Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

มาฆบูชาบารมี...

ArjanPong | 09-02-2558 | เปิดดู 1948 | ความคิดเห็น 0

 

 

                         

 

 

 

                                       

 

 

 

 

 

 

 

วันพุธที่ 4มีนาคม2558เป็นวันขึ้น15ค่ำ เดือนสี่(4)ปีมะเมีย(วันมาฆบูชา)

 

 ไม่อาจถึงซึ่ง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย

 

ภิกษุทั้งหลาย ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว
ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงโคและทำฝูงโคให้เจริญได้. ความบกพร่องนั้นคืออะไรกันเล่า ?
คือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ ... เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล, ...


ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว
ไม่ควรที่จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้. องค์คุณนั้นคืออะไรกันเล่า ?
คือ ภิกษุในกรณีนี้ ... เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรกันเล่า ?


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ไม่อดกลั้น (อธิวาเสติ)
ไม่ละ (น ปชหติ)
ไม่บรรเทา (น วิโนเทติ)
ไม่ทำให้สิ้นสุด (น พฺยนฺตีกโรติ)
ไม่ทำให้หมดสิ้น (น อนภาวงฺคเมติ)
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยกาม (กามวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยความมุ่งร้าย (พยาบาทวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยการเบียดเบียน (วิหิงสาวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างไรกันเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
เห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก,
ลิ้มรสด้วยลิ้น, ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ,
แล้วก็มีจิตยึดถือเอา ทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด (โดยนิมิต)
และ การถือเอาโดยการแยกเป็นส่วน ๆ (โดยอนุพยัญชนะ)
สิ่งอันเป็นอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่
ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใด เป็นเหตุ
เธอไม่ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น อินทรีย์เหล่านั้นไว้
เธอไม่รักษา และไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล.
(ในที่นี้ ยกมาให้เห็นเพียง ๒ จากทั้งหมด ๑๑ คุณสมบัติ)

 

มู. ม. ๑๒/๔๑๐/๓๘๔-๕.

พุทธวจน

อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คฤจภัฏ คฤตฐฤงคจฆฑ.., อ่านว่า... คิดจะพัก คิดถึง คิดแคท...!!!..เอ วัง

 

"อธิจะตังมินังเอามะตัง จธิจะตังมิตังอะมะนัง" แปล ไอ้ที่จะนั่งไม่นั่งเอามาตั้ง ส่วนไอ้จะตั้งไม่ตั้งเอา มานั่ง บาลีกะเหรี่ยง -

 

 

 

 

 

                         

 

 

 

                                       

 

 

 

 

 

 

 

วันพุธที่ 4มีนาคม2558เป็นวันขึ้น15ค่ำ เดือนสี่(4)ปีมะเมีย(วันมาฆบูชา)

 

 ไม่อาจถึงซึ่ง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย

 

ภิกษุทั้งหลาย ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว
ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงโคและทำฝูงโคให้เจริญได้. ความบกพร่องนั้นคืออะไรกันเล่า ?
คือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ ... เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล, ...


ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว
ไม่ควรที่จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้. องค์คุณนั้นคืออะไรกันเล่า ?
คือ ภิกษุในกรณีนี้ ... เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรกันเล่า ?


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ไม่อดกลั้น (อธิวาเสติ)
ไม่ละ (น ปชหติ)
ไม่บรรเทา (น วิโนเทติ)
ไม่ทำให้สิ้นสุด (น พฺยนฺตีกโรติ)
ไม่ทำให้หมดสิ้น (น อนภาวงฺคเมติ)
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยกาม (กามวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยความมุ่งร้าย (พยาบาทวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยการเบียดเบียน (วิหิงสาวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว
ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างไรกันเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
เห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก,
ลิ้มรสด้วยลิ้น, ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ,
แล้วก็มีจิตยึดถือเอา ทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด (โดยนิมิต)
และ การถือเอาโดยการแยกเป็นส่วน ๆ (โดยอนุพยัญชนะ)
สิ่งอันเป็นอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่
ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใด เป็นเหตุ
เธอไม่ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น อินทรีย์เหล่านั้นไว้
เธอไม่รักษา และไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล.
(ในที่นี้ ยกมาให้เห็นเพียง ๒ จากทั้งหมด ๑๑ คุณสมบัติ)

 

มู. ม. ๑๒/๔๑๐/๓๘๔-๕.

พุทธวจน

อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คฤจภัฏ คฤตฐฤงคจฆฑ.., อ่านว่า... คิดจะพัก คิดถึง คิดแคท...!!!..เอ วัง

 

"อธิจะตังมินังเอามะตัง จธิจะตังมิตังอะมะนัง" แปล ไอ้ที่จะนั่งไม่นั่งเอามาตั้ง ส่วนไอ้จะตั้งไม่ตั้งเอา มานั่ง บาลีกะเหรี่ยง -

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

              ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา

 

 

                         

 

                                        

 

                           วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558เ ป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะเมีย

 

 

 

มหาราช ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์
บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น
ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ


ทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายลางดีลางร้าย ทำนายฝัน
ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่น
เวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธี
ซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชา
ไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดู
อวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก
เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู
เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด
เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ
เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์.............
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

 


อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะ
แก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะ
ศัสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู
ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทาย
ลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทาย
ลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะ
กระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะ
แพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนก
กระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า
ทายลักษณะมฤค...........
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

 



อีกอย่างหนึ่งเมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า
พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจัก
ยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอก
จักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายใน
จักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจัก
มีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย
พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ.......
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

 



อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจัก
มีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์จักโคจรถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรผิด
ทาง ดาวนักษัตรจักโคจรถูกทาง ดาวนักษัตรจักโคจรผิดทาง
จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร จักขึ้น จักตก จักมัวหมอง
จักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราส
จักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวง
จันทร์ดวงอาทิตย์โคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร
ขึ้น ตก มัวหมอง กระจ่าง จักมีผลเป็นอย่างนี้..........
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็
เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

 



อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่า
จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีอาหารหาได้ง่าย จักมีอาหาร
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความ
สำราญหาโรคมิได้ หรือคำนวณฤกษ์ยาม คำนวณดวงชะตา
จับยาม แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์........
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

 



อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาห
มงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย
ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรง
กระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวง
พระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธี
เชิญขวัญ........
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

 



อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธี
ปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาแก้ลมตีขึ้น
เบื้องบน ปรุงยาแก้ลมตีลงเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทาให้กัด
ปรุงยาทาให้สมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา
ชะแผล........
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

 



มหาราช ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่
ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะสีลสังวรนั้นเปรียบเหมือน
กษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่
ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น.

 

 

มหาราช ! ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้
แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะสีลสังวรนั้น ภิกษุ
สมบรูณ์ด้วยอริยสีลขันธ์นี้ ย่อมไม่ได้เสวยสุข อันปราศจากโทษ
ในภายใน.
มหาราช ! ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

 

 

 

พุทธวจน

อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คนหลายพันแห่ร่วมพิธีศพ 3 นศ.มุสลิม - ครอบครัวเชื่อมือปืนมะกันลั่นไกเพราะ “เกลียดชังศาสนา”

 

 

คนหลายพันแห่ร่วมพิธีศพ 3 นศ.มุสลิม - ครอบครัวเชื่อมือปืนมะกันลั่นไกเพราะ “เกลียดชังศาสนา”
ยูซอร์ อาบู-ซัลฮา และราซัน อาบู-ซัลฮา สองพี่น้องที่ถูกยิงเสียชีวิต

 

 

 เอเอฟพี - วานนี้ (12 ก.พ.) ครอบครัวของหนุ่มสาวชาวมุสลิม 3 คนที่ถูกเพื่อนบ้านกราดยิงเสียชีวิตในสหรัฐฯ ได้กล่าวร่ำลาผู้เสียชีวิตในสภาพน้ำตานองหน้า พร้อมกับกำชับให้ทางการสืบสวนเหตุสังหารหมู่ครั้งนี้ โดยถือเป็นการก่ออาชญากรรมจากความเกลียดชัง

 ประชาชนกว่า 5,000 คนหลั่งไหลไปร่วมไว้อาลัย ดีอาห์ ชาดดี บารากัต นักศึกษาชายวัย 23 ปี และ ยูซอร์ โมฮัมหมัด อาบู-ซัลฮา ภรรยาหมาดๆ วัย 21 ตลอดจนน้องสาวของเธอชื่อ ราซัน โมฮัมหมัด อาบู-ซัลฮา วัย 19 ปี ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสหรัฐฯ ระบุว่า ถูกเพื่อนบ้านคนหนึ่งสังหารในเมืองแชเปิลฮิลล์ มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา

ทั้งนี้ เชื่อกันว่า เครก สตีเฟน ฮิกส์ วัย 46 ปี ผู้ต้องหาในคดีกราดยิงครั้งนี้ มีจุดยืนต่อต้านศาสนาอย่างรุนแรง เนื่องจากเขาเคยโพสต์ข้อความโจมตีศาสนาผ่านทางเฟซบุ๊กอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งใช้ถ้อยคำประณามศาสนาคริสต์ ลัทธิมอร์มอน และศาสนาอิสลาม

ตำรวจสหรัฐฯ ระบุว่า ได้สืบสวนเหตุกราดยิงเมื่อวันอังคาร (10) โดยสันนิษฐานว่ามีชนวนขัดแย้งมาจากการแย่งที่จอดรถ แต่ครอบครัวของเหยื่อผู้เสียชีวิตปักใจเชื่อว่า ผู้ก่อเหตุมีแรงจูงใจมาจากความเกลียดชังศาสนา

สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) ระบุว่า ได้เปิดฉากสอบสวนคดีฆาตกรรมควบคู่กับตำรวจสหรัฐฯ ทั้งนี้อัยการกลางมักเข้าตรวจสอบคดี ที่ต้องสงสัยว่ามีแรงจูงใจจากความเกลียดชังอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหากพิสูจน์ได้จริงว่าผู้ต้องหาก่ออาชญากรรม โดยมีความรู้สึกเกลียดชังเหยื่อเป็นแรงกระตุ้น ก็ย่อมได้รับโทษร้ายแรงยิ่งขึ้นไปอีก

โมฮัมหมัด อาบู-ซัลฮา พ่อของเด็กสาวที่เสียชีวิต 2 คนยืนกรานว่า “เราแน่ใจว่าลูกสาวของเราถูกทำร้าย” เพราะความเกลียดชังศาสนา

“เด็กๆ พวกนี้ถูกยิงเข้าที่ท้ายทอย ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากการแย่งที่จอดรถกันแน่นอน” เขากล่าว ขณะถูกรายล้อมด้วยสมาชิกครอบครัวที่กำลังร่ำไห้ ก่อนจะเตรียมละหมาดครั้งสุดท้าย

 เขาเล่าว่า ก่อนหน้านี้ ยูซอร์ ลูกสาวของเขาเคยบ่นว่า ฮิกส์ข่มขู่เธอ ด้วยการมาเคาะประตูบ่นเรื่องที่จอดรถ พร้อมทั้งเหน็บปืนไว้ที่เอว

 

 

 

คนหลายพันแห่ร่วมพิธีศพ 3 นศ.มุสลิม - ครอบครัวเชื่อมือปืนมะกันลั่นไกเพราะ “เกลียดชังศาสนา”

 

 

 

ชาวบ้านบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ฮิกส์เป็นพวกชอบก่อปัญหา เขาชอบชวนเพื่อนบ้านทะเลาะเรื่องที่จอดรถ และพกปืนในที่สาธารณะอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ตามรายงานของสื่อในท้องที่

ทั้งนี้ ในหมู่ประชากร 9.9 ล้านคน ในมลรัฐนอร์ทแคโรไลนานั้นเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามราว 65,000 คน และชาวมุสลิมส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองแชเปิลฮิลล์

เหตุสังหารครั้งนี้ได้จุดประกายให้ชาวมุสลิมทั่วโลกพากันโกรธแค้น และพร้อมใจกันประณามผู้ก่อเหตุผ่านทวิตเตอร์ โดยแนบแฮชแท็ก #ChapelHillShooting และ #MuslimLivesMatter

โมฮัมหมัด อาบู-ซัลฮา พ่อของผู้ตาย ต่อต้านการที่สื่อบิดเบือนภาพลักษณ์ของชาวมุสลิม และชี้ว่า หนุ่มสาวที่ถูกฆ่า และกำลังใจที่พวกเขาได้รับนั้นเป็นตัวอย่างที่ดีของแรงศรัทธา

“ศาสนาอิสลามไม่ได้เป็นอย่างที่คุณได้ยินจากสื่อ ไม่เหมือนในภาพยนตร์ ‘อเมริกันสไนเปอร์’ ” เขาระบุถึงหนังฮอลลีวูดที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตพลแม่นปืนหน่วยซีล ของกองทัพแดนอินทรี ที่ปลิดชีพพวกหัวรุนแรงอิสลามิสต์ในสงครามอิรัก



*** ชีวิตทุกคนมีค่า ***

ญาติพี่น้องและเพื่อนสนิทมิตรสหายหลั่งไหลไปร่วมไว้อาลัยเหยื่อทั้งสาม ในพิธีศพตามประเพณีมุสลิม

พ่อแม่ของผู้ตายร่ำไห้ เมื่อเห็นศพลูกๆ ถูกฝัง โดยพวกเขาฝังสองพี่น้องไว้ในหลุมเดียวกัน ที่อยู่ถัดจากหลุมศพดีอาห์ ขณะฝูงชนเปล่งเสียงสวดมนต์ดังกึกก้อง

ดีอาห์ และยูซอร์ เพิ่งเข้าพิธีสมรสเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ปีที่แล้ว และเจ้าสาวหมาดๆ คนนี้ก็กำลังจะเข้าเรียนคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ในเดือนสิงหาคมนี้

 
คนหลายพันแห่ร่วมพิธีศพ 3 นศ.มุสลิม - ครอบครัวเชื่อมือปืนมะกันลั่นไกเพราะ “เกลียดชังศาสนา”


 
คนหลายพันแห่ร่วมพิธีศพ 3 นศ.มุสลิม - ครอบครัวเชื่อมือปืนมะกันลั่นไกเพราะ “เกลียดชังศาสนา”


 
คนหลายพันแห่ร่วมพิธีศพ 3 นศ.มุสลิม - ครอบครัวเชื่อมือปืนมะกันลั่นไกเพราะ “เกลียดชังศาสนา”


 


 

 

 

 

 



 
คนหลายพันแห่ร่วมพิธีศพ 3 นศ.มุสลิม - ครอบครัวเชื่อมือปืนมะกันลั่นไกเพราะ “เกลียดชังศาสนา”
เครก สตีเฟน ฮิกส์ ผู้ลั่นไกสังหารผูู้ตาย

 

 

 

สงครามศาสนา

สงครามครูเสด

สงครามครูเสด คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ส่วนมุสลิมเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ และดินแดนแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์

 

สงครามครูเสดในมุมมองคริสต์ สงครามครูเสด คือ สงครามไม้กางเขนเดิมมาจากคำว่า “ครอส” และเดิมทีดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (เยรูซาเลม) นั้นเป็นของชาวคริสต์อยู่แล้ว แต่ถูกชาวมุสลิมรุกราน ฝ่ายคริสต์มีการประกาศความชอบธรรมในการทำสงคราม และยังยกหนี้สินให้กับคนที่เข้าร่วมสงคราม และผู้นำศาสนายังประกาศว่าผู้ใดที่ร่วมรบจะได้ขึ้นสวรรค์

 

สงครามครูเสดในมุมมองมุสลิม สงครามครูเสด คือ การรุกรานของชาวคริสต์ที่กระทำต่อมุสลิม สาเหตุสงครามเกิดจากการที่ชาวคริสต์ไม่พอใจชาวมุสลิมที่ไม่ต้อนรับพวกตนในการเข้าไปแสวงบุญที่ เยรู-ซาเลม เป็นต้น

 

“สงครามครูเสด” มีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนา เป็นสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งชาวมุสลิมใช้คำว่า “จิฮัด” ในภายหลังคำว่า สงครามครูเสดถูกนำไปใช้ในทำนอง การรณรงค์ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมด้านต่างๆ เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า “ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์” สาเหตุของสงครามครูเสด สรุปได้ดังนี้

 

  1. สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันเป็นเวลาช้านาน ระหว่างคริสตจักรทางภาคตะวันตกกับทางภาคตะวันออก ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง โดยนำเสนอความเป็นผู้นำในการรบเพื่อทวงคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ และหยุดยั้งการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามที่เป็นไปอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นทั่วไปในหมู่ชาวคริสเตียนในยุโรป ด้วยเหตุดังกล่าว ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสเตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม
  2. ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสเตียนยังนครเยรูซาเล็มมีมากกว่าที่เคยเป็นมา ในช่วงนั้น เยรูซาเล็มตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม ผู้แสวงบุญชาวคริสเตียนจึงมีความต้องการดินแดนเยรูซาเล็มเป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกในการแสวงบุญมากยิ่งขึ้น
  3. ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พวกเจ้าเมืองต่างๆ ต่างก็ต่อสู้ทำสงครามซึ่งกันและกัน พระสันตะปาปา มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสเตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิมแทนโดยอ้างว่าจะได้รับกุศลผลบุญ และเพื่อเอานครอันศักดิ์สิทธิ์ เยรูซาเล็มกลับคืนมา
  4. มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา การค้าพาณิชย์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนจึงตกอยู่ในความควบคุมของมุสลิมอย่างเต็มที่ ดังนั้นชาวคริสเตียนในยุโรปจึงต้องทำสงครามกับมุสลิมเพื่อหยุดยั้งความเจริญก้าวหน้าของมุสลิม
  5. สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ประสงค์จะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย จึงได้เรียกประชุมชาวคริสเตียนที่เมืองเลอมองค์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 และรบเร้าให้ชาวคริสเตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ท่านได้สัญญาว่าผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู่จะได้รับการยกเว้นจากบาปที่เคยทำมา และผู้ที่ตายในสงครามก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์ (Frank ) และนอร์แมน ( Norman ) คนเหล่านี้ได้มาชุมนุมกันที่เมืองเยรูซาเล็ม

 

ประวัติสงครามครูเสดโดยย่อ

 

จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด หลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์

 

และอีกไม่กี่ปีต่อมาคือ ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนัก เพราะอิสลามกำลังเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลเข้าไปทุกที จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ เพราะนั่นเท่ากับว่าจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์เป็นผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด

 

หากเราพิจารณาในวงแคบลงมาแล้ว ในความรู้สึกของชาวยุโรปนั้น ตนถูกรุกรานจากพวกตะวันออกคือโลกมุสลิมมาโดยตลอด นับตั้งแต่ ค.ศ. 632 เป็นต้นมา อิสลามได้ขยายอำนาจของตนเข้าไปในเขตแดนที่ตะวันตกเคยมีอำนาจ เช่น ซีเรีย อียิปต์ แอฟริกาเหนือ ตลอดจนคาบสมุทรไอบีเรีย ( สเปน และโปรตุเกส ) ซ้ำยังคุกคามจักรวรรดินิยมที่ยิ่งใหญ่ในโลกตะวันตกคือไบแซนไทน์ และสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่สถาบันที่เป็นหัวใจของวัฒนธรรมตะวันตกและคริสต์ศาสนา นั่นก็คือกรุงโรม โดยมุสลิมสามารถยึดครอบครองบางส่วนของอิตาลี ตลอดสมัยนี้การค้ากับตะวันออก ตกอยู่ในมือของอิสลาม สงครามครูเสดจึงเป็นความพยายามของชาวตะวันตกที่จะล้มอำนาจของตะวันออกที่เป็นมุสลิมหลังจากที่แพ้มาโดยตลอด

 

แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางฝ่าอันตรายไปยังโลกอิสลาม คือ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญตามอุดมคติของอัศวินที่ดี พวกทาสต้องการเป็นอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนารวมทั้งความพยายามของ พระสันตะปาปาในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การบังคับบัญชาของตนแต่เพียงผู้เดียว ประกอบกับสมัยนั้นอำนาจของอิสลามเองก็ได้อ่อนแอลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน คือ ภายหลังที่ซัลจู๊คเสื่อมอำนาจลง โลกอิสลามได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ปราศจากศูนย์กลางอีกครั้ง คอลีฟะฮฺแห่งฟาฏีมียะฮฺเองก็ตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและพยายามจำกัดอำนาจของตนอยู่เฉพาะในอียิปต์เท่านั้น

 

พระสันตะปาปาได้ทำการเรียกร้องให้ทำสงครามครูเสด กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องทำเพราะเป็นคำสั่งของพระเจ้า แต่ทว่าเกรกกอรีที่ 7 ได้เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะปฏิบัติตามสัญญาในปี ค.ศ.1095 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องทำนองเดียวไปยังพระสันตะปาปาคนใหม่ คือ เออร์บานที่ 2 ซึ่งพระสันตะปาปาคนนี้ก็ได้ตอบรับการเรียกร้องทันที พระสันตะปาปาได้จัดประชุมกันที่เคลมองต์ ( Clerment ) ในประเทศฝรั่งเศส เรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม..คำปราศรัยของพระสันตะปาปามีใจความว่า

 

“ด้วยบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ ( มุสลิม )”

 

ปรากฏว่าพระสันตะปาปารวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสไปร่วมทำสงครามครูเสด จะเห็นว่าในบรรดาชายชาวยุโรปที่กระเหี้ยนกระหือรือในการทำสงครามครูเสดมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ ชาวฝรั่งเศส ดังนั้น การจัดตั้งรัฐต่างๆในตะวันออกกลางภายหลังที่พวกครูเสดสามารถปกครองดินแดนนี้จึงเป็นรัฐของฝรั่งเศส บาทหลวง บรรดาเจ้าชาย อัศวิน และนักรบล้วนแต่เป็นชาวฝรั่งเศสเสียส่วนใหญ่

 

ในขณะที่ทัพครูเสดกำลังจะยกมารบกับอิสลาม ก็ได้มีกองทัพของประชาชนผู้มีศรัทธาแรงกล้าเดินทัพมาก่อนแล้วในปี ค.ศ.1094 ตามคำชักชวนของ ปีเตอร์ นักพรต ( Peter of Amines ) เขาผู้นี้ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป เพื่อป่าวประกาศเรื่องราวการกดขี่ของชาวเติร์กต่อชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ซึ่งหาได้เป็นความจริงไม่ กล่าวได้ว่ากองทัพนี้เป็นกองทัพของประชาชนมากกว่ากองทัพของทหารที่จะไปทำสงคราม เพราะมีผู้นำที่เป็นบาทหลวงและสามัญชนธรรมดาปราศจากความรู้ในการรบ และมิได้มีอาวุธที่ครบครัน ปรากฏว่ากองทัพนี้ส่วนใหญ่มาถึงเพียงฮังการี เพราะเมื่อขาดอาหารลงก็จะทำการปล้นสะดม จึงถูกประชาชนแถบนั้นต่อต้าน และส่วนใหญ่จะตายเสียตามทาง ที่เหลือรอดมาซึ่งมีจำนวนเล็กน้อย เมื่อเผชิญกับพวกซัลจู๊คจึงถูกตีแตกพ่ายกลับไป สงครามครั้งนี้มิได้ก่อให้เกิดผลสะท้อนใดๆ นอกจากจะกระตุ้นให้ชาวยุโรปมีความเกลียดชังมุสลิมมากขึ้นไปอีก

 

สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.1096 โดยมีอัศวินประมาณ 50,000 คนเข้าร่วม ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส เส้นทางที่ทหารครูเสดจะต้องเดินทางมานั้นมีระยะทาง 2,000 ไมล์ ทหารครูเสดที่มาในครั้งนั้นอยู่ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต แห่งนอร์มังดี ทหารบางคนเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วยเหตุผลทางศาสนา บางคนเข้าร่วมเพราะต้องการผจญภัยหรือแสวงโชค ใน ค.ศ.1099 ทหารครูเสดได้มาถึงด้านนอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม ฝ่ายมุสลิม (ซึ่งพวกทหารครูเสดเรียกว่า ซาราเซ็น ) ได้ต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ทหารครูเสดปิดล้อมเมืองอยู่เดือนกว่าจึงฝ่ากำแพงเข้าไปได้และเมื่อเข้าเมืองได้ ทหารคริสเตียนก็ฆ่ามุสลิมทุกคนที่พวกเขาพบ เพราะทหารคริสเตียนถือว่า ชาวมุสลิมทุกคนคือผู้ไม่ศรัทธาในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า

 

ใน ค.ศ. 1144 มุสลิมยึดเมืองอีเดสซากลับคืนมาได้ สงครามครูเสดครั้งที่สองเกิดขึ้นเพราะพวกยุโรปต้องการที่จะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมา แต่ต้องประสบความล้มเหลว ต่อมาใน ค.ศ.1187 ผู้นำมุสลิมคนใหม่คือ เศาะลาฮุดดีน (ซาลาดิน) ได้โจมตีอาณาจักรของคริสเตียนโดยเริ่มจากสงครามฮิตตินก่อน หลังจากนั้นก็เข้าไปยึดเมืองเยรูซาเล็มกลับคืนมาได้ ทหารมุสลิมต้องการที่จะประหารชาวคริสเตียนทั้งหมดที่อยู่ในเมือง แต่ซาลาดินไม่อนุญาต สงครามครูเสดครั้งที่สามเกิดขึ้น เพราะคริสต์จักรความต้องการที่จะขับไล่ซาลาดินออกจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ หนึ่งในบรรดาแม่ทัพที่นำทหารครูเสดมาในครั้งนั้นคือ กษัตริย์ริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษหรือที่รู้จักกันดีว่า “ริชาร์ดใจสิงห์” ได้ทำสงครามกับซาลาดินสงครามนองเลือดจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทหารของซาลาดินเข้มแข็งกว่า ดังนั้น สิ่งที่กษัตริย์ริชาร์ดทำได้ ก็คือการทำสัญญากับ ซาลาดินใน ค.ศ.1192 สัญญานี้ระบุว่าทำพวกคริสเตียนอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ได้ เช่น เมืองอัครา บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไปเยี่ยมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ได้ หลังจากนั้นอีกหนึ่งศตวรรษ มุสลิมก็สามารถยึดเมืองคริสเตียนต่าง ๆ กลับคืนมาได้ กองทหารครูเสดได้ถูกส่งมาช่วยเมืองเหล่านี้หลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

 

บทสรุปสงครามครูเสด .

 

สงครามครูเสด มีการทำสงครามกัน 8 ครั้ง กินระยะเวลานานกว่า 200 ปี มีผู้คนล้มตายกว่า 7,000,000 คน และสุดท้ายดินแดนศักดิ์สิทธิตกเป็นของมุสลิม บทสรุปการทำสงครามแต่ละครั้งมีดังนี้

 

  • ครั้งที่ 1 ตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1092 ถึง ค.ศ. 1099 เป็นครั้งที่ครึกครื้นที่สุด พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ได้ไปในครั้งนี้ และเป็นครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเติร์กเปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวก
  • ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ. 1147 ถึง ค.ศ. 1149 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ของฝรั่งเศส กับ พระเจ้าคอนราดที่ 3 ของเยอรมัน ได้ไปในครั้งนี้ แต่ต้องแพ้ย่อยยับกลับมา
  • ครั้งที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1189 ถึง ค.ศ. 1192 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 1 (เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ท (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้ พากันแพ้กลับมา และพระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตาย
  • ครั้งที่ 4 ตั้งแต่ ค.ศ. 1202 ถึง ค.ศ. 1204 ไม่ได้ผลอะไรเลย และแทนที่กองทัพครูเสดจะไปรบพวก เติร์กกลับไปรบพวกคริสเตียนด้วยกันเอง
  • ครั้งที่ 5 ตั้งแต่ ค.ศ. 1217 ถึง ค.ศ. 1221 เซนเญอร์ของฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยองเลอเบรียน กับพระเจ้าแผ่นดินฮังการี ไปรบพวกเติร์กในประเทศอียิปต์ และไม่ได้ผลทางชัยชนะ
  • ครั้งที่ 6 ตั้งแต่ ค.ศ. 1228 ถึง ค.ศ. 1229 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 2 (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีกว่าไปรบ เพราะทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้อีก
  • ครั้งที่ 7 ตั้งแต่ ค.ศ. 1248 ถึง ค.ศ. 1249 ครั้งที่ 8 ใน ค.ศ. 1270 นั้น สงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเติร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1270และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้

 

สงครามครูเสดทำให้เกิดผลลัพธ์ทางอ้อมหลายประการด้วยกันคือ

 

หลังจากนั้น พวกคริสเตียนได้ครองแผ่นดินที่พวกตนยึดครองได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งเยรูซาเล็ม บางเมืองมีอายุยืนยาวกว่า 200 ปี การเข้ามาอยู่ในดินแดนที่มีมุสลิมอาศัยอยู่โดยรอบทำให้พวกคริสเตียนและมุสลิมเกิดการรวมวัฒนธรรมกัน พวกคริสต์-เตียนประทับใจในศิลปะการตกแต่งของมุสลิม เช่น พรม เครื่องใช้และกระเบื้องเคลือบ และพวกเขายังได้กินอาหารรสชาติใหม่ ๆ เช่น ผลแอปริคอท มะเดื่อ น้ำตาลและมะนาว ทางด้านเครื่องแต่งกายชาวคริสเตียนได้เรียนรู้การใช้ผ้าฝ้ายและผ้าไหมทำเสื้อผ้า ทางด้านสถาปัตยกรรม พวกคริสเตียนได้เรียนรู้เรื่องการใช้เสาและคานรูปโค้งแบกรับน้ำหนักจากสิ่งที่ปลูกสร้างของมุสลิม นอกจากนี้แล้ว พวกคริสเตียนยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันปราสาทโดยการใช้หอคอยทรงกลม และช่องทางเดินบนกำแพงที่ทำให้คนที่อยู่ข้างบนสามารถยิงธนูหรือโยนหินเข้าใส่ผู้เข้ามาโจมตีได้ ส่วนพวกมุสลิมนั้นไม่ได้อะไรจากพวกคริสเตียนมากนักนอกจากการค้าที่เพิ่มขึ้นกับอิตาลี อาวุธที่ดีขึ้น และการสำรวจพื้นที่เพื่อทำการสงคราม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                    

 

 

 

 

 

"ขอให้ชั้นดูหน้าลูกหน่อยได้มั๊ยคะ”

 

คุณแม่คนใหม่เอ่ยขึ้น เมื่อห่อผ้าน้อย ๆ อยู่ในอ้อมกอดเธอ เธอค่อย ๆ คลี่ผ้าที่ห่อออกเพื่อมองใบหน้าเล็ก ๆ

 

เธอกรีดร้อง!!! หมอต้องอุ้มเด็กออกไปอย่างรวดเร็ว เด็กทารกที่เกิดมาไม่มีใบหู …

 

กาลเวลาพิสูจน์ว่าการได้ยินของเจ้าหนูไม่มีปัญหา ปัญหามีเฉพาะสิ่งที่มองเห็นภายนอก คือใบหูที่หายไป หลายครั้งที่เจ้าหนูกลับจากโรงเรียนแล้ววิ่งมาซบอกแม่ เธอรู้ว่าหัวใจลูกปวดร้าวแค่ไหน เจ้าหนูพูดโพล่งออกมาอย่างน่าเศร้า

 

“พวกเด็กตัวโต พวกมันล้อผมว่านายตัวประหลาด”

 

เจ้าหนูเติบโตขึ้น หล่อเหลา เป็นที่รักของเพื่อน ๆ เค้ามีพรสวรรค์ในด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี และดนตรี เค้าอาจได้เป็นหัวหน้าชั้น แต่เพราะเจ้าสิ่งนั้น…

 

“ลูกต้องพบปะกับผู้คนบ้างนะลูก” แม่กล่าวด้วยความสงสาร พ่อของเด็กชายปรึกษากับหมอประจำครอบครัว

 

“ผมสามารถปลูกถ่ายใบหูได้ครับ ถ้ามีผู้บริจาค แต่ใครล่ะจะเสียสละใบหูเพื่อเด็กน้อยคนนี้”

 

คุณหมอกล่าว 2 ปีผ่านไป พ่อบอกกับลูกชาย “ลูกเตรียมตัวไปโรงพยาบาลนะ พ่อกับแม่หาคนบริจาคใบหูที่ลูกต้องการได้แล้ว แต่นี่เป็นความลับ”

 

การผ่าตัดสำเร็จด้วยดี คนคนใหม่เกิดขึ้น..เค้ากลายเป็นผู้มีพรสวรรค์ เป็นอัจฉริยะในโรงเรียน ในวิทยาลัย จนเป็นที่กล่าวขานกันรุ่นต่อรุ่น ต่อมาเขาได้แต่งงานและทำงานเป็นข้าราชการในสถานทูต วันหนึ่งชายหนุ่มถามผู้เป็นพ่อ

 

“พ่อครับใครเป็นคนมอบใบหูให้ผม ใครช่างให้ผมได้มากมายแต่ผมไม่เคยทำอะไรเพื่อเค้าได้เลยสักนิด”

 

“พ่อไม่เชื่อว่าลูกจะตอบแทนเค้าได้หมดหรอก เรื่องนี้เป็นความลับ เราตกลงกันแล้ว”

 

พ่อตอบ หลายปีที่มันยังคงเป็นความลับ …..

 

แต่แล้ววันหนึ่ง วันที่มืดมิดที่สุดผ่านเข้ามาในชีวิต...ลูกชายเค้ายืนข้างพ่อใกล้หิบบศพของแม่ พ่อค่อย ๆ ลูบผมแม่อย่างช้า ๆ และนุ่มนวล ผมสีน้ำตาลแดงถูกเสยขึ้นจนมองเห็น ..

 

แม่ไม่มีใบหู...ใบหูของแม่ถูกตัดไป.. พ่อกระซิบผ่านลูกชาย “แม่บอกพ่อว่า เธอดีใจที่ได้ทำอย่างนี้ เธอไม่เคยตัดผมอีกเลยไม่มีใครมองเห็นว่าเธอไม่สวย จริงมั๊ย”

 

“จงจำไว้ สิ่งมีค่าที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่การมองเห็น หากแต่อยู่ที่สิ่งที่เรามองไม่เห็นต่างหาก

 

ความรักที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่เราได้ทำอะไรแล้วมีคนรับรู้ หากแต่อยู่ที่สิ่งที่เรากระทำแล้วไม่มีใครรับรู้ต่างหาก.....

 

ความรัก บางครั้งไม่จำเป็นต้องพูดพร่ำเพรื่อ......"

 

 

 

 

                   

 

 

 หลักการดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในวันนี้

 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์
บริโภคกาม แออัดอยู่ด้วยบุตร ครองเรือน ใช้สอยกระแจะจันทน์
จากแคว้นกาสี ทัดทรงพวงดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง
แสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งใน
ทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน) และในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา)
แก่พวกข้าพระองค์ผู้อยู่ในสถานะเช่นนี้เถิด พระเจ้าข้า !”.


พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตร
ในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน). ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการ คือ :-
อุฏฐานสัมปทา (ความขยันในอาชีพ)
อารักขสัมปทา (การรักษาทรัพย์)
กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี)
สมชีวิตา (การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ).

ความขยันในอาชีพ
พ๎ยัคฆปัชชะ !
อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ สำเร็จการ
เป็นอยู่ด้วยการลุกขึ้นกระทำการงาน คือด้วยกสิกรรม หรือ
วานิชกรรม โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษ
หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในอาชีพนั้นๆ เขาเป็น
ผู้เชี่ยวชาญ ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยการสอดส่องใน
อุบายนั้นๆ สามารถกระทำ สามารถจัดให้กระทำ.
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา (ความขยันในอาชีพ).

การรักษาทรัพย์
พ๎ยัคฆปัชชะ !
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้, โภคะ
อันกุลบุตรหาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น
รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม, เขารักษาคุ้มครอง
อย่างเต็มที่ ด้วยหวังว่า “อย่างไรเสียพระราชาจะไม่ริบทรัพย์
ของเราไป โจรจะไม่ปล้นเอาไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัด
พาไป ทายาทอันไม่รักใคร่เรา จะไม่ยื้อแย่งเอาไป” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา (การรักษาทรัพย์).

ความมีมิตรดี
พ๎ยัคฆปัชชะ !
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัยใน
บ้านหรือนิคมใด, ถ้ามีบุคคลใดๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น
เป็นคหบดีหรือบุตรคหบดีก็ดี เป็นคนหนุ่มที่เจริญด้วยศีล
หรือเป็นคนแก่ที่เจริญด้วยศีลก็ดี ล้วนแต่ถึงพร้อมด้วย
ศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อมด้วย
ปัญญาอยู่แล้วไซร้, กุลบุตรนั้นก็ดำรงตนร่วม พูดจาร่วม
สากัจฉา (สนทนา) ร่วมกับชนเหล่านั้น.
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยสัทธาโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยจาคะโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยปัญญาโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอยู่ในที่นั้นๆ.
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี).

การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ
พ๎ยัคฆปัชชะ ! สมชีวิตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความ
ได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์แล้ว
ดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
โดยมีหลักว่า
“รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย
ของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนคนถือตาชั่งหรือ
ลูกมือของเขา ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า
“ยังขาดอยู่เท่านี้หรือเกินไปแล้วเท่านี้” ดังนี้ฉันใด; กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น :
เขารู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่ง
โภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่า
“รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้

ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! ถ้ากุลบุตรนี้ เป็นผู้มีรายได้น้อย
แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือยแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าว
ว่า กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือน
คนกินผลมะเดื่อ ฉันใดก็ฉันนั้น.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้
มหาศาล แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแล้วไซร้
ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตายอยากอย่าง
คนอนาถา.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มา
แห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรง
ชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย
ของเรา จักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้;
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เราเรียกว่า สมชีวิตา
(การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙/๑๔๔.

พุทธวจน

อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘.

                 

 

 

 

 

 

ผ่อนยังไม่หมด รถดันมาหาย...

 

 

 

 

 

เนื่องจากมีสมาชิกบ้านมหาฯหลายท่านอยากทราบเรื่อง กรณีที่ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์ ผ่อนไปได้ ๑ ปี รถถูกขโมยหรือหายไปอย่างไร้ร่องรอย แจ้งให้บริษัทฯทราบ บริษัทฯก็บอกว่ามันเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อเอง ผู้เช่าซื้อจะต้องผ่อน(กุญแจ)ต่อไปจนครบกำหนดตามสัญญา โอ้ มายกอด กุญแจ มันขี่บ่ได้เด้อสิบอกไห่ ขอแนะนำให้ทุกท่านดำเนินการดังนี้ครับ


ถ้ารถมีประกัน ก็ให้ประกันจัดการ ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องผ่อนต่อครับ เพราะ กม. เช่าซื้อ คือ การให้เช่า + คำมั่นว่าจะขาย ดังนั้นเมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาย่อมระงับ ผู้เช่าซื้อไม่ต้องส่งค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ แต่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องส่งค่างวดที่ค้างเท่านั้น เช่น ส่งไป ๑๓ งวด แต่ค้างงวดที่ ๑๐ ต่อมางวดที่ ๑๔ รถหาย


ผู้เช่าซื้อต้องส่งค่างวดที่ค้าง คือ งวดที่ ๑๐ เท่านั้น ไม่ใช่ส่งงวดที่ ๑๔ - งวดที่ ๔๘ (กรณีผ่อน ๔๘ งวด)
ตามกฎหมายเช่าซื้อต้องเอากฎหมายเรื่องเช่ามาบังคับด้วยครับ ทางที่แนะนำ ไม่ต้องผ่อนต่อครับ ปล่อยให้เค้าฟ้องศาลมาเอง แล้วพอหมายศาลมา ก็ไปให้การในชั้นศาลครับ ศาลจะนำเรื่องเช่ามาวินิจฉัยด้วยเช่นกัน


ฟันธง ไม่ต้องผ่อนแล้วครับ เพราะมีไม่น้อยที่โดนไฟแนนซ์มันบอกให้ผ่อนกุญแจทั้งๆที่สัญญาระงับไปแล้ว...


ในทางกฎหมายควรต้องหยุดจ่ายค่างวดทันทีเพราะรถที่เช่าซื้อสูญหายไปแล้ว สัญญาเช่าซื้อก็ต้องระงับ ดังนั้น จึงเหลือประเด็นเดียวว่าค่าเสียหายมีเท่าไหร่ ? เรื่องนี้ศาลฎีกาเคยวางบรรทัดฐานนะครับว่าถ้ารถที่เช่าซื้อสูญหายก็ต้องมาคำนวณครับว่ารถราคาเท่าใด ผู้เช่าซื้อจ่ายเงินค่างวดมาแล้วเป็นเงินเท่าใด บริษัทประกันได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทลิสซิ่งเนื่องจากรถหายเป็นเงินเท่าใดถ้า 2 จำนวนนี้รวมกันแล้วเกินกว่าราคารถที่บริษัทลิสซิ่งซื้อมา อย่างนี้ผู้เช่าซื้อก็ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย


มีข้อถามต่อไปว่า ถ้าสัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงให้บริษัทเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ได้ แม้ว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อจะสูญหายก็ตาม เรื่องนี้ ศาลมีอำนาจ ที่จะกำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระหรือไม่ก็ได้ครับ และถ้าศาลกำหนดให้ชำระละครับ ต้องชำระเต็มตามสัญญาหรือเปล่า? คำตอบก็คือว่าการที่จะกำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องชำระนั้นต้องพิจารณาด้วยนะครับว่าเงินค่าเช่าซื้อที่บริษัทลิสซิ่งได้รับชำระมาแล้วรวมกับค่าสินไหมทดแทนที่บริษัท
ประกันภัยได้จ่ายให้ เมื่อยังไม่เพียงพอกับความเสียหายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับ ศาลก็จะกำหนดความเสียหายให้ตามสมควร แต่มิใช่ให้ชำระค่าเช่าซื้อจนครบเต็มตามสัญญา

 

และหากหลังจากรถหายไป ๔ ปี เกิดจับคนร้ายได้แล้วได้รถที่เช่าซื้อกลับคืนมา รถต้องเป็นของบริษัทประกันนะครับ ไม่ได้เป็นของเรา แม้เราจะจ่ายค่างวดครบตามสัญญาแล้วก็ตาม(ตามที่มันบอกให้ผ่อนกุญแจต่อ) เพราะสัญญาเช่าซื้อระหว่างเรากับบริษัท มันจบและตัดขาดกัน ไปแล้วครับ

 

(จาก บ้านมหา ดอทคอม)

 

 

 

 

งานนี้พี่ทหารเขาเอาจริง...

 

 

 

 

                                 



มะละกอไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในไทยแน่นอน

มีเรื่องบอกเล่าต่อๆ"กันมาว่ามะละกอไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทย"เป็นเรื่องที่เชื่อได้"

แต่หากบอกว่าต้นประดู่"ต้นมะขาม"ไม่ใช่ของไทย"ต้องคุยกันหน่อย"เพราะหลักฐานมันฟ้องอยู่"อย่างมะขามบางต้นในไทยอายุมากกว่า"200-300"ปี"

แต่ก็ข้องใจอยู่เหมือนกัน"มะขามมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า"Tamarindus"indica"L."ตัว"indicaคืออินเดีย"ฝรั่งคงค้นพบที่อินเดียก่อนจึงตั้งชื่ออินเดียตามท้าย"

มีนักเกษตรตั้งข้อสงสัยว่า"ชื่อพืชพรรณต่างๆ"ไม่ค่อยมีสยามหรือ"siamese"ต่อท้าย"แสดงว่าเมื่อก่อนเมืองไทยแทบไม่มีอะไรขึ้นอยู่เลยหรือ

มะละกอเป็นไม้ต่างแดนแน่นอน

ในหนังสือ"พรรณพืชในประวัติศาสตร์ไทย"ของ"ดร. สุรีย์"ภูมิภมร"บอกไว้ว่า

เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศของโปรตุเกสระบุไว้ชัดเจนว่า"มะละกอมีถิ่นกำเนิดเดิมที่เทือกเขาแอนดีส"แต่บางเอกสารอ้างอิงว่ามะละกอมาจากเม็กซิโก"หรือหมู่เกาะอินเดียตะวันตก"บ้างก็ว่ามะละกอมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง"บริเวณเม็กซิโกตอนใต้และคอสตาริก้า

มีเอกสารบางฉบับระบุอีกเช่นกันว่าสเปนได้มะละกอมาจากฝั่งทะเลแคริบเบียนของปานามาและโคลัมเบีย

 

พระเจ้าอู่ทอง กรุงศรีอยุธยา
พระร่วง กรุงสุโขทัย
ศรีธนญชัย ไทยสยาม
เซียงเมี่ยง ไทยน้อย

 

ล้วนไม่รู้จักส้มตำมะละกอ และไม่เคยชิมลิ้มรส
เพราะยุคนั้นไม่มีมะละกอ และยังไม่มีส้มตำ
มีแต่ตำส้มด้วยพืชผักอื่นๆ ที่ไม่มะละกอ

ปีพ.ศ. 2134 ช่วงกรุงธนบุรีเป็นราชธานี "นายลินโซเตน" นักท่องเที่ยวชาวดัตช์ "เขียนรายงานไว้ว่า" คนโปรตุเกสได้นำมะละกอมาปลูกที่มะละกา จากนั้นนำไปปลูกที่อินเดีย"ส่วนอีกทางหนึ่งได้ขยายไปปลูกที่อินโดนีเซีย"มาเลเซีย"และไทย

คาดกันว่า "มะละกอน่าจะเข้ามาทางภาคใต้ทางอ่าวไทย" ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์โดยมีเหตุยืนยันว่าผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่เคยกินส้มตำจากมะละกอ

เอกสารส่วนใหญ่ระบุว่าโปรตุเกสนำมะละกอเข้ามาปลูกในเอเชีย"แต่เอกสารหมอบรัดเลย์ระบุว่า"สเปนนำมะละกอเข้ามาปลูกทั้งนี้มีหนังสือ"PROSEA"สนับสนุน หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมการกระจายพันธุ์พืชในเอเชียไว้

มะละกอกำเนิดอยู่ที่ไหน "เป็นประเด็นแรก" ซึ่งก็คงแถวๆ "อเมริกากลาง"

ประเด็นต่อมา" ใครนำเข้ามาในเอเชีย "คงไม่พ้น2 ประเทศ" คือ "สเปน" และ"โปรตุเกส "ในหนังสือดร.สุรีย์ ภูมิภมร สรุปว่าอาจจะนำมาจากทั้ง2ประเทศ เพียงแต่ใครก่อนใครหลังเท่านั้นเอง

ถือว่าเป็นคุณูปการสำหรับการนำพืชพรรณใหม่ๆ"เข้ามา"นอกจากมาค้ามาขาย"หรือมานำทรัพยากรวัตถุดิบออกไปจากประเทศของเขาแล้ว"ยังนำมะละกอมาให้ปลูก"จนการปลูกแพร่ขยายออกไป"

ส่วนวิธีการกิน"ไทยเราพัฒนาไปมาก"แทนที่จะกินสุกอย่างเดียวเหมือนอย่างฝรั่งเขา"แต่นำมาทำส้มตำ"

พอสอบถามจากผู้รู้เรื่องมะละกอ"ซึ่งเรียนจบมาจากต่างประเทศ"เขาบอกว่า"ไทยเราบริโภคมะละกอมากที่สุดในโลก"โดยนำมาทำส้มตำ

มะละกอเรียกต่างกันทั้งไทยและต่างประเทศ"

ภาษาอังกฤษ"คือ"ปาปายา"(papaya)"อังกฤษแต่เดิมเรียก"ปาปอ"(papaw)โปรตุเกสเรียก"มาเมา"(mamoa)"คนฝรั่งเศสเรียก"ปาปาเย"(papaye)"คนเยอรมันเรียกปาปาจา"(papaja)"คนอิตาลีเรียก"ปาปาเอีย(papaia)"คนคิวบาเรียก"ฟรูตาเดอบอมบา(frutade"bomba)"คนเปอร์โตริโกเรียกว่า"เลโชซา (lechosa)"คนเม็กซิกันเรียกว่า" เมลอน"ซาโปเต้"(melon"zapote)

ในเอเชียก็เรียกแตกต่างกัน"คนจีนเรียกว่าเจียะกวยหรือฮวงบักกวย"อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์"เรียกปาปายา"มาเลเซียเรียกเบเต็ก"เมียนมาร์เรียกทิมเบ่า"กัมพูชาเรียกหงลาวเรียกบักหุ่งหรือหมากหุ่ง"คนไทยในแต่ละกลุ่มเรียกแตกต่างกัน

ภาคกลางเรียก"มะละกอ, สุโขทัยเรียก"บนละกอ

ภาคใต้ส่วนใหญ่เรียก"ลอกอ"ยกเว้นสตูลเรียก"แตงตัน"ปัตตานีเรียกมะเต๊ะ ยะลาเรียก"ก๊วยลา

ภาคเหนือเรียก"บะก๊วยเทศ, กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียก"สะกุ่ยเส่, เงี้ยวเรียก"หมากชาวผอ

อีสานเรียกบักหุ่ง หมากหุ่ง"จังหวัดเลยเรียก"หมากกอ

ส้มตำมะละกอ
กำเนิดจาก "เจ๊กปนลาว" บางกอก
ยุคต้นกรุงเทพฯ แล้วแพร่หลายไปอีสานและลาวสมัยหลังๆ



ส้มตำมะละกอเริ่มมีมาแต่หนไหน


หัวข้อนี้"ตั้งเป้าไว้ว่าจะไปขออัดเสียงสัมภาษณ์"อาจารย์สุจิตต์"วงษ์เทศนักวิชาการอิสระ"เมื่อถึงเวลา"ท่านบอกให้เขียนคำถามแฟกซ์ไป"แล้วท่านก็ตอบมาดังนี้...

ส้มตำ"หมายถึงของกินชนิดหนึ่ง"เอาผลไม้"มีมะละกอ"เป็นต้น"มาตำประสมกับเครื่องปรุง"และมีรสเปรี้ยวนำ

คำว่า"ส้ม"แปลว่าเปรี้ยว

คำว่า"ส้มตำ"น่าจะเริ่มเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ"หรือภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพราะสลับคำของวัฒนธรรมลาวในอีสาน"ที่มีมาแต่ดั้งเดิมดึกดำบรรพ์เรียกว่า"ตำส้ม" หมายถึงของกินชนิดหนึ่ง"เอาผลไม้ต่างๆ"เช่น"มะม่วง"มาตำประสมกับเครื่องปรุง และมีรสเปรี้ยวนำ"ซึ่งมีความหมายตรงกับส้มตำ

คนกลุ่มแรกๆ"ที่รู้จักกินส้มตำมะละกออยู่ภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา"อาจเป็นพวก"เจ๊กปนลาว"ในกรุงเทพฯ"ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้"เพราะเพิ่งรู้จักมะละกอที่ได้พันธุ์มาจากเมืองมะละกาในมาเลเซีย

ส้มตำมะละกอ"เริ่มแพร่กระจายจากกรุงเทพฯสู่อีสาน"ราวหลังรัชกาลที่"5"ที่สร้างรถไฟไปอีสาน

แล้วทะลักเข้าอีสานครั้งใหญ่"เมื่อหลัง"พ.ศ.2500หลังสร้างถนนสายมิตรภาพก่อนหน้านั้นมีมะละกอในอีสานแต่ไม่อร่อย"เพราะเป็นยุคแรกๆ"ลูกเล็กๆ"แคระๆ"ผอมๆ เน่าๆ

มะละกอเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้"ไม่มีในอุษาคเนย์"โคลัมบัสเอามะละกอ มาเผยแพร่"แล้วแพร่หลายมาพร้อมกับการล่าอาณานิคมของสเปนถึงฟิลิปปินส์ แล้วมีคนเอามาปลูกที่เมืองมะละกา สมัยนั้นผลไม้ชนิดนี้ชื่อ" "มะละกา" แล้วออกเสียงเป็น"มะละกอ"พืชชนิดใหม่นี้จึงได้นามตามชื่อเมืองว่า "มะละกอ"แล้วแพร่เข้ามาในภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา"สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ในเอกสารฝรั่งครั้งกรุงศรีอยุธยา"จึงมีแต่ผลไม้อื่นๆ"แต่ไม่มีมะละกอ"เพราะคนยุคนั้นยังไม่รู้จักแต่มีอาหารเปรี้ยวๆ"เรียกว่า"ตำส้ม"กินประจำวัน"เช่น"ตำมะม่วงตำแตงกวา"ตำแตงต่างๆ

ส่วนปลาร้า"ก็คือปลาแดก"มีน้ำเค็มจากเกลือที่ใช้หมัก"เป็นอาหารดั้งเดิมยุคดึกดำบรรพ์"ราว"3,000"ปีมาแล้ว"

ตำส้มใช้ปลาร้า-ปลาแดก"เป็นส่วนผสมมาแต่ดั้งเดิม"เริ่มแรกก่อนมีส้มตำเพื่อให้มีรสเค็มนุ่มนวล"ยิ่งเค็มมากยิ่งดี"ทำให้มีแรงทำไร่ไถนา

คนภาคกลาง กินเผ็ด
คนภาคอีสานและลาว ไม่กินเผ็ด
เพิ่งกินเผ็ดยุคหลัง ตามอย่างคนภาคกลาง
เพราะพริก มีกำเนิดจากทวีปอเมริกา
ชาวยุโรปเอาเข้ามาเป็นอาหารภาคกลางก่อนที่อื่น

 

 

ทำไม...ส้มตำจึงได้รับความนิยม

อาหารทุกชนิดในโลก"มีการปรับตัวให้ถูกลิ้นถูกปากคนกิน"เช่น"ส้มตำ"เป็นอาหารเกิดใหม่เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์"และเป็นอาหารของเจ๊กปนลาวในกรุงเทพฯไม่ใช่ของลาวอีสานมาแต่เดิมตามที่เข้าใจกัน"ฉะนั้นจึงเปลี่ยนแปลงได้ตามความชอบของคนกิน"คนทำ"และคนขาย

ไม่เคยมีส้มตำสูตรดั้งเดิมตายตัว"มีแต่ฝีมือใครฝีมือมัน"ฉะนั้นส้มตำจึงปรับตัวได้คล่องแคล่วและอยู่รอดปลอดภัย

 

 

 

 

ขอบคุณที่มาจาก มติชน

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Nov 15 17:32:39 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>