Support
GoldGear Group
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

โรคข้อเข่าเสื่อม

info@goldgeargroup.co.th | 12-06-2555 | เปิดดู 13275 | ความคิดเห็น 0

 

โรคข้อเข่าเสื่อม
Osteoarthritis of the Knee
ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เราจะพบในผู้สูงอายุ หรือในวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนมากจะพบในกลุ่มสุภาพสตรี สาเหตุที่พบว่าจะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมคือ การที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป โรคข้อเข่าเสื่อมรักษาไม่หายขาด แต่ก็มีวิธีที่ทำให้อาการดีขึ้นและชะลอความเสื่อม ให้ช้าลง ทำให้ท่านสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะทำได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ ความตั้งใจของท่านเองเป็นสำคัญ การออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่ามากนัก เช่น การเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น

 

อาการเริ่มต้น
     คนทั่วไป จะสามารถเกิดได้ โดยถ้ามีอายุมากขึ้น ก็จะมีอาการปวดข้อตามร่างกายเพิ่มขึ้นตามปกติ ตามสภาพร่างกายซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น
-      คนที่มีความผิดปกติ เช่น อาจเคยมีอุบัติเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดกระดูกหัก การติดเชื้อหรือไขข้ออักเสบ ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้ ไม่จำกัดอายุ ซึ่งในกรณีนี้จะพบน้อยกว่ากลุ่มแรก
โครงสร้างของข้อเข่า
ข้อเข่าของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ
1. กระดูกต้นขา ส่วนบนของเข่า(ทางการแพทย์เรียกว่ากระดูก femur) 
2. กระดูกหน้าแข้ง เป็นกระดูกส่วนล่างของข้อเข่า(ทางการแพทย์เรียก tibia) 
3. กระดูกลูกสะบ้า เป็นกระดูกที่อยู่ด้านหน้าของเข่า(ทางการแพทย์เรียก patella)    
ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน (cartilage) รูปครึ่งวงกลมซึ่งทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำหล่อลื่นภายในข้อเรียก synovial fluid    ซึ่งจะเป็นน้ำหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อรอบเข่าโดยจะป้องกันการสึกของข้อ เมื่อเราเดินหรือวิ่งข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเท่าใดข้อก็จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อทำให้ข้อแข็งแรงด้วย
 กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม
       เข่าของคนเราเป็นข้อที่ใหญ่และต้องทำงานมาก เพราะคนเราต้องใช้เดินทุกวัน วันละมากๆ ทำให้เกิดโรคที่เข่าได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการ บวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอทำให้เกิดอาการ ปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท้าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อ ต้นขาลีบลงข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเหยียดขาได้ไม่สุด การขึ้น-ลงบันไดก็ลำบาก ต้องหาอุปกรณ์ช่วยเดินขึ้น-ลงบันได ซึ่งในยุคนี้ก็มีอุปกรณ์เข้ามาช่วยเหลือคนกลุ่มนี้โดยใช้ เก้าอี้เลื่อนขึ้น-ลงบันไดหรือ Stair lift นั่นเอง เมื่อเกิดเข่าเสื่อมมากขึ้นกระดูกอ่อน( cartilage )จะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาที่เรียกว่า osteophytes เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อก็จะสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นทำให้ข้อเข่ามีขนาดใหญ่ เอ็นรอบข้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อจะลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกัน เวลาขยับข้อจะเกิดเสียงเสียดสีในข้อ
อาการที่สำคัญ
– อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
- มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
- อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
- ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
* ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
– อายุ  : เมื่อเรามีอายุมากขึ้นก็มีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
- เพศหญิง : จะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
- น้ำหนัก : ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว เพราะเข่าต้องรองรับน้ำหนักมาก
- การใช้ข้อเข่า : ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
- ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า : ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีกจะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก : ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า
 สรุปตารางอาหารที่มีแคลเซียมสูง

 

ประเภท
อาหาร(100 กรัม)
แคลเซียม(มิลลิกรัม)
สัตว์น้ำ
กุ้งแห้งตัวเล็ก
2,305
 
ปลาลิ้นหมาแห้ง
1,912
 
กุ้งฝอย
1,339
 
ปลาเล็กปลาน้อยทอด
860
 
กะปิ
1,565
เมล็ดพืช
งาดำคัว
1,452
 
ถั่วแดงหลวง
965
 
เต้าหู้ขาวอ่อน
592
ผัก
ยอดแค
995
 
ใบชะพลู
601
 
ปวยเล้งสุก
600
 
เห็ดลม
541
 
ใบยอ
469
 
มะขามผักสด
429
 
ผักกระเฉด
387
 
สะเดา
354
 
โหระพา
336
 
ผักคะน้า
245
 
ผักกาดเขียว
178
ข้อแนะนำในการรักษาด้วยตนเอง  
  1. การลดน้ำหนักตัวให้น้อยลง ขณะที่คนเราเดินในระดับแนวราบนั้นเข่าแต่ละข้างจะต้องรองรับน้ำหนักตัวประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว และในขณะวิ่งเข่าเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่มเป็น 5 เท่าของน้ำหนักตัว  
  2. การนั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่าพอเรานั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งราบบนพื้น เพราะท่านั่งดังกล่าวจะทำให้ ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมากขึ้น ข้อเข่าก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
  3. การยืน ควรยืนตรง ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน  ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้าง-หนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวด และข้อเข่าโก่งผิดรูปได้
  4. การนอน ควรนอนบนเตียง ไม่ควรนอนราบกับพื้นห้องเพราะเวลาลุกนั่งต้องงอเข่า  ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น
  5. การเดิน ไม่ควรใส่ส้นสูง ควรใส่รองเท้าแบบส้นเตี้ย(สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ แบบที่ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควรและมีขนาดที่พอเหมาะเวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกันเช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือทางเดินที่ขรุขระเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรเดินบนพื้นราบ ควรใช้ไม้เท้า เมื่อจะยืนหรือเดิน  ถ้าปวดเข่ามาก ข้างเดียวให้ถือไม้เท้าในมือด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดเข่าทั้งสองข้างให้ถือในมือข้างที่ถนัด
  6. การใช้ห้องน้ำ ควรใช้ห้องน้ำที่เป็นแบบโถชักโครกถ้าเราเลือกใช้ห้องน้ำแบบส้วมซึมจะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ เลือดจะไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี ทำให้ขาชาซึ่งอาจมีอาการอ่อนแรงได้    ควรทำราวจับในห้องน้ำ เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน ซึ่งช่วยไม่ให้ล้มด้วย
  7. การขึ้นลงบันได ถ้าเลี่ยงไม่ได้ เช่น ห้องนอนอยู่ชั้นบนหรืออาจต้องไป ไหว้พระชั้นบน ควรติดตั้งลิฟต์บันได เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันได

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Wed Jan 15 15:07:52 ICT 2025

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0