ตำรวจเบลเยี่ยมเผยแผนปล้นเพชรใน 3 นาที
ปล้นฟ้าผ่าเพชรพันล้านบนรันเวย์สนามบินเบลเยียม โจร 8 คนสวมชุดตำรวจและหน้ากากพร้อมปืนกลครบมือ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ฉกเพชร 120 ห่อ มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท บริษัทยอมรับถูกโจรกรรมครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อค่ำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ (ตามเวลาท้องถิ่น) เกิดเหตุปล้นเพชรอย่างอุกอาจภายในสนามบินกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม โดยคนร้ายจำนวน 8 คน สวมเครื่องแบบของตำรวจ แต่ใส่หน้ากากปิดบังใบหน้า พร้อมด้วยอาวุธปืนกล ได้ขับรถ 2 คันพังรั้วสนามบินเข้าไปจอดเทียบรถยนต์ของบริษัทรักษาความปลอดภัย Brinks บนรันเวย์สนามบินซึ่งเพิ่งนำเพชรใส่ตู้สินค้าของสายการบินเฮลเวติกแอร์เวย์ ที่กำลังจะเดินทางไปเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อันจา บิสเนนส์ โฆษกสำนักงานอัยการเมืองบรัสเซลส์ แถลงว่า กลุ่มโจรทั้ง 8 คนกวาดเพชรทั้งหมดไป 120 ห่อ ซึ่งมีทั้งเพชรที่เจียระไนแล้วและยังไม่ผ่านการเจียระไน โดยใช้เวลาปล้นไม่ถึง 5 นาที และไม่ได้ยิงปืนแม้แต่นัดเดียว เป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มคนร้ายได้วางแผนมาเป็นอย่างดี ผู้โดยสารบนเครื่องบินไม่ทราบเลยว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อได้เพชรไปแล้ว คนร้ายได้ขับหนีออกไปในความมืดทางรั้วที่พังเข้ามา และรถของพวกเขาคันหนึ่งพบว่าถูกเผาทิ้งไม่ไกลจากสนามบิน ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังติดตามไล่ล่าอยู่
สถานีโทรทัศน์วีอาร์ทีของเบลเยียมรายงานว่า อัญมณีที่ถูกปล้นไปทั้งหมดมีมูลค่าถึง 350 ล้านยูโร หรือประมาณ 14,000 ล้านบาท ขณะที่แคโรไลน์ เดอ วูล์ฟ โฆษกของศูนย์เพชรนานาชาติอันธ์เวิร์พ เจ้าของอัญมณีเลอค่าที่ถูกปล้นไป เปิดเผยว่า เพชรที่ถูกปล้นมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท
"อย่างไรก็ตาม นี่คือการปล้นครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ที่เราเคยประสบ" โฆษกศูนย์เพชรอันธ์เวิร์ปกล่าว และมีความวิตกว่าอาจมีทองคำและแพลทินัมถูกกวาดไปด้วย แต่ยังไม่สามารถยืนยันข้อมูลได้
ทั้งนี้ อันธ์เวิร์ปได้ชื่อว่าเป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเพชรมาเป็นเวลามากกว่าศตวรรษ มีเพชรที่ซื้อขายกันในโลกเดินทางผ่านเมืองนี้เป็นปริมาณมหาศาล คิดเป็นประมาณ 8 ใน 10 ของเพชรที่ยังไม่เจียระไน และ 5 ใน 10 ของเพชรที่ผ่านการเจียระไนแล้ว
ขณะที่ศูนย์เพชรนานาชาติอันธ์เวิร์ปมีอัญมณีผ่านเข้าออกมูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 6,000 ล้านบาททุกวัน ปกติการรักษาความปลอดภัยจะค่อนข้างเข้มงวดมาก.
การปล้นเพชรครั้งนี้นับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดของเบลเยี่ยม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่า กลุ่มคนร้าย 8 คน ได้วางแผนก่อเหตุมาอย่างดี และสวมเครื่องแต่งกายคล้ายตำรวจ ขับรถยนต์สีดำ 2 คัน บุกเข้าไปบนรันเวย์ของสนามบินนานาชาติในกรุงบรัสเซลส์ ก่อนตรงไปที่เครื่องบินของสายการบินสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งกำลังมีการขนย้ายเพชรมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาทของบริษัทแอนท์เวิร์บ ซึ่งเป็นบริษัทค้าเพชรรายใหญ่ของโลก ไปขึ้นเครื่องบินลำดังกล่าว
กลุ่มคนร้ายได้กระจายกำลังส่วนหนึ่งใช้ปืนจี้นักบินบนเครื่อง ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งใช้ปืนจี้คนขับรถ และพนักงานขนย้ายเพชร ก่อนจารกรรมเพชรที่มีทั้งแบบเจียระไนแล้ว และยังไม่ได้เจียระไน หลบหนีไปทางรั้วของสนามบินที่ถูกเจาะเป็นช่องไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งใช้เวลาเบ็ดเสร็จเพียง 3 นาทีเท่านั้น โดยไม่ต้องยิงปืนแม้แต่นัดเดียว ขณะที่ผู้โดยสารบนเครื่องบินก็ไม่ทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ล่าสุดทางการเบลเยี่ยมได้ส่งกองกำลังชุดพิเศษไล่ล่า และหาเบาะแสกลุ่มคนร้าย เบื้องต้นพบเพียงรถตู้ 1 คัน ที่คนร้ายใช้เป็นพาหนะ ถูกเผาทำลายหลักฐานอยู่ใกล้สนามบินเท่านั้น
เพชร | |
---|---|
เพชรรูปกลมที่ตัดและเจียระไนอย่างงดงาม สะท้อนแสงแพรวพราวตามเหลี่ยมมุม
|
|
การจำแนก | |
ประเภท | แร่ธรรมชาติ |
สูตรเคมี | C |
คุณสมบัติ | |
มวลโมเลกุล | 12.01 |
สี | โดยทั่วไปสีเหลือง น้ำตาล หรือ เทา ไปจนถึงไม่มีสี น้อยครั้งที่จะเป็นสีฟ้า เขียว ดำ ขาวขุ่น ชมพู ม่วง ส้ม และแดง |
รูปแบบผลึก | ทรงแปดหน้า |
โครงสร้างผลึก | สี่เหลี่ยมจัตุรัส-สามมิติ (เหลี่ยมลูกบาศก์) |
แนวแตกเรียบ | 111 (สมบรูณ์แบบใน 4 ทิศทาง) |
รอยแตก | แตกแบบฝาหอย |
ค่าความแข็ง | 10 |
ความวาว | มีความวาว |
ความวาวจากการขัดเงา | มีความวาว |
ดรรชนีหักเห | 2.418 (ที่ 500 nm) |
คุณสมบัติทางแสง | ไอโซทรอปิก |
ค่าแสงหักเหสองแนว | ไม่มี |
การกระจายแสง | 0.044 |
การเปลี่ยนสี | ไม่มี |
สีผงละเอียด | ไม่มีสี |
ความถ่วงจำเพาะ | 3.52 ± 0.01 |
ความหนาแน่น | 3.5–3.53 |
จุดหลอมเหลว | ขึ้นกับความดันบรรยากาศ |
ความโปร่ง | โปร่งแสง กึ่งโปร่งแสง ถึง เป็นฝ้าทึบ |
อ้างอิง | [1][2] |
เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10
เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้
เนื้อหา[ซ่อน] |
คำว่า เพชร ในภาษาไทย มาจาก वज्र (วชฺร) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สายฟ้า หรืออัญมณีชนิดนี้ก็ได้ ส่วนในภาษาอังกฤษ "diamond" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ αδάμας (adámas) ซึ่งมีความหมายว่า "สมบูรณ์" "เปลี่ยนแปลงไม่ได้" "แข็งแกร่ง" "กล้าหาญ" มาจาก ἀ- (a-) มีความหมายว่า "ไม่-" + δαμάω (damáō), "เอาชนะ" "ขี้ขลาด"[3] ภายหลังได้แผลงเป็น adamant, diamaunt, diamant และ diamond ในที่สุด
เพชรมีการกล่าวถึงและทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นเวลาหลายศตวรรษตามแม่น้ำเพนเนอร์ กฤษณะ และ โคธาวารี เพชรเป็นที่รู้จักในประเทศอินเดียมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแต่ไม่เกิน 6,000 ปี[4]
อัญมณีเพชรกลายเป็นสิ่งมีค่าเมื่อมีการนำไปใช้เป็นรูปเคารพทางศาสนาในอาณาจักรอินเดียโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานเพชรเป็นเครื่องมือแกะสลักตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วย[5][6] ความนิยมของเพชรได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการตัดและขัดเกลาที่ดีขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการปฏิรูปและความสำเร็จของการโฆษณาเผยแพร่[7]
ในปี ค.ศ. 1772 อ็องตวน ลาวัวซีเยได้ใช้แว่นขยายรวมรังสีดวงอาทิตย์ไปบนเพชรในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการพิสูจน์ว่าเพชรเป็นองค์ประกอบของคาร์บอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 สมิทสัน เท็นแนนต์ (Smithson Tennant) ได้ทำซ้ำและเพิ่มเติมการทดลองนี้ โดยแสดงให้เห็นว่าการเผาไหม้เพชรและกราไฟท์จะปลดปล่อยก๊าซที่มีองค์ประกอบเดียวกัน สมิทสันได้สร้างสมดุลสมการเคมีของสารเหล่านี้ขึ้นมา[8]
การใช้งานเพชรส่วนมากในปัจจุบันเป็นการใช้ในเชิงอัญมณีซึ่งใช้ทำเครื่องประดับ การใช้งานในลักษณะนี้สามารถนับย้อนไปได้ถึงในสมัยโบราณ การกระจายของแสงขาวในสเปกตรัมสีเป็นลักษณะพื้นฐานทางด้านอัญมณีวิทยาของอัญมณีเพชร ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เชี่ยวชาญในด้านอัญมณีวิทยาได้พัฒนาวิธีแบ่งระดับของเพชรและอัญมณีชนิดอื่นบนพื้นฐานของลักษณะที่สำคัญในเชิงมูลค่าของอัญมณี 4 ลักษณะหรือที่รู้จักกันในชื่อ 4 ซี ถูกใช้เป็นพื้นฐานการบ่งชี้ของเพชร ประกอบด้วย กะรัต (carat) การตัด (cut) สี (color) และ ความสะอาด (clarity)[9] เพชรไม่มีตำหนิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรู้จักกันในชื่อ พารากอน
วันที่: Fri Nov 15 17:42:11 ICT 2024
|
|
|