หมายเลข ๑ คือ เส้นหัวใจ เส้นหัวใจนี้โคนของเส้นอยู่ใต้นิ้วก้อยปลายของเส้นหัวใจพุ่งไป
หาโคนนิ้วชี้หรือโคนนิ้วกลาง หรือไม่ก็พุ่งไปลงช่องระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลาง แต่มีเส้น
หัวใจที่สั้นบางเส้นมาขาดหายอยู่ภายใต้เนินของนิ้วกลาง หรือไม่ก็โค้งลงมาจดอยู่กับเส้น
สมองก็มี
หมายเลข ๒ คือ เส้นสมอง เส้นสมองนี้โคนของเส้นอยู่ระหว่างง่ามมือ คือระหว่างนิ้ว
ชี้กับนิ้วหัวแม่มือ ส่วนปลายของเส้นสมองพุ่งมาทางริมมือ ปลายของเส้นสมองบางเส้นพุ่ง
ข้ามมือมาหาริมมือตรงๆ ก็มี เส้นสมองบางเส้นโค้งลงไปเล็กน้อยก็มี บางเส้นโค้งลงไปทาง
ริมมือเกือบจะถึงข้อมือก็มี เส้นสมองบางเส้นโค้งปลายขึ้นไปหาเส้นหัวใจก็มี
หมายเลข ๓ คือ เส้นชีวิต เส้นชีวิตโคนของเส้นอยู่ระหว่างง่ามมือปลายของเส้นชี้
มายังซ่นมือ เส้นชีวิตบางเส้นสั้นบางเส้นยาว แต่พึงเข้าใจว่าเส้นชีวิตตอนที่พุ่งมาหาซ่นมือ
นั้น เป็นทางปลายของเส้นชีวิตทั้งสิ้น
หมายเลข ๔ บริเวณที่จุดไว้โดยรอบ หรือที่เนื้อนูนตรงกับนิ้วหัวแม่มือทั้งหมด เขาเรียกว่า
“ภายนอกนี้เขาใช้กั้นอาณาเขตระหว่างภายนอกกับภายในด้วยเส้นชีวิต
หมายเลข ๕ บริเวณที่จุดไว้โดยรอบเขาเรียกว่า “ภายใน” ภายในนี้เขารวมอาณาเขต
กลางฝ่ามือทั้งหมดเข้าด้วยกัน และใช้กั้นภายในกับภายนอกด้วยเส้นชีวิต
หมายเลข ๖ คือพื้นที่ๆ จุดไว้โดยรอบหมายเลข ๖ เขาเรียกพื้นที่ทั้งหมดนี้ว่า “พื้นที่
ตอนบนของเส้นสมอง”
หมายเลข ๗ คือพื้นที่ๆ จุดไว้โดยรอบหมายเลข ๗ เขาเรียกพื้นที่ตอนนี้ว่า “พื้นที่
ตอนบนของเส้นหัวใจ”
การที่จำเป็นจะต้องจำแนกพื้นที่ต่าง ๆ บนฝ่ามือออกไปเช่นนี้ ก็เพราะคำเรียกชื่อ
พื้นที่ต่างๆ เหล่านี้ จะต้องเอาไปประกอบกับคำบรรยายในบทเรียนต่อๆ ไปอีก ถ้าไม่ทำเป็น
บทเรียนไว้ให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนเสียก่อน เมื่อผู้ศึกษาคนใดได้เล่าเรียนในบทเรียนนี้แล้วต่อไป
จะหลงลืมเสียมิได้เช่นเดียวกันเพราะการบรรยายต่อไปนั้น ย่อมจะกล่าวถึงพื้นที่เหล่านี้
เสมอๆ ถ้าผู้บรรยายกล่าวถึงพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดแล้ว ผู้ศึกษาจะต้องเข้าใจให้ได้ว่าคำว่าพื้นที่
ใดๆ ที่หลักวิชานี้เรียกถึงนั้นหมายความว่าพื้นที่เหล่านั้นอยู่ตรงไหนของมือ และถ้าผู้ศึกษา
คนใดยังไม่เข้าใจ ก็สามารถจะเปิดกลับมาเรียนในบทนี้ซ้ำอีกก็ได้
อนึ่ง อันเส้นทั้ง ๓ เส้นเท่าที่เกิดขึ้นบนมือของคนเรา เส้นทั้ง ๓ เส้นนี้มีเกือบทุกมือ
เมื่อผู้ศึกษาได้เรียนในบทนี้แล้ว ก็ขอให้จดจำไว้ว่าเส้นทั้ง ๓ เส้นนี้มีเกือบทุกมือ เมื่อผู้ศึกษา
ได้เรียนในบทนี้แล้ว ก็ขอให้จดจำไว้ว่าเส้นทั้ง ๓ เส้นนี้ปลายโคนอยู่ที่ใด เพราะถ้าในชั้นนี้ผู้
เล่าเรียนยังไม่เข้าใจแล้ว การฟังคำบรรยายในบทต่อๆ ไปก็จะไม่เข้าใจเลย จนกระทั่งไม่
สามารถจะเล่าเรียนในวิชานี้ได้
การที่จะให้เข้าใจว่าเส้นทั้ง ๓ เส้นนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร ผู้ศึกษาทุกๆ คนสามารถ
จะแบมือของท่านเองขึ้นดู หรือขอดูมือคนที่ใกล้ชิดกันบ้างก็จะรู้จักเส้นทั้ง ๓ เส้นนี้ดี เมื่อ
ทราบลักษณะของเส้นทั้ง ๓ เส้นนี้แล้ว ผู้ศึกษาก็ควรกำหนดเอาเองว่า เส้นที่กล่าวนานมา
แล้วทั้ง ๓ เส้นนี้ ปลายของเส้นหรือโคนของเส้นนั้นอยู่ทางไหน เมื่อผู้ศึกษาหัดกำหนดเส้น
ทั้ง ๓ เส้นนี้บนมือของตนเอง หรือบนมือของคนอื่น ๆ ดูบ้างแล้ว ก็จะรู้จักปลายโคนของ
เส้นทั้ง ๓ เส้นนี้ได้อย่างแน่นอน
|
|
|
|