Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

การปฎิวัตฝร้่งเศษ

ArjanPong | 03-02-2557 | เปิดดู 2519 | ความคิดเห็น 0

 

                                         

 

 

           การปฎิวัติฝรั่งเศษ

 

 

 

                                 

 

 

 

 การเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งใหญ่ของโลกมนุษย์ทุกวันนี้ มีที่มาจากปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปและอเมริกา จนในที่สุดนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นั่นก็คือการปฏิวัติประชาธิปไตยของนายทุน อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากสังคมการผลิตแบบศักดินามาสู่ยุคการผลิตแบบทุนนิยมสมัยใหม่ จนทำให้สังคมขับเคลื่อนมาสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่สำคัญ จนทำให้สังคมโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่อาณาเขตและพรมแดนระหว่างประเทศต่างๆผนวกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเช่นทุกวันนี้

                การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อันเป็นที่มาของหลักสิทธิเสรีภาพและระบอบรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาสุ่การสถาปนารัฐทุนนิยม ก็คือการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อปี คศ. 1789 (พ.ศ 2334) ถือเป็นแม่แบบการปฏิวัติเปลี่ยนผ่านสังคมแบบศักดินา มาเป็นทุนนิยม

                ระบบศักดินา เป็นสังคมที่พัฒนามาจากสังคมทาส เมื่อบรรดาทาสก่อการลุกขึ้นสู้ ก่อการกบฏ เพื่อปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสด้วยรูปแบบต่างๆ จนในที่สุด นายทาสถูกความจำเป็นให้ต้องแบ่งที่ดินของตนออกไปเป็นแปลงเล็กๆให้กับทาสและชาวนา เพื่อทำการกดขี่ขูดรีดในรูปแบบการเกณฑ์แรงงานและการส่งค่าเช่า หรือการแบ่งปันผลิตการเกษตรให้กับเจ้าศักดินา ระบอบการปกครองแบบสมบูรณายาสิทธิราชสถาปนาขึ้นมาในสังคมแบบศักดินาที่มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้ครอบครองผืนดินทั้งหมดและแบ่งปันการถือครองที่ดินให้กับขุนนาง ลดหลั่นกันไปจนถึงระดับทาส-ไพร่ติดที่ดิน ในสังคมแบบศักดินาจึงมีการรบพุ่งฆ่าฟันกัน มีการเกณฑ์ทหารเพื่อให้ออกไปรบแย่งชิงหรือปล้นสะดมครอบครองดินแดนของคนอื่น ขยายอาณาเขตการปกครองของระบอบขุนนางให้กว้างขวางออกไป ทำการกวาดต้อนเชลยข้าศึกให้เข้ามาเป็นทาส ? เป็นไพร่ ทำงานแบบบีบบังคับให้กับรัฐศักดินา

                แต่เมื่อสังคมมีการพัฒนาพลังการผลิตที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น หัตถกรรมพื้นฐานที่รับใช้การเกษตร จึงค่อยๆแยกตัวเป็นอิสระจากเกษตรกรรม กลุ่มพ่อค้า นายภาษีอากรและขุนนางส่วนหนึ่ง ทำการผลิตและการพาณิชกรรมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนนำมาสู่การคิดค้นเครื่องจักรทันสมัย ดังเช่นการประดิษฐ์เครื่องจักรกลไอน้ำ ที่นำมาใช้เป็นพลังขับเคลื่อนของการผลิตขนาดใหญ่ เป็นที่มาของโรงงานอุตสาสหกรรม ทำให้มีความจำเป็นของการใช้แรงงานเสรีมากยิ่งขึ้น แต่ในระบบศักดินา แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานทาส-ไพร่ติดที่ดิน ที่ถูกครอบครองและควบคุมโดยเหล่าเสนาอำมาตย์ขุนน้ำขุนนางทั้งหลาย โดยที่ทาส-ไพร่เหล่านี้ปราศจากสิทธิเสรีภาพอย่างสิ้นเชิง

                เหล่าขุนนางในยุคศักดินา ครอบครองทรัพย์สินมหาศาล ได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษี ในขณะที่รัฐศักดินาใช้กำลังทหาร เข้าไปรีดนาทาเร้นเก็บภาษีและค่าเช่าที่ดินสูงจากชาวนา รวมทั้งการเกณฑ์แรงงานให้เข้าไปทำงานให้พวกเหล่าขุนนาง พวกชนชั้นกลางและพ่อค้าซึ่งกำลังก่อตัวขึ้นจากการเฟื่องฟูของเมืองและการค้าทางทะเล จึงเกลียดชังอำนาจ สิทธิพิเศษของพวกขุนนางและอำนาจที่เกินขอบเขตของเหล่าชนชั้นสูง

                สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศส สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ คือ ฐานันดรที่1 กษัตริย์และ ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน ฐานันดรที่ 2. นักบวช มีประมาณ 115, 000 คน ฐานันดรที่สาม (tiers ?tat) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น) สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

                ระบบการบริหารประเทศล้าหลังของผู้นำฝรั่งเศสในยุคนั้น ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ ( อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน , การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส  ค.ศ.1789

                เหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1789 หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการ เมือง การปกครองที่สำคัญ เพราะเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของกษัตริย์ใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นแทน

                สาเหตุของการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส  ค.ศ.1789  สรุปได้ 3 ประการ คือ

                1 ปัญหาทางเศรษฐกิจ  ฝรั่งเศสกำลังประสบภาวะฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการใช้จ่ายเพื่อการ ทำสงครามต่าง ๆ โดยเฉพาะในสงครามประกาศอิสรภาพของ ชาวอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1776 ? 1781 เพื่อสนับสนุนให้ชาวอาณานิคมต่อสู้กับอังกฤษ

                ด้วยสาเหตุดังกล่าว รัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ( Louis  XVI , ค.ศ. 1776-1792 ) จึงมีนโยบายจะเก็บภาษีอากรจากประชาชนเพื่อชดเชยรายจ่ายที่ต้องสูญเสียไป จึง สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ

                2. ความเหลื่อมทางสังคม  ฝรั่งเศสมีโครงสร้างทางสังคมแบบชนชั้น โดยฐานะของผู้คนในสังคมมีสองกลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ  ชนชั้นอภิสิทธิ์และชนชั้นสามัญชน แต่ในทางปฏิบัติทางการจะแบ่งฐานะของ พลเมืองออกเป็น 3 ชนชั้นหรือ 3 ฐานันดร  ( Estates )  ได้แก่

ฐานันดรที่ 1 คือ พระและนักบวชในคริสต์ศาสนา และฐานันดรที่ 2 คืน ขุนนางและชนชั้นสูง ทั้งสองฐานันดรเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์  มีจำนวนประมาณร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบายและหรูหรา

ฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชน ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ยากจนและถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก รวมทั้ง พวกชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า ช่างฝีมือ และปัญญาชน ฯลฯ

                3. ความเสื่อมโทรมของระบอบการปกครองแบบเก่า  กษัตริย์ฝรั่งเศสในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้นไม่ มีขอบเขตจำกัดและทรงอยู่เหนือกฎหมายของบ้านเมืองโดยเฉพาะในรัชสมัยของพระ เจ้าหลุยส์ที่ 16 มีหลายครั้งที่ทรงใช้อำนาจโดยไม่ฟังเสียงประชาชน ทรงไม่สนพระทัยการบริหาร บ้านเมือง อีกทั้งยังทรงอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระนางมารี อังตัวเนตต์        ( Marie Antoinette ) พระราชินี ซึ่งทรงนิยมใช้จ่ายในพระราชสำนักอย่างฟุ่มเฟือย

อรุณรุ่งการปฏิวัติฝรั่งเศส Les ?tats g?n?raux

                ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les ?tats g?n?raux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย

                สภา les ?tats g?n?raux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่า Assembl?e Nationale ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ

                สภา Assembl?e Nationale นี้ประกาศว่าสภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les ?tats g?n?raux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสภา Assembl?e Nationale ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ

       
เปิดฉากการปฏิวัติ

               หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assembl?e Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assembl?e Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ

การยึดคุกบาสตีย์

               แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ก็ ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต และพี่ชายของพระเจ้าหลุยส์คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็น พระเจ้าชาร์ลส์ที่สิบในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามา ประจำการในกรุงปารีสและ พระราชวังแวร์ซายส์ ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจราจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม วันที่ 13 กรกฎาคมมีการจัดตั้งคอมมูนปารีส (Paris Commune) อารมณ์ปฎิวัติเริ่มแพร่กระจาย ไปทั่วปารีส มีการตั้งกองกำลังแห่งชาติ (National Guards) มีมาร์กีส์ เดอ ลาฟาแยตต์ (Marquis de Lafayette) เป็นผู้บังคับการ

              วันที่ 14 กรกฎาคม1789 ( พศ.2332) เริ่มการโจมตีคุกบาสติลย์ (Bastille) พวกชาวไร่ชาวนาไม่ยอมเสียภาษี และเริ่มโจมตีบ้านขุนนาง (กรกฎา-สิงหา) และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม

วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปี ถือเป็นวันชาติฝรั่งเศสในปัจจุบันนี้

               หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียก เนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส ( l'H?tel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้หนีออกนอกประเทศ ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส

                หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน ( Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส โดยในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส

ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก

-การยุติสิทธิพิเศษต่าง ๆ

                สภา Assembl?e Nationale ได้ประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และล้มเลิกสิทธิการงดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการประกอบอาชีพทุกอย่างเท่าเทียมกัน ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 2332 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา

คำประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมือง หรือ La d?claration des droits de l'homme et du citoyen

                เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การ ร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญารู้แจ้ง( Enlightened) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมพ.ศ. 2332 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ, เสมอภาค, ภราดรภาพ"

                ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชน ว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่น ตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มา ประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย

                สำหรับสภา Assembl?e Nationale ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในขณะนั้น

การปฏิรูปครั้งใหญ่


รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2332 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

    * ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
    * จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบ , ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต (d?partements)
    * ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น
    * มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส
    * การเวนคืนที่ ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ

การปฏิรูปสถานะของพระสงฆ์

การจับกุม ณ วาเรนน์

                 มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อองตัวเนตนั้น ได้แอบติดต่อกับพี่ชายของพระองค์ คือ จักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งออสเตรีย เพื่อที่จะให้ จักรพรรดิยก ทัพมาโจมตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ แพระเจ้าหลุยส์]]นั้นไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์ในตอนกลางคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2334 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาเรนน์ ในวันที่ 21 มิถุนายนพ.ศ. 2334 ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส

การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ

                 แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบประชาธิปไตยโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปหว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้บฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพระองค์กระทำการกระทำใดๆที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือ กระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ

                  ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรี ส์แล้ว ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน

                  หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน ( l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ

                  ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสภา Assembl?e Nationale หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน.

                  การต่อสู้ขับเคี่ยวระหว่างระบอบ กษัตริย์และสาธารณรัฐดำเนินการอย่างเข้มข้น และขยายผลสะเทือนไปทั่วทั้งยุโรป วันที่ 27 สิงหาคม 1791(พศ.2334) มีการประกาศพิลนิทซ์ (Declaration of Pillnitz) ปรัสเซียกับจักรวรรดิออสเตรีย ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อรักษาระบอบกษัตริย์ ในปีถัดมา วันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1792 สภานิติบัญญัติภายใต้พรรคจิรองแดงประกาศสงครามกับออสเตรีย วันที่11 กรกฎาคม กองทัพออสเตรียเข้าสู่ฝรั่งเศส

                 วันที่ 27 กรกฎาคม ฝ่ายออสเตรียออกประกาศบรุนสวิก ( Brunswick Manifesto) ขู่ทำลายกรุงปารีสหากกษัตริย์เป็นอันตราย ประชาชนโกรธแค้นคำประกาศนี้

                 วันที่ 10 สิงหาคม ฝูงชนบุกพระราชวังตุยเลอรี (Tuilleries) สังหารทหารรักษาการชาวสวิต ดังตองจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวและตั้งสภาแห่งชาติ (National Convention)

                 วันที่ 22 สิงหาคม คศ.1792 ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐครั้งที่หนึ่งยกเลิกระบอบกษัตริย์

                 ค.ศ.1793 วันที่ 21 มกราคม พระเจ้าหลุยส์ถูกปลงพะชนม์ด้วยเครื่องกิโยตีน เพราะทรงถูกกล่าวหาว่า ทรยศต่อชาติ

                 ค.ศ.1793-4 เริ่มยุคน่าสะพึงกลัว (Reign of Terror) โรเบสปิแอร์ (Robespierre) ได้ครองอำนาจ

                 วันที่ 16 ตุลาคม ปลงพระชนม์พระนาง มารี อังตัวเนตต์ ด้วยกิโยตีน และมีการสังหารพวกจิรองดิสต์ไม่น้อยกว่า 60 คน

                 การปฏิวัติฝรั่งเศส กินเวลาในช่วงระหว่างปีคศ. 1789-1799 ( พ.ศ.2332-2342) ในการโค่นล้มระบอบกษัติย์ หลังจากสถาปนาระบอบสาธารณรัฐสำเร็จแล้วไม่นาน มีการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองด้วยกันเอง จนนำมาสู่ค.ศ. 1799 นาย พลนโปเลียน โบนาปาร์ต ยึดอำนาจจากคณะมนตรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด นโปเลียนดำรงตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1803 ก่อนที่นโปเลียนจะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา

                 หลังจากนั้นฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายครั้ง สลับกันระหว่างแบบกษัตริย์ กับแบบสาธารณรัฐ จนกระทั่งปัจจุบัน

                 ฝรั่งเศส ผ่านกระบวนการสร้างระบอบสาธารณรัฐ มาถึง สาธารณรัฐที่ 5 ( ค.ศ. 1958 - ปัจจุบัน)
นาย พลชาร์ล เดอ โกลใช้ระบบประธานาธิบดีที่เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง แทนระบบรัฐสภาแบบเดิม ซึ่งคงอยู่มาถึงปัจจุบัน สาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีมาทั้งหมด5 คนดังนี้

- นาย พลชาลส์ เดอ โกล ค.ศ. 1958 - ค.ศ. 1969
- ชอร์ช ปงปีดู ค.ศ. 1969 - ค.ศ. 1974
- วาเลรี ชีสการ์ แดสแตง ค.ศ. 1974 - ค.ศ. 1981
- ฟรองซัว มีแตรอง ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1995
- ชาก ชีรัก ค.ศ. 1995 ? ปัจจุบัน        

 

 ปฏิวัติฝรั่งเศส ภาคสรุป

                การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป โดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพื้นฐาน
เป็นการปฏิวัติโดยกลุ่มชนชั้น กลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการปกครองในระบอบ เก่า (Ancient Regime) หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน

สาเหตุทั่วไปของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ประกอบด้วย

ด้านการเมือง

1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงไม่เข็มแข็งพอไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศจึงเปิดโอกาสให้คณะ บุคคลบางกลุ่มเข้ามามีสิทธิร่วมในการบริหารประเทศ
2. สภาท้องถิ่น (Provincial Estates) เป็นสภาที่มีอยู่ทั่วไปในฝรั่งเศส และตกอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของขุนนางท้องถิ่น เริ่มกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง
3. สภาปาลมองต์ (Parlement) หรือศาลสูงสุดของฝรั่งเศส ทำหน้าที่ให้การปรึกษากับกษัตริย์มีสิทธิ์ยังยั้งการออกกฎหมายใหม่ (Vito) ซึ้งเป็นสภาที่เป็นปากเป็นเสียงของประชนเคยถูกปิดไปแล้ว กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมให้สภาปามองต์แสดงบทบาทสามารถต่อรองขอสิทธิบางอย่างทางการเมือง
4. สภาฐานันดรหรือสภาทั่วไป (Estates General) ที่จัดตั่งขึ้นในยุคกลางในสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 4 เพื่อต่อต้านอำนาจของสันตปาปา ซึ่งมีผลทำให้เกิดชนชั้นของประชาชน 3 ชนชั้นคือ พระ ขุนนาง และสามัญชน, ในปี ค.ศ. 1789 สถานะทางด้านการคลังของประเทศเกิดปัญหาขาดดุลอย่างหนัง ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เปิดสภานี้ขึ้นมาใหม่หลังจากจากที่ถูกปิดไปถึง 174 ปี เพื่อขอเสียงสนับสนุนจากตัวแทนของประชาชนในการขอเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาการนับคะแนนเสียงขึ้น จนกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1789
5. ประเทศฝรั่งเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครอง

ด้านเศรษฐกิจ

1. สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในราชสำนัก เป็นปัญหาสั่งสมมาจนถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
2. เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการที่ฝรั่งเศสเข้าไปพัวพันกับสงครามในต่างประเทศ มากเกินไป โดยเฉพาะสงครามกู้เอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 จึงทำให้เกิดค้าใช้จ่ายสูง
3. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดวิกฤตการทางการเกษตร ราคาอาหารสูงขึ้นไม่สมดุลกับค่าแรงที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมา คือชนชั้นกลาง (พ่อค้า นายทุน) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติ
4. พระเจ้าหลุยส์ไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายในราชสำนักได้ แต่ก็พยายามแก้ไขโดย
- ปรับปรุงการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดการไม่พอใจในกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี
- เพิ่มการกู้เงิน ซึ่งก็ช่วยทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
- ตัดรายจ่ายบางประการ เช่น การเลิกเบี้ยบำนาน ลดจำนวนค่าราชการ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ ยังส่งผลถึงการทำงานของราชการไม่มีประสิทธิภาพ
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากแก้ไขที่ไม่ตรงจุด จึงไม่สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้

ด้านสังคม

1. การรับอิทธิพลทางความคิดของชาวต่างชาติ จาการที่ฝรั่งเศสเข้าไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามประกาศอิสภาพจากอังกฤษ จึงทำให้รับอิทธิพลทางความคิดด้านเสรีภาพนั้นกลับเข้ามาในประเทศด้วย อิทธิพลทางความคิดที่สำคัญที่รับมาคือจากบรรดานักปรัชญากลุ่ม ฟิโลซอฟส์ (Philosophes) นักปรัชญาคนสำคัญคือ วอร์แตร์, จอห์น ล็อค, รุสโซ่
2. เกิดปัญหาความแตกต่างทางสังคม อันเนื่องมาจากพลเมืองแบ่งออกเป็น 3 ฐานันดร คือ
- ฐานันดรที่ 1 พระ
- ฐานันดรที่ 2 ขุนนาง
- ฐานันดรที่ 3 สามัญชน
ฐานันดร ที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ชน คือไม่ต้องเสียภาษี ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 ต้องแบกรับภาระทั้งหลายอย่างเอาไว้เช่น การเสียภาษี การจ่ายเงินค่าเช่าที่ดิน และการถูกเกณฑ์ไปรบ กลุ่มฐานันดรที่ 3 ถือเป็นกลุ่มไม่มีอภิสิทธิ์ชน

สาเหตุปัจจุบันของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789

                   เมื่อ ประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงเปิดประชุมสภาฐานันดร (Estates General) ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789 เพื่อขอคะแนนเสียงของตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่มช่วยกันแก้ไขปัญหาทางการคลัง แต่ได้เกิดปัญหาขึ้นเพราะกลุ่มฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้นับคะแนนเสียงเป็นรายหัว แต่กลุ่มฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ร่วมมือกันเสมอนั้นเสนอให้นับคะแนนเสียงแบบกลุ่ม จึงทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 เดินออกจากสภา แล้วจัดตั้งสภาแห่งชาติ (National Assombly) เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปิดห้องประชุม
ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 สภาแห่งชาติได้ย้ายไปประชุมที่สนามเทนนิส และร่วมสาบานว่าจะไม่ยอมแพ้และไม่ยอมแยกจากกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ในการปกครองประเทศ
ในขณะเดียวกันกับ ความวุ่นวายได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปารีส และได้ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ ฝูงชนชาวปารีสได้รับข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กำลังจะส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปรามความฝูงชนที่ก่อวุ่นวายในปารีส
ดัง นั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ฝูงชนจึงได้ร่วมมือกันทำลายคุกบาสติล(Bastille) ซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบเก่า

ผลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789

1. เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (คนเดียว) มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ (หลายตน)
2. มีการล้มล้างกลุ่มอภิสิทธิชน พระและขุนนางหมดอำนาจ, กลุ่มสามัญชน กรรมกร ชาวนา และโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง เข้ามามีอำนาจแทนที่
3. ศาสนาจักรถูกรวมเข้ากับรัฐ ทำให้อำนาจของสันตะปาปาถูกควบคุมโดยรัฐ
4. เกิดความวุ่นวายทั่วประเทศเพราะประชนชนบางส่วนยังติดอยู่กับการปรครองแบบเก่า
5. มีการทำสงครามกับต่างชาติ
6. มีการขยายอิทธิพลแนวความคิดและเป็นต้นแบบของการปฏิวัติเไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

 

ที่มา  :  วีกีพีเดีย

 

 

 

 

              

 

 

 

 

 

 

 ตอนี้เป็นห่วงเห็นใจชาวนา ทั้งที่เคยด่ามาตลอด

 

 

 

โดย ลุงธรรม

 

 

                           [Image: 1391837975-1391740517-o.jpg]

 
 
คงจำกันได้เมื่อม๊อบกบถเริ่มใหม่ๆ แต่ละตัวที่ขึ้บนเวที.กบถ ต่างออกมาพูดเป้นเสียงเดียวกันว่าต้องปฏิรูป..คนจนๆชาวนา ชาวไร่ ไม่มีการศึกษา ไม่ควรมีสิทธิืมีเสียงเท่าคนกทม./คนที่มีการสึกษา...หลายคนถึงกับพูดว่า

ชาวนาคือภาระของชาติ..พวกเขาต้องเอาเงินที่รัฐเก้บภาษีไปดูแลชาวนา
ชาวนาคนจนไร้การศึกษา ไม่ควรจะมีสิทธิืเท่าพวกเขา
และยังพ่นต่อว่า ถ้าชาวนาไม่มีหรือไม่ปลูกข้าวขาย..เขาก้มีเงินซื้อข้าวจากต่างประเทศกิน
บางคนพุดว่าชาวนาไม่เคยมีบุญคุณกับพวกเขา เพราะข้าวทุกเม็ดที่เขากิน เขาซื้อ

สารพัดที่ม๊อบกบถ ที่จะดูถูกดูแคลนชาวนา..และยิ่งกว่านั้น...เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา พวกสาวกม๊อบกบถที่ทำงานอยู่ตาม
ธ.ของรัฐ ยังบีบผุ้บริหารไม่ให้รัฐบาลกุ้เงินไปจ่ายให้ชาวนา..เพราะไม่อยากให้ชาวนามีเงินใช้ จะได้ออกมาไล่รัฐบาลกับพวกมัน(ตามรูป พนักงานธ.ที่ร่วมกับกบถ ถึงกับเฮ..เมื่อผู้บริหารถูกบืบจนต้องปฏิเสธการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อไปจ่ายชาวนา)

--------------------------------

ตอนนี้ม๊อบเหลือแต่เป็นหย่อมๆ หยอยๆ..คนใต้หนีกลับกันหมด หลังจากทั่วโลกประนามการปิดการรับสมัครสส.และขัดขวางการเลือกตั้งและรัฐบาลเอาจริง ตั้งข้อหากบถและขัดขวางการเลือกตั้ง มีโทษถึงติดคุก

ทำไงดีล่ะ ชัชดาวว์กทม.ก็แล้ว ปิดสถานที่ราชการก็แล้ว ฆ่าคนตายก็แล้ว ทหารก้ยังไม่ออกมา รัฐบาลก้ยังอยู่ มวลชนก็หนีกลับหมดแล้ว..เฮ้ย..ชาวนายังอยู่5555

ตอนนี้เลยเห็นไอ้พวกนี้ ออกอาการ"รักและห่วงชาวนา"กันเต็มไปหมดครับ...เทพเมือกถึงกับนำขบวนเดินขอทานช่วยชาวนา..สาวกในนี้ตั้งกระทู้เป​้นห่วงชาวนา...มวลชนสวะๆบางตัวเข้าไปในกลุ่มชาวนา..เพื่อชวนชาวนาออกมาไล่รัฐบาล..โด​ยบอกว่าเป้นห่วงและเห็นใจ
 


[Image: 1391842117-o.png]

-----------------

พนักงานธ.เฮ เมื่อมันสามารถบีบผู้บริหารไม่ใช้รัฐบาลกู้เงินมาจ่ายชาวนา

[Image: 1391678355-o.jpg]

 

 [Image: 1896779_600117870068649_164993313_n.jpg]

 

 

 

 

 

 

 

> เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท
อ้างอุ้มชนชั้นกลาง งบ 18,000 ล้าน #ไม่เป็นไร

> ปรส.
อ้างอุ้มคนรวย (ล้มบนฟูก) 800,000 ล้าน #ไม่เป็นไร

> ประกันราคาข้าวขาดทุน
130,000 ล้าน อ้างอุ้มชาวนา #ไม่เป็นไร

> ไทยเข้มแข็ง กู้เงิน 800,000 ล้าน
อ้างนำมากระตุ้นเศรษฐกิจ #ไม่เป็นไร

รวมยอดพรรคประชาธิปัตย์ ผลาญเงิน แค่ 4 โครงการ
#ผลาญไปแล้วขำๆ 1,748,000 ล้านบาท
(ล้านล้านบาท เลขกลมๆ)

(ย้ำแค่ 4 โครงการ)
- - - -- - -

แล้วจำนำข้าวขาดทุน เพื่ออุ้มชาวนา ไม่ได้หรือ ?
หรือต้องอุ้มชาวนาเฉพาะตอนประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                    

 


 

 

"กางเกงลิง" หมายถึงกางเกงชั้นในรัดแนบเนื้อ ไม่มีขาเป็นภาษาปาก หรือภาษาพูด

เชื่อว่าน่าจะมาจากศัพท์ที่ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษใช้ด้วยกันคือคำว่า "ลิงเจอรี-lingerie" ที่แปลว่าชุดชั้นในสตรี

ในสมัยโบราณผู้หญิงไทยนุ่งโจงกระเบน เข้าใจว่าคงไม่มีการใส่กางเกงชั้นในต่อมาเมื่อรับกระโปรงแบบแหม่มมาสวมจึงเริ่มใช้ชุดชั้นในแบบแหม่มด้วยแต่นิสัยคนไทยชอบพูดย่อๆ จึงเรียกกางเกงชั้นในแบบแหม่มเพียงคำต้นของ "ลิงเจอรี" ว่า "กางเกงลิง"

ชุดชั้นในของสตรีในยุค 1940

ลองไปค้นดูประวัติของ lingerie ของฝรั่งอ้างว่า กางเกงชั้นใน lingerie นี้ กำเนิดขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประมาณ ค.ศ. 1922 สาวๆเริ่มใส่กระโปรงสั้น สรวมหมวกตอนกลางคืนก็ออกไปเฉิดฉายในงานเต้นรำ

คำว่า lingerie นี้ มาจาก ภาฝรั่งเศส "lin" ที่หมายถึง linen ลินินเริ่มต้นนั้นการใช้ชุดชั้นใน ก็เพื่อความอบอุ่น เพื่อสุขภาพอวัยวะภายในต่อมาเริ่มมีแฟชั่นพัฒนามากขึ้นอีกคำหนึ่งที่ใช้ คือ panties ก็หมายความถึง lingerie เช่นกันเพราะเป็นเสื้อผ้าที่ใส่ข้างใน ที่เรียกว่า under wear สำหรับผู้หญิง

panties เริ่มใช้ในยุคที่การปฏิวัติฝรั่งเศสโดย Catherine de Medici ซึ่งเกิดไอเดียที่ต้องการขี่ม้าโดยวิธีการขี่คร่อมเช่นเดียวกับผู้ชายจึงต้องมีเสื้อผ้าที่จะสามารถปกปิดร่างกายได้มิดชิดโดยไม่ต้องโชว์หวอสู่สายตาชาวโลก

กล่าวสั้น ๆ คือ ที่เรียกว่ากางเกงลิง เพราะเป็นกางเกงที่ไม่มีขา และทับศัพย์ของคำว่า "ลิงเจอรี-lingerie" โดยพูดสั้น ๆ ว่าลิง จึงกลายเป็นคำติดปากว่า กางเกงลิงนั่นเอง ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับลิงสักตัวเลย

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

เคยได้ยินคำว่า "ไม่เป็นสับปะรด" คำนี้ไม่เกี่ยวกับสับปะรดเลย จริง ๆ แล้ว คำนี้ใช้กันมานานแล้วสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า สรรพรส แปลว่า หลากหลายรส มีรสทั้งหลาย เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ครบหมด

ดังนั้นอาหารที่ ไม่เป็นสรรพรส คืออาหารที่ไม่ค่อยมีรสชาติ ไม่เปรี้ยวหรือหวาน หรือมัน หรือเค็ม อย่างใดทั้งสิ้น นานเข้าคนที่ฟังไม่เข้าใจจึงพูดลาก เข้ามาหาคำว่าสับปะรด จากไม่เป็นสรรพรสเพี้ยนมา เป็น ไม่เป็นสับปะรด แล้วมีความหมายเปรียบเทียบว่า หมายถึงการทำอะไรที่ไม่ได้เรื่องนั่นเอง

 

 

 

             

 

 

 

   

 

 

  

     เปิดเผยคลิปทหารปาประทัดยักษ์ก่อนเกิดเหตุป่วน.....

 

เปิดเผยคลิปทหารปาประทัดยักษ์ก่อนเกิดเหตุป่วน.....

 

 

 

 

 

 

 

 

                     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              เปิดฟ้าส่องโลก

 

 

 

 โดยคุณ นิติ นวรัฐ

 

                 ทำไมซูจีถึงปฏิเสธการยุติความขัดแย้ง

 

 

                              

 

 

 

วันพุธที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๖

 

ผู้ใหญ่ที่สนใจความเป็นไปในอาเซียนท่านหนึ่งถามถึงเหตุผลว่าทำไมนางซูจีจึงประกาศว่าจะไม่เข้าไปช่วยยุติความขัดแย้งที่เลวร้ายลงระหว่างกองทัพและกองกำลังกะฉิ่น ซึ่งผลของการสู้รบทำให้ประชาชนคนเป็นหมื่น ไม่มีที่อยู่อาศัย โอกาสอย่างนี้นางซูจีน่าจะกระโจนเข้าไปหาเสียง แต่กลับประกาศว่า อ้า ดิฉันจะไม่เกี่ยวดองหนองยุ่งด้วย คนทั่วไปก็คิดว่า เป็นเรื่องแปลก

เหตุผลที่แท้จริงก็คงจะไม่มีใครรู้ดีไปกว่านางซูจีดอกครับ แต่ถ้าให้คิดกันอย่างไวๆ เรื่องความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย มันไปพันกับสัญญาป๋างหลวงที่นายพลอองซานพ่อของนางซูจีเคยประชุมกับผู้แทนของชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนที่เมืองป๋างหลวงหรือป๋างโหลง ในรัฐฉานระหว่างวันที่ 7-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490

ในห้วงช่วงที่อยู่ที่ป๋างโหลงนั้น พ่อของนางซูจีได้เสนอวลี Unity in Diversity แปลเป็นไทยก็น่าจะได้ว่า ความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย แม้ว่าจะมีเผ่าพันธุ์แตกต่างกัน คุณเป็นพม่า กะฉิ่น กะเหรี่ยง กะยา มอญ ไทยใหญ่ ฯลฯ เป็นอะไรก็อยู่รวมกันเป็นประเทศเดียวกันได้

พ่อของนางซูจี ท่านกล่อมจนคนกลุ่มน้อยเยิ้มเคลิ้มเชื่อว่า ถ้าชนกลุ่มน้อยยังรวมอยู่ในสหภาพพม่าแล้ว         บั้นปลายท้ายต่อไปในอนาคต รัฐของชนกลุ่มน้อยจะได้สิทธิปกครองตนเอง และจะสามารถรักษาวัฒนธรรมประเพณีของพวกตนไว้ได้

หลังจากเยิ้มเคลิ้มกันทุกหมู่ทุกเหล่าทุกเผ่าแล้ว ผู้นำทุกกลุ่มก็มานั่งชุมนุมสุมศีรษะลงนามในสัญญาป๋างหลวงในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2490

สัญญาป๋างหลวงนี่พูดกันบ่อยมากนะครับ ไปสัมมนาอะไรกับใครที่ไหน ถ้ามีเรื่องพม่ากับชนกลุ่มน้อย ก็ต้องมีคนยกเรื่องสัญญาป๋างหลวงขึ้นมาอ้างให้ดูน่าเชื่อถือ ผมจึงขอถือโอกาสนี้ เรียนสาระสำคัญของสัญญาป๋างหลวงมารับใช้ท่านกันครับ

อันดับแรกเลยก็ ให้ชนกลุ่มน้อยมีผู้แทนอยู่ในสภาบริหารเขตแดนของชนกลุ่มน้อย ให้สิทธิปกครองตนเองแก่ชนกลุ่มน้อย และมีการพิจารณาให้เขตแดนเหล่านี้มีฐานะเป็นรัฐตามความเหมาะสม ส่วนที่สร้างปัญหามากมายในเวลาต่อมาก็คือ ข้อตกลงที่ว่า รัฐของชนกลุ่มน้อยจะรวมอยู่ในสหภาพพม่า และ มีสิทธิที่จะแยกตัวออกไปได้ในอนาคต

อังกฤษก็ใช้วิธีการแบ่งแยกและปกครองพม่า ไม่ให้มนุษย์ที่อยู่ในแดนดินถิ่นแถวนี้มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงรวมกันไม่ได้ ตั้งใจจะให้เป็นประเทศใหม่ก็ไม่รอด แต่พอหลังจากฟังนายพลอองซานจนเคลิ้มเยิ้มแล้ว โอกาสที่จะตั้งเป็นประเทศที่เป็นสหภาพก็เป็นไปได้

ดังนั้น ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ของทุกปี รัฐบาลพม่าจึงกำหนดให้ เป็นวันหยุดราชการ เรียกว่า Union Day หมายถึง วันสหภาพ

พอถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 ก็มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ สันนิบาตเอเอฟพีเอฟแอลของ          นายพลอองซานได้ชัยชนะเหนือพวกคอมมิวนิสต์ ส่วนที่นั่งของเขตชายแดน คนที่ได้รับเลือกส่วนใหญ่ก็เป็นพวกที่หนุนนายพลอองซาน

เนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญ ก็ให้พม่าเป็นสหภาพอยู่นอกเครือจักรภพ ให้มีการปกครองด้วยหลักประชาธิปไตยและสังคมนิยม ให้รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และสภาเชื้อชาติซึ่งสภาเชื้อชาติจะทำหน้าที่เหมือนวุฒิสภาบ้านเรา ส.ส.เป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรี

ในรัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ชัดถนัดนัก ว่าชนกลุ่มน้อยจะได้สิทธิปกครองตนเองและมีสิทธิที่จะแยกตัวออกจากสหภาพได้ ส่วนที่ดินส่วนใหญ่จะเป็นของรัฐและรัฐจะแจกจ่ายให้ประชาชน พวกอภิพญามหาเศรษฐี       กระฎุมพีที่ถือครองแผ่นดินผืนใหญ่ต้องให้ยกเลิก เอากลับมาเป็นของรัฐ ธุรกิจอันไหนใหญ่โตมโหฬารและมีแนวโน้มว่าจะนำกำไรมาสู่ ต้องให้รัฐทำเท่านั้น ประชาชนคนทั่วไปไม่มีสิทธิ เขียนให้เข้าใจง่ายก็คือรัฐเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่สำคัญ ทว่าบุคคลยังมีสิทธิในทรัพย์สินและประกอบธุรกิจได้ในขอบเขตที่จำกัด

พอร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ให้ทะขิ่นนุนำคณะผู้แทนพม่าไปกรุงลอนดอนเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญพม่าต่ออังกฤษ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2490

ส่วนนายพลอองซานก็ยังพำนักพักอาศัยอยู่ในพม่า จัดประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อวางแนวทางฟื้นฟูประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่นายพลอองซานผู้มีอายุเพียง 32 ปี กำลังนั่งเป็นประธานประชุมอยู่หัวโต๊ะ ก็มีมือปืน 4 คนใช้ปืนกลกราดใส่อองซานถึง 13 นัด

บิดาก็จึงถึงวิสัญญีสิ้นชีวิตินทรีย์ตายกลายเป็นผี ขณะที่ซูจีมีอายุเพียง 2 ขวบ เหตุการณ์จะเป็นเช่นใด เชิญผู้อ่านท่านที่เคารพพลิกหน้า 2 ของไทยรัฐต่อได้ในวันพรุ่งนี้ครับ.

 

 

 

 

                                 ทำไมซูจีถึงปฏิเสธการยุติความขัดแย้ง (2)

 

 

วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖

 

เมื่อวานผมรับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพว่า มีผู้ใหญ่ที่สนใจความเป็นไปในอาเซียนท่านหนึ่งถามถึงเหตุผลว่าทำไมนางซูจีจึงประกาศไม่เข้าไปช่วยยุติความขัดแย้งระหว่างกองทัพพม่ากะกองกำลังกะฉิ่น ซึ่งผลของการสู้รบทำให้ประชาชนคนเป็นหมื่นไม่มีที่อยู่อาศัย จากนั้น ผมก็โม้อะไรของผมไปเรื่อย กระทั่งถึงเหตุการณ์ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 มีชาย 4 คน ใช้ผ้าคลุมหน้า มาพร้อมอาวุธปืนกล บุกเข้าไปรัวใส่นายพลอองซานและรัฐมนตรีในที่ประชุม

นายพลอองซานโดนยิง 13 นัด ตายคาที่ ขณะที่ตายวายชีวัน อองซานมีอายุเพียง 32 ปี ส่วนบุตรสาวคนสุดท้องที่มีชื่อว่าซูจี ก็มีอายุเพียง 2 ขวบ

ผู้อ่านท่านครับ หากนายพลอองซานไม่ตายในคราวนั้น พม่าอาจจะไม่ใช่พม่าอย่างเช่นในปัจจุบันทุกวันนี้ เทียบระหว่างไทยกะพม่าใน พ.ศ.2490 ศักยภาพทุกด้านของพม่าดีไม่แพ้ไทยเลย อาจจะดีกว่าในหลายเรื่องซะด้วยซ้ำ เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการกีฬา ฯลฯ เป็นเพราะการเมืองที่ทำให้พม่าตกอยู่ในความมืดมนอนธการนานกว่า 60 ปี หากนายพลอองซานไม่ตายในตอนนั้น เยาวชนคนพม่านับล้านอาจจะไม่ต้องมาขายแรงงานในประเทศไทยของเราก็เป็นได้

ที่ผมเชื่อว่า ถ้าอองซานไม่ตาย พม่าจะกลายเป็นประเทศที่เจริญ กว่านี้มาก ก็เพราะว่าอองซานได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ชนกลุ่มน้อยก็อยู่ร่วมสหภาพพม่าอย่างสันติสุข ไม่ต้องรบพุ่งกันนานนมหลายสิบปีอย่างนี้ ประเทศก็เหมือนครอบครัวนะครับ  ถ้าไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็ใช้เวลาสุขสงบไปพัฒนาประเทศ   ไปทำมาหากินแสวงหาความมั่งคั่งได้

อองซานมาจากตระกูลชาวนา ที่ลุงแท้ๆ ของมารดาเป็นวีรบุรุษในสงครามกองโจรที่ต่อต้านการยึดครองของอังกฤษและถูกอังกฤษจับเอาไปตัดหัวทิ้ง คนที่มีพื้นฐานครอบครัวอย่างนี้ ผู้อ่านท่านครับ โตขึ้นมามักจะเป็นคนเสียสละ และมีชีวิตอยู่เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง หลายท่านเห็นว่าอองซานมียศเป็นนายพล จึงเดาว่า ท่านน่าจะเรียนจบจากโรงเรียนนายร้อย ไม่ใช่ดอกครับ อองซานเป็นนักการศึกษา เรียนเก่งจนได้ทุนและสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งได้  วิชาที่สนใจมาก เป็นพิเศษก็คือ ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอนเรียนที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง กิริยาท่าทาง การแต่งกาย และการพูดจาของอองซานมีลักษณะเป็นคนบ้านนอก  เรื่องนี้ทำให้นักศึกษาที่มาจากย่างกุ้งเมืองหลวงหัวเราะกันจนฟันกระเด็นออกมานอกปากกันมากมายหลายคน

อองซานเป็นคนมีความพยายามสูง มีอยู่ครั้งหนึ่ง อาสาขึ้นไปโต้วาทีเป็นภาษาอังกฤษในหัวข้อ พระสงฆ์ไม่ควรเกี่ยวดองหนองยุ่งกับการเมืองที่จัดโดยสหภาพนักศึกษา ภาษาอังกฤษของอองซานเด็กบ้านนอกไม่ค่อยดี พูดผิดพูดถูก เมื่อคิดศัพท์คำไหนไม่ออก อองซานก็เอาภาษาบาลีเข้ามาเสริม ทำให้นักศึกษาที่นั่งฟังฮาป่า หัวเราะเยาะ และดูหมิ่นถิ่นแคลนว่าอองซานพูดไม่รู้เรื่อง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อองซานฝึกภาษาอังกฤษจนใช้ได้ดี ฝึก ด้านวิชาการจนได้รับการยอมรับจากนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย บั้นปลายท้ายที่สุด อองซานได้รับความนิยมขนาดได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการบริหารของสหภาพนักศึกษา

อองซานสร้างตนจนเป็นที่นิยมยกย่องของนักศึกษาอย่างกว้าง ขวาง อาจจะเป็นเพราะมีลักษณะผู้นำ กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และตรงไปตรงมา มีเพียงสิ่งหนึ่งซึ่งทุกคนลงความเห็นว่าอองซานเป็นคนน่ากลัวก็คือ การเป็นคนเงียบขรึมผิดปกติ เวลาอารมณ์ร้ายก็จะปะทุออกมาจนคนรอบข้างแทบจะไม่รู้ตัว ทำให้คนทั่วไปไม่กล้าเข้ามาอยู่ใกล้ นักศึกษาจำนวนหนึ่งถึงกับวิจารณ์อองซานว่าเป็นคนเพี้ยน  จำนวนไม่น้อยที่มองว่าอองซานบ้า

ไม่ว่าอองซานจะบ้า  จะเพี้ยน  ยังไง  คนพม่าก็ยังรัก รักในความเสีย

สละในความมีความรู้ ในความพยายามมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ ฯลฯ

ที่สุดของที่สุดเลยก็คือ คนพม่าชอบความตรงไปตรงมาของอองซาน

บุตรชายคนโตของนายพลอองซาน เมื่อโตเป็นหนุ่มก็ไปใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกาและปฏิเสธที่จะเกี่ยวดองหนองยุ่งกับการเมือง บุตรชายคนที่สองจมน้ำตายในสระใกล้บ้าน

บุตรคนที่สามของนายพลอองซานเป็นสตรี มีชื่อว่าซูจี นางผู้นี้มี รูปร่างหน้าตาคล้ายพ่อ มีการพูดจาที่ตรงไปตรงมา จึงชนะใจชาวพม่าได้อย่างรวดเร็วและยาวนาน นางซูจีมีชีวิตอยู่ได้ภายใต้ร่มเงาวีรบุรุษของพ่อ สิ่งใดที่พ่อทำไว้ นางก็จะไม่ปฏิบัติในทางตรงกันข้ามอย่างเด็ดขาด

หนึ่งในใต้สมองของซูจีมีสัญญาป๋างหลวงที่พ่อทำไว้กับชนกลุ่ม

น้อย อันนี้นี่แหละครับ อันนี้นี่แหละครับ ที่ทำให้ซูจีปฏิเสธเกือบทุกครั้ง ที่จะเข้าไปเกี่ยวดองหนองยุ่งในความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 กระทรวงพาณิชย์ยอมรับว่าจีนยกเลิกการซื้อข้าวจากไทยแล้ว

 

 

 

  

 
 
 
 
-ปธ จีน ได้ทำตามที่เคยมาเยือนและรับปากด้วยแล้วว่าจะซื้อข้าวสารไทย ล้านตันทุกปี

- ไทยได้ขายแบบ จีทูจี คือรัฐต่อรัฐ ปกติค้าขายแบบ นี้ จะไม่เปิดเผย คู่ค้า และอื่นๆที่จำเป็น เพราะความละเอียดอ่อนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เมื่อเป็นประเด็นถูกกล่าวหา และ ชี้มูลว่า อาจจะผิด ดดย ปปช ก็ต้องเปิดเผยออกมาอยา่งที่เห็น

- แสดงให้เห็นว่า จีนก็ได้ยอมรับแล้วว่า สัญญา จีทูจี นั้นมีอยู่จริง ไม่ได้ ทำลับลวง แบบ ที่ ปปช กำลังกล่าวหา รัฐบาลไทย

- แต่ที่ต้องหยุดสัญญาไปก่อน เพราะ หน่วยงาน ปปช นั้น ยังอยู่ในขั้นชี้มูลกล่าวหา ถึงความทุจริต จึงต้องระงับ การเคลื่อนไหวของข้าวที่จะขายไปก่อน จนกว่าจะมีคำตัดสิน เหมือน รถที่ต้องยึดไว้ก่อนเมื่อกล่าวหาว่าอาจจะเอาไปใช้ในการทำผิดไง

 

 ที่ยกเลิกเพราะ   ตามกฏของการขาย..โดยรัฐบาล     คู่ค้าจะต้องเป็นอย่างน้อย รัฐวิสาหกิจ ....ซึ่งคู่ค้าเขาเป็น รัฐบาลท้องถิ่น   ....(ไม่รู้เหมือน  กทม. หรือเปล่า)   ....ทางรัฐเอง และทางจีน   ก็ไม่มั่นใจ  ในการตีความของ  ศาล ประเทศ ทุยแลนด์   ....เลยต่างฝ่ายต่างเบรคไว้ดีกว่า......

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

        มีเงินนับว่าน้อง มีทองนับว่าพี่

 

 

4 เหตุผลทำไม “มีทองถึงนับว่าเป็นพี่”

 

 

 

 

เทศกาลตรุษจีนแบบนี้ ชาวมังกรหลายคนนิยมที่จะมอบทองคำให้เป็นแต๊ะเอีย หรืออั่งเปา แก่ทายาทหรือลูกหลานในตระกูลของตนเอง ขณะเดียวกันช่วงนี้ก็เป็นช่วงเทศกาลงานแต่ง เจ้าบ่าวเจ้าสาวรวมทั้งญาติทั้งสองฝ่ายก็นิยมนำทองคำมาเป็นสินสอดกัน นอกจากนี้ การมีทองคำสะสมมากๆ ก็สามารถบ่งบอกถึงความมั่งคั่งได้อีกด้วย แต่เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ ทำไมทองคำถึงมีค่า มีราคามากมายได้ขนาดนี้ เอาเป็นว่าทีมงาน ASTVผู้จัดการ ได้รวบรวมคำตอบไว้แล้วดังนี้....
           
       1. ทองคำเป็นแร่ที่มีอยู่จำกัด มีขั้นตอนในการผลิตที่ยุ่งยาก
           
       ด้วยความที่แร่ทองคำมีอยู่จำกัด ขั้นตอนในการขอสัมปทานและการผลิตในแต่ละประเทศก็ยุ่งยาก และมีข้อจำกัด ส่งผลให้ทองคำจึงมีมูลค่า
           
       2. ทองคำเป็นเครื่องประดับแล้วยังเป็น Safe Haven หรือสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
           
       สิ่งที่ทำให้ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดบนโลก คือ
           
       1. งดงามมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
           
           2. คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3,000 ปีก็ตาม
              
       3. หายาก (rarity) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
           
       4. นำกลับไปใช้ได้ (reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ (purified) ด้วยการหลอมได้อีกโดยนับครั้งไม่ถ้วน
           
       อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการเป็นเครื่องประดับแล้ว ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หรือ  Safe Haven ดูได้จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาหลายๆ ครั้ง ธนาคารกลางในหลายประเทศ ไล่ยาวไปถึงนักลงทุนทั่วไปต่างลงทุนและซื้อทองคำเก็บเอาไว้
           
       3. ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่สามารถแปรเป็นเงินสดได้ทันที
           
       เพราะทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีค่า มีราคา ซื้อง่าย ขายคล่อง ทำให้หลายคนมักซื้อทองคำแท่ง ทองคำรูปพรรณเก็บไว้ เมื่อเจอสถานการณ์จำเป็นก็สามารถนำไปจำนำ หรือขาย นั่นเอง
           
       4. ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
           
       หากเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ทองคำจะเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต้านแรงกดดันจากเงินเฟ้อได้
           
       สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำในตลาดโลก
           
       1. เงินดอลลาร์สหรัฐ  หากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงโดยปัจจัยอื่นคงที่ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เพราะการซื้อทองคำเหมือนการป้องกันความเสี่ยงมูลค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
           
       2. ความกลัวเรื่องเงินเฟ้อ  หากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นโดยปัจจัยอื่นคงที่ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะอัตราเงินเฟ้อส่งผลให้มูลค่าของพันธบัตร และเงินสดลดลง แต่มูลค่าทองคำกลับสามารถต้านแรงกดดันเงินเฟ้อได้
       
           3. ความเสี่ยงทางการเมืองและระบบการเงิน ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ และความกังวลอย่างสูงเกี่ยวกับระบบการเงินโลก ราคาทองคำมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากทองคำถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย
           
       4. อุปสงค์และอุปทานของโลก ถ้าความต้องการซื้อมีมากกว่าปริมาณของทองคำโดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น เช่น  ความต้องการทองคำในประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง หรือปริมาณของทองคำถูกเพิ่มขึ้นในตลาดขณะที่ความต้องการเท่าเดิม โดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้ราคาทองคำลดลง เช่น การขายทองคำออกมาจำนวนมากของธนาคารกลาง
           
       ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำในประเทศไทย
           
       1. ราคาทองคำในตลาดโลก หากราคาทองคำในตลาดโลกเพิ่มขึ้นโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากราคาทองคำในตลาดโลกลดลงโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะลดลง
           
       2. ค่าเงินบาท/ดอลลาห์สหรัฐ หากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากค่าเงินบาทแข็งค่าโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะลดลง
           
       3. อุปสงค์และอุปทานในประเทศ ถ้าความต้องการซื้อมีมากกว่าปริมาณของทองคำโดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น เช่น เทศกาลก่อนตรุษจีนราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น
       
       ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
       ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI)
        www.tsi-thailand.org

 

 

 

 

 

 

  

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Nov 15 17:54:41 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>