เมื่อ เสาร์, 20/04/2013 - 08:52
วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์มธ. แจ้งจับศาลรัฐธรรมนูญ
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 17:00 น. ข่าวสดออนไลน์
หัวใจสลาย...
....พอเหอะนะ ใจเอ๋ย เคยจำไหม?
สักเท่าไร? จึงจะสม ตรมผิดหวัง
เปิดโอกาส เขาเเก้ตัว กลัวรักพัง
ฉุดเหนี่ยวรั้ง ประคองอุ้ม ทุ่มทั้งตัว
....สิ่งที่ได้ ตอบกลับมา ชาไปหมด
คนใจคด ปล่อยทิ้งขว้าง พรางสลัว
บทเรียนช้ำ หนนี้ ที่ติดตัว
ระบมทั่ว ร้าวหมดเเล้ว เเก้วกลางใจ....
***************************************
ย้อนประวัติเชเชน แค้นรัสเซียถึงอเมริกา ระเบิดบอสตัน
สกู๊ปพิเศษ(นสพ.ข่าวสด)
สองพี่น้องตระกูลซานาเอฟ ตกเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกในชั่วข้ามคืน จากเด็กหนุ่มธรรมดาที่กลายเป็นผู้ต้องสงสัยวางระเบิดกลางการแข่งขันวิ่งมาราธอนในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซ็ตส์ สหรัฐ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. จนมีผู้เสียชีวิต 3 รายและมีผู้บาดเจ็บกว่า 180 คน
1.บุกร.ร.เบสลัน ปี2547
2.บุกโรงละครมอสโก ปี2545
3.วางระเบิดถล่มมอสโก ปี2542
4.ระเบิดรถไฟ ปี2553
ดราม่าของเหตุการณ์นี้เริ่มตั้งแต่ทั้งสองหนีการจับกุมของตำรวจ ปล้นรถ ดวลปืน และยิงตำรวจตาย จนกระทั่งถูกวิสามัญฆาตกรรม
นายทาเมอร์ลาน ซาร์นาเอฟ พี่ชาย อายุ 26 ปี เสียชีวิตไปก่อน ต่อมาอีก 1 วัน นายดโซคาร์ ซาร์นาเอฟ น้องชาย อายุ 19 ปี ซึ่งหลบหนีไปได้ในตอนแรก ถูกรวบตัวในสภาพบาดเจ็บหนัก ขณะแอบหลบอยู่ในเรือของชาวบ้าน
จากการสอบสวน ทั้งสองเป็นชาวเชเชนจากแคว้นเชชเนียของรัสเซีย ได้วีซ่าถาวรมาอาศัยและเรียนหนังสืออยู่ในสหรัฐร่วมสิบปี การก่อเหตุลอบวางระเบิดในดินแดนต่างบ้านต่างเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมายว่าอะไรคือแรงจูงใจของทั้งคู่ซึ่งเป็นคนหนุ่มมีอนาคตไกล
เมื่อข้อมูลส่วนนี้ปรากฏในตอนแรก สื่อมวลชนและนักวิเคราะห์พยายามหาเหตุผลเชื่อมโยงแรงจูงใจในการก่อเหตุทันที
คำถามคือ คนเชเชนที่เคยก่อเหตุก่อการร้ายในรัสเซีย ทำไมมาวางระเบิดในสหรัฐ
กลุ่มอิสลามสายเคร่งเชชเนียมีประวัติก่อความรุนแรงในลักษณะแบ่งแยกดินแดน โดยมีจุดเริ่มต้นบนพื้นที่นอร์เทิร์น คอเคซัส ทางตอนเหนือของแคว้นคอเคซัส ระหว่างทะเลดำ กับทะเลแคสเปียน อยู่ในแถบยูโรเปียนรัสเซีย
เป็นกลุ่มหัวรุนแรงที่มีเบื้องหลังความขัดแย้งกับรัฐบาลรัสเซียมานานหลายศตวรรษ
เหตุการณ์นองเลือดที่สุดเกิดขึ้นในปี 2537 คร่าชีวิตชาวบ้าน และนักรบเชชเนียรวมหลายหมื่นราย ส่งผลให้คอเคซัสผันสภาพเป็นซากประวัติศาสตร์แห่งโศกนาฏกรรมที่ยากจะลืมเลือน ทั้งยังกลายเป็นแหล่งซ่องสุมของกลุ่มมุสลิมก่อการร้ายต่างชาติที่เข้ามาตั้งรกรากขยายอิทธิพล และก่อการไม่สงบในรัสเซีย รวมถึงกลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกับอัล ไคด้าในปัจจุบัน
รัฐบาลรัสเซียถอนกำลังทหารออกจากเชชเนียในปี 2539 หลังสงครามเชเชน ครั้งที่ 1 ปิดฉากลง ทำให้แคว้นคอเคซัสเป็นพื้นที่ไร้กฎหมาย และไม่ขึ้นอยู่กับใคร โดย 3 ปีให้หลัง กลุ่มมุสลิมเชชเนียภายใต้การนำของ รามซาน คาดีโรฟ อดีตผู้ต่อต้านรัฐบาลรัสเซีย ถูกระบุเป็นผู้อยู่บื้องหลังเหตุระเบิด ทั้งในกรุงมอสโก และอีกหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ
ก่อนจะขยายความรุนแรงไปยังจังหวัดดาเจสถาน ซึ่งกลายเป็นแหล่งปะทะรายวันระหว่างกลุ่มมุสลิมเชชเนีย กับตำรวจ และทางการท้องถิ่น
ในวันที่ 23 ต.ค. 2545 กลุ่มเชชเนียกว่า 40 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง กับฉายา "เดอะ แบล็ก วิโดวส์" หรือ "แม่ม่ายแมงมุมดำ" ตามชุดฮิญาบสีดำที่ปกคลุมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ได้จับกุมชาวบ้านกว่า 700 คนเป็นตัวประกันที่โรงละครกรุง มอสโก พร้อมเรียกร้องให้รัสเซียออกจากพื้นที่ในปกครองของกลุ่ม มุสลิมเชชเนีย
แต่กองกำลังความมั่นคงรัสเซียได้บุก เข้าโรงละครเพื่อชิงตัวประกัน แต่กลุ่มมุสลิมเชชเนียตอกกลับด้วยการจุดชนวนวัตถุระเบิดที่มัดติดอยู่กับตัวประกัน ส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ร่วม 100 รายต้องสังเวยชีวิต
ต่อมาวันที่ 1 ก.ย. 2547 กลุ่มมุสลิมเชชเนียพร้อมอาวุธ บุกจับตัวประกันกว่า 1,000 คนที่โรงเรียนในเมืองเบสลัน แคว้นนอร์ธออสเซเตียของรัสเซีย และลงเอยด้วยชีวิตตัวประกัน 331 ราย หน่วยคอมมานโดของรัฐบาล 11 นาย และกลุ่มกบฏอีก 31 ราย
โดยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มมุสลิมเชชเนียก่อเหตุระเบิดพลีชีพในระบบรถไฟใต้ดินกรุงมอสโก มีผู้เสียชีวิต 40 ราย และเมื่อเดือนม.ค. ปีก่อน สมาชิกเชชเนียเพิ่งพลีชีพฆ่า 36 ศพ ด้วยการระเบิดสนามบินโดโมเดโดโวในกรุงมอสโก
แต่ความเชื่อมโยงของสองผู้ต้องหาที่เป็นชาวเชเชน กับคดีระเบิดเส้นชัยในงานวิ่งมาราธอนนานาชาติเมืองบอสตัน เมื่อ 15 เม.ย. ถือเป็นเหตุความรุนแรงครั้งแรกของกลุ่มมุสลิมเชชเนียที่ก่อเหตุนอกรัสเซีย
เชชเนีย (อังกฤษ: Chechnya; รัสเซีย: Чечня́; เชเชน: Нохчийчоь) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเชเชน (อังกฤษ: Chechen Republic; รัสเซีย: Чече́нская Респу́блика; เชเชน: Нохчийн Республика) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศรัสเซีย บริเวณเทือกเขาคอเคซัส ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ปัญหาเชชเนียเริ่มขึ้นเมื่อประธานาธิบดีดูดาเยฟแห่งเชชเนีย ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2534 โดยที่รัฐบาลรัสเซียไม่ได้ให้การรับรองคำประกาศดังกล่าว และถือว่าเชชเนียยังเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย
|
เชชเนียเป็นสาธารณรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย มีประชากรก่อนสงคราม 1.2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซียบริเวณเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับจอร์เจีย ในปี 2534 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ขบวนการชาตินิยมกลุ่มมุสลิมหัวใหม่ในรัสเซียต้องการที่จะผนวกดินแดน 4 สาธารณรัฐคือ สาธารณรัฐอิงกูเชเตีย, คาร์บาดีโน-บัลคาเรีย, ดาเกสถาน และนอร์ทออสซีเชีย เข้าด้วยกันเรียกว่า "สหพันธรัฐอิสลามคาลีฟัด" ภายใต้การสนับสนุนจากประเทศในตะวันออกกลาง ปัญหาของเชชเนียเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 นายพลดูดาเยฟ ประธานาธิบดีเชชเนียประกาศให้สาธารณรัฐเป็นเอกราช แต่รัสเซียยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้ดินแดนในปกครองเป็นอิสระ นอกจากนี้กรุงกรอซนืยเมืองหลวงของเชชเนีย ยังเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วย
ได้มีการส่งทหารจำนวน 40,000 นาย เข้าไปยังเชชเนีย เพื่อปราบปรามการแบ่งแยกดินแดน ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2537–2539) แต่ได้สิ้นสุดลง เมื่อรัสเซียตกลงให้สิทธิปกครองตนเองชั่วคราวแก่กลุ่มกบฏและยอมถอนทหารออกจากเชชเนียทั้งหมด และสนับสนุนให้นายอัสลาน มาสคาดอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชชเนียในเดือนกรกฎาคม 2540 สืบแทนประธานาธิบดีโซคคาร์ ดูคาเยฟที่เสียชีวิตไปในช่วงสงคราม ต่อมาอำนาจของประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องจากอดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกระจายอยู่ตามดินแดนส่วนต่าง ๆ ของเชชเนีย เริ่มตั้งตนขึ้นมามีอำนาจอย่างเป็นเอกเทศ และจากการที่ประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ดำเนินนโยบายแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียในภายหลัง ทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องการจับกุมตัวประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนสงครามเชชเนียครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2542)
สงครามเชชเนียครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2542)
เริ่มขึ้นเมื่อนายพลชามิล บาซาเยฟ หัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนียซึ่งมีอำนาจมากที่สุด นำกำลังเข้ายึดสาธารณรัฐดาเกสถาน ทางตะวันออกของเชชเนีย พร้อมประกาศจะปลดปล่อยดินแดนทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัสออกจากรัสเซีย และเปลี่ยนให้เป็นรัฐอิสลามทั้งหมด ทำให้รัสเซียต้องส่งทหารเข้าโจมตีที่ตั้งของนายพลบาซาเยฟในเชชเนียตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2542 โดยสามารถยึดพื้นที่ไว้ได้ทั้งหมด รวมทั้งกรุงกรอซนืยเมืองหลวงของเชชเนีย เหลือแต่เพียงบริเวณเทือกเขาตามแนวชายแดนเท่านั้น ที่มักเกิดการสู้รบกับกลุ่มกบฏในลักษณะการซุ่มโจมตี ในการนี้ รัสเซียได้แต่งตั้งนายอัคมัด คาดีรอฟ ขึ้นเป็นผู้นำเชชเนียคนใหม่
ระหว่างการล้อมจับของกองกำลังรัสเซียในเมืองตอลสตอยยุร์ต (Tolstoi Yurt) ของเชชเนีย หลายฝ่ายมองว่า เป็นการสิ้นสุดกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างเชชเนียกับรัสเซีย เนื่องจากนายมาสคาดอฟ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียสายกลาง กำลังต้องการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย โดยเป็นฝ่ายเสนอการหยุดยิงฝ่ายเดียวในเชชเนีย ขณะที่รัสเซียกลับมองว่า เป็นการสิ้นสุดผู้นำสูงสุดของกลุ่มกบฏเชชเนียสายกลาง ซึ่งจะทำให้ไม่มีตัวเชื่อมโยงทางการเมือง รวมถึงการขอรับการสนับสนุนด้านอาวุธและการเงินจากต่างประเทศ การสังหารนายชามิล บาซาเยฟ ผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียสายหัวรุนแรง เมื่อ 10 กรกฎาคม 2549 ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของประธานาธิบดีปูตินที่ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการแก้ไขปัญหาเชชเนียมาตลอด ซึ่งไม่เพียงส่งผลให้การแพร่กระแสเรียกร้องเอกราชไปยังดินแดนอื่น ๆ ของรัสเซียต้องหยุดชะงักลงบ้าง แม้จะไม่สามารถหยุดยั้งกระบวนการเรียกร้องเอกราชให้แก่เชชเนียได้ เพราะยังคงมีผู้นำกบฏคนใหม่ก้าวขึ้นมาแทนที่ แต่ยังจะช่วยให้การบริหารดินแดนเชชเนียโดยคณะบริหารที่รัฐบาลรัสเซียสนับสนุนอยู่เข้มแข็งขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียได้ส่งกองกำลังและเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำการอยู่ในเชชเนียประมาณ 40,000 นาย โดยไปจากกระทรวงกลาโหม หน่วยความมั่นคงกลาง (FSB) และกองกำลังของกระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก
ทั้งนี้ นายบาซาเยฟเป็นผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียที่ทางการรัสเซียต้องการตัวมากที่สุด และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจับตัวประกันในโรงละครใจกลางกรุงมอสโก การก่อวินาศกรรมเครื่องบินโดยสารของรัสเซีย การลอบวางระเบิดสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงมอสโก รวมถึงเหตุการณ์ครั้งรุนแรงที่สุด คือ การจับนักเรียนและครูเป็นตัวประกันที่โรงเรียนในเมืองเบสลันในปี พ.ศ. 2547 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 335 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก และก่อนที่นายบาซาเยฟจะถูกสังหารนั้น หน่วย FSB สืบทราบว่า นายบาซาเยฟมีแผนที่จะก่อการร้ายครั้งใหญ่ในช่วงที่รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G-8) ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในระหว่าง 15-17กรกฎาคม 2549 ด้วย
การแก้ไขปัญหาเชชเนียของรัสเซียถูกประณามจากชาติตะวันตกว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เนื่องจากใช้วิธีการกวาดล้างแบบราบคาบ ไม่เลือกเฉพาะพื้นที่ตั้งของฝ่ายกบฏ โดยเน้นการโจมตีทางอากาศเป็นหลัก แม้กระนั้น การก่อการร้ายในรัสเซียยังคงเกิดขึ้นและขยายตัวทั้งในแง่ของพื้นที่ปฏิบัติการและความรุนแรง ทำให้ประธานาธิบดีปูตินดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น โดยประกาศจะใช้นโยบายชิงโจมตีก่อนต่อผู้ก่อการร้าย ด้านสภาดูมาได้เสนอร่างกฎหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว โดยอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้มาตรการฉุกเฉินในการสืบสวน แม้จะยังไม่มีการยืนยันว่า กำลังจะมีการก่อการร้ายก็ตาม ซึ่งมาตรการดังกล่าวครอบคลุมการดักฟังโทรศัพท์ การตรวจสอบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และเอกสาร การจำกัดการจราจรและการเดินทาง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวในพื้นที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย
สร้างความชอบธรรมให้กับประธานาธิบดีปูตินในการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นการรวมศูนย์อำนาจ โดยเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทั้งแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วน เป็นการเลือกตั้งแบบสัดส่วนทั้งหมด พร้อมกับเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งผู้ปกครองสาธารณรัฐและเขตปกครองตนเองทั้ง 89 แห่ง เป็นการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีและขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติท้องถิ่นแทน ซึ่งวิธีการดังกล่าวถูกชาติตะวันตกโจมตีอย่างหนักว่า จะทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในรัสเซียไม่คืบหน้า
************************************************************
"เสื้อแดง" ชุมนุมไล่ตุลาการฯ หน้าศาล รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 เม.ย.) ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงในนามกลุ่มผู้กล้าประชาธิปไตย ประมาณ 200 คน นำโดย นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือ เล็กบ้านดอน ผู้อำนวยสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน มาชุมนุมที่บริเวณเกาะกลางถนนใต้สะพานข้ามแยก หน้าศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ หน้าอาคารศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยุติการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ที่มาไม่ถูกต้องแต่กลับใช้อำนาจก้าวก่ายฝ่ายบริหารและกระบวนการยุติธรรม ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารประเทศ รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ สร้างความแตกแยกในสังคม โดยผู้ชุมนุมประกาศจะชุมนุมที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยเป็นเวลา 3 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ภายในศาลรัฐธรรมนูญได้มีการจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล ทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งกองร้อยปราบจลาจล จำนวน 1 กองร้อย เพื่อเฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัย พร้อมกันนี้ได้นำแผงเหล็กไปกั้นบริเวณบันไดทางขึ้นด้านหน้า และเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในส่วนของเจ้าหน้าที่ศาล ยังคงทำงานตามปกติ โดยการชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีเหตุรุนแรงใด ๆ ซึ่งแกนนำได้ทยอยปราศัยหลังจากรถเวทีปราศรัยเคลื่อนที่เดินทางมาถึง.
http://www.dailynews.co.th/politics/199060
นี่ คือ สัญญาณ เอาจริงของภาคประชาชน....
หลังจากเอาแกนนำเข้าคุกหมาดๆ
559 | |
: เสาร์, 20/04/2013 - 08:52
|
********************************************
ศาลออสซี่ถกใส่-ไม่ใส่วิก
เมื่อ 17 ก.ย. เอเอฟพีรายงานว่า ผู้พิพากษาและทนายความในออสเตรเลียประสบปัญหาว่า ควรจะสวมวิกผมเป็นลอนๆ ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติในการขึ้นว่าความในชั้นศาลที่ตกทอดมาจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษต่อไปหรือไม่ โดยในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ผู้พิพากษาและทนายความไม่จำเป็นต้องสวมวิก แต่ในรัฐวิกตอเรีย ผู้พิพากษาหลายคนขัดคำสั่งหัวหน้าผู้พิพากษาไมเคิล โรเซเนส โดยไม่ยอมสวมวิกขึ้นว่าความ เช่นเดียวกับทนายความ เนื่องจากเห็นว่าล้าสมัย แม้ว่าวิกจะเป็นสัญลักษณ์ของการให้ความเป็นธรรมหน้า 7ข้อมูลจาก ข่าวสด
เป็นประเพณีหรือความคร่ำครึ
นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2535)
--------------------------------------------------------------------------------
ลองคิดดูสิถ้าคุณต้องทำงานที่ต้องใส่ชุดครุยยาวมีแถบผ้าผูกคอและผ้าคาดเอวแถมยังต้องสวม วิกที่ทำด้วยขนม้ายาวประบ่าคุณจะรู้สึกอย่างไร แต่นั่นเป็นชุดสำหรับผู้พิพากษาอังกฤษที่ใส่มา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ชุดดังกล่าวมีราคาถึง 7,000 ปอนด์ แต่ถ้าเป็นชุดสำหรับงานพิธีที่ใส่ในโอกาสพิเศษ จะ ต้องรวมกางเกงแบบขาสั้นเลยเข่า รองเท้าคาดทอง เสื้อคลุมที่แต่งริมด้วยขนเฟอร์ทำให้เกิดปัญหาถาม กันอย่างแพร่หลายว่า เครื่องแต่งกายดังกล่าวนั้นจำเป็นต่อการให้ความยุติธรรมหรือไม่
เหตุเริ่มจากลอร์ด แม็คเคย์ และลอร์ดเทย์เลอร์ส่งเอกสารเชิงขอคำปรึกษาไปยังนักกฎหมาย รวมทั้งตำรวจให้แสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าว จริงอยู่ที่ผู้พิพากษาอังกฤษใส่เครื่องแต่งกายดังกล่าว มาเป็นเวลานาน แต่เนื่องจากความเคลือบแคลงในการให้ความยุติธรรมเมื่อไม่นานมานี้ทำให้สาธารณชนเริ่มสนใจในปัญหาดังกล่าว ชาวอังกฤษจำนวนมากยังคงเห็นว่าชุดดังกล่าวนั้นเพียงช่วยให้เห็นถึงความภูมิฐานสง่างามแต่ก็ขยายช่องว่างระหว่างประชาชนและข้าราชการให้กว้างมากขึ้นในเอกสารของลอร์ดเทย์เลอร์และลอร์ดแม็ค เคย์นั้นแสดงออกซึ่งความรู้สึกรำคาญว่า “ในกระบวนเครื่องแต่งกายทั้งหมดนั้นวิกมีคนพูดถึงบ่อยมากที่สุดเพราะทำให้รู้สึกแปลกแยกแตกต่างจากชีวิตประจำวันและคร่ำครึ”
แต่ก็มีผู้พิพากษาหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับความเห็นดังกล่าว โดยชี้ว่าวิกที่ผู้พิพากษาใส่นั้นจะ ทำให้ผู้พิพากษาและนักกฎหมายดูแตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป ทำให้เกิดอำนาจและน่าเกรงขามในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี แต่ก็มีบางรายที่กล่าวว่าเครื่องแต่งกายดังกล่าวนั้นทำให้ผู้พิพากษาดูเป็นเอกเทศไม่เข้าข้างฝ่ายใดอันจำเป็นต่อการให้ความยุติธรรม บางเหตุผลนั้นกล่าวอย่างติดตลกว่าสำหรับ ผู้พิพากษาที่มีอายุมากและมีหัวล้านวิกจะช่วยปิดบัง และทำให้ดูหนุ่มขึ้น
การโต้แย้งดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าลอร์ด เทย์เลอร์จะส่งความเห็นไปยังผู้มีอำนาจ ตัดสินใจอย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาติ ความเคลื่อนไหวในเรื่อง ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 1846 โดยมีการยกเลิกการใส่วิก แต่ก็เพียงชั่วคราวเมื่ออากาศร้อน เท่านั้น
251 ... เรื่องไม่ธรรมดาของวิกผม
วิก (wig) มาจากคำว่า Periwig มีรากศัพท์จากภาษาละตินว่า Pilus = ผม
มนุษย์เริ่มใช้วิกผมมาตั้งแต่โบราณแล้ว
ในอียิปต์ชายหญิงจะสวมวิก ทำจากผมคนจริงๆ หรือโลหะมีค่า
เช่น เงิน ทอง ขนแกะ เส้นใยธรรมชาติต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของคนนั้นด้วย
ชาวอียิปต์จะโกนผมกัน เนื่องจากอากาศร้อน
ทำให้การดูแลรักษาทำความสะอาดยากลำบากจึงโกนหัวใส่วิกแทน
~~ วิกผมสีเหลืองของชาวโรมัน ~~
แต่ก่อนจะนิยมวิกผมสีเหลืองกันในหมู่นางงามเมือง ตามมาด้วยหมู่ไฮโซ
ใครที่ไม่สวมวิกจะเชยมาก พ่อค้าจึงต้องจับทาสชาวเยอรมัน
มาตัดผมเพื่อทำวิกขาย
ในปีค.ศ. 313 การสวมวิกถูกศาสนจักรโจมตีอย่างหนัก
ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย ชาวโรมันจึงเลิกสวมวิกตั้งแต่นั้นมา
~~ วิกผมของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบทที่ 1 ~~
ในศตวรรษที่ 16 วิกผมได้กลับมาอีกครั้ง โดยนิยมกันมากในหมู่กษัตริย์
โดยเฉพาะสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบทที่ 1 ว่ากันว่าพระองค์มีวิกผมมากกว่า 80 อัน
ทั้งวิกสีแดงที่ตกแต่งด้วยอัญมณีงดงาม และวิกผมสีบรอนด์ที่พระนางสวมใส่
ในช่วงปลายรัชกาล
แต่พระนางไม่อยากให้ใครรู้ จึงรับสั่งให้ทำลายรูปภาพของพระนางที่มีผมสีบรอนด์
แต่ก็มีภาพวาดที่ไม่ถูกทำลายหลุดออกมาในปีค.ศ. 1592
~~ วิกผมเฉพาะกลุ่ม ~~
ทางฝั่งตะวันออกจะไม่นิยมใส่วิก จะมีบ้างก็แต่ในญี่ปุ่น เกาหลี
เฉพาะพวกที่เป็นนักแสดงละครโน คาบุกิ เกอิชา กีแซง เท่านั้น
~~ แก้ปัญหาหัวล้านก่อนวัย ~~
ผู้ชายเริ่มใส่วิกกันมากขึ้นในศตวรรษที่ 17 มีพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสเป็นผู้นำ
เนื่องจากมีปัญหาหัวล้านตั้งแต่อายุ 23 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระโอรส
ก็ได้รับพันธุกรรมนี้มาด้วย ซ้ำตัวเตี้ย พระองค์จึงแก้ปัญหาด้วยรองเท้าส้นสูง
และใส่วิกผมทรงสูงยาวถึงหลัง พระองค์โปรดวิกผมสีขาวมาก
ถึงกับใส่เป็นประจำจนพวกผู้ดีและขุนนางเห็นเป็นของโก้เก๋
จึงใส่เลียนแบบบ้าง และนิยมไปทั่วยุโรป
~~ ทรงผมสุดอลังการของผู้หญิง ~~
ผู้หญิงชาวฝรั่งเศสจะไม่นิยมวิก แต่จะใช้การต่อผมเป็นช่อแทน
เพื่อให้เข้ากับชุดสวยหรูหราที่ใส่อยู่ โดยจะใช้ขนม้าจากจีน ขนวัวจากทิเบต
ขนแพะจากตุรกี และผมจริงของหญิงสาวในยุโรป ซึ่งมีราคาแพงมาก
มาย้อมสีแล้วนำมาตกแต่งทรงผมตนเอง
ใครอยากเด่นก็ต้องทำผมให้สูงถึง 30 นิ้ว ประดับด้วยขนนก ดอกไม้ เพชร กรงนก
และวิกผมแบบนี้นี่เองที่เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นในปีค.ศ. 1789
~~ ช่างทำผมที่ใครก็ต้องการตัว ~~
ในสมัยก่อนไม่มีร้านทำผม ใครจะทำต้องไปตามช่างมาทำที่บ้าน
ช่างทำผมต้องทำได้ทุกอย่างทั้งม้วน ดัด ตัด ซอย คิดแบบทรงผมเป็น
แต่บางครั้งช่างทำผมกับลูกค้าก็สื่อสารกันไม่เข้าใจ ทรงผมที่ออกมาจึงไม่ถูกใจลูกค้า
เลอกรอส เดอ รูมีกนี ช่างทำผมประจำราชสำนักฝรั่งเศส จึงจ้างนักวาดรูป
มาร่างแบบทรงผมต่างๆ แล้วพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Art de la coiffure des dames
พร้อมทั้งเปิดสถาบันสอนตกแต่งทรงผมอีกด้วย
~~ ถึงเวลาเลิกสวมวิก ~~
ปลายศตวรรษที่ 18 วิกเริ่มลดความนิยมลง จะมีก็แต่ขุนนางเก่าๆ และ
ผู้หญิงในราชสำนักเท่านั้นที่ยังใส่อยู่ เนื่องจากมีการเก็บภาษีวิกผมขึ้นในอังกฤษ
ส่วนในฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติก็เริ่มทำผมแบบเรียบง่ายมากขึ้น
แต่วิกผมก็กลับมานิยมอีกในปีค.ศ. 1915 แต่เป็นวิกแบบธรรมดาไม่หรูหรานัก
โดยการีตา ซึ่งเป็นช่างทำผมได้ออกแบบมาเพื่อให้นางแบบใช้
ในงานแฟชั่นโชว์ของจีวองชี เหล่าดาราและคนดังต่างๆ จึงเริ่มใส่วิกอีกครั้ง
ส่วนวิกผมสีขาวปัจจุบันยังคงใส่กันอยู่ในหมู่ผู้พิพากษาและทนายความ
ในประเทศที่ใช้การว่าความแบบอังกฤษ
********************************************************
วันที่: Fri Nov 15 18:52:29 ICT 2024
|
|
|