ทุกคนยกย่องพ่อขุนผาเมือง แต่นางเป็นผู้หญิงที่น่าสงส
เหนื่อยนักรักทรยศ...
....ขอหลบอยู่ ตรงนี้ ที่อ่อนล้า
เบี่ยงสายตา เลี่ยงต่ำลู่ ดูไม่เห็น
ปาดน้ำใส ไหลรินเเยก เเตกกระเซ็น
ใจสั่นเต้น รู้ว่าพ่าย อายเหลือเกิน
....สมน้ำหน้า ทุ่มเทให้ ไม่มีเผื่อ
ยาพิษเจือ หวานเยินยอ ป้อสรรเสริญ
เเต่สุดท้าย ปล่อยเดียวดาย ให้เผชิญ
เขี่ยทิ้งเมิน เป็นเศษใจ ไร้ราคา.......
**********************************
พ่อขุนผาเมือง
ความรักระหว่างหญิงและชายที่ไม่ว่าจะสูงศักดิ์หรือต่ำต้อยเพียงใดก็ไม่สามารถหลีกพ้นจาก ความเป็น “คน” ที่มีความเป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา ที่ต้องมีทั้งความทุกข์และความสุขควบคู่กันไป
ถ้ารักนั้นมีความสมหวังดั่งที่ใจปรารถนา สิ่งที่ติดตามมาย่อมเป็นความแสนสุข หอมหวานปาน “น้ำผึ้ง” แต่ในทางตรงกันข้าม หากรักนั้นผิดหวังชิงชังริษยาความรักจะแสนขมระทมเศร้าทุกข์ทรมานปาน “ยาพิษ”
สำหรับความรักของ “เจ้านายผู้สูงศักดิ์” ที่ใกล้ชิดเกี่ยวข้องกับราชสำนักในรูปแบบต่าง ๆ นั้น ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในการขึ้นครองราชย์ เป็นการ “พลิกฟ้าเปลี่ยนแผ่นดิน” สามารถ “พลิกโฉม” ประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าพิศวง
ความรุนแรงแห่งอานุภาพความรักนั้น ได้ก่อให้เกิดความหึงหวง ทวงสิทธิความรัก พร้อมทำร้ายและทำลายทุกชีวิตที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่เกิดทั้งสิ้นทั้งปวงนี้หนีไม่พ้น “ด้วยแรงแห่งรัก” ทั้งนั้น
“ความพิศวาส” จากความรักที่แสนสุขนั้น สามารถแปรเปลี่ยนจนเกิดผลร้ายกลายเป็น “พิษสวาท” ที่สร้างทุกข์ทำร้ายหลายชีวิตให้พินาศไปอย่างน่าเสียดายยิ่งนัก
..........................................................................................................
รักที่เสียสละพ่อขุนผาเมือง
พ่อขุนผาเมืองเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง ที่เสียสละในการสร้างชาติ ที่ทรงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวบรวมชนเผ่าไทให้มีความเข้มแข็ง จนสามารถสร้างอาณาจักรชาติไทยและต่อสู้
จนเป็นอิสระพ้นอำนาจจากการปกครองของชนชาติขอมไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของพ่อขุนผาเมือง ที่ต้องเสียสละจากการครองอำนาจโดยชอบธรรมแห่งตนและเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อชาติอันเป็นที่รักมากกว่าความรักระหว่างหญิงกับชายของพระองค์กับพระมเหสีอันถือเป็น ’อำนาจรักที่ยิ่งใหญ่“ เหนือกว่าความรักใด ๆ ที่มีในหญิงกับชายโดยทั่วไป พูดง่าย ๆ ก็คือพ่อขุนผาเมืองรักชาติ มากกว่าการรักหญิง รักอำนาจ รักวาสนา รักราชสมบัติ
จากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ได้เล่าว่าพ่อขุนศรีนาวนำถมที่ครองเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย มีโอรสและธิดา 2 พระองค์คือ พ่อขุนผาเมืองและนางเสือง ภายหลังพ่อขุนศรีนาวนำถมได้ยกนางเสืองให้อภิเษกกับพ่อขุนบางกลางหาว ผู้ครองเมืองบางยาง สำหรับพ่อขุนผาเมืองนั้นครองเมืองราดและเมืองลุ่ม พระองค์ทรงอภิเษกกับพระนางสิงขรมหาเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมที่ครองกรุงยโสธรนครธม โดยทรงมอบ “พระขรรค์ชัยศรี” และตั้งพระนามให้พ่อขุนผาเมืองว่า ’กมรเต็งอัญผาเมือง“ ด้วยอาณาจักรขอมต้องการขยายอำนาจมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วยการสร้างสัมพันธ์แบบเกี่ยวดองเป็นพระญาติต่อกัน เพราะขณะนั้นอาณาจักรขอมได้มีสงครามกับอาณาจักรจัมปาหลายครั้ง จึงต้องสร้างไมตรีกับอาณาจักรใกล้เคียงเพื่อป้องกันการทำสงครามจากด้านอื่น
พ่อขุนศรีนาวนำถมได้ปกครองเมืองแบบระบบเมืองคู่ ถือครองเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย เรียกว่า นครสองอัน ทรงมีอำนาจและครองเมืองศรีสัชนาลัยแบบไม่มั่นคงเพียงใดนัก
ดังนั้นการครองเมืองสุโขทัยที่อยู่ทางตอนใต้จึงเป็นการครองเมืองแบบไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพง ที่เป็นผู้ดูแลเทวสถานทางศาสนา จึงได้นำกำลังพลที่แอบเตรียมไว้เข้ายึดกรุงสุโขทัยไว้ได้หากพิจารณาเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งเป็นคนของอาณาจักรขอมที่ส่งมาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเทวสถานทางศาสนาพร้อมกำลังคนจำนวนมากโดยอ้างว่าเป็นคนของศาสนาพราหมณ์ แต่อาจจะมีภารกิจที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือเป็น ไส้ศึกสายลับ คอยสืบข่าวความเคลื่อนไหวของชนเผ่าไท และดูแลพระธิดาที่มาเป็นพระมเหสีขุนผาเมืองหรืออาจจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของขอมในสุโขทัย แล้วเตรียมกำลังผู้คนในทางลับเพื่อรอเวลาที่เหมาะสมแย่งชิงอำนาจ จึงสามารถระดมกำลังพลได้รวดเร็วในการเข้ายึดอำนาจกรุงสุโขทัย
พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว จึงได้ร่วมมือกันวางแผนนำกำลังชนชาวไท เข้าชิงอำนาจยึดสุโขทัยกลับมาได้ หลังจากนั้นพ่อขุนผาเมืองจึงได้มอบกรุงสุโขทัยให้ พ่อขุนบางกลางหาว ผู้ซึ่งเป็นพระสหายสนิทและเป็นน้องเขยของพระองค์ เพราะนางเสืองน้องสาวเป็นพระมเหสี (พ่อขุนผาเมืองทรงมีฐานะเกี่ยวพันเป็น “ลุง” ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) โดยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย แล้วอัญเชิญให้ครองกรุง ขึ้นครองราชย์เป็น ’ปฐมบรมกษัตริย์“ ต้นราชวงศ์พระร่วง ทรงพระนามว่า ’ศรีอินทราทิตย์“
หากพิจารณาถึงเหตุที่ขุนผาเมืองเสียสละไม่ยอมครองกรุงสุโขทัย แม้ว่าจะทรงมีสิทธิโดยชอบธรรมและเป็นรัชทายาทผู้สืบสายโลหิตโดยตรง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะพระองค์ทรงต้องการให้ชนเผ่าไทหลุดพ้นจากอำนาจขอมและพระองค์มีพระมเหสีเป็นพระราชธิดากษัตริย์ขอมผู้มีพระราชอำนาจยิ่งใหญ่ต้องผูกพันเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากมีพระโอรสหรือพระธิดาจะต้องสืบสายเลือด 2 ชาติและหนีไม่พ้นอิทธิพลขอมตลอดไป พระองค์ทรงต้องการให้พ่อขุนบางกลางหาวกับนางเสืองให้กำเนิดผู้สืบสายเลือดไทยเพื่อเป็นผู้นำชนเผ่าไท ไม่ต้องการทายาทที่มีสายเลือดชาติอื่นเข้ามาปะปน
นับแต่นั้นมาเรื่องของพ่อขุนผาเมืองก็สูญหายไปจากประวัติศาสตร์ชาติไทย ไม่มีการกล่าวถึงอีกเลยแต่ก็มีตำนานเล่าต่อมาอีกว่า พระองค์ได้ปลีกตัวหนีออกจากเมืองเพื่อออกบวชแสวงบุญหายไปทางตอนเหนือ ส่วนพระนางสิงขรมหาเทวีนั้นทรงผิดหวังเสียใจในความรัก จึงได้เผาบ้านเผาเรือนด้วยความโกรธแค้นและได้ออกติดตามหาพ่อขุนผาเมือง แล้วหายสาบสูญไป แต่บางตำนานได้เล่าว่าพระนางสิงขรมหาเทวี เศร้าเสียใจจึงไปกระโดดน้ำสิ้นพระชนม์ที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง
เมื่อได้พิจารณาถึงความเสียสละของพ่อขุนผาเมืองที่เป็นจุดสำคัญในความสำเร็จของการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยของกลุ่มชนชาติเสือไท จากการรวบรวมของกลุ่มชนชาติเสือไท จนมีความเข้มแข็งมีอำนาจอิสระพ้นจากอิทธิพลของขอมมาได้ ต้องยอมรับในการเสียสละที่พ่อขุนผาเมืองได้กระทำในการก่อตั้งชาติไทนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีจิตใจสูงส่งมุ่งมั่นเฉลียวฉลาดและมองการณ์ไกล มุ่งเรื่องใหญ่ไปข้างหน้า เพราะตามปกติวิสัยของมนุษย์ย่อมอยากได้มาซึ่งอำนาจราชศักดิ์ การได้ครองราชย์ที่เป็นสิทธิที่ตนเองพึงมีพึงได้นั้น แต่ไม่ยอมรับกลับเสียสละจากการครองเมือง ขยายอาณาเขตเพื่ออำนาจแห่งตนและแม้จะมีพระมเหสีที่มาจากอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ ที่ถือเป็นตัวจักรที่สนับสนุนให้ ’มีอำนาจ“ แต่พระองค์กลับทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ชนชาติไทในสมัยนั้นพ้นจากอำนาจขอมทั้งสิ้นทั้งปวง เป็นที่น่าเสียดายที่คนไทยในปัจจุบันหลายคนไม่รู้จักชื่อท่านและวีรกรรมของท่าน ’พ่อขุนผาเมือง...กษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่“ ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้เสียสละเพื่อชาติไทยในอดีต.......................
ขุนหลวงทรงปลา..
พระเจ้าท้ายสระหรือสมเด็จพระภูมินทราธิราช ทรงมีพระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าเพชร เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าเสือ แต่ไม่ปรากฏพระนามของพระราชมารดาเป็นพระองค์ใด ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าเสือ โดยมีเจ้าฟ้าพร พระอนุชาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
สำหรับพระนามพระเจ้าท้ายสระนั้น เป็นเพราะทรงประทับอยู่พระที่นั่งบรรยงก์รัตพาสน์ที่ตั้งอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ยังมีพระนามว่า ขุนหลวงทรงปลา เพราะทรงโปรดเสวยปลาตะเพียนมาก ถึงกับออกกฎหมายห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าผืนต้องถูกปรับเป็นเงิน 5 ตำลึงหรือ 20 บาท และพระองค์ทรงโปรดการตกเบ็ด ทอดแห แทงฉมวก กั้นเฝือก ดักลอบ ดักไซ พระองค์ทรงครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.2251 เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคมะเร็งที่พระชิวหาและพระศอ พ.ศ.2275 เสวยราชย์เป็นระยะเวลา 24 ปี
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการขุดคลองที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ คือ “คลองมหาไชย” และ “คลองเกร็ดน้อย” และยังมีความเจริญในด้านการค้ากับต่างชาติอย่างสูง โดยเฉพาะการขายข้าวกับจีนในสมัยราชวงศ์ชิงและยังขายให้กับฮอลันดาในชวา รวมทั้งขายให้อังกฤษในอินเดีย
สำหรับในด้านการศาสนาได้ทรงแข่งกันสร้างวัดระหว่างพระองค์กับพระอนุชา คือวัดมเหยงค์และวัดกุฎีดาว และยังมีเคลื่อนย้ายพระนอนองค์ใหญ่ของวัดป่าโมก เพื่อให้พ้นจากการถูกน้ำเซาะตลิ่ง นอกจากนี้ยังได้พระราชทานท้องพระโรงแก่สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์ โดยการส่งเรือจากอยุธยาไปเพชรบุรี แล้วไปสร้างที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จึงทำให้ยังคงเหลือพระราชวังท้องพระโรงที่แสดงถึงศิลปกรรมชั้นสูงแบบอยุธยาที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายของพม่าในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
สำหรับชีวิตส่วนพระองค์นั้น ทรงมีพระอัครมเหสีคือ กรมหลวงประชานุรักษ์หรือกรมหลวงราชานุรักษ์ หรือมีพระนามเดิมว่า เจ้าท้าวหรือเจ้าฟ้าทองสุก มีพระราชบุตรและพระราชธิดา 5 พระองค์ คือ
1.เจ้าฟ้านเรนทร กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
2.เจ้าฟ้าหญิงเทพ
3.เจ้าฟ้าหญิงปทุม
4.เจ้าฟ้าอภัย
5.เจ้าฟ้าปรเมศร์
ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดศึกสายเลือดมีการแย่งชิงราชสมบัติกันอย่างรุนแรง ใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ระหว่างฝ่ายพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าอภัยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์ กับฝ่ายพระอนุชา คือ เจ้าฟ้าพรซึ่งต่อมาคือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในรัชสมัยต่อมา ทำให้เกิดการเข่นฆ่าคนไทยด้วยกันอย่างน่าเสียดาย ทั้งยังเกิดการสูญเสียกำลังคนและทหารฝีมือดี รวมทั้งข้าราชการชั้นสูงที่เก่งในการบริหารชาติไปเป็นจำนวนมาก โดยมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากพระเจ้าท้ายสระทรงเกิดเปลี่ยนพระทัยที่จะมอบราชสมบัติให้กับพระอนุชา คือเจ้าฟ้าพร ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา โดยจะทรงมอบราชสมบัติให้กับพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือเจ้าฟ้านเรนทร กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ซึ่งมีเจ้าฟ้าอภัยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 กับองค์ที่ 3 ตามลำดับ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่ทรงเห็นชอบด้วยเนื่องจากเจ้าฟ้าพรพระอนุชา ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชยังคงมีพระชนม์อยู่และทรงดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมควรที่จะได้รับมอบราชสมบัติสืบต่อมา ตามข้อตกลงเดิมระหว่างพี่น้องสองพระองค์ที่เคยมีมา และเป็นธรรมเนียมราชประเพณีโบราณที่ต้องถวายราชสมบัติแก่พระอนุชา ก่อนที่จะเป็นพระราชโอรส ซึ่งพระเจ้าท้ายสระไม่พอพระทัยและไม่ยินยอมตามที่เจ้าฟ้านเรนทรได้ทรงทูลถึงเหตุที่ควรจะเป็นไปตามความถูกต้อง ดังนั้น เจ้าฟ้านเรนทรจึงตัดสินพระทัยออกผนวช พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสองค์ที่ 2 เพื่อสืบสายราชวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์องค์ต่อไป
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้เจ้าฟ้าพร พระอนุชาของพระองค์ในฐานะพระมหาอุปราชไม่ทรงพอพระทัยและไม่ยินยอม โดยทรงยืนยันว่าหากพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจะทรงประสงค์ให้พระราชโอรสของพระองค์สืบราชสมบัติต่อไป ทรงเห็นสมควรที่จะให้ “เจ้าฟ้านเรนทร”
พระราชโอรสองค์ใหญ่ที่ทรงผนวชอยู่เท่านั้น ที่พระองค์จะทรงเต็มพระทัยและสนับสนุนให้ทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อไป แต่ในท้ายสุดแล้ว ฝ่ายเจ้าฟ้านเรนทรไม่เห็นด้วยและไม่ทรงยินยอมตามนั้น จึงไม่ทรงลาผนวช นั่นหมายความว่า เจ้าฟ้านเรนทร กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ไม่ยอมเป็นกษัตริย์และไม่ยอมลาผนวช
ในเวลาต่อมาพระเจ้าท้ายสระทรงพระประชวรหนัก และยังไม่สามารถหาข้อประนีประนอมการสืบราชสมบัติระหว่างพระเจ้าอา (วังหน้า) กับ พระเจ้าหลาน (วังหลวง) ดังนั้น “เจ้าฟ้าอภัย” กับเจ้าฟ้าปรเมศร์และขุนนางฝ่ายวังหลวงที่เกรงกลัวจะสูญเสียอำนาจ จึงได้จัดเตรียมกองทัพตั้งค่ายไว้หน้าวังเพื่อเตรียมพร้อมกองทัพไว้รบกับเจ้าฟ้าพร (พระอนุชา) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เรื่องราวเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ทำให้วังหน้าทรงไม่พอพระทัยเป็นอันมาก จนกลายเป็นต้นเหตุแห่งศึกกลางเมืองท้ายสระ ที่เป็นศึกสายเลือด รบราฆ่ากันจนเป็นเหตุให้แม่ทัพ นายทหาร ล้มตายจากการสู้รบในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก โดยในที่สุดฝ่ายพระเจ้าอาเป็นฝ่ายรบชนะได้ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบมา มีพระนามว่าพระเจ้าบรมโกศ และได้นำเจ้าฟ้าอภัยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์ ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามโบราณราชประเพณี
สำหรับเจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสองค์ใหญ่ที่ไม่ทรงยินยอมลาผนวชเพื่อเป็นกษัตริย์และดำรงเพศบรรพชิตตลอดมานั้น ได้ทรงสถาปนาให้เป็นกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ (เจ้าพระฯ) นับว่าทั้ง 2 พระองค์ระหว่างพระเจ้าอากับพระเจ้าหลานพระองค์นี้ ทรงรักใคร่ โปรดปราน เมตตาซึ่งกันและกันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้พระเจ้าหลานหรือเจ้าพระฯ องค์นี้ได้เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) และผู้สมคบต้องถูกราชอาญาต้องโทษประหารชีวิต จากการลอบทำร้ายเจ้าฟ้านเรนทรหรือเจ้าพระอุ พระองค์นี้ เพราะถูกฟันจนพระจีวรฉลองพระองค์ฉีกขาด เพราะเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ไม่วางพระทัยเกรงว่าจะแย่งราชสมบัติ
เมื่อได้พิเคราะห์ถึงเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าท้ายสระนั้น จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงมีพระอุปนิสัยที่ทรงโปรดการแข่งขันและความท้าทาย ด้วยพระราชบิดาคือพระเจ้าเสือก็ทรงมีพระอุปนิสัยที่คล้ายคลึงกัน ในความชอบการต่อสู้ เพราะทรงเป็นกษัตริย์นักสู้ ตั้งแต่ทรงพระราชสมภพเมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้าเพชร ก็ทรงแข่งขันและท้าทายในเรื่องต่าง ๆ กับเจ้าฟ้าพรกับพระอนุชาตลอดเวลา ทรงโปรดการตกปลาด้วยวิธีการหลายอย่าง ซึ่งก็ถือเป็นการท้าทายแข่งขันในอีกรูปแบบหนึ่ง แม้แต่การทรงสร้างวัดก็แข่งขันท้าทายกันกับพระอนุชา และในปลายรัชสมัยก็ทรงเปลี่ยนพระทัยไม่ยินยอมให้พระอนุชาสืบราชสมบัติ จนกลายเป็นศึกสายเลือดหรือความท้าทายอีกครั้งในชีวิตของพระองค์ ที่อยากจะให้พระราชโอรสได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ จึงถือได้ว่าตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์เป็นการใช้ชีวิตที่อยู่บนการแข่งขันและการท้าทายในชัยชนะของคู่ต่อสู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นความรักในการทรงโปรดเกี่ยวกับเรื่องปลา ความรักในสายพระโลหิตจากพระอนุชามาเป็นพระราชโอรส ซึ่งกลายเป็นเรื่องท้าทายที่เปลี่ยนแปลงความคิดจนเกิดเป็นศึกสายเลือด
นับได้ว่าตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของพระเจ้าท้ายสระนั้น ทรงใช้ความเป็นกษัตริย์นักสู้ ท้าทายต่อความยากลำบาก จนเกิดสิ่งที่ดีในรัชสมัยของพระองค์หลาย ๆ ประการ ทั้งในด้านการค้า การปกครอง การศาสนา แม้กระทั่งความรักในสายพระโลหิตที่กลายเป็นรักที่ท้าทายของพระเจ้าท้ายสระ.
*********************************************************
ขายขี้หน้าชะมัดเลย
เป็นถึงสมาชิกเทศบาล จัดไปดูงานต่างประเทศ
ซื้อตั๋วเครื่องบินไว้วันที่13 นี่ปาเข้าไปวันที่17แล้ว
วีซ่าไม่ผ่าน งบซื้อตั๋วเครื่องบิน ก็งบของเทศบาล
แล้วถ้าวีซ่าไม่ผ่าน เงินค่าตั๋วจ่ายไปแล้ว แล้วใคร
รับผิดชอบ ที่สำคัญไปกันเป็นคณะใหญ่ ยกโขยง
ไปกันทั้งครอบครัว ของทั้งคณะสมาชิกเทศบาลนั่นแหละ
งานนี้ใช้งบทิ้งๆขว้างๆกันนะ หรืองบนั่นมันไม่ใช่เงินพวกท่าน
แต่ก็สมน้ำหน้านะ วางแผนไปเที่ยวต่างประเทศกันซะอย่างดี
ใช้การไปดูงานบังหน้า แต่กรรมที่วีซ่าไม่ผ่าน เลยอดกันเป็นแถว
ปัญหาอยู่ที่การไปครั้งนี้ไปเป็นกลุ่มแต่ดันไปขอวีซ่าเข้าอังกฤษ ที่เขามีมาตรฐานบัญชีเงินฝากที่สูง แต่ในกลุ่มนั้นมีหลายคนมีบัญชีเงินฝากไม่ถึง ทางสถานฑูตเขาขอหลักฐานเพิ่มเติม เห็นว่าเวลานี้ผ่านแล้วนะ
โครงการนี้ทางจังหวัดมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยไปกันหลายเทศบาลและ อบต โดยใช้วิธีให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์รับหน้าที่ในการทำโครงการจัดอบรมสัมมนา แต่ไม่อบรมทำตารางหลอกเพื่อตบตา สตง. คนทำโครงการมือไม่ถึง แทนที่จะทำไปลงที่อิตาลี เพราะวีซ่าของอิตาลีของ่ายที่สุดแล้วใช้สิทธิเชงเก้น เข้าอังกฤษได้เลยไม่ต้องไปขอซ้ำ
(ป.ล ไม่ใช่เทศบาลบางพลีนะ..อย่าเข้าใจผิด!!......)
**************************************
การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งรัฐบาลได้ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณแยกราชประสงค์ ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ทั้งสิ้น 56 ศพ[1] ในบรรดาผู้เสียชีวิตมีชาวต่างประเทศรวมอยู่สองศพและเจ้าหน้าที่กู้ชีพอีกสองศพ[2] ได้รับบาดเจ็บ 480 คน[3] และจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน กลุ่มผู้ชุมนุมยังสูญหายอีกกว่า 51 คน[4] หลังแกนนำผู้ชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง เซ็นทรัลเวิลด์[5] สื่อต่างประเทศบางแห่ง ขนานนามการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า "สมรภูมิกรุงเทพมหานคร"[6][7] สื่อไทยบางแห่ง ขนานนามเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "พฤษภาอำมหิต"[8]
พื้นที่แยกราชประสงค์ถูกล้อมด้วยรถหุ้มเกราะและพลแม่นปืนเป็นเวลาหลายวัน ก่อนหน้าวันที่ 13 พฤษภาคม[9] เย็นวันที่ 13 พฤษภาคม พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ผู้สนับสนุนการรักษาความปลอดภัยแก่กลุ่มผู้ชุมนุม ถูกพลแม่นปืนยิงที่ศีรษะระหว่างให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวต่างประเทศ รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มอีก 17 จังหวัดทั่วประเทศ ฝ่ายกองทัพอ้างว่าพลเรือนที่ถูกฆ่าทั้งหมดเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายหรือไม่ก็เป็นผู้ก่อการร้ายติดอาวุธ และเน้นว่าบางคนถูกฆ่าโดยผู้ก่อการร้ายที่แต่งกายในชุดทหาร[10] ทางกองทัพได้ประกาศ "เขตยิงกระสุนจริง" และศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินก็ห้ามเจ้าหน้าที่แพทย์มิให้เข้าไปในเขตดังกล่าว[2][11][12][13] วันที่ 16 พฤษภาคม แกนนำ นปช. กล่าวว่า พวกตนพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทันที่ที่ทหารถูกถอนกลับไป แต่รัฐบาลเกรงว่าการถอนทหารจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการนำคนเติมเข้าไปในที่ชุมนุม จึงได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้[14] รถหุ้มเกราะนำการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้ายในตอนเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ศพ[15] มีรายงานว่าทหารได้ยิงเจ้าหน้าที่แพทย์ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ถูกยิง[15] แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมมอบตัวกับตำรวจและประกาศสลายการชุมนุม ในวันเดียวกัน ได้เกิดเหตุการเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รัฐบาลจึงประกาศห้ามออกนอกเคหสถาน และทหารได้รับคำสั่งให้ยิงทุกคนที่ก่อความไม่สงบ[15]
เนื้อหา[ซ่อน] |
การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 หลังได้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และหลังจากการตัดสินคดียึดทรัพย์ของทักษิณ ชินวัตรให้ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จึงได้ประกาศจัดการชุมนุมในกรุงเทพมหานครนับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม เป็นต้นไป การชุมนุมดังกล่าวมีเป้าหมายเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่
พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ถูกกระสุนปืนความเร็วสูงยิงเข้าที่กะโหลกศีรษะระหว่างให้สัมภาษณ์แก่เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส [16][17] เจ้าหน้าที่นำตัวส่งโรงพยาบาลหัวเฉียว หลังจาก พล.ต.ขัตติยะ ถูกยิง ก็มีเสียงปืนยิงต่อสู้ และเสียงระเบิดเกิดขึ้น ภายในพื้นที่ปิดล้อมของกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย นอกจากนี้ ยังมีการตัดไฟฟ้า บริเวณสวนลุมพินี และแยกศาลาแดง[18]
บริเวณแยกสวนลุมพินี ผู้ชุมนุมได้นำกรวยออกเพื่อเส้นทางสัญจร พร้อมทั้งขวางและผลักดันเจ้าหน้าที่ทหารไม่ให้ออกมาจากสวนลุมพินี หลังจากนั้นไม่นาน มีเสียงปืนดังติดต่อกันหลายนัด ขณะที่เจ้าหน้าที่ยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม มีผู้บาดเจ็บ 20 ราย[19] หลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้าปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม บริเวณแยกศาลาแดง ประตู 2 สวนลุมพินี ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการรื้อแผงจราจร ขว้างปาก้อนอิฐและสิ่งของ จำนวนหลายสิบราย ในจำนวนนี้ชาติชาย ชาเหลา ผู้ชุมนุม เสียชีวิต[20]
เจ้าหน้าที่ตำรวจเคลื่อนเข้าไปปิดล้อมและพยายามตัดขาดกลุ่มผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อประกาศว่าอภิสิทธิ์ได้เริ่มสงครามกลางเมือง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดความแตกแยกในกองกำลังความมั่นคง สถานทูตอเมริกันและอังกฤษปิดด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย[21] ราว 13.30 น. มีการปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสนามมวยเวทีลุมพินี ทั้งสองฝ่ายมีการยิงปืน ประทัดยักษ์และพลุตะไลตอบโต้กัน[22] มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย จากการปะทะกันบริเวณหน้าสวนลุมไนท์บาซาร์[23] เมื่อเวลา 15.20 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ย้ายไปปักหลักบริเวณแยกประตูน้ำ ถนนราชปรารภทั้งสองฝั่ง และบริเวณสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ[24]
เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งประจำการบริเวณแยกบ่อนไก่ ถนนพระรามที่ 4 ได้รุกคืบเข้าควบคุมพื้นที่อีกครั้งด้วยการกลับมาวางแนวลวดหนาม หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามานำออกไปก่อนหน้านี้ ฝ่ายทหารใช้ทั้งกระสุนและแก๊สน้ำตาเข้าช่วยยึดคืนพื้นที่[25] ต่อมา เวลา 18.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 ราย จากการปะทะกับกองกำลังทหารบริเวณแยกบ่อนไก่ กระสุนเข้าที่ท้ายทอย[26] สถานทูตแคนาดาถูกปิดไปเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.[27]
ในเวลาใกล้เคียงกัน เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นหน้าเวทีคนเสื้อแดง โดยเกิดเสียงคล้ายปืนดังขึ้น และมีระเบิดควันขว้างลงมาหลังเวที ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 15 คน[28] เวลา 18.40 น. เจ้าหน้าที่ทหารเคลื่อนรถหุ้มเกราะเข้าไปยังแยกศาลาแดง พร้อมกันนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าต่อต้านด้วยการขว้างขวด ระเบิดขวด และระเบิดควันเข้าใส่ เจ้าหน้าที่ทหารเตือนว่าจะนับหนึ่งถึงสามแล้วจะยิงทันที เสร็จแล้วเสียงปืนจากกองกำลังทหารที่ซุ่มอยู่บนรางรถไฟฟ้าก็ดังขึ้นทันที[29]
เวลา 21.00 น. บริเวณถนนสาทร ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ทหารตั้งแนวป้องกันปิดถนน ไม่ให้ประชาชนผ่านเข้าไปยังถนนพระรามที่ 4 ตามประกาศของ ศอฉ. โดยเจ้าหน้าที่ทหารยิงกระสุนใส่ประชาชนที่ขับรถไปตามเส้นทางถนนสาทร ช่วงบริเวณแยกไฟแดงซอยสาทร 6 หน้าโรงแรมเอฟเวอร์กรีน จนได้รับบาดเจ็บไป 1 ราย โดยถูกยิงเข้าบริเวณตาตุ่มข้อเท้าด้านขวาเจ้าหน้าที่ศูนย์เอราวัณ ช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลตากสิน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทหารยังใช้ปืนยิงขู่ประชาชน ที่ขับรถเข้ามาตามถนนสาทร มุ่งหน้าถนนพระรามที่ 4 อีกด้วย[30]
เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ เปิดเผยว่าตัวเลขเมื่อเวลา 22.00 น. มีผู้เสียชีวิต 7 ศพ และได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 101 คน ส่วนมากถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่ศีรษะ ปาก และช่วงท้อง[31] ต่อมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีผู้บาดเจ็บ 125 คน และเสียชีวิต 10 ศพ[32] ส่วนตามข้อมูลของเดอะเทเลกราฟนั้น ได้รายงานว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิตอย่างน้อย 16 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 157 คน[33]
เมื่อเวลา 00.30 น. เกิดเหตุรถตู้โตโยต้าคอมมิวเตอร์ สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน ฮค 8561 กรุงเทพมหานคร ขับมาบนถนนราชปรารภ มุ่งหน้าไปทางดินแดงด้วยความเร็วสูง เมื่อวิ่งมาถึงบริเวณสถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์มักกะสัน ทหารประจำด่านตรวจส่งสัญญาณให้หยุดรถ แต่รถตู้คันดังกล่าวไม่ยอมหยุด เจ้าหน้าที่ใช้ปืนยิงยางรถ แต่รถยังคงไม่หยุดวิ่ง ทหารจึงตัดสินใจระดมยิงด้วยกระสุนจนรถพรุนไปทั้งคัน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสามราย รวมทั้งคนขับและเด็กชายวัย 10 ปี เจ้าหน้าที่ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลพญาไท 1[34] ต่อมา เวลาประมาณ 9.00 น. ได้เกิดเหตุจ่าทหารอากาศนายหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกฝ่ายเดียวกันยิง (friendly fire) [35]
เจ้าหน้าที่ทหารประกาศจัดตั้ง "เขตยิงกระสุนจริง" ในหลายพื้นที่ใกล้กับกลุ่มผู้ชุมนุม และกลุ่มผู้ชุมนุมที่เข้าไปในเขตเหล่านี้จะถูกยิงทันทีที่พบ มีรายงานว่ากลุ่มผู้ชุมนุมขาดแคลนน้ำและอาหารจากการปิดกั้นของเจ้าหน้าที่ทหาร และอาจชุมนุมต่อไปได้อีกเพียงไม่กี่วัน หลังกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าปล้นร้านค้าใกล้เคียง[36]
เวลา 24.00 น. ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รายงานรายชื่อผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ทหารกระชับพื้นที่การชุมนุม ของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่วันที่ 14-15 พฤษภาคม ว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 24 ศพ และบาดเจ็บ 187 คน[37]
ผู้สื่อข่าวในบริเวณใกล้เคียงกับที่มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหารนั้นจำต้องยุติการออกอากาศสดด้วยเกรงว่าจะถูกพลแม่นปืนฝ่ายทหารในพื้นที่ยิง รัฐบาลกระตุ้นให้ผู้ชุมนุมเด็กและผู้สูงอายุออกจากพื้นที่ชุมนุมเมื่อช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น ทำให้เกิดความกลัวว่าจะมีการสลายการชุมนุมตามมา แกนนำ นปช. เริ่มบอกกลุ่มผู้ชุมนุมว่าสื่อต่างประเทศ เช่น ซีเอ็นเอ็น บีบีซี รอยเตอร์ และอื่น ๆ ไม่สามารถเชื่อถือได้ เนื่องจากสำนักข่าวเหล่านี้มีอคติ ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรงจากผู้สนับสนุนชาวต่างประเทศ[38] วันเดียวกัน พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งถูกยิงเข้าที่ศีรษะเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม เสียชีวิต[39]
เวลา 23.00 น. ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รายงานจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จากเหตุการณ์กระชับพื้นที่การชุมนุม ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม สรุปล่าสุดเวลา 22.00 น. ว่ามีผู้เสียชีวิต 31 ศพ บาดเจ็บ 230 คน รวม 261 คน รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล 83 ราย ในจำนวนนี้ต้องรักษาตัวในห้องไอซียู 12 ราย[40]
เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. มีผู้ขับรถกระบะโตโยต้า วีโก้ คือ จ่าอากาศเอก พงศ์ชลิต มาจากซอยคอนแวนต์เข้าไปยังถนนสีลม ระหว่างนั้นมีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด และเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้นระหว่างผู้ที่อยู่ในรถกับทหารซึ่งคุมพื้นที่อยู่ริมถนน จนรถกระบะเสียหลักพุ่งชนรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จอดอยู่บริเวณข้างทาง ช่วงหน้าธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ จากนั้น ได้นำผู้บาดเจ็บสองรายส่งโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จ่าอากาศเอก พงศ์ชลิต ทิพยานนทการ ถูกยิงที่ศีรษะและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และเรืออากาศตรีอภิชาติ ช้งย้ง อายุ 26 ปี ได้รับบาดเจ็บ คาดว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความเข้าใจผิด[41]
เมื่อเวลา 08.30 น. ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร หรือ ศูนย์เอราวัณ เปิดเผยจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะกัน ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม ว่า ขณะนี้มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว จำนวน 252 ราย เสียชีวิต 35 ศพ และล่าสุด พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ก็เสียชีวิต เพิ่มอีก 1 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บเป็นชาวต่างชาติ มีจำนวน 6 ราย ประกอบด้วย ชาวแคนาดา ชาวโปแลนด์ ชาวพม่า ชาวไลบีเรีย ชาวอิตาลี และนิวซีแลนด์ ประเทศละ 1 ราย[42]
เฮลิคอปเตอร์ทหารได้โปรยใบปลิวเหนือค่ายที่ชุมนุมหลักของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยกระตุ้นให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ กลุ่มคนเสื้อแดงตอบโต้โดยการยิงพลุตะไลใส่เฮลิคอปเตอร์ ค่ายผู้ชุมนุมถูกล้อมอย่างสมบูรณ์ และรัฐบาลประกาศเส้นตายให้สลายการชุมนุมก่อนเวลา 15.00 น. การปะทะกันยังคงดำเนินต่อไป โดยทหารยิงใส่การเคลื่อนไหวใด ๆ บริเวณแนวป้องกันของกลุ่มผู้ชุมนุมของกระสุนจริง เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้ยุทธวิธีถึงตายเช่นเดียวกัน กลุ่มคนเสื้อแดงยิงประทัดใส่ทหาร และมีการประยุกต์ใช้ด้ามไม้กวาดเพื่อยิงประทัดไฟอย่างรวดเร็ว
การปะทะกันอย่างประปรายดำเนินต่อไปในวันที่ 18 พฤษภาคม แต่การปะทะกันเหล่านี้มีความรุนแรงน้อยกว่าการเผชิญหน้าครั้งก่อน ๆ มาก[43] จำนวนผู้มีเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 39 ศพ ขณะที่การปะทะกันยังดำเนินต่อ เป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าเจ้าหน้าที่ทหารจะสลายการชุมนุม เนื่องจากกำลังพลและรถหุ้มเกราะมารวมตัวอยู่โดยรอบบริเวณที่ชุมนุม และกระตุ้นให้ประชาชนและกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งประกาศว่ากำลังจะดำเนินปฏิบัติการทางทหารในอีกไม่ช้า[44] หลังจากนั้นไม่นาน ทหารพร้อมด้วยรถหุ้มเกราะบุกเข้าไปผ่านสิ่งกีดขวางหลักของกลุ่มผู้ชุมนุม คนเสื้อแดงถูกยิงสองรายในช่วงแรกของปฏิบัติการ ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงอื่น ๆ จุดน้ำมันก๊าดใส่สิ่งกีดขวางเพื่อขัดขวางการรุกคืบของเจ้าหน้าที่และปิดบังทัศนียภาพ[45]
ศูนย์บริหารการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) แจ้งยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทหารกดดันกลุ่ม นปช. วันที่ 14-18 พฤษภาคม สิ้นสุดเวลา 18.00 น. เพิ่มเป็น 43 ราย บาดเจ็บรวม 365 ราย นักข่าวต่างชาติรายล่าสุดที่เสียชีวิต ชื่อโปเลนกี ฟาดิโอ ชาวอิตาลี[ต้องการอ้างอิง]
ในวันที่ 19 พฤษภาคม กองทัพได้เริ่มการโจมตีเต็มรูปแบบ โดยใช้รถหุ้มเกราะและฝ่าสิ่งกีดขวางของกลุ่มคนเสื้อแดง ทหารได้รับบาดเจ็บจากระเบิดสาหัสสองนาย ซึ่งอาจเป็นเอ็ม 79 ผู้นำการประท้วงยอมมอบตัวต่อตำรวจ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่โห่ไล่ผู้นำการชุมนุมหลังมีการยุติการชุมนุมและไม่ยอมมอบตัวต่อทางการเหมือนกับแกนนำ การปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับกองทัพยังคงดำเนินต่อไปในหลายส่วนของกรุงเทพมหานคร ได้เกิดเหตุการณ์เผาตลาดหลักทรัพย์ ธนาคาร ศูนย์การค้าอย่างน้อยสองแห่ง (รวมทั้งเซ็นทรัลเวิลด์) สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และสิ่งกีดขวางถูกตั้งขึ้นเพื่อกีดขวางเจ้าหน้าที่ทหาร[46][47]
เอพีรายงานว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 39 ศพ บาดเจ็บกว่า 300 ราย ในช่วงการปะทะที่ดำเนินมา 7 วัน ทางรัฐบาลปฏิเสธข้อเสนอล่าสุดของกลุ่มเสื้อแดงที่ขอเจรจา โดยยืนกรานว่า ผู้ชุมนุมต้องสลายตัวก่อน[48]
เมื่อเวลา 11.10 น. หลังเจ้าหน้าที่สามารถยึดพื้นที่โดยรอบสวนลุมพินีไว้ได้ จากการเข้าตรวจที่เกิดเหตุโดยรอบ ได้พบศพผู้เสียชีวิต 2 ศพ เป็นชาย อยู่ที่ด้านหลังแนวบังเกอร์ ถนนราชดำริ ในสภาพที่ถูกยิงเข้าบริเวณศีรษะ คาดว่าเป็นการ์ด นปช. หลังแนวรั้วกั้นที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทะลวงเข้ามาสำเร็จแล้ว อยู่ตรงกันข้ามกับตึก สก. โรงพยาบาลจุฬาฯ[49]
เวลา 18.00 น. ศูนย์เอราวัณรายงานยอดผู้บาดเจ็บ เฉพาะวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. พบว่ามีผู้บาดเจ็บ 58 ราย เสียชีวิต 6 ศพ มีชาวต่างชาติได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เป็นชาวแคนาดา 1 ราย ไม่ทราบสัญชาติ 1 ราย[50]
เวลา 13.20 น. มติแกนนำ นปช. ตัดสินใจประกาศยุติการชุมนุม พร้อมทั้งยอมเข้ามอบตัว กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยในเวลาดังกล่าว แกนนำ นปช. คนสำคัญคือ จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย เป็นต้น ต่างขึ้นบนเวทีแยกราชประสงค์ จากนั้นจตุพร เริ่มกล่าวเป็นคนแรกว่า "ชีวิตของพวกผมเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่นี่เป็นชีวิตของคนอื่น พวกผมรอด แต่พี่น้องต้องตาย ถ้าเขาขยับมาถึงเวที ผมรู้ว่า พี่น้องพร้อมพลีชีพ ไม่รู้กี่ชีวิต เราร่วมทุกข์ร่วมสุขมายาวนานที่สุด และก็รู้กันว่า อีกไม่รู้กี่ชีวิตที่ต้องตาย ถ้าศอฉ.บุกมาถึงที่นี่ พี่น้องก็ยอมพลีชีพกันทุกคน ผมยอมไม่ได้ ฉะนั้น วันนี้ไม่ใช่ยอมจำนน แต่ไม่ต้องการให้พี่น้องเราต้องเสียชีวิตอีกแล้ว ทนความตายของพี่น้องไม่ได้อีกต่อไป พวกผมเพื่อนๆ จะเดินทางไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผมรู้ว่าพี่น้องขมขื่น ทุกคนที่ขึ้นมาที่นี่ เราไม่รู้จะพูดกับพี่น้องกันอย่างไร เพราะหัวใจพี่น้องเลยความตายกันมาทุกคน วันนี้ เราหยุดความตาย แต่ยังไม่หยุดการต่อสู้ เพราะตอนนี้ยังตายอยู่เรื่อยๆ เรามาช่วยหยุดความตาย หัวใจการต่อสู้ไม่เคยหมด เราไม่ได้ทรยศ กว่าจะมาถึงเวที ไม่รู้อีกกี่ร้อยชีวิต เรามาหยุดความตายกันเถิด" ณัฐวุฒิ กล่าวว่า "เราขอยุติเวทีการชุมนุมแต่เพียงเท่านี้ แต่การต่อสู้ยังไม่ยุติ การต่อสู้ยังต้องเดินหน้าไปตามกระบวนการประชาธิปไตยต่อไป เราไม่อาจต้านทานความอำมหิตนี้ได้อีก ขอให้พี่น้องเดินออกไปทางสนามศุภชลาศัย การ์ดจะดูแลให้พี่น้องเดินทางกลับด้วยความสงบ และปลอดภัย"[51]
สำหรับแกนนำที่เข้ามอบตัวกับตำรวจทันที ตามลำดับประกอบด้วย ขวัญชัย ไพรพนา ตามด้วยจตุพร ซึ่งก้มลงกราบที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใน สตช. และคนสุดท้าย คือ ณัฐวุฒิ โดยก่อนเข้ามอบตัว ณัฐวุฒิ กล่าวผ่านเครื่องขยายเสียง หน้า สตช.อีกครั้งว่า "ขอให้พี่น้องเสื้อแดงเดินทางกลับบ้าน ส่วนจุดยืนยังเหมือนเดิม ไม่ต้องห่วงว่าแกนนำทุกคนจะสูญสิ้นอิสรภาพ เนื่องจากความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย ขอให้วางใจ ถ้าเสร็จภารกิจนี้ และได้รับความไว้วางใจจากมวลชนเหมือนเดิม จะกลับมาเป็นแกนนำเหมือนเดิม แต่ถ้ามวลชนไม่ไว้ใจอีกแล้ว ก็จะกลับมาเป็นคนเสื้อแดง ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเหมือนเดิม[52]
ต่อมาเวลา 23.00 น. มีรายงานเพิ่มเติม โดยได้รับการยืนยันจากพระภิกษุภายในวัดปทุมวนาราม ว่ามีผู้เสียชีวิตในวัด ขณะที่นายแพทย์ปิยะลาภ วสุวัต แพทย์กองอุบัติเหตุโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ได้รับการติดต่อมาแล้วว่า มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ บาดเจ็บ 7 คน แต่ต้องรอถึงวันรุ่งขึ้น ทีมแพทย์จึงจะเข้าไปได้[53]
ปรากฏหลังจากนั้นว่า แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ได้รับการรับรองที่ดีกว่าผู้ต้องหาโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก[54]และไม่มีการใส่กุญแจมือ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นทันที ถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ[55] โดยเฉพาะการจัดให้แกนนำได้แถลงข่าวและตำรวจจับมือกับแกนนำ[56] ภายหลังมีการย้ายสถานที่ควบคุมตัว โดยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 อนึ่ง ปรากฏว่า อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง, พายัพ ปั้นเกตุ และสุภรณ์ อัตถาวงศ์ แกนนำส่วนหนึ่ง หลบหนีการควบคุมตัวไปจากที่ชุมนุมแยกราชประสงค์
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม กลุ่มคนเสื้อแดงทยอยตั้งเวทีปราศรัยย่อยหลายแห่ง เพื่อรวบรวมกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดแต่ไม่สามารถเข้าร่วมการชุมนุมที่เวทีใหญ่แยกราชประสงค์ได้ เนื่องจากมีกำลังทหารปิดล้อมทุกทิศทาง และเพื่อป้องกันมิให้ออกไปตั้งแนวปะทะกับฝ่ายทหาร โดยจุดแรก ที่บริเวณย่านคลองเตย บริเวณใต้ทางด่วนพระราม ชุมชนบ่อนไก่, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน, สามเหลี่ยมดินแดง, มูลนิธิบ้านเลขที่ 111 นางเลิ้ง, ที่ทำการพรรคเพื่อไทย[57] และมหาวิทยาลัยรามคำแหง[58]
จากนั้น สมยศ พฤกษาเกษมสุข สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ สุรชัย แซ่ด่าน ประกาศว่าจะชุมนุมที่จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[59] และจะเข้าสู่กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน[60]
หลังแกนนำ นปช. บนเวทียุติการชุมนุม มีกลุ่มบุคคลบุกเข้าทำลายทรัพย์สิน และลอบวางเพลิงอาคารหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ด้านเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ยังถูกกองกำลังไม่ทราบฝ่ายยิงอาวุธปืนสกัดไม่ให้เข้าดับเพลิงได้
เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อเวลา 14.25 น. มีกลุ่มคนเสื้อแดงบุกเข้าทุบกระจกที่ชั้น 1 ของอาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งศูนย์การค้าเซน แล้วลอบเข้าไปวางเพลิงภายใน จนทำให้มีกลุ่มควัน และเปลวไฟพวยพุ่งออกมา ต่อมา มีการลอบวางเพลิงโรงภาพยนตร์สยามอีกแห่งหนึ่งเช่นกัน โดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าสกัดเพลิงได้ เพลิงได้ลุกไหม้เป็นเวลาหลายชั่วโมง นอกจากนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงยังมีการบุกเข้าทำลาย อาคารมาลีนนท์ ย่านถนนพระรามที่ 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ส่งผลให้เกิดเพลิงลุกไหม้ป้ายชื่ออาคาร และชั้นล่างของตัวอาคาร ได้รับความเสียหาย โดยในระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงเข้าทำการจุดไฟเผาอาคาร ซึ่งภายหลังศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมในข้อหาวางเพลิงเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ
หลังจากนั้น เกิดเหตุลอบวางเพลิงอีกหลายแห่ง เช่น ธนาคารออมสิน บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง และถนนวิภาวดีรังสิต, ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ใกล้สำนักงาน ป.ป.ส. และสาขาหัวมุมวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่งผลให้เพลิงลุกลามไปยังร้านหนังสือดอกหญ้า ซึ่งเป็นชั้นบนของอาคาร รวมทั้งศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน นอกจากนี้ ยังมีผู้ขว้างถังดับเพลิงเข้าใส่ ห้างสรรพสินค้าแพลตตินั่ม ประตูน้ำแต่ไม่มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นในบริเวณนี้ โดยเหตุเพลิงไหม้ทุกแห่ง รถดับเพลิงไม่สามารถเข้าควบคุมเพลิงได้ เป็นเวลาหลายชั่วโมงเช่นกัน[61]
รายการสถานที่ซึ่งเสียหายจากเหตุการณ์วางเพลิงมีดังนี้[62] [63]
ในเหตุการณ์นี้มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 53 ศพ ในจำนวนนี้ เป็นชายไทยไม่ทราบชื่อ 4 ศพ เป็นหญิงไทยไม่ทราบชื่อ 1 ศพ ระบุชื่อได้ จำนวน 47 ศพ ทหารเสียชีวิต 9 นาย ตำรวจ 2 นาย[64] และชาวต่างประเทศเสียชีวิต 2 ราย[65][66] ทหารเสียชีวิต ได้แก่ จ่าอากาศเอกพงศ์ชลิต ทิพยานนทการ ถูกกระสุนปืน และสิบเอกอนุสิทธิ์ จันทร์แสนคอ : ถูกระเบิดเอ็ม 79 [67] นอกจากนี้ยังมีชาวต่างประเทศสองศพ คือ โปเลนกี ฟาดิโอ ซึ่งเป็นช่างภาพข่าวชาวอิตาลี และออง ลวิน ชาวพม่า ทั้งสองถูกกระสุนปืน พลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม ถูกกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ยิงด้วยกระสุนหลายนัด เสียชีวิต 10 เมษายน 2553
กรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ตรวจสอบเหตุการณ์ชุมนุมของนปช. และการสลายม็อบระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ใน 9 กรณี[ต้องการอ้างอิง]
กรณีที่ 1 การสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ การปฏิบัติหน้าที่และผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่มีผลสืบเนื่องมาจาก นปช.ปลุกระดมมวลชนชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภาหรือลาออก บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นมา
กสม.สอบพยานบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 28 รายนปช. 54 ราย ผู้ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมแต่อยู่ในเหตุการณ์26 ราย รวมทั้งพยานเอกสาร เช่น ข้อเท็จจริงจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ข้อสรุปว่า ผู้ชุมนุมกระทำเกินกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และแม้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ แต่ในวันที่ 10 เมษายน การที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลุ่ม นปช.ต่อต้านและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ทั้งยังมีกลุ่มชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับผู้ชุมนุมถือว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีอาวุธและมีลักษณะเป็นกระบวนการที่พร้อมใช้อาวุธและความรุนแรงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงมิใช่การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
กสม.ยังระบุอีกว่า ในส่วนของรัฐบาล การขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไป รัฐบาลทำไปตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้ก่อนจริง เป็นการกระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้
กรณีที่ 2 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากระเบิดเอ็ม 79 บริเวณแยกศาลาแดงเมื่อวันที่22 เมษายน 2553 กสม.สอบถามจากพยานบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ21 คน และพยานเอกสาร สรุปว่าการชุมนุมของนปช.เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการใช้ความรุนแรง
กรณีที่ 3 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 คณะกรรมการเห็นว่าทหารเสียชีวิตจากอาวุธปืนและประชาชน รวมถึงทหารจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนทั่วไปและทหารที่เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ
กรณีที่ 4 เหตุการณ์กรณีการชุมนุมของกลุ่มนปช.บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย และการบุกเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาฯเมื่อวันที่ 29 เมษายน เข้าข่ายบุกรุก และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของโรงพยาบาล
กรณีที่ 5 เหตุการณ์กรณีการสั่งการของรัฐบาลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม รวมทั้งเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น การเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารต่างๆ กสม.สรุปว่า นปช.ชุมนุมไม่สงบและมีอาวุธปืน มีกลุ่มบุคคลติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มม็อบ ส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ ส่วนมาตรการกระชับพื้นที่สี่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบตั้งแต่วันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 ตามประกาศของ ศอฉ.นั้น กสม.เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่ามาจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียหาย และต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
กรณีที่ 6 การเสียชีวิต 6 ศพและการกระทำในรูปแบบอื่นๆ ในวัดปทุมวนารามระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม กสม.อ้างว่าการรวบรวมหลักฐานในชั้นนี้ ไม่มีพยานยืนยันว่าใคร ฝ่ายใดเป็นผู้ยิงทั้ง 6 ศพ และผู้เสียชีวิตบางรายได้ความว่าเป็นการเสียชีวิตนอกวัดบางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด แต่ทั้งหมดได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในวัด กรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น และควรสืบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม
กรณีที่ 7 เหตุการณ์กรณีนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเมื่อวันที่ 7เมษายน 2553 และระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล ตลอดจนการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสถานีวิทยุชุมชน กสม.เห็นว่านายกฯกระทำที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและเป็นการจำเป็นเหมาะสมในสถานการณ์ความรุนแรงและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ 8 เหตุการณ์กรณีชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่ม นปช.ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-20 พฤษภาคม ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึง นปช.เจาะเลือดของผู้ชุมนุมและนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์และทำเนียบรัฐบาล นั้นถือว่าละเมิดสิทธิของผู้อื่น
กรณีที่ 9 การเสียชีวิตและบาดเจ็บของสื่อมวลชนเกิดขึ้นจากการยิงปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มบุคคลผู้ติดอาวุธแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ยิง และกลุ่มที่ติดอาวุธแฝงเป็นใคร ดังนั้น รัฐบาลจึงมีหน้าที่เยียวยาช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
***********************************************
รู้ประโยชน์หลากหลายของน้ำมะพร้าว เปรียบเป็นเครื่องดื่มเสริมพลังจากธรรมชาติ
อากาศ ร้อนจัดอย่างนี้ ใครที่ต้องตากแดดหรือทำงานกลางแจ้ง คงสูญเสียเหงื่อกันมากและรู้สึกอ่อนเพลียจากสภาพอากาศด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้หลายคนมักนึกถึงเครื่องดื่มเกลือแร่ที่จะช่วยชดเชยน้ำ เกลือแร่ และพลังงานให้กับร่างกาย เพื่อเรียกคืนความกระปรี้กระเปร่า สดชื่น และทำงานต่อได้อย่างไม่รู้สึกเพลีย
สำหรับ ผู้ที่รักสุขภาพแล้ว คงอยากหาเครื่องดื่มที่คัดสรรมาจากธรรมชาติ แทนเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีทั้งการแต่งเติมสีและกลิ่น เต็มไปด้วยสารเคมี ผู้เขียนขอแนะนำให้ลองหันมามอง "สปอร์ต ดริ้งค์" (sport drink) หรือ "เอนเนอจี้ ดริ้งค์" (energy drink) เครื่องดื่มเสริมพลังจากธรรมชาติอย่าง "น้ำมะพร้าว" ที่แสนจะหาทานได้ง่ายในบ้านเรากันดีกว่า
มาดูกันเลยว่า น้ำมะพร้าวนั้นมีสารอาหารอะไร และให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง...
มะพร้าวถือเป็นพืชที่ปลอดสารพิษชนิดหนึ่ง เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการปลูกมะพร้าวน้อยมาก ใน ส่วนของน้ำมะพร้าวอ่อนนั้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะประกอบไปด้วย แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินซี บี2 บี5 และบี6 กรดโฟลิก กรดอะมิโน และฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง แถมมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานได้ทันทีอีกด้วย
น้ำมะพร้าวยังมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง แถมการดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
ฮอร์โมน เอสโตรเจนในน้ำมะพร้าว ยังช่วยเสริมการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวกระชับ ชะลอริ้วรอยก่อนวัย และยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย จึงช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส
เนื่องจากน้ำมะพร้าวมีปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นสูง รวมทั้งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียจากอาการท้องเสียหรือท้องร่วงได้ จึง จัดเป็นเครื่องดื่มเติมพลังหลังจากเสียเหงื่อ เสียน้ำ เสียเกลือแร่ ยิ่งในประเทศไต้หวันและจีน นิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อลดอาการเมาหลังการดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย
นอก จากนั้น น้ำมะพร้าวอ่อน ตามตำราแพทย์แผนไทยใช้เป็นยา มีสรรพคุณช่วยลดอาการไข้สูง ปวดหัวตัวร้อน ให้บรรเทาลงได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นยาบำรุงกำลังคนไข้ให้มีเรี่ยวแรงดีขึ้น
วิธี การดื่มน้ำมะพร้าวให้ได้ประโยชน์สูงสุด ต้องดื่มทันทีเมื่อเปิดลูกแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นาน โดยเฉพาะในอุณหภูมิห้อง เพราะในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลและแร่ธาตุที่เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์ได้ดี หากเปิดลูกแล้วทิ้งไว้ อาจทำให้น้ำมะพร้าวนั้นเปรี้ยว และเสื่อมเสียจากจุลินทรีย์ได้
อ่าน มาถึงตรงนี้แล้ว คุณผู้อ่านที่รักสุขภาพทั้งหลายคงจะเห็นคุณประโยชน์ของน้ำมะพร้าวที่แสนจะ มากมายขนาดนี้กันแล้ว สูญเสียเหงื่อ และเพลียแดดครั้งต่อไป อย่าลืมนึกถึง สปอร์ต ดริ้งค์ จากธรรมชาตินี้กันนะ
**************************************
** ป.ป.ช.เสนอให้รัฐบาลพิณา
โครงการน้ำส่อทุจริต?..
หัดพิณาตัวเองซะบ้าง...
เน่ายิ่งกว่าน้ำขนาดไหน...มาดูกัน **
17 พ.ค.56 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) จ.นนทบุรี นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช. แถลงว่าที่ประชุมป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์เห็นชอบข้อเสนอแนวทางและมาตรการป้องกันการทุจริตโครงการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทราบด้วย ทั้งนี้ การเสนอแนวทางดังกล่าวไม่ได้กล่าวหารัฐบาลทุจริต แต่คณะอนุกรรมการเห็นว่า เป็นกรณีใช้งบประมาณจำนวนมาก และหลายจุดเสี่ยงต่อการทุจริต
คดี ปรส.ไปถึงไหนแล้ว
คดีฮั้วประมูลโรงพักเริ่มหรือยัง
ก่อนหน้านี้ทำไม ป.ป.ช.ไม่ออกมาเตือน
...ผูกขาดเจ้าเดียว...ส่อทุจริต
เรื่องต่้อไปนี้ไปถึงไหนแล้ว
- เรื่องกล่าวหานักการเมืองสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ร่วมกับข้าราชการระดับสูงใน
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนปฏิบัติการไทยเข้ม
แข็ง ที่ สธ.ได้รับงบประมาณ 11,515 ล้านบาท
- เรื่องถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีขอให้บริษัทเอกชนที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือส่ง เอสเอ็มเอส ไปยังผู้ใช้บริการ ทุกเครือข่าย 3 ล้านเลขหมาย เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2551 อันมีลักษณะเข้าข่ายรับทรัพย์สินมูล ค่าเกิน 3 พันบาท
เรื่องกล่าวหานายอภิสิทธิ์ รับทรัพย์สินเป็นผ้าขาวม้า หมอนหนุนศีรษะ เหล็กไหล และแหวนทองคำ ซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 3 พันบาท
เรื่องกล่าวหานายอภิรักษ์ โกษะโยธิน สมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. กับพวกทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือรถด่วนบีอาร์ทีของกทม.
คดีคอร์รัปชั่นที่ค้างอยู่ใน ป.ป.ช.มีมาก เหมือนดินพอกหางหมูโดยมีคดีที่นับตั้งตั้งแต่ปี 46 จำนวน 4,975 คดี - ปี 50 จำนวน 11,578 - ปี 51 มีจำนวน 5650คดี (แบ่งให้คณะกรรมการปราบปราม การทุจริตภาครัฐ ป.ป.ท.5900 คดี) - ปี 52 จำนวน 6,400 คดี - ปี55 จำนวน 7,121 คดี คำนวณแล้วมีคดีเฉลี่ยสะสม 294 คดีต่อปี
นอกจากนี้ยังมีภาระในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีก โดยขณะนี้พบว่ามีการตรวจสอบ ไปแล้ว 35,334 บัญชี อยู่ระหว่างตรวจ 35,757 บัญชี ทั้งนี้หากไม่มีแนวทางการจัดการใหม่อย่างไรคงไม่ชนะ และ ยังอาจกลายเป็นวิกฤติศรัทธาในตัว ป.ป.ช.รวมไปถึงองค์กร อิสระอื่นๆ ***********************
วันที่: Fri Nov 15 17:42:28 ICT 2024
|
|
|