคงใจหายในแง่ที่ว่า แกนนำคนอื่นกลับใต้ จึงเกิดความรู้สึกว้าเหว่
ตั้งใหม่ และประชาธิปัตย์ลง ผู้สมัคร ส.ส.ทุกคนก็ต้องกลับบ้านไปหาเสียงเลือกตั้ง ที่สวนลุมพินีก็เ หงาเลย
ผมจึงถามลุงว่า ขณะนี้ปฏิรูปการเมืองเสร็จหรือยัง ถ้าหากเลือกตั้งเป็นโมฆะ แล้วจัดเลือกตั้งใหม่ ลุงกำนันจะรับได้หรือไม่ จะยอมรับหรือไม่
ทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์ละเอียด พ.ร.บ.กู้เงินฯ ปรับอย่างไรให้เดินถูกทาง- คุ้มค่า
ในเวทีเสวนาสาธารณะ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ: เดินหน้าอย่างไรให้ถูกทาง โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตย ที่จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) โครงการวิเคราะห์และติดตามร่างกฎหมาย (ThaiLawWatch) ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ณ ห้องประชุมชั้น 2 ทีดีอาร์ไอ
ดร.สมชัย จิตสุชน ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการทีดีอาร์ไอ และดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ ประธานกรรมการบริษัท มาเก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด ร่วมกันนำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะต่อร่างพ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยมุ่งเน้นการประเมินถึงผลกระทบต่อการคลังของประเทศ ความเหมาะสมของโครงการ และการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาวดังกล่าว
มุ่งขนคนมากกว่า ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
เปิดเวทีนำเสนอที่ ดร.สมชัย กล่าวถึงพ.ร.บ.กู้เงินฯ โดยแสดงความเห็นด้วยกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในระยะยาว เพราะนอกจากช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังช่วยกระจายฐานการผลิตไปสู่ภูมิภาค
ดร.สมชัย มองเห็นข้อดีของร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฯ คือ เห็นความต่อเนื่องของโครงการลงทุน, ช่วยให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจและวางแผนล่วงหน้าได้ รวมทั้งมีส่วนช่วยยกระดับการลงทุนโดยรวมให้หลุดพ้น "หล่มการลงทุนต่ำ" ที่เป็นมาตั้งแต่ปี 2540 แต่ก็มีข้อท้วงติง เมื่อดูไส้ใน พบว่า วงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้น เกินครึ่งใช้เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งผู้โดยสาร เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าเขต กทม. ปริมณฑล
หากโจทย์ใหญ่ของประเทศไทยต้องการลดต้นทุนโลจิสติกส์จริงๆ แต่กลับไปเน้นการพัฒนาระบบการขนส่งรถไฟความเร็วสูง โดยมีวัตถุประสงค์ คือการขนคนเป็นหลักนั้น ดร.สมชัย ถามว่า แล้วการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเม็ดเงินมหาศาลขนาดนี้ จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ เรื่องการขนของ การขนส่งสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศได้หรือไม่
"อย่าลืมว่า ภาพใหญ่ประชากรของไทย ไม่เกิน 10 ปี ประชากรไทยจะอยู่ในช่วงขาลง การหวังมีหัวเมืองใหญ่ๆ 20 เมือง น้องๆ กรุงเทพฯ จึงมีความเป็นไปได้น้อยมาก ฉะนั้น ความคุ้มทุนในระยะยาว จึงควรมีการศึกษาให้ดีด้วย"
และแม้จะมีการพูดกันว่า รถไฟความเร็วสูงขนสินค้าได้ด้วยนั้น ดร.สมชัย ยกกรณีในต่างประเทศ ที่มีการใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้า แต่ก็เป็นสินค้าชนิดเบาๆ ทำในช่วงเวลากลางคืนที่มีผู้โดยสารน้อย สุดท้ายก็ไม่ได้ตอบโจทย์การลดต้นทุนโลจิสติกส์ในระยะยาวแต่อย่างใด
ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน ในฐานะนักวิจัย มีข้อเสนอให้เพิ่มสัดส่วนการลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้มากกว่านี้ เช่น รถไฟรางคู่
ส่วนข้อกังวลต่อแนวทางร่าง พ.ร.บ.นี้ ก็มีทั้งการเสนอเป็นเงินกู้นอกงบประมาณ ทำให้อำนาจการตัดสินใจใช้เงินแผ่นดินจำนวนมากตกอยู่กับฝ่ายบริหาร ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีโอกาสให้ความเห็นชอบตาม พ.ร.บ.นี้เพียงครั้งเดียวในระยะเวลา 7 ปี เศษ
รวมถึงโครงการจำนวนมากยังไม่ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงิน เศรษฐกิจ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งหากโครงการดำเนินการไม่ได้หรือล่าช้าความต่อเนื่องที่ตั้งใจให้เกิดจะไม่เกิดจริง หรือหากมีการเร่งรีบสรุปผลการศึกษาเพื่อให้โครงการเกิดทัน 7 ปี ทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุน
ลงทุนไม่คุ้มค่า GDP ระยะยาวหดตัว
สำหรับผลกระทบต่อฐานะการคลัง ดร.สมชัย มีความเห็นว่า ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของโครงการลงทุน หากลงทุนคุ้มค่า ไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ ก็ต้องจับตาดูผลกระทบต่อภาระทางการคลัง สุดท้าย เมื่อมีการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านนี้มาแล้ว หนี้สาธารณะต่อรายได้ประชาชาติ (Public Debt/GDP) เป็นอย่างไร
"ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของโครงการลงทุน ณ วันนี้ ยังไม่แน่นอน และเสี่ยงต่อการประเมินในด้าน "ดี" เกินควร เราจะเห็นว่า ครึ่งหนึ่งของเม็ดเงินโครงการนี้ ยังไม่มีการศึกษาความคุ้มค่า ซึ่งก็น่าเป็นห่วง อีกทั้งรัฐบาลไม่มีการเสนอแผนการสร้างรายได้อื่นๆ เลย ว่า เงิน 2 ล้านล้านบาท ใช้จ่ายไปแล้ว จะมีรายได้จากส่วนใดมาเพิ่มบ้าง เช่น มีการปรับโครงสร้างภาษีต่างๆ หรือไม่"
และไหนๆ รัฐบาลจะมีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแล้ว ดร.สมชัย เสนอว่า ก็ควรมีการจัดสรรเงินล็อตแรกเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทุกโครงการ โดยหน่วยงานที่เป็นกลางและมีผู้ตรวจสอบอิสระ เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปอย่างถูกทิศถูกทาง
ห่วงโครงการไม่คุ้มทุน แนะวิเคราะห์ให้ละเอียด
ขณะที่ดร.สุเมธ ตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมและคุ้มค่าของการลงทุนและการบริหารจัดการ โดยเห็นว่าการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ที่เป็นรถไฟทางคู่ ทั้งทางเก่าและทางใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรเร่งดำเนินการมากกว่ารถไฟความเร็วสูง ที่ยังต้องพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนอย่างละเอียด เพราะถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากยังไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study)
"การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาเรื่องของความจุถนนในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ยังขาด คือแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการระบบรางที่ยังไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ตามหากรัฐจะอุดหนุนระบบขนส่งทางราง ก็ต้องมีความชัดเจนเรื่องหนี้สะสมและหนี้จากการลงทุนระบบรางใหม่"
ดร.สุเมธ ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการขนาดใหญ่ ว่า มักมีปัญหาเรื่องต้นทุนโครงการที่สูงกว่าที่คาดการณ์ แต่ผลประโยชน์ที่ได้รับน้อยกว่าที่คาดการณ์ เมื่อโครงการเริ่มดำเนินการ
เช่นเดียวกับการคาดการณ์ผู้ใช้งานจริงที่ ก็มักสูงกว่าปกติ เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่อันตราย เสี่ยงต่อการขาดทุนในอนาคต ฉะนั้น ในโครงการขนาดใหญ่ควรมีการวิเคราะห์ที่เข้มข้น และมีความรับผิดชอบ (Accountability)
ดังนั้น การวิเคราะห์โครงการลงทุนขนาดใหญ่ให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องสร้าง "ความรับผิดชอบ" ในส่วนของการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชน และควรตั้งหน่วยงานที่เป็นกลางมาดำเนินงานแทนอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน พร้อมด้วยกลุ่มผู้ตรวจสอบอิสระมาร่วมวิเคราะห์อย่างละเอียด เปรียบเทียบกับการประมาณการในวิธีอื่นๆ หรือโครงการอื่นๆ เพื่อลดปัญหาด้านแรงจูงใจของหน่วยงานเจ้าของโครงการที่จะผลักดันโครงการ รวมถึงควรมีการเปิดเผยผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการต่อสาธารณชนด้วย
ดร.สุเมธ ยังกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้รถไฟความเร็วสูงคุ้มค่าที่จะลงทุนว่า ต้องให้ความสำคัญกับปริมาณการจราจรและผู้โดยสาร อย่างในกรณีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ซึ่งมีการตั้งคำถามมากถึงการลงทุนกับความคุ้มค่านั้น มีการศึกษาของนักวิจัยชาวอังกฤษปี 2009 ระบุว่า รถไฟความเร็วสูงจะประสบความสำเร็จต้องมีการเชื่อมโยงโครงข่ายที่ดี
ขณะที่ประเทศไทย เปรียบเทียบการเดินทางอากาศที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด คือ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ที่มีอยู่ประมาณ 4-5 ล้านคนต่อปี ส่วนนี้สามารถดึงผู้โดยสารจากการเดินทางทางอากาศมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูงได้พอสมควร
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้รถไฟความเร็วสูงคุ้มค่าที่จะลงทุนนั้น เฉลี่ยแล้วขั้นต่ำที่สุด ปีแรกที่เปิดดำเนินการอย่างน้อยต้องมีผู้โดยสาร 3 ล้านคนต่อปี (กรณีค่าก่อสร้างต่ำ) แต่หากต้นทุนค่าก่อสร้างสูง (เป็นปกติ) จำนวนผู้โดยสารที่คุ้มทุน จะอยู่ที่ 9 ล้านคนต่อปี
กู้เงินนอกงบฯ มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย
ด้านดร.นิตินัย วิเคราะห์งบประมาณของประเทศ 80% ตัดลดไม่ได้ เพราะรัฐบาลในอดีตสร้างนโยบายประชานิยมไว้จำนวนมาก
ดูได้จาก 3 กองทุนใหญ่ กองทุนหมู่บ้านฯ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และ กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กลาย เป็นภาระ 88% ของภาระงบประมาณที่ให้กับกองทุนเงินนอกงบฯ ทั้งหมด (100 กว่ากองทุน) จนทำให้ "พื้นที่ทางการคลัง" (fiscal space) เฉลี่ยปี 2550-2556 หายไปจากการหมักหมมของนโยบายประชานิยม กลายเป็นดินพอกหางหมู
"ปัจจุบันต้องยอมรับว่า เราเก็บภาษีมา 100 บาท แทบไม่ได้เอาไปพัฒนาอะไรเลย เพราะต้องนำไปจ่ายงบฯ ที่ตัดไม่ได้ ซึ่งตลอด 4 ปี (2552-2555) การกู้เงินชนเพดานจากประชานิยมในอดีต ทำให้สัดส่วนการลงทุนภาครัฐของเราอยู่แค่ 1.26 % ขณะที่เพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามโตเฉลี่ย 7.25% และมาเลเซีย 8.81%"
สุดท้ายดร.นิตินัย มองมุมต่างถึงการที่ร่างพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินนอกงบประมาณนั้น มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ซึ่งไม่ใช่ปัญหาน่ากังวลหากมี Post-audit ที่ดี ทั้งนี้ อยากให้จับตาดูความสำเร็จของโครงการในเชิง Output Outcome มากกว่า การไปโฟกัสเฉพาะโครงการ 2 ล้านล้านบาท จนลืมแกนหลัก งบประมาณแผ่นดิน ความซ้ำซ้อนของโครงการ 2 ล้านล้านบาท เป็นโครงการใหม่หรือซ้ำซ้อนกับงบประมาณปกติ หรือไม่ เป็นต้น
นักภูมิศาสตร์การเมืองชั้นนำระด
เนื่องจากการแย่งชิงอำนาจของกลุ
และจีนจะอาศัยความได้เปรียบทางภ
อเมริกาไร้ทางสู้ครับ
โครงการเมกะโปรเจ็กต์แบบ 2.2 ล้านล้าน จะต้องเกิดขึ้นแถวๆ นี้อย่างแน่นอน (อาจจะผ่านพม่า)
ประเทศที่มีรางรถไฟผ่านจะได้ผลป
แต่ชิ้นปลามันจะตกไปอยู่กับจีนแ
เมื่อคืน ไอ้ห้อยเนวิน พาชาวนาบุรีรัมย์ มาขึ้นเวทีสวนลุม
อัญชะลี ไพรีรักษ์ สัมภาษณ์ชาวนา บนเวทีปราศรัย
ปอง: จำนำข้าว ดีไม๊คะ
ชาวนา: ดีครับ
ปอง: ดีอย่างไรคะ
ชาวนา: จำนำข้าวได้ราคาดี
ปอง:ได้เท่าไหร่คะ
ชาวนา: ตันละหมื่นสาม ถึงหมื่นสี่ ขึ้นกับความชื้น
ปอง:ได้เงินเร็วไม๊คะ
ชาวนา: สองปีแรก ได้เงินเร็ว เอาใบประทวนไปขี้นเงิน สามวันก็ได้เงินแล้ว
แต่ปีนี้ 3 เดือนแล้วยังไม่ได้เงิน
ปอง กลัวหน้าแหก ไม่กล้าถามต่อ
ว่ารู้ไม๊ ทำไมปีนี้ ยังไม่ได้เงิน
วันที่: Fri Nov 15 15:49:02 ICT 2024
|
|
|