พ.ศ. 2449 - ฝรั่งเศสทำสัญญาคืนจังหวัดตราดกับดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
สมเด็จพระปิยะมหาราช
ภาพพิธีมอบเมืองตราดและเกาะกงให้กับข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำเขมร
ภาพจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส (ปกหลัง) Le Petit Journal ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905
เสียเมืองตราด
ภายหลังความตกลง สยาม-ฝรั่งเศส ฉบับ ค.ศ. 1904 ฝรั่งเศสยอมถอนกำลังออกจากจันทบุรี แต่กลับไปยึดครองตราดและเกาะกงไว้แทน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นหลักประกันว่าสยามจะปฏิบัติตามอนุสัญญาใหม่โดยเคร่งครัด ในภาพเป็นพิธีมอบตราดและเกาะกงอย่างเป็นทางการให้นายโมเรล ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำเขมร ส่วนตัวแทนของฝ่ายไทยคือพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยสิริ) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย อนึ่ง สยามได้ตราดกลับคืนมาจากสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับ ค.ศ. 1907 ในภาพจะเห็นว่าธงช้างถูกชักลงจากเสา นั่นหมายถึงสยามหมดอิสรภาพใน ณ บัดนั้น
เสียดินแดนเมืองจันทบุรีและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน จนได้ครอบครองญวนทั้งประเทศ และเขมรส่วนนอกทั้งหมด และได้ใช้กำลังบีบบังคับไทยเพื่อจะเข้ายึดครองดินแดนของประเทศไทย เกิดเหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา (เหตุ ร.ศ. 112) ไทยจำยอมต้องยกดินแดนเมืองจันทบุรีและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
เสียเมืองตราดและเกาะกูด ยาวไปถึงเกาะกง
ต่อมาในปี ร.ศ. 122 (ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ) รัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยยอมยกเมืองตราดและเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ ( เกาะกง) ให้แก่เมืองฝรั่งเศส และฝ่ายฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจังหวัดจันทบุรีโดยกองทหารฝรั่งเศสออกจากจันทบุรีตามสัญญาในวันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ต่อจากนั้นรัฐบาลไทยได้มีการมอบจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้าปกครองตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ ( พ.ศ. ๒๔๔๗) เป็นต้นมา
เมืองตราดกลับคืนเป็นของสยาม
จนถึง วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝรั่งเศสจึงทำสัญญาคืนเมืองตราดให้ไทยดังเดิม ทั้งนี้ โดยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการฑูตทุกวิถีทางจนได้เมืองตราดกลับคืนมา และวันที่ ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖ ( พ.ศ. ๒๔๕๐) ฝรั่งเศสจึงทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการ ให้กับประเทศไทยตามเดิม นับว่าจังหวัดตราดต้องสูญเสียอิสรภาพตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา ๒ ปี ๖ เดือน ๗ วัน การที่จัดจังหวัดตราดได้กลับคืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศไทยตามเดิมนั้น
เสียดินแดนพระตะบองเ สียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อแลกกับเมืองตราด
ตราดไม่ได้กลับคืนมาเปล่าไทยต้องเสียดินแดนพระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจังหวัดตราด การที่เราต้องเสียดินแดนไปจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนไทย นั้น ถือว่าเป็นพระปรีชาสามารถและทรงมีความผูกพันธุ์กับชาวตราด โดยแท้จริง
การมอบเมืองตราดให้ฝรั่งเศส
การมอบจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่เจ้าหน้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสนั้น พระยามหาอำมาตย์ได้ออกไปที่จังหวัดตราดโดยเรือรบหลวงมกุฎราชกุมาร ในวันเวลาที่มีการมอบหมายส่งดินแดนให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสนั้นได้กระทำกัน ณ ที่ศาลาว่าการจังหวัดตราด ในวันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓ ( พ.ศ. ๒๔๔๗) ต่อหน้าพระยาพิพิธพิสัยสุนทรการ ( สุข บริชญานนท์) ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และพระจรูญภาระการ (โป๊ะ กูรมะโรหิต) ซึ่งในขณะนั้นเป็นหลวงรามฤทธิรงค์ ตำแหน่งยกระบัตรเมืองตราด พระยามหาอำมาตย์ได้ทำหนังสือสำคัญโดยลงชื่อมอบเรสิดังต์กำปอดผู้เป็นข้าหลวงฝ่ายฝรั่งเศสเสร็จแล้วพระยามหาอำมาตย์ก็พร้อมด้วยข้าราชการประจำเมือง ตราดและเกาะกงบางคน มีพระยาพิพิธพิสัยสุนทรการ พระจรุญภาระการ และนายวาศผู้พิพากษาศาลจังหวัดประจันตคีรีเขตต์ที่ได้ย้ายครอบครัวจากเกาะกง มารอคอยอยู่ที่จังหวัดตราดเวลานั้นก็พากันออกจากจังหวัดตราดโดยเรือรบหลวงมกุฎราชกุมารกลับเข้าสู่กรุงเทพฯ
วิธีการมอบหมายจังหวัดตราดให้แก่ฝรั่งเศสนั้น นอกจากที่พระยามหาอำมาตย์จะได้ลงชื่อในหนังสือในหนังสือสำคัญให้แก่ข้าหลวงฝ่ายฝรั่งเศสโดยเฉพาะแล้ว การปรากฏตามที่พระจรูญภาระการเล่าว่าก่อนที่จะมีการมอบหมายหนังสือสำคัญให้แก่กันแล้วนั้น เสาธงประจำหน้าศาลาว่าการจังหวัดตราดยังชักธงไทย ( คือธงช้างเผือกทรงเครื่อง ยื่นแท่น) อยู่เบื้องบน ส่วนธงฝรั่งเศส(สามสี)ของเขาผูกไว้เบื้องล่างในสายเดียวกัน ( คือสายคู่) เมื่อข้าหลวงฝ่ายไทยได้กล่าวมอบหมายเมืองและหนังสือสำคัญให้แก่ข้าหลวงฝรั่งเศส และฝ่ายข้าหลวงฝรั่งเศสให้กล่าวคำรับมอบเมืองจากข้าหลวงไทยเสร็จแล้ว ทางฝ่ายเจ้าพนักงานฝรั่งเศสก็ให้ทหารญวน ซึ่งตั้งแถวเป็นกองเกียรติยศอยู่ที่หน้าเสาธงในเวลานั้น ทำการชักธงฝ่ายไทยลงจากปลายเสา และในขณะเดียวกันนั้นเอง เขาก็ชักธงสามสีของเขาสวนสลับขึ้นไปแทนธงช้างของชาติไทยเราทันที เวลานั้นกองทาหารฝ่ายเขา ๆ ก็ทำความเคารพแลเป่าเพลงแตร (ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นเพลงไซเยส์) เมื่อข้าหลวงฝ่ายไทยเสร็จการมอบหมายเมืองให้แก่ข้าหลวงฝ่ายฝรั่งเศสต่อกันแล้ว
คนเมืองตราดร้องไห้และเจ็บปวดในการเสียอธิปไตย
ในตอนนี้ข้าหลวงฝ่ายไทยกับบรรดาข้าราชการผู้ที่ได้ไปรู้เห็นในการนี้ต่างก็พากันกลับและให้คนของฝ่ายเราปลดเอาธงช้างมาเท่านั้น กล่าวกันว่าในวันนั้นพวกไทยเราถึงกับพากันน้ำตาตกและเต็มตื้นไปด้วยกันทุกคน ทั้งนี้ย่อมจะเป็นความจริงเหตุว่า จังหวัดตราดเป็นบ้านเมืองของไทย พลเมืองก็เป็นคนไทย ในประวัติศาสตร์ไม่เคยปรากฏว่าจังหวัดนี้ได้เคยเสียความเป็นอิสระตกไปอยู่ในความยึดถือของชาติหนึ่งชาติใดเลย ก็เมื่อจังหวัดตราดอันเป็นเมืองของไทยเราได้ปกครองมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ต้องมาเสียความเป็นไทยตกอยู่ในมืองของคนต่างชาติ ( กล่าวคือฝรั่งเศส) เช่นนี้แล้วก็ย่อมจะทำให้พวกเราคนไทยพากันมีความรู้สึกโทรมนัสเสียดายและเสียใจอยู่บ้างเป็นธรรมดา
บรรพบุรุษของคนเมืองตราดที่ผ่านความเศร้าโศกเสียใจ
เมื่อคราวเสียเมืองตราด
นายเจียร จินตกานนท์ ผู้อาวุโสของเมืองตราดที่ล่วงลับไปแล้ว ได้เล่าว่า " เมื่อครั้งที่ฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองตราด เราถูกบังคับใช้เชิญธงช้างลง ชาวบ้านน้ำตาไหล ยกชายผ้าถุง ชายผ้าขาวม้าขึ้นซับน้ำตา เพราะธงชาติไทยนั้นหมายถึง ความเป็นคนไทย เราไม่รู้ว่า จะมีวันที่ได้กลับมาเป็นคนไทย ได้เชิญธงไทยขึ้นอีกหรือไม่ ในวันที่เสด็จพ่อร.5 ได้นำความเป็นคนไทยคืนกลับมา คือวันที่ 23 มีนาคม 2449 นั้น ชาวเมืองตราดได้เห็น ธงช้าง เชิญสู่ยอดเสาอีกครั้ง ลุกเด็กเล็กแดง คนเฒ่าคนแก่ ร้องไห้ ก้มลงกราบ ธงชาติไทย ธงช้างจึงมีความหมายต่อชาวเมืองตราด "
ภาพกระโจมไฟอำเภอแหลมงอบ มองเห็นเกาะช้างอยู่ด้านหน้า
ท้องทะเลที่เป็นสมรภูมิ "ยุทธนาวีที่เกาะช้าง"
การลุกลานเมืองตราดของฝรั่งเศสครั้งที่ 2
ยุทธนาวีที่เกาะช้างเป็นเหตุการณ์รบทางเรือ ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส กล่าวคือ ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมัน ฝรั่งเศสขอให้
รัฐบาลไทยทำสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทยได้ตอบฝรั่งเศสไปว่าไทยยินดีจะรับตกลงตามคำของฝรั่งเศส แต่ขอให้ ฝรั่งเศสตกลงบางประการ
กล่าวคือ ให้ฝรั่งเศส ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดน
ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรมกล่าวคือ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ถือแนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ และให้ ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปคืนให้ไทย เป็นต้น จึงปรากฏว่าไม่เป็นที่ตกลงกัน ต่อมาราษฎรได้เดินขบวนแสดงประชามติ เรียกร้องดินแดนที่เสียไปหนักขึ้น กรณีพิพาทจึงได้เริ่มลุกขึ้นตามชายแดน เป็นแห่ง ๆ และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กำลังทหารเข้าทำการ สู้รบกัน ทั้งกำลังทางบก เรือ และอากาศ สำหรับทางเรือได้มีการรบกัน บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง ระหว่างกำลังทางเรือของไทย และของฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๙๔
ตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ ขณะที่ทหารเรือหลวงธนบุรี กำลังฝึกหัดศึกษาตามปกติอยู่นั้น ประมาณ ๐๖๑๒ ยามสะพานเดินเรือ ได้เห็นเครื่องบินข้าศึก ๑ เครื่อง บินมาทางเกาะกูดผ่านเกาะกระดาษมาตรงหัวเรือ ทางเรือจึงได้ประจำสถานีรบแต่ยังมิได้ทำการยิง เนื่องจากว่าเครื่องบินข้าศึกได้บินเลี้ยวไปทางเกาะง่าม ตรงบริเวณที่เรือตอร์ปิโด ทั้ง ๒ ลำ จอดเสียก่อน และทันใดนั้นทหารทุกคนก็ได้ยินเสียงปืนจากเรือตอร์ปิโดทั้งสองลำนั้น คือ เรือหลวงสงขลาและเรือหลวงชลบุรี ทำการยิงสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึก โดยทุกคนได้เห็นกลุ่มกระสุนระเบิดในอากาศใกล้เครื่องบิน และเครื่องบินหายลับตาไป
และชั่วในขณะนั้นเอง ทุกคนกลับได้ยินเสียงปืนถี่และหนักขึ้น ทันใดนั้นยามสะพานเดินเรือ ได้รายงานว่าเห็นเรือข้าศึกทางใต้เกาะช้าง โดยที่ยามมองตรงช่องระหว่างเกาะช้างกับเกาะไม้ซี้ใหญ่ เรือที่ยามเห็นนี้คือเรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งกำลังระดมยิงเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรีของเราอยู่นั่นเอง ลักษณะอุตุในขณะนั้นปรากฏว่ามีเมฆขอบฟ้า พื้นทะเลมีหมอกบาง ๆ ลมเซ้าท์เวสท์ กำลัง ๑ ไม่มีคลื่นทัศนวิสัย ๖ ไมล์อากาศค่อนข้างหนาว ปรอท ๒๗๐ซ เมื่อปืนป้อมทั้ง ๒ ป้อมพร้อม น.ท.หลวงพร้อม วีรพันธุ์ ผู้บังคับการเรือได้สั่งเดินหน้าเต็มตัว ๒ เครื่อง ความเร็ว ๑๔ นอต ถือเข็มประมาณ เซ้าท์อีสท์ เข้าหาข้าศึก และได้สั่งเตรียมรบกราบขวาที่หมาย เรือลาดตะเวนข้าศึก
ทหารราชนาวีไทยพลีชีพป้องกันแผ่นดินไทย
ประมาณ เวลา ๐๖๔๐ ขณะที่เรือหลวงธนบุรี ได้ตั้งลำพร้อม เรือลามอตต์ปิเกต์ก็โผล่จากเกาะไม้ซี้ใหญ่ และเป็นฝ่ายเริ่มยิงเราก่อนทันที
เรือหลวงธนบุรีได้เริ่มยิงตับแรกด้วยป้อมหัว และป้อมท้ายโดย ตั้งระยะ ๑๓,๐๐๐ เมตร ทันใดนั้นเองกระสุนตับที่ ๔ ของเรือลามอตต์ปิเกต์ มีนัดหนึ่งเจาะทะลุผ่าห้องโถงนายพล และชอนระเบิดทะลุพื้นหอรบขึ้นมาเป็นเหตุให้ น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ และทหารในหอรบอีกหลายนายต้องเสียชีวิตในทันที และมีอีกหลายนายได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิด และถูกไฟลวกตามหน้าและตามตัว กระสุนนัดนี้เองได้ทำลายเครื่องติดต่อสั่งการไปยังปืน และเครื่องถือท้ายเรือ เรือซึ่งกำลังเดินหน้าด้วยความเร็ว ๑๔ นอต ต้องหมุนซ้ายเป็นวงกลมอยู่ถึง ๔ รอบ ซึ่งในขณะนี้เอง เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ระดมยิงเรือหลวงธนบุรี อย่างหนาแน่น ปืนป้อมทั้งสองของเรือหลวงธนบุรีต้องทำการยิงอิสระ โดยอาศัยศูนย์ข้างและศูนย์ระยะที่หอกลาง
เรือรบหลวงธนบุรีอัปปางจากฝรั่งเศสรุมกระหน่ำ
ปรากฏว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ถูกกระสุนปืนจากเรือหลวงธนบุรี เช่นกัน โดยมีแสงไฟจากเปลวระเบิด และควันเพลิงพุ่งขึ้นบริเวณตอนกลางลำ จำต้องล่าถอยโดยมารวมกำลัง กับหมู่เรือฝรั่งเศสอีก ๔ ลำ ทางตะวันตกของเกาะเหลาใน และแล่นหนีไปในที่สุด เมื่อเรือของฝรั่งเศสได้ไปจากสนามรบหมดแล้ว ก็ปรากฏว่าได้มีเครื่องบินลำหนึ่งบินมาทางหัวเรือ และดำทิ้งระเบิดระยะต่ำจำนวน ๒ ลูก ลูกระเบิดตกบนดาดฟ้าเรือโบตหลังห้องครัวทหาร และเจาะทะลุดาดฟ้าเป็นรูโตประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ลงไประเบิดในครัวทหาร ทำให้ทหารตายอีก ๓ คนทางเรือไม่ได้ยิงต่อสู้ประการใด เพราะเครื่องบินลำนั้นมีเครื่องหมายไทยติดอยู่ เวลา ๐๘๓๐ เรือหลวงธนบุรีแล่นไป ทางแหลมน้ำ ไฟลุกทั่วไปในช่องทางเดิน ต้นเรือ (นายทหารอาวุโสที่สองรองจากผู้บังคับการเรือ) พาเรือมาทางแหลมงอบ เรือเอียงทางกราบขวา และต่อมาก็หยุดแล่น เรือหลวงช้างได้เข้าช่วยดับไฟ และจูงเรือธนบุรีไปจนถึงหน้าแหลมงอบ เพื่อเกยตื้น และต้นเรือได้สั่งสละเรือใหญ่ เมื่อเวลา ๑๑๐๐ ต่อมา ประมาณเวลา ๑๖๔๐ กราบเรือทางขวาก็เริ่มตะแคงเอนลงมากขึ้นตามลำดับ เสาทั้งสองเอนลงน้ำ กราบซ้ายและกระดูกงูกันโครงโผล่อยู่พ้นน้ำ
ทหารราชนาวีไทย ๓๖ ชีวิตพลีชีพป้องกันประเทศ
ในการรบครั้งนี้ ทางฝ่ายเราได้เสียชีวิตเป็นชาติพลี รวมทั้งสิ้น ๓๖ นาย เป็นนายทหาร ๒ นาย พันจ่า จ่า พลทหาร และพลเรือ ๓๔ นาย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหารประจำเรือหลวงธนบุรี ๒๐ นาย เรือหลวงสงขลา ๑๔ นาย และเรือหลวงชลบุรี ๒ นาย ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิตและบาดเจ็บของฝ่ายข้าศึกนั้นไม่ทราบจำนวนแน่นอน และนับจากได้เกิดการรบที่เกาะช้างแล้วจนกระทั่งวันลงนาม ในสัญญาสันติภาพ คือ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ที่กรุงโตเกียว ก็ไม่ปรากฏว่ามีเรือรบของข้าศึกเข้ามาในอ่าวไทย
" นิสัยหมาป่าที่จะกินลูกแกะ ฝรั่งเศสได้คืบเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา เมื่อไทยยอม ตามข้อบังคับของฝรั่งเศสแล้ว ฝรั่งเศสก็เฉไฉไปหาเรื่องอย่างอื่น " (นิติภูมิ นวรัตน์ ไทยรัฐ 11 มี.ค.47)
วันนี้ลูกเมืองตราดขอร่วมปกป้องอธิปไตยของชาติไทย
วันคืนความรู้สึกปวดร้าวและเจ็บลึกเป็นแผลในใจ ล่วงเลยมาเป็นเวลา 102 ปี แห่งความจดจำ ยังถ่าย
ทอดในสายเลือดของคนเมืองตราดจากรุ่นสู่รุ่น จากพ่อสู่ลูก จากลูกสู่หลาน ในความรู้สึกเจ็บแค้นและความอยุติธรรม
ของประเทศที่เรียกตัวเองว่าอารยะในซึกโลกตะวันตก ที่บังคับขู่เข็ญเอาผืนดินของประเทศที่ด้อยกำลังกว่า วันนี้ยัง
ไม่จืดจางไปจากความรู้สึกนึกคิดของคนเมืองตราดเลย เมืองตราดอาจจะโชคดีที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ทรงพระ
เมตตาไถ่ถอนเมืองตราดคืน โดยยอมเสียดินแดนที่มากมายกว่าพื้นที่เมืองตราดอีกหลายเท่านัก หากวันนั้นไม่มีล้น
เกล้ารัชกาลที่ ๕ ชาวตราดทุกคนคงตกอยู่ในการปกครองของกัมพูชาในวันนี้
*************************************************************************
นาย สมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว นครปฐม กระทู้ถาม นาย เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ
รัฐบาลปูคว่ำกฎหมายประกันสังคม แรงงานหมดโอกาสใช้บัตรเดียวรักษาทุกโรงพยาบาล ไร้สิทธิเข้าถึงการบริหารกองทุนประกันสังคม รองปธ. คกก.สมานฉันท์แรงงานไทยจวกเผด็จการ ปลุกผู้ใช้แรงงานต้านรัฐบาลเพื่อไทย
นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ประชุมรัฐสภาฯ มีมติเสียงส่วนใหญ่ไม่รับร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ที่ตนเสนอ 1 ร่างและที่ประชาชนเข้าชื่อเสนออีก 1 ร่างว่า ตนต้องขอแสดงความเสียใจไปยังประชาชนผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศที่สภาฯ มีมติเช่นนี้ ทั้งที่ร่างทั้ง 2 ร่างเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานหากได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาของกองทุนประกันสังคมที่มีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลกลับไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนและผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ กล่าวว่า รัฐบาลพูดอยู่ตลอดว่าจะช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ขณะนี้แรงงานกำลังมีปัญหากับความโปร่งใสของกองทุนประกันสังคมทั้งที่กองทุนนี้เป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุด โดยภาคประชาชนเห็นว่า ประชาชนควรที่จะมีส่วนรวมกับกองทุนดังกล่าวได้ รวมไปถึงคณะกรรมการประกันสังคม น่าจะมีการเลือกตั้ง เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนรวม และเพื่อความโปร่งใส เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง แต่กลับถูกปฏิเสธจากตัวแทนของที่พวกเราเลือกเข้าไปนั่งอยู่ในสภาฯ เสียเอง ซึ่งตนขอให้ผู้ใช้แรงงานทุกคนปฏิเสธรัฐบาลชุดนี้ เหมือนที่เขาปฏิเสธพวกเรา รัฐบาลไม่เคยฟังเสียงของผู้ใช้แรงงาน เอาแต่ใช้เสียงส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในสภาฯ รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศแบบเผด็จการ
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างกฎหมายประชาชนฉบับนี้ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้แก่ การกำหนดให้ สำนักงานประกันสังคมต้องเป็นองค์กรอิสระ การบริหารงานกองทุนประกันสังคมผ่านรูปแบบการมีคณะกรรมการชุดต่างๆ ต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีกระบวนการหรือกลไกการตรวจสอบการบริหารงาน รวมถึงขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม ให้บัตรเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาล และผู้ประกันตนมีสิทธิรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับกองทุนประกันสังคมทุกเรื่อง และเพิ่มบทลงโทษสำหรับนายจ้างให้มากขึ้นในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย...
"ต้องคว่ำครับ เพราะ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ทุกภาคส่วน....ประโยชน์ตกอยู่แค่เฉพาะผู้ใช้แรงงาน ถ้าเป็นกฏหมายนิรโทษกรรม ประชาชนจะได้ประโยคทุกภาคส่วน อันนี้รัฐบาลสนับสนุนเต็มที่แน่........."
(จากคุณ เมพ เสรีไทย)
วันที่: Fri Nov 15 19:09:11 ICT 2024
|
|
|