Napoleon Bonaparte อดีตจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ขอ
กองทัพของฝรั่งเศส เข้ายึดเมือง Toulon กลับคืนมาจากอังกฤษ นโปเลียนซึ่งดำรง
ตำแหน่งเป็
กองทัพของนโปเลียน ซึ่งถือว่าทันสมัย ทรหด อดทนและเลือดเย็น ได้ทำให้ออสเตรีย
ซึ่งบัญชาก
ที่มีชื่อว่าสนธิสัญญาก็อมโ
และยืดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน
ในปี พ.ศ. 2341 นโปเลียนได้นำกองทัพฝรั่งเศ
กองทัพของนโปเลียนจะมีชัย แต่ในการสู้รบทางเรือ กองทัพของนโปเลียนถูกกองทัพ
อังกฤษ ภายใต้การนำของ Lord Nelson ทำลายสิ้น
เขาอ้างว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใ
สามารถนำกองทัพเข้า
นโปเลียนได้ประกาศหลังจากกา
"ประชาชนทั้งหลาย...การปฏิว
นั่นคือ การปฏิวัติสิ้นสุดลงแล้ว"
สงครามกับรัสเซียในปี พ.ศ 2355 ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดพ
เมื่อนโปเลียนแพ้สงครามอย่า
ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนต
5 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2364 ขณะมีพระชนมายุได้ 52 ชันษา
*** ข่าวพลังภูผา..***
ใครฆ่านโปเลียน?? จอมจักรพรรดิบรรลัยโลก!!
www.arjanpong.com
#นโปเลียน #ฝรั่งเศส #ธรณีสันฑะฆาต
Napoleon Bonaparte อดีตจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสทรงประสูติที่เมือง Ajaccio บนเกาะ Corsica เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2312 ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การยึดครองของฝรั่งเศส ดังนั้น นโปเลียนจึงมีเชื้อชาติอิตาเลียน
ขณะที่อยู่ในวัยหนุ่ม นโปเลียนมีทัศนคติว่าฝรั่งเศสคือผู้รุกราน จะอย่างไรก็ตาม เขาก็ได้เข้าศึกษาวิชาทหารในประเทศฝรั่งเศสจนสำเร็จการศึกษาขณะที่มีอายุ ได้เพียง 16 ปี
จากนั้นก็ได้เข้ารับตำแหน่งนายร้อยโทในกองทัพ พออีก 4 ปีต่อมาได้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสที่ถูกจัด ตั้งขึ้นหลังการปฏิวัติได้ประกาศสงครามกับต่างชาติหลายประเทศ โดยได้ส่งกองทัพเข้ายึดเมือง Toulon กลับคืนมาจากอังกฤษ นโปเลียนซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารปืนใหญ่ในขณะนั้น ได้ตัดสินใจทิ้งสัญชาติ Corsican ของตนอย่างสิ้นเชิง และยอมรับว่าตนเป็นชาวฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์
การรบชนะสงครามครั้งนั้นได้นำชื่อเสียงมาสู่นโปเลียนมาก ทำให้ได้รับตำแหน่ง นายพลจัตวาในกองทัพบก เมื่อมีอายุได้ 27 ปี เขาได้รับการแต่งตั้งให้ควบคุมกองทัพบุกรุกอิตาลี และเมื่อได้ชัยชนะนโปเลียนก็ได้เดินทาง กลับฝรั่งเศสในฐานะวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติ
ในปี 2351 นโปเลียนได้กรีธาทัพบุกอียิปต์และสเปน การสู้รบได้ติดพันกันนานหลายปีจนในที่สุด ทั้งอียิปต์และสเปนได้ยอมเป็นพันธมิตร แต่นโปเลียน ก็ยังหาพอใจไม่เพราะตั้งใจ จะให้ปารีสเป็นเมืองหลวงของยุโรป จึงได้ทำสงครามกับรัสเซียต่อในปี 2355
เมื่อกองทัพรัสเซียใช้วิธีหลบเลี่ยงไม่ต่อสู้ กองทัพฝรั่งเศสซึ่งมีกำลังคน 400,000 คน จึงบุกเข้าไปในรัสเซียได้ลึกและเร็วและยึดกรุง Moscow ได้ในเดือนกันยายนของปีนั้นเอง ถึงแม้เวลาจะผ่านไปนานถึง 5 สัปดาห์ รัฐบาลรัสเซียก็ยังไม่ยอมลงนามในสัญญาสงบศึก
ขณะนั้นเป็นฤดูหนาวเมื่อทหารรัสเซียได้จุดไฟเผาเมืองและเสบียงอาหารในกองทัพเริ่มขาดแคลน การลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เริ่มติดขัด นโปเลียนจึงตัดสินใจถอยทัพกลับ และได้ถูกทหาร Cossack ของรัสเซียโจมตี ทำให้ทหารฝรั่งเศส จำนวนนับแสนล้มตาย
การแพ้สงครามของนโปเลียนในครั้งนั้นได้ทำให้รัสเซีย สวีเดน ออสเตรีย และปรัสเซียผนึกกำลังกันสู้ฝรั่งเศส และพิชิตฝรั่งเศสได้ในปี พ.ศ. 2356 จากนั้นกองทัพพันธมิตรได้บังคับให้นโปเลียนทรงสละราชสมบัติ และถูกเนรเทศไปประทับที่เกาะ Elba ซึ่งตั้งอยู่ในทะเล Mediterranean
แต่เมื่อประทับอยู่บนเกาะได้เพียงปีเดียว นโปเลียนก็ได้หลบหนีออกจากเกาะ Elba กลับไปฝรั่งเศสอีก การกลับคืนสู่อำนาจของ นโปเลียนในครั้งนั้น ได้ทำให้ออสเตรเลีย รัสเซีย เยอรมนี และอังกฤษ ร่วมกันประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกและเมื่อนโปเลียนแพ้ สงครามอย่างยับเยินที่ Waterloo จึงทรงถูกจับขังบนเกาะ St. Helena ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อให้มั่นใจว่า จักรพรรดิบรรลัยโลกพระองค์นี้จะไม่หวนกลับมารังควานโลกอีก
นโปเลียนได้สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2364 ขณะมีพระชนมายุได้ 52 ชันษา
คำถามที่นักประวัติศาสตร์ได้พยายามตอบมานานแล้วก็คือ ใครฆ่านโปเลียนหรือพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะโรคมะเร็งกระเพาะ
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 นักประวัติศาสตร์ นักพิษวิทยา และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะเร็งได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อ "ยุติ" ประเด็นสงสัยนี้ ในอดีตนักประวัติศาสตร์ได้เคยมีความเชื่อมานานว่า มะเร็งคือโรคร้ายที่คร่าชีวิตนโปเลียน แต่นักวิชาการรุ่นหลังๆ นี้กลับมีความเชื่อว่า นโปเลียนถูกปลงพระชนม์ เมื่อหน่วยสืบราชการลับ FBI ของสหรัฐฯ และ Scotland Yard ของอังกฤษได้พบว่าเส้นผมของนโปเลียนหลายเส้นมียาพิษ
และผู้ที่น่าสงสัยมากที่สุด ว่าเป็นผู้ทำการฆาตกรรมในครั้งนั้นก็คือท่าน Count แห่ง Montholon สหายคนสนิทของนโปเลียนนั่นเอง ผู้ได้ทำไปตามพระราชประสงค์ ของพระเจ้า Charles ที่ 10 ซึ่งเป็นพระราชาในอนาคตของฝรั่งเศสในขณะนั้น
พระศพของนโปเลียนที่ขณะนี้อยู่ที่ Les Invalides ในกรุงปารีส...
Credit: https://board.postjung.com :https://www.mwit.ac.th/~physicsl…/content_01/…/napoleon.html
วันที่: Fri Nov 15 17:25:04 ICT 2024
|
|
|