สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
(17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน ทรงเป็น
พระมหากษัตริย์ผู้ก่
ของราชอาณาจักรธนบุรี
พระสถูปบรรจุพระบรมอัฐิของส
วัดอินทารามวรวิหาร ภายหลังมีผู้ขนานพระสถูปนี้
อีกองค์หนึ่ง
พระอัครมเหสีของพระองค์
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง
ณ พระราชวังกรุงธนบุรี
ภาพจิตรกรรมการรบที่บางแก้ว
...เรื่องเก่าเล่าตำนาน...
พสกนิกรอดอยากหิวโซ!!
ต่างรุมล้อมช้างพระที่นั่ง จนเกือบจะถูกช้างเหยียบตาย!!
www.arjanpong.com
#พระเจ้าตาก #กรุงธนบุรี #ประวัติศาสตร์
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชเลขากล่าวว่า
“ลุศักราช ๑๑๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก จึงท้าวพระยาข้าราชการจีนไทยผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ก็ปรึกษาพร้อมกันอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นบรมกษัตริย์ผ่านพิภพลีลา ณ กรุงธนบุรี ตั้งขึ้นเป็นราชธานีสืบไป
ทรงพระกรุณาให้แจกจ่ายอาหารแก่ราษฎรทั้งหลาย ซึ่งอดโซอนาถาทั่วสีมามณฑล เกลื่อนกล่นกันมารับพระราชทานมากกว่าหมื่น บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือนไทยจีนทั้งปวงนั้น ได้รับพระราชทานข้าวสารเสมอกันคนละถังกินคนละยี่สิบวัน ครั้งนั้นยังหาผู้ใดทำไร่นาไม่ อาหารกันดารนัก และสำเภาบรรทุกข้าวสารมาแต่เมืองพุทไธมาส จำหน่ายถังละสามบาท สี่บาท ห้าบาทบ้าง ทรงพระกรุณาให้ซื้อแจกคนทั้งปวงโดยพระราชอุตสาหะโปรดเลี้ยงสัตว์โลก พระราชทานชีวิตไว้มิได้อาลัยแก่พระราชทรัพย์ แล้วแจกจ่ายเสื้อผ้าเงินตราแก่ไพร่ฟ้าประชาชนจักนับมิได้
และทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยครบตามตำแหน่งถานานุศักดิ์เหมือนแต่ก่อน แล้วโปรดตั้งเจ้าเมืองกรมการให้ออกไปครองหัวเมืองใหญ่น้อยซึ่งอยู่ในพระราชอาณาจักรใกล้ๆนั้นทุกๆเมือง ให้ตั้งเกลี้ยกล่อมซ่องสุมอาณาประชาราษฎรซึ่งแตกฉานซ่านเซ็นไปนั้น ให้กลับมาอยู่ภูมิลำเนาเหมือนแต่ก่อนทุกบ้านทุกเมือง...”
อาหารนับเป็นสิ่งมีค่ายิ่งในยามนั้น การพระราชทานอาหารจึงเหมือนพระราชทานชีวิต บรรดาราษฎรต่างพากันแซ่ซ้องสาธุการ เบียดเสียดกันเข้าห้อมล้อมชมพระบารมีจนเกือบชิดช้างพระที่นั่ง ทำให้พระองค์ทรงห่วงใยราษฎรที่อาจถูกช้างเหยียบหรือทำร้าย จึงมีพระราชดำรัสเตือนฝูงชนว่า
“อย่าเข้ามาใกล้ ลูก เดี๋ยวช้างมันจะทำร้ายเอา”
พระราชดำรัสอันเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาต่อไพร่ฟ้าประชาราษฎร์นี้ ทำให้เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจแก่ราษฎรโดยทั่วกัน และเมื่อความอดอยากหิวโหยหมดไป กำลังใจกลับคืนมา บ้านเมืองกลับเข้าสู่ความสงบสุข ราษฎรจึงลงมือทำนาฟื้นฟูเรือกสวนกันอีกครั้ง
นอกจากนี้เมื่อยามว่างศึก ยังทรงเกณฑ์ให้ทหารและข้าราชการไปทำนา โดยให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุสีห์ พระยาธรรมา คุมไพร่พลไปทำนาที่ทะเลตมฟากตะวันออก แถวทุ่งบางกะปิและสามเสน ให้พระยายมราช พระยาราชสุภาวดี คุมพลไปทำนาที่ทะเลตมฟากตะวันตก แถวทุ่งกระทุ่มแบน หนองบัว แขวงเมืองนครชัยศรี
ขณะนั้นข้าวสารราคาสูงมากเนื่องจากขาดแคลนและความต้องการก็มีสูง บรรดาสำเภาค้าต่างเร่งรีบไปบรรทุกข้าวสารจากประเทศใกล้เคียงเข้ามาขาย เมื่อปริมาณมีมากราคาก็ลดลง จนเมื่อข้าวที่ราษฎรและข้าราชการปลูกเริ่มเก็บเกี่ยวได้ วิกฤตการณ์ด้านอาหารก็ค่อยๆคืนสู่ความเป็นปกติ ความอดอยากหิวโหยหมดไป ด้วยพระบารมีล้นเกล้า ที่ทรงมีพระราชดำริไว้ว่า" อิ่มก็อิ่มด้วยกัน อดก็อดด้วยกัน!!.."
วันที่: Fri Nov 15 14:30:14 ICT 2024
|
|
|