พระเจ้านันทบุเรง
(จากวิกิพิเดีย)
พระเจ้านันทบุเรง เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระเจ้าบุเรงนองและอัครมเหสีอดุลศรีมหาราชเทวี (พระพี่นางของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระนามเดิมว่า ตะเคงจี) มีชื่อที่เรียกในภาษาพม่าว่า "นานเตี๊ยะบาเยง" ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2124 ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง เมื่อขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า "หานตาวดี เซงยูงาซีเชง" แปลว่า "พระเจ้าหงสาวดีช้างเผือกทั้ง 5" พระเจ้านันทบุเรงมีพระประสงค์จะขยายอำนาจของอาณาจักรหงสาวดีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยทำสงครามกับเมืองใหญ่น้อยต่าง ๆ รอบข้างรวมทั้งพิษณุโลกและอยุธยาด้วย ซึ่งผิดแผกไปจากพระเจ้าบุเรงนอง พระราชบิดาของพระองค์ เนื่องจากหลักการปกครองของพระเจ้าบุเรงนองจะเป็นไปในลักษณะเมืองใหญ่ปกครองเมืองน้อย ดูแลเมืองที่ขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ และผูกสัมพันธ์ไมตรีเอาไว้
พระองค์มีมีพระอัครมเหสีพระนามว่า เมงพยู พระองค์มีราชโอรสองค์โตชื่อ "เมงกะยอชวา" (ไทยและมอญเรียกว่า มังสามเกียด) ที่เจริญชันษามาพร้อมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา ต่อมา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. 2127 พระเจ้านันทบุเรงได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาหลายต่อหลายครั้ง เช่น ปี พ.ศ. 2129 ที่พระองค์ยกทัพมาเองพร้อมกำลังทหารราว 2 แสน ปิดล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง 6 เดือน แต่ไม่สามารถหักตีเข้าได้ และในปี พ.ศ. 2135 ที่พระองค์ส่งพระมหาอุปราชยกทัพเข้ามาในขอบขัณฑสีมาของอยุธยา และได้กระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จนถึงขั้นสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง พระเจ้านันทบุเรงเมื่อทราบข่าว ทรงพิโรธมาก ทรงเข้าไปหาพระสุพรรณกัลยาที่ยังคงอาศัยอยู่ในกรุงหงสาวดีและใช้พระขรรค์ฟันพระนางพร้อมพระธิดาจนสิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์
และเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทราบข่าวนี้ ก็ทรงพิโรธ ยกทัพมาด้วยความฮึกเหิม หมายจะเผากรุงหงสาวดีให้ราบคาบเพื่อเป็นการแก้แค้น แต่ก่อนหน้านั้น พระเจ้าอังวะได้แข็งเมืองได้วางแผนซ้อนกลลวงให้พระเจ้านันทบุเรงเสด็จออกจากเมืองไปเสียก่อน หงสาวดีเลยกลายเป็นเพียงเมืองร้าง และพระเจ้านันทบุเรงก็ได้ถูกจับกุมตัวไว้
วาระสุดท้ายของพระเจ้านันทบุเรง ถูกพระเจ้าตองอูหรือนัดจิงหน่องแย่งชิงราชบัลลังก์ สิ้นพระชนม์เพราะถูกวางยาพิษ ในปี พ.ศ. 2142 พระองค์จบพระชนชีพลงอย่างน่าอนาถเพราะเป็นนักโทษในคุกของพระเจ้าตองอู
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ อาณาจักรหงสาวดีที่เคยยิ่งใหญ่ก็อ่อนอำนาจลง เนื่องจากถูกศูนย์กลางแห่งอำนาจได้สูญเสียผู้นำที่เข้มแข็งลง ประกอบกับพระราชโยบายของพระเจ้าบุเรงนองที่เคยประนีประนอมกับหัวเมืองต่าง ๆ ได้ถูกทำลายลงในรัชสมัยของพระเจ้านันทบุเรง จนในที่สุดก็อ่อนแอลงเรื่อย ๆ และนำไปสู่การแตกสลาย มอญก็ขึ้นมาเป็นใหญ่ ก่อนที่จะถูกสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรใหม่ในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในอีกหลายปีต่อมา
พระเจ้านันทบุเรง มีพระนามที่ชาวไทยจะรู้จักดีในนาม "มังไชยสิงห์" หรือ "มังเอิน" ซึ่งเป็นนามที่ได้รับการตั้งโดยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมื่อสามารถช่วยเหลือบิดาตนเอง คือ มหาอุปราชบุเรงนอง ระหว่างที่กำลังเพลี่ยพล้ำต่อทหารอยุธยาในคราวสงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย ในปี พ.ศ. 2091 โดยที่มีอายุเพียง 11 ขวบเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจอีกพระองค์หนึ่งของพม่า พระองค์เองก็เคยทำยุทธหัตถีชนะพระเจ้าแปรได้ แต่ทว่าพระราชโยบายการปกครองของพระองค์เป็นไปอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรี จึงนำมาสู่การล่มสลายของอาณาจักรในที่สุด
หมายเหตุ
วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)
*** กลอนหวานผ่านใจ ***
"ไม่ได้ขู่นะเว้ย!!..."
....เฮ้ยปล่อยนะ เดี๋ยวพ่อกัด ฟัดนิ้วขาด
หนอยบังอาจ บีบข้าไว้ เดี๋ยวได้สวย
รู้หรือเปล่า? ว่าเงาหัว ตัวจะซวย
จำซะด้วย จับใครมา? อย่านะเอ็ง
....อย่ามาหยอก บอกให้รู้ "ปูฮิปโป้"
ไม่ได้โม้ ก้ามเเทงพุ่ง สะดุ้งเหย็ง
หากไม่วาง อย่าหาว่า ข้าไม่เกรง
ได้ตะเบ็ง เเหกปากก้อง ร้องจนตาย!!!...
ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา 17 กม ปักเสาลงแม่น้ำ..........พูดและคิดแล้วใช่ไหม?พงศพัศ
พล.ต.อ.พงศพัศ ให้ สัมภาษณ์ถึงการลงพื้นที่ย่านเยาวราช ว่า บริเวณดังกล่าวถือเป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อม จึงมีนโยบายทำถนนเลียบแม่น้าเจ้าพระยา บริเวณท่าน้ำราชวงศ์ ทั้งสองฝั่งเป็นระยะทาง 17 กิโลเมตรให้เป็นที่พักผ่อนสาธารณะเพิ่มคุณภาพชีวิต
เริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 8 ถึงสะพานสาธร โดยไม่มีการเวนคืนที่ดิน แต่ใช้วิธีปักเสาลงในแม่น้ำซึ่งสามารถทำได้จริง โดยจะขอนุมัติจากกรมเจ้าท่า พร้อมฟื้นรถรางติดแอร์ให้บริการรอบเกาะรัตนโกสินทร์ เชื่อมโยงถึงเยาวราชเพื่อลดความแออัดด้านการจราจรรวมทั้งเป็นการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวด้วย
แกใช้คำว่า "ถนน" มันก็ใหญ่
ถ้าแค่ walkway ยังพอว่า
คือเมืองไทยมีที่..ทางกทม.ได้จัดทำไว้เพื่อปรับปรุงและเพิ่มภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นทางเดินริมน้ำที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
ทอดยาวเชื่อมตั้งแต่สวนสันติชัยปราการผ่านท่าพระอาทิตย์ไปจนถึงท่าพระปิ่นเกล้า ซึ่งเป็นทางที่จะเดินต่อไปยังท่าพระจันทร์ได้...
น่าจะเอามาให้หมดนะว่าโครงการนี้เสนอเมื่อไหร่ ใครเสนอ และตอนนี้คนคนนั้นอยู่พรรคไหน
ผมบอกแล้วโครงการนี้ไม่ใหม่ เสนอเมื่อไป 2536
20 ปีที่แล้ว โดย พันเอกวินัย สมพงษ์ และถูกต่อต้านยังไง อะไร แบบไหน
และเคยคิดไหม? ทำไม ปชป เจ้าพรรคไม่เคยปัดฝุ่นมันขึ้นมา
เขารู้!!............
วันที่: Fri Nov 15 16:25:32 ICT 2024
|
|
|