ล้นเกล้า ร.6 กับกองกำลังเสือป่ารักษาพระ
ล้นเกล้า ร.6 กับ"ย่าเหล"สุนัขทรงเลี้ยง
กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม
โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่
และปัญญาชนกลุ่
พระราชทาน
แต่แผนการแตกเสียก่อน
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้าผู้ก่อการ
...เรื่องเก่าเล่าตำนาน...
กบฏหมอเหล็ง!!
www.arjanpong.com
#กบฏ #หมอเหล็ง #เสือป่า
โดยเหตุที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระทัยฝักใฝ่ในการฝึกกองเสือป่าเป็นอย่างมากทำให้นายทหารหนุ่มกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่ากลุ่มยังเตอร์กไม่พอใจและก่อการปฏิวัติขึ้น หลังจากการครองราชย์เพียง 1 ปีที่เรียกว่า “การปฏิวัติ ร.ศ.130”
จหมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ได้เขียนรายละเอียดเรื่องนี้ไว้โดยอ้างอิงจากหนังสือ “หอมเหล็งรำลึก” ซึ่งเป็นหนังสือแจกในงานศพของ หมอเหล็ง ศรีจันทร์ หรือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้น รวบรวมโดยคณะผู้ร่วมก่อการหนุ่มหรือยังเติร์ก เช่น ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ ร.ต.จรูญ ษะตะเมศ ฯลฯ พูนวิวัฒน์ ร.ต.จรูญ ษะตะเมศ ฯลฯ
“คณะผู้ก่อการได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2454 ที่ศาลาพักร้อน บ้านหมอเหล็ง ศรีจันทร์ ถนนสาธร ต่อจากนั้นได้มีการประชุมครั้งที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ตามมา จนกระทั่งกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 ได้ย้ายไปประชุมในสวนของนายอุทัย เทพหัสดิน อีกหลายครั้ง วางแผนจะลงมือในวันที่ 3 เมษายน อันเป็นวันถือน้ำพิพัฒน์สัตยาภายในอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยหัวหน้าคณะปฏิวัติจะเป็นผู้ถวายหนังสือต่อพระเจ้าอยู่หัวอย่างละมุนละม่อม เพราะทหารในที่นั้นรวมทั้งทหารกองเกียรติยศและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จะคอยฟังคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติแต่ผู้เดียว
การประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ณ สำนักงานทนายความ ร.ท.จรูญ ได้เชิญสมาชิกใหม่ คือหลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ) มาร่วมด้วย เมื่อหลวงสินาดโยธารักษ์เดินเฉียดน้ำยาอุทัยที่ตั้งไว้ตอนรับแขกโดยมิได้กระทบประการใด แล้วน้ำใบนั้นก็แตกโพละ ขาดเป็นกลางออกสองท่อนคล้ายถูกตัด น้ำสีชมพูไหลเลอะพื้นกระดาน ทุกคนตะลึกงันคล้ายเป็นลางร้อย
ทันใดนั้น ร.ท.จือ ผู้วางแผนการคนหนึ่งก็รีบลุกขึ้นเดินเข้าไปหยิบแก้วที่แตกท่อนบนซึ่งขาดคาอยู่ยกชูขึ้นท่ามกลางที่ประชุมพร้อมกับพูดด้วยภาษาอังกฤษด้วยเสียงดังว่า “Here’s Absolute Monarchy” สองสามครั้ง ทำให้ที่ประชุมปรบมือด้วยการสรวลเสเฮฮากันขึ้นเพื่อเป็นการปลุกขวัญ
ก่อนปิดประชุม หลวงสินาดโยธารักษ์ได้ยืนขึ้นกล่าวขอลาไปรับตำแหน่งที่จังหวัดพิษณุโลกตามค่ำสังของกระทรวงกลาโหม ขอรับคำมั่นสัญญาออกไปเกลี้ยกล่อมทหารในมณฑลนั้น
แต่ปรากฏว่าเมื่อหลวงสินนาดฯ ออกจากที่ประชุมไปแล้วได้ตรงไปเฝ้ากราบทูลเรื่องราวต่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถทันที พระองค์ท่านจับรถไฟด่วนพิเศษออกไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในเย็นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ แล้วเสด็จกลับในวันนั้น ทำให้เสือป่าที่นั่นพากันสงสัยว่าพระเจ้าน้องยาเธอฯ มีเรื่องด่วนมาเฝ้าด้วยเรื่องใด
วันรุ่งขึ้น ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ฯ เสนาธิการทหารบก ซึ่งทำการแทนเสนาบดีกระทรวงกลาโหม (เพราะเสด็จในกรมฯ) กรมหลวงนครไชยศรีฯ ทรงพระประชวรพระโรคภายใน และเสด็จไปรักษาพระองค์ ณ ประเทศยุโรป) ได้ออกคำสั่งลับเฉพาะด่วนมากเรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ชั้นผู้บังคับกรมขึ้นไป ณ กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นห้องประชุมใหญ่หน้าห้องเสนาบดี ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ฯ ทรงเป็นประธานดำเนินการประชุมเอง ประตูห้องทุกบานปิดลงกลอนสนิท
แต่ถึงกระนั้น ชาวคณะปฏิวัติ ร.ศ.130 ก็แอบจับเค้าเรื่องการประชุมได้ โดย ร.ท.เจือ ควกุล นายทหารเสนาธิการประจำกองทัพที่ 1 รู้สึกผิดสังเกตเมื่อแอบดูทางรูกุญแจห้องก็เห็นแต่องค์ประธานรับสั่งไม่หยุด ทรงลุกตรงไปยังแผนที่ ถอนธงที่ปักบนแผนที่ย้ายไปย้ายมาพร้อมกับรับสั่งไปพลาง ทีแรกเข้าใจว่าคงจะเป็นเพราะพวกจีนสไตรค์ดังที่เคยเกิดเมื่อ ร.ศ.129 แต่เหตุใดจึงต้องใช้กำลังทหาร จึงตัดสินใจผละกลับไปยังห้องทำงานรีบเปิดตู้นิรภัยที่เก็บหนังสือลับนำเอาแผนการปฏิวัติและหลักฐานทั้งหมดออกมาฉีกทำลายทิ้งตระกร้าผงอย่ารีบร้อน
เมื่อเลิกประชุม 11 นาฬิกานายทหารผู้ใหญ่ที่ประชุมอยู่ก็โผล่เข้ามาในห้องโดยปุบปับ ตรงเข้าจะรวบตัว ร.ท.จือ ร.ท.จือ ก็สายฟ้าแลบพอดู ยัดหนังสือลับชิ้นสำคัญฉบับสุดท้ายเข้าปากโผออกทางหน้าต่างพอตัวหลุดไปได้ครึ่งเอาก็ถูกรวบเอาเข้าไว้แน่น และลากถูลู่ถูกังเข้ามาในห้อง แต่หนังสือลับฉบับนี้ได้ไหลลงไปอยู่ในกระเพาะเสียแล้ว
ผู้ก่อการทั้งหมดถูกจับกุมและศาลทหารได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรต้องโทษทั้งหมด 11 คน โทษชั้น 1 ให้ประหาร 3 คน ได้แก่ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ท.จือ ศิลาอาสน์ (ควกุล), โทษชั้น 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต 20 คน, โทษชั้น 3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน, โทษชั้น 4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน, โทษชั้น 5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีพระเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ ได้พระราชทานชีวิตคนทั้ง 3 ไว้ โดยพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยอันน่าชื่นใจว่า
“เห็นว่า กรรมการพิเศษลงโทษพวกเหล่านี้ ชอบด้วยพระราชทานกำหนดกฏหมายทุกประการแล้วแต่ว่าความผิดชอบของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเราเรามิได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้”
(พระปรมาภิไธย)
โดยเหตุนี้ โทษประหารชีวตคงลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต โทษตลอดชีวิตลดลงเหลือ 20 ปี นอกนั้นให้รอการลงอาญา
ครั้นต่อมาเมื่อเสร็จลงครามโลกครั้งที่ 1 ได้พระราชทานอภัยโทษนักโทษเหล่านี้ลงจนเหลือเล็กน้อย และเมื่อเสวยราชย์ครบ 15 ปี คือเมื่อ 11 พ.ย.2467 ก็พระราชทานอภัยโทษทั่วกันหมดทุกคนท่านเหล่านี้เทิดทูลน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ไว้อย่างสูงสุด
ข้อความข้างต้นได้มาจากหนังสือ “หมอเหล็กรำลึก” ที่แจกในงานศพของหมอเหล็งฯ ซึ่งเป็นความรู้สึกสำนึกของผู้กระทำผิดเองที่ตระหนักถึงน้ำพระทัยของ ร.6 ที่ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมโดยแท้ในข้อ อกโกธํ คือไม่ทรงถือโกรธ เอกสารบางแห่งกล่าวว่าคณะผู้ก่อการฯ มีแผนจะดำเนินการครั้งนี้โดยการนองเลือดโดยจะปลงพระชนม์ขณะรถพระที่นั่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อเสด็จกลับจากการซ้อมรบของเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์หลวงสินาดฯ ผู้นี้เป็นผู้ที่จับสลากได้ให้เป็นผู้ปลงพระชนม์แล้วกลับใจหลังจากนั้นได้ถูกส่งไปศึกษาวิชาทหารต่อในฝรั่งเศส กลับมารับราชการมีความตีความชอบโดยลำดับบรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็นนายพันเอกพระยากำแพงรามภักดี....
Credit : http://crem-supawadee.blogspot.com/2010/07/130.html?m=1
วันที่: Fri Nov 15 14:29:40 ICT 2024
|
|
|