Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ชนชาติลาวพวน

ArjanPong | 19-02-2556 | เปิดดู 3842 | ความคิดเห็น 0

 

                                  

                                           ได้ยินหมดเเล้ว...

 

 

                                   

 

 

 

 

....เราเลิกกัน ดีกว่า อย่าทนทุกข์

 

ไม่มีสุข อยู่ทำไม? ให้เศร้าหมอง

 

พอกันที อย่าทายท้า มาต่อรอง

 

เลิกเเยกห้อง ไปตามทาง ห่างให้ไกล

 

 

....จะเอาลูก ไปด้วย ช่วยส่งเสีย

 

ไม่ต้องเคลียร์ มันจบเเล้ว เเก้วร้าวไหว

 

ทนมานาน ขี้เกียจง้อ ขอทำใจ

 

เส้นทางใคร ไปตามนั้น ฉันไม่เเคร์!!...

 

 

 

 

**********************************************************

 

 

 

บทความ ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ชนชาติไทยพวน

        

                                     ชนชาติไทยพวน

 

 

thaipaon2

 
 
ความเป็นมาของชาวไทยพวนในประเทศไทย


พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
 
 
ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและลาวโซ่ง มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำ(ลาวโซ่ง)และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย
 
 
ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ เช่น
 
 

  ภาษาไทยพวน ภาษาลาวเวียง ภาษาำำไทยกลาง
  ไปกะเลอ ไปไส
 
ไปไหน
  เอ็ดผิเลอ เฮ็ดหยัง
 
ทำอะไร
  ไปแท้อ้อ ไปอีหลีตั๊ว
 
ไปจริงๆหรือ
 
 
 
 
ภาษาเขียนของไทยพวนเดิมใช้อักษรไทยน้อย จารลงในใบลาน เช่น นิทานพื้นบ้าน เพื่อใช้อ่านในงานพิธีต่างๆ เช่น งานงันเฮือนดี อยู่กรรม หรือเทศน์ในงานบุญต่างๆ และใช้อักษรธรรม จารลงในใบลาน ที่เเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นและบังคับใช้ทั่วประเทศ ชาวไทยพวนจึงได้ศึกษาภาษาไทยอย่างจริงจัง อีกทั้งสนับสนุนให้บุตรหลานศึกษาภาษาไทยกันมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคม และวัฒนธรรมจากในเมือง การแต่งงานกับคนภาษาอื่น ทำให้เกิดการผสมผสานด้านภาษาทำให้อักษรไทยน้อยและอักษรธรรมลดความสำคัญลง ไม่มีการสืบทอดภาษาเขียนสู่ชนรุ่นหลัง ผู้มีความรู้เรื่องภาษาเขียนและภาษาถิ่นเริ่มหมดไปจากสังคม ในปัจจุบันมีผู้ที่สามารถอ่านใบลานได้น้อย
 

ชาวไทยพวน มีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นแบบเอกลักษณ์ของตนเองในด้านต่าง ๆ ได้แก่ประเพณี วัฒนธรรม พิธีกรรม วิถีการดำเนินชีวิต เช่น การแต่งกาย อาหารที่บริโภค และฝีมือในการทอผ้า และการละเล่นที่มีมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่การละเล่นบางอย่างจัดให้ขึ้นในงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น เล่นในประเพณีกำฟ้า ในประเพณีใส่กระจาด การละลเนบางอย่างเป็นการละเล่นที่เด็ก ๆ ในปัจจุบัน ไม่ทราบหรือไม่มีการนำมาเล่นแล้ว ดังนั้นการละลเนในประเพณีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูและเผยแพร่ในช่วงชั้น ๆ ตามเทศกาลเป็นส่วนใหญ่ อันได้แก่
 
 

thaipaon1

 
 
 
1. การเต๊ะหม่าเบี้ย เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวพวนบ้านหมี่และชาวพวนเขตอื่นมาแต่สมัยโบราณ เล่นในงานบุญประเพณี สงกรานต์ กำฟ้า หรือในคืนมืดที่มีการลงข่วง การลงข่วง คือการที่หนุ่มสาวในหมู่บ้านเอางานในบ้านเช่น ปั่นด้าย ตำข้าว เย็บผ้า ผ่าฟืน เป็นต้น มาร่วมกันทำในตอนกลางคืน โดยอาศัยแสงจากกองไฟที่บริเวณลานบ้าน เป็นการนัดพบของหนุ่มสาวเมื่อเสร็จงานก็จะแข่งขันกันเตะหม่าเบี้ย หนุ่มสาวก็จะส่งเสียงเอาใจช่วยฝ่ายของตนเป็นที่สนุกสนาน
หม่าเป็นภาษาพวนหมายถึงลูกหรือผล ตรงกับภาษาไทยมาตรฐานว่า หมากเบี้ย หมายถึง วัตถุทรงกลมที่มีความแบนค่อนข้างหนาซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ก้นครกที่ทำด้วย เครื่องปั้นดินเผา เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว หนาประมาณ 3 นิ้ว ปกรณ์การเล่นอีกอย่างคือ ไม้กระดานหนาขนาด 1.5 – 2 นิ้ว กว้าง 8- 10 นิ้ว ยาว 2 ศอก โดยประมาณ จำนวน 1 แผ่น แต่เดิมใช้ไม้กระดานกั้นประตูฝายุ้งข้าว ผู้เล่นก็จะเป็นฝ่ายชายหนุ่มกับหญิงสาว หรือชายกับชาย หรือหญิงกับหญิงก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน สถานที่เล่นก็จะใช้บริเวณลานบ้าน ลานวัด ก็ได้
 

วิธีเล่น คือ แต่ละฝ่ายจะต้องเตะลูกหม่าเบี้ยให้ถูกกระดานที่ตั้งอยู่ห่างประมาณ 8– 10 เมตร ให้ล้มลง โดยเตะสลับกันไป หากฝ่ายใดเตะถูกกระดานล้มมากกว่าก็จะเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งรางวัล คือการเขกเข่า ดีดนิ้ว หรือเป็นเครื่องดื่มซึ่งจะทำให้เกิดความสนุกสนาน ทั้งผู้เล่นและผู้ที่คอยให้กำลังใจ ในปัจจุบันมีการพัฒนาการเล่นหม่าเบี้ยโดยมีการตั้งกติกาขึ้นมาอีกหลายอย่าง และจุดประสงค์นอกจากจะให้เกิดความสนุกสนานแล้วยังถือว่าเป็นการแข่งขันทดสอบ ความสามารถในการเตะที่แม่นยำ มุ่งหวังเพื่อแพ้ชนะ หรือหาคนที่มีความสามารถ อย่างไรก็ตามหม่าเบี้ย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็ยังเป็นการละเล่นของชาวพวนที่มีความสนุกสนาน แฝงไว้ด้วยความรักสามัคคี ของกลุ่มชน ดังที่ คำผญาว่า “ฮักหมู่ ฮักเชื้อ จิกินเกลือ ก็บ่ว่า” ( คำผญา เป็นภาษาพวน ความหมาย เป็น น. บทกลอน ลำนำ คำพังเพย คำภาษิต )


2. การเล่นนางกวัก เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งของคนไทยพวน โบราณ ในเรื่อง ภูติ วิญญาณ ที่นำมาเล่นกัน เพื่อจะได้ติดต่อถึงวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว เพื่อถามสารทุกข์สุกดิบ และเรื่องต่าง ๆ ของผู้ตาย ว่า มีความเป็นอยู่อย่างไร ต้องการอะไรบ้าง เพื่อทางญาติพี่น้อทยังมีชีวิตอยู่ จะได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ดวงวิญญาณจะได้สงบสุข มีความเป็นอยู่ในภพที่ดี แต่บางคนก็จะถามถึงเรื่องโชคลาภ วาสนา เนื้อคู่ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว และบางคจะถามถึงเลขเด็ด ( ถ้าเล่นกัน ในวันใกล้หวยออก )การเล่นนางกวัก ลักษณะคล้ายกับการดูหมอซึ่งจะทำให้ผู้ถาม เกิดความกระจ่างและเกิดความสบายใจในสิ่งที่เป็นกังวลใจ
 

วิธีการเล่น
นำอุปกรณ์ เตรียมไว้ มาประกอบกันให้เป็นตัวนางกวัก โดยใช้เชือกผูกส่วนหัว และตัวติดกัน นำกวักมาทำเป็นส่วนตัว และนำกะลามะพร้าวมาผูกเป็นส่วนหัว นำไม้คานมาผูกทำเป็นส่วนแขน นำเสื้อผ้ามาแต่งตัวให้กับกวัก แต่งตัวกวักให้เหมือนหุ่นไล่กา เตรียมทรายใส่กระด้งไว้ สำหรับทำเป็นที่เขียนหนังสือของกวัก แล้วทำพิธีอัญเชิญวิญญาณผีเข้าสิงกวัก โดยให้ผู้หญิงที่ถือกวัก 2 คน คนละข้างยกกวักไว้ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปอัญเชิญ โดยมีตัวแทนของผู้เล่น ที่มีอาวุโส ( คนแก่ ) เป็นผู้อัญเชิญ และทำพิธีขอขมาลาโทษต่อเจ้าที่เจ้าทาง และผีทางหลวงทางก่อนที่จะทำการเล่นส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ หรือผู้ดูจะนั่งล้อมวงกันอยู่รอบ ๆ กระด้งที่มีทรายใส่ไว้จนเต็มซึ่งปาดหน้าให้เรียบพวกที่นั่งล้อมวงอยู่ก็จะ ช่วยกันกล่าวคำร้องเชิญดวงวิญญาณเข้าทรงกวัก ดังต่อไปนี้
 

“ นางกวักเอย นางกวักทักแท่ เห่เจ้าแหญ่ อีแม่แญญอง หาคนญาคนญอง เห้อสูงเพียงช้าง เจ้าอย่าอ้างต่างหู เดือนหงาย สานลิงสานลาย เดือนหงายเดือนแจ้ง เจ้าอย่างแอ้ง อีแท่นางกวัก กวักเจ้ากวัก นางกวักทักแท่ “ การร้องเชิญดวงวิญญาณเข้าทรงกวัก จะร้องวนขึ้นต้นกันใหม่ ร้องซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าวิญญาณจะเข้าสิ่งกวัก เมื่อผีเข้าสิงกวักจะรู้ได้ ให้สังเกตจากกวักที่คนทรงถือ คือกวักจะเริ่มสั่นไหว แล้วก็ดินกระโดดโถมไปโถมมา ทางซ้ายทางขวา ตามจังหวะเสียงร้องคำเชิญ ถ้ากวักเคลื่อนไหวลักษณะดังกล่าว แสดงว่าวิญญาณกวักเข้าทรงแล้ว คนทรงหรือคนถือก็นำกวักมานั่งใกล้ ๆ กับกระด้งที่เตรียมไว้ ขณะที่นำนางกวักมานั้น กวักจะสั่นอยู่ตลอดเวลา ผู้เล่น โดยเฉพาะหนุ่ม ๆ สาว ๆ ก็จะเริ่มตั้งคำถามต่าง ๆ ที่อยากรู้ ลักษณะคล้าย ๆ กับการทำนายทายทักแบบหมอดู แต่การเล่นกวักจะใช้วิธีตอบคำถามโดยการเขียนหนังสือโต้ตอบ เมื่อผู้ถาม ๆ จบ กวักก็จะตอบโดยการใช้แขนที่ทำด้วยไม้คาน เขียนเป็นหนังสือลงบนทรายที่กระด้ง คนถามก็จะได้คำตอบทันที แต่การเขียนตอบจะเขียนไม่ยาว เป็นเพียงข้อความสั้น ๆ เช่น ใช่ ไม่ใช่ ได้ ไม่ได้ ดี ไม่ดี ฯลฯ
 

การถามคำถามนั้น จะสลับไปกลับการร้องเพลงประกอบ ขณะที่มีการร้องเพลง เคาะจังหวะ นางกวักก็จะเต้นล้มไปด้านซ้าย ด้านขวาตลอดเวลาตามจังหวะด้วย ซึ่งเป็นที่สนุกสนานทั้งนางกวักและผู้เล่น จนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายและหมดคำถามที่จะถามแล้ว ก็จะเชิญวิญญาณที่เข้าสิงนางกวักออก โดยทำพิธีไปส่งที่จุดแรกที่เชิญเข้าทรง เมื่อวิญญาณออกแล้ว กวักที่คนทรงถืออยู่ก็จะมีอาการสงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว


วิถีชีวิตและภาษา
ชาวพวนมีนิสัยรักความสงบ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักอิสระ มีความขยันขันแข็งในการการประกอบอาชีพ เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะทำงานหัตถกรรม คือ ผู้ชายจะสานกระบุง ตะกร้า เครื่องมือหาปลา ส่วนผู้หญิงจะทอผ้า ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบันคือ ผ้ามัดหมี่ลพบุรี
 

อาหารของชาวไทยพวนที่มีประจำทุกครัวเรือนคือ ปลาร้า เมื่อมีงานบุญมักนิยมทำขนมจีน และข้าวหลาม ส่วนอาหารอื่น ๆ จะเป็นอาหารง่าย ๆ ที่ประกอบจากพืชผัก ปลา ที่มีในท้องถิ่น เช่น ปลาส้ม ปลาส้มฟัก เป็นต้น ในด้านความเชื่อนั้น ชาวพวนมีความเชื่อเรื่องผี จะมีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นในเทศกาลก็จะมีการเล่นผีนางด้ง ผีนางกวัก ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีกำฟ้า ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงการสักการะฟ้า เพื่อให้ผีฟ้า หรือเทวดาพอใจ เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติ
วัฒนธรรมด้านภาษา ชาวพวนจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน แต่ปัจจุบันภาษาเขียนจะไม่มีคนเขียนได้ ยังคงเหลือเพียงภาษาพูด ซึ่งมีสำเนียงคล้ายเสียงภาษาถิ่นเหนือ อักษร "ร " ในภาษาไทยกลาง จะเป็น "ฮ" ในภาษาพวน เช่น รัก - ฮัก หัวใจ - หัวเจอ ใคร - เผอ ไปไหน - ไปกะเลอ


คนพวนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตภาคกลาง ไม่ว่าจะเข้ามาในฐานะเชลยศึกหรือเข้ามาด้วยความสมัครใจ ต่างก็ตั้งหลักแหล่งอยู่ตามจังหวัดต่างๆ กลุ่มที่ถูก กวาดต้อนมาในฐานะเชลยศึกมักจะถูกส่งไปไว้ตามหัวเมืองชั้นในเพื่อชดเชยแทนคน ไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปหลังเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 พวนกลุ่มนี้
ได้แก่ ชาวพวนอยู่ที่ ลพบุรี ( อำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง)
สระบุรี ( อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด อำเภอวิหารแดง)
นครนายก ( อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา)
ฉะเชิงเทรา ( อำเภอพนมสารคาม)
ปราจีนบุรี (อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอกบินทร์บุรี )
สิงห์บุรี (อำเภอพรหมบุรี)
สุพรรณบุรี (อำเภอบางปลาม้า อำเภออู่ทอง)
ชลบุรี (อำเภอพนัสนิคม)
 

ส่วนพวกที่อพยพเข้ามาด้วยความสมัครใจมักจะอพยพเข้าไปรวมอยู่กับพวนกลุ่มเดิม หรือขยายถิ่นที่อยู่ใหม่ ดังจะพบว่าในปัจจุบัน มีชุมชนชาวพวนขยาย
ไปอยู่ที่ เพชรบุรี ( อำเภอเขาย้อย อำเภอท่ายาง )
พิจิตร (อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาค อำเภอตะพานหิน )
สุโขทัย ( อำเภอศรีสัชนาลัย )
นครสวรรค์ ( อำเภอช่องแค อำเภอชุมแสง อำเภอไพศาลี อำเภอตากฟ้า)
อุทัยธานี (อำเภอทัพทัน)
กาญจนบุรี (บางหมู่บ้านในอำเภอพนมทวน)
เพชรบูรณ์ (บ้านดงขุย อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ , ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ)
อุตรดิตถ์ ( ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง)


นอกจากนั้นก็ยังมีชาวพวนอยู่ในภาคเหนือ ได้แก่
แพร่ (ต.ทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง)
น่าน ( บ้านหลับมืนพวน อำเภอเวียงสา บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา)
พะเยา (บ้านห้วยกั้น อำเภอจุน)
เชียงราย ( บ้านป่าก๋อย อำเภอแม่สาย บ้านศรีดอนมูล บ้านป่าสักน้อย อำเภอเชียงแสน ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง)
และในภาคอีสาน ได้แก่
อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ)
หนองคาย (อำเภอเมือง) และ อุบลราชธานี ( อำเภอเมือง)


ในบ้านเดิมคือประเทศลาวมีคนพวนเหลืออยู่ไม่มาก แต่ในเมืองไทย คนพวน เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แม้ภาษา ความเชื่อ และ ประเพณีพิธีกรรมบางอย่าง จะคล้ายคลึงกับคนไทย อีสานหรือลาวอีสานแต่ก็ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ด้านภาษาคำที่ใช้สระใอ คนพวนออกเสียงเป็นสระ เออ เช่น ให้ เป็น เห้อ หัวใจ เป็น หัวเจอ เจ้าแม่นไผ(คุณเป็นใคร )เป็นเจ๊าแม่นเผอ ด้านประเพณี คนพวนมีพิธีกำฟ้าซึ่งทำในเดือน 3 ชาวพวนจะนำข้าวเปลือกไปสวดขวัญข้าวที่วัดแล้วนำกลับมาใส่ในยุ้งข้าว เพื่อสิริมงคล ในวันสงกรานต์ ชาวพวนมีพิธีอาบน้ำก่อนกาเพื่อชำระมลทินและเสริมสิริมงคลแต่รุ่งเช้า มีพิธีสูดเสื้อสูดผ้าซึ่งเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาที่วัด
 
 

thaipaon4



โดยภาพรวมคนไทยจะมองว่าคนพวนเป็นชาวพุทธที่เคร่งศาสนามีความรู้ เคารพผู้อาวุโส รักครอบครัว รักสงบ สามีชาวพวนมักให้เกียรติภรรยาหมู่บ้าน พวนมักไม่มีคดีร้ายรุนแรง คนพวนเป็นคนมีวัฒนธรรมมิใช่คนป่าเถื่อน สิ่งที่หล่อหลอมคนพวนให้มีบุคลิกภาพดังกล่าวนี่แหละคือภูมิปัญญาของ บรรพบุรุษชาวพวน ที่ถ่ายทอดมาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ เช่น คำสอน นิทาน วรรณคดี ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ศิลปกรรมต่างๆ ภูมิปัญญาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ลูกหลานคนพวน ควรค้นคว้าหาให้พบแล้วยึดให้มั่น


บ้านเรือนของชาวพวนเป็นเรือนสูง ใต้ถุนเรือนใช้ทำประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำคอก วัวควาย เล้าเป็ดไก่ ตั้งเครื่องสำหรับผูกหูกทอผ้า หลังคาทรงมะนิลาหันหน้าไปทางทิศ ตะวันตก ไม้เครื่องบนผูกมัดด้วยหวาย และหลังคามุงด้วยหญ้าคา ถ้าเป็นบ้านผู้มีฐานะดี จะมุงด้วยกระเบื้องไม้เรียกว่า ไม้แป้นเก็ดหรือกระเบื้องดินเผา พื้นและ ฝาเรือนปูด้วยกระดาน ไม้ไผ่สีสุกสับแผ่ออกเป็นแผ่นๆ เรียกว่า ฟาก ฤกษ์ในการปลูก คือเวลาเช้า การปลูกเรือนจะเสร็จในวัน เดียวประมาณ 5-6 โมงเย็น ต่อจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายหญิง บางพวกทำ เล้าไก่ ทำเตาไฟ การขึ้นบ้านใหม่เจ้าของบ้านต้องหาบสิ่งของขึ้นไป ได้แก่ ไซหัว หมู แห ไม้ค้อน สิ่ว และหอก หญิงชาวพวนสูงวัย ในตำบลหาดเสี้ยว นิยมนุ่งซิ่นดำคาดแถบแดง ต่อจากนั้นจะมีคนถือเสื่อ ที่นอน หมอน มุ้ง ถาดข้าวต้มขนมหวาน สำหรับทำขวัญเรือน เมื่อญาติพี่น้องมาพร้อมหน้า ก็เริ่มทำพิธี สู่ขวัญเรือน ตามประเพณี การนอนเรือนใหม่จะต้องมีคนนอนให้ครบทุกห้องเป็นเวลา 3 คืน คืนที่สี่ เจ้าบ้านจะต้องจัดทำ ข้าวต้มขนมหวานเลี้ยงดูญาติพี่น้อง ที่มานอนเป็นเพื่อนเมื่อเจ้าบ้านจัดบ้านเสร็จคนที่จะเข้าออก ห้องนอนได้ต้องเป็นคนในครอบครัว เท่านั้น
 
 

thaipaon3


 
การแต่งงานของชาวพวน ผู้ชายต้องหาเฒ่าแก่ไปสู่ขอหญิง เฒ่าแก่ต้องไปเป็นคู่และ เป็นคนประพฤติดี มีครอบครัวแล้วอยู่กันอย่างราบรื่นไม่เป็นหม้าย เมื่อ สู่ขอแล้ว ฝ่ายชาย ตกลงวันแต่งงาน ต้องนำหมากไปด้วย วันแต่งงาน ชาวพวน เรียกว่า วันก่าวสาว ชายต้องจัด ขันหมาก 1 ขัน ซึ่งเรียกว่า พานตีนสูงหรือขันโตกของ ที่ใส่พานได้แก่ หมาก เต้าปูน พลู ูและมีดน้อย (มีดฮั่วมโฮง) เมื่อแต่งงานเสร็จฝ่าย สะใภ้ต้องเชิญญาติร่วมรับประทานอาหาร ในเวลาเย็นของวันแต่งงานและตอน เช้าของวันรุ่งขึ้น
 

นอกจากนั้นยังมีประเพณีกำเกียง คือ ประเพณีที่มีการส่งผีย่าผีเกียงสอนลูกหลานไม่ให้ ้เป็น คนเห็นแก่กิน ประเพณีกำเมื่อมีคนตาย คือไม่ให้มีการทำงานหนักในบ้าน ประเพณีห่อ ข้าวดำดิน เพื่อส่งข้าวเปรต คือผีปู่ย่าตายาย พ่อแม่ญาติ พี่น้องที่ตายไป ประเพณีทาน ข้าวสะจะ เป็นการทำบุญที่จัดขึ้น ในเดือน 10 ของ แรม 15 ค่ำ ซึ่งประเพณีทำบ้องไฟจุดเป็น พุทธบูชาและประเพณีสงกรานต์ เรียกว่า สังขานต์ มี 3 วัน คือ วันสังขานต์ล่อง วันเนาและ วันเถลิงศก
 

การแต่งกายของชาวพวน ชายนุ่งกางเกง และผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่าหรือ คาดเอว ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าขาวม้ารัดนม เรียกว่า แห้งตู้ ทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไป ไร่นา ต้องสวมเสื้อสีดำ หรือสีคราม หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึง ข้อมือ กระดุมเสื้อใช้เงิน กลม ติดเรียงลงมาตั้งแต่คอถึงเอว ชายหญิงเมื่อโกนผมไฟ แล้วหญิงจะไว้ผมจุก พออายุ 14-16 ปีจะไว้ผมยาว เมื่อถึงอายุ 18-19 ต้องไว้ผม ทรงโค้งผมคือหยิบเอาผมที่ปล่อยลงไปมาทำเป็นรูปโค้ง พออายุ 20 ปีขึ้นไปจะต้องนำผมมาขมวดเป็นกระจุกไว้ที่ กลางศีรษะ เรียกว่า เกล้าผมจุกกระเทียมและต้องปักหนามแน่น เมื่อแต่งงานแล้วจะเลิกปัก ส่วนชายจะโกนผมจนโตเป็นหนุ่มจึงไว้ ผมยาว
 

เพื่อที่จะเก็บเรื่องราว บรรพบุรุษของชาวไทยพวน ไว้ให้ลูกหลาน ได้รับรู้ เก็บรวบรวม เรื่องราว ต่างๆ ของ ชนชาติ บรรพบุรุษ ไทยพวน ไว้เป็น ส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ โดยผมขอใช้สถานที่แห่งนี้ เก็บรวมรวบเรื่องราว ของชาวไทยพวน ไว้ หากใครมีเรื่องราว ต่างๆ ของชาวไทยพวน ร่วมบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ ไปพร้อมกับเรา ทาง เรายินดีเป็นอย่างยิ่ง โดยทางสามารถ ติดต่อเราได้ที่เว็ปไซท์ แห่งนี้ http://www.nayokcity.com/board/contactus.php


รวบรวม โดย นาวี ผาจันทร์
Host Master & CEO
NAYOKCITY.COM

 

 

 

 


ตามเอกสาร "ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์" ของบังออน ปิยะพัน
ได้อิงตาม จดหมายเหต ของสยาม ว่า คนลาวมีอยู่ด้วยกัน 6 พวก คือ
พวกที่ 1 แม่นประชาชนที่อยู่หัวเมืองล้านนา
พวกที่ 2 ประชาชนที่อยู่ในดินแดน ภาคอีสาน
พวกที่ 3 ประชาชนที่อยู่บริเวณ อาณาจักร หลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจัน และอาณาจักรจำปาสัก
พวกที่ 4 ชาวลาวเมืองพวน
พวกที่ 5 ลาวซ่งดำ หรือ ลาวโซ่ง
และคนลาวพวกสุดท้าย ในความหมายของสยามคือ ลาวพวกที่ 6 คือ ลาวพูคัง
.............................................................................................................
ลาวพวกที่ 4 แม่นคนลาว เมืองพวน หรือไทยสยาม ร้องว่า "ลาวพวน" นั่นเอง
ลาวพวน นี้แม่นคนจากเมืองพวน ซึ่งอยู่ในเขต พูเพียง ในแขวงเชียงขวาง
คนเมืองพวน ถูกส่งเข้าไป ตั้งบ้านเรือน อยู่ในกรุงเทพฯ ก็มี
นอกจากนั้น ยังอยู่แขวงฉะเชิงเทรา แขวงลพบุรี แขวงเพชรบุรี
และแขวงราชบุรี เป็นต้น

สำหรับคนลาวพวกที่ 5 ในความหมายของไทยสยามคือ คนซ่งดำหรือลาวโซ่ง
อิงตามเอกสาร ของไทย บ่งชี้ว่า ลาวซ่งดำ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่แคว้นสิบสองจุไท
และ อยู่ในดินแดนจีน ตั้งแต่ มณฑล กว่างสี. มณฑลยูนาน และอยู่ในเวียดนาม
อยู่มณฑลตั้งเกี๋ยง หรือ ตันแก้ง อยู่อ่าวแม่น้ำดำ และแม่น้ำแดง ในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอนต้นสยาม ได้กวาดต้อน เอาลาวโซ่ง
มาไว้อยู่ไทยหลาย และลาวโซ่ง ถูกจัดสถานที่
ให้อยู่ที่เมืองเพชรบุรี แต่เพียงสถานที่เดียว ซึ่งในปัจจุบันที่เห็นว่ามีลาวโซ่ง หรือคนไทดำ
อยู่ตามแขวงต่าง ๆ ของไทยเช่น ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และ สมุทรสาคร
นั้นเป็นเพราะว่า ในสมัยรัชการที่ 4 นั้น คนลาวโซ่งได้อพยพ ย้ายถิ่นตั้งเมืองใหม่

แก้ไขเมื่อ 21 ส.ค. 52 07:37:05

 

 
 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Nov 15 17:23:48 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>