การแบ่งประเภทของสายพานลำเลียง
สายพานลำเลียง หมายถึง วัตถุตัวกลางที่ใช้ในการส่งผ่านวัสดุอื่น ๆ จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยลักษณะการวิ่งผ่านเป็นวงรอบ และทำงานในลักษณะเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ไปตลอดอายุการใช้งาน

สายพานสำหรับลำเลียงนั้น จะมีลักษณะของการแบ่งอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ เช่น
1. แบ่งตามประเภทผิวของสายพาน ซึ่งจะแบ่งออกได้ 2 ประเภท
- ประเภทใช้งานทั่วไป โดยมักจะนิยมเรียกกันว่า สายพานทนสึก (Wear Resistant Conveyor Belt)
- ประเภทใช้งานแบบพิเศษ (Special Conveyor Belt) ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ
- สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)
- สายพานทนน้ำมัน/ไขมัน/จาระบี (Oil/Fat/Grease Resistante Conveyor Belt)
- สายพานทนเปลวไฟ (Flame Resistant Belt)
- สายพานทนความเย็น (Cold Resistant Belt)
- สายพานทนสารเคมี (Chemical Resistant Conveyor Belt)
- สายพานที่มีคุณสมบัติในการป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิตย์ (Antistatic)
- สายพานลำเลียงอาหาร (Food Grade)
2. แบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้รับแรงของสายพานลำเลียง ที่โดดเด่นนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท
- สายพานผ้าใบ (Fabric Conveyor Belt) วัสดุที่ใช้ในการรับแรงนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแตกต่างกันออกไป เช่น Cotton, Nylon, Polyester-Nylon, Kevlar และ Fiberglass
- สายพานลวดสลิง (Steel Conveyor Belt) วัสดุในการรับแรงนั้นจะเป็นเส้นลวด (Steel cord)
3. แบ่งตามลักษณะของผิวหน้าของสายพานลำเลียง โดยหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ 3 ประเภท
- แบบผิวหน้าเรียบ (Plain Surface) ใช้ในการลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงได้เพียงเล็กน้อย ซึ่งในประเทศไทยนั้น จะนิยมใช้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
- แบบผิวหน้าก้างปลา (Pattern Surface) มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ (Pattern) โดยจะมีสันขนตัวสายพาน ใช้ในการลำเลียงวัสดุในแนวราบเช่นกัน แต่สามารถทำมุมเอียงได้ดีกว่าแบบผิวหน้าเรียบ และมีราคาที่สูงกว่า
- ผิวหน้าแบบพิเศษ ซึ่งจะออกแบบพิเศษให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานนั้น ๆ เช่น Sidewall Belt และ Pipe Conveyor Belt เป็นต้น