Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 35975 | ความคิดเห็น: 0

เหรียญฟ้าลั่น “เบ็ญจะมหามงคล” วัดสุปัฏนารามวรวิหาร 2516

 เพิ่มเมื่อ: 2012-08-14 19:47:31.0
 แก้ไขล่าสุด: 2018-03-01 17:50:36.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 0816516654
 อีเมลล์: meteekit@yahoo.co.th

รายละเอียด:
เหรียญฟ้าลั่น “เบ็ญจะมหามงคล” วัดสุปัฏนารามวรวิหาร 2516
800.00 บาท

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่น ครบรอบ 72-37 วัดบ้านไร่ เหรียญพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร ปี20 เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่จันลี อุธาโน อายุวัฒนมงคล 102 ปี สำนักสงฆ์ป่าศรีคูณเมือง ต.หนองบ่อ อ.นาแก นครพน นางพญา ผสมผงแม่ทิพย์สุวรรณ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย นครพนม เสก มีเกศาหลวงปู่ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ 6 รอบ 72 ปี 8ตุลาคม2537 ตอกโค๊ต 3 โค๊ต

เหรียญฟ้าลั่น “เบ็ญจะมหามงคล” วัดสุปัฏนารามวรวิหาร 2516

 

บูชาเหรียญละ 800 บาท

 

ประวัติและพิธีพุทธาภิเษก

ในระหว่างที่พลตรีจุมพล ทองทาบ ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมนั้นได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการว่า ควรจะหาเงินสักจำนวนหนึ่งมาสร้างสำนักงานของสมาคม และที่ประชุมได้มีมติให้สร้างเหรียญขึ้นเพื่อจำหน่าย ดังนั้น คณะกรรมการจึงไปขอคำแนะนำจาก เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ โดยท่านได้แนะนำให้บรรจุรูปพระอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี 5 องค์ ลงในเหรียญคือ

พระคุณเจ้าพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ศิริจันโท (จันทร์)

พระอาจารย์เสาร์ กนฺต สีโล

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

สมเด็จมหาวีรวงศ์ ติสโส (อ้วน)

เจ้าคุณพระศาสนดิลก ชิตเสโน (เสน)

รูปของพระอริยสงฆ์ทั้ง 5 องค์ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและบุคคลทั่วไป เนื่องจากเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้ จะรวมกันอยู่อีกด้านหนึ่งของเหรียญเรียกว่า “เหรียญเบ็ญจะมหามงคล” และมีอักษรขอมแทรกไว้ ส่วนอีกด้านหนึ่งของเหรียญให้นำรูปพระสัพพัญญูเจ้า ซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์วัดสุปัฏนารามวรวิหารใส่ไว้

ด้านหน้าเหรียญประกอบไปด้วย

1.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

2.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

3.ลป.เสาร์ กันตสีโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

4.ลป.มั่น ภูริทัตโต วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

5.พระศาสนดิลก(เสน ชยเสโน) วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ด้านหลังเหรียญเป็นรูปของ “พระสัพพัญญูเจ้า’ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม ซึ่งเป็นรูปพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ของจ.อุบลราชธานี มีอักขระขอมติดองค์พระว่า “อะ อุ มะ”

“อะ” คือ อะระหัง แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งหมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“อุ” คือ อุตมะธัมโม หมายถึง พระสัจธรรมอันเลิศเมื่อพระพุทธองค์ตรัสออกมาแล้วย่อมเป็นหนึ่งไม่มีสอง

“มะ” คือ มหาสังโฆ แปลว่า พระสงฆ์หมู่ใหญ่

มีอักขระโค้งไปตามขอบเหรียญ ความว่า “นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา”

อันเป็นพระคาถา ย่อมาจากพระปริตชื่อ “โมระปริตร” ซึ่งลป.มั่น ยกย่องว่าเป็นเลิศในทางแคล้วคลาด ป้องกันภยันตราย เรียกพระคาถานี้ว่า “หัวใจยูงทอง”

 

คณะกรรมการสมาคมได้จัดสร้างเหรียญจำนวน 100,000 เหรียญ และได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2516 เวลา 16.00 น. ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2516 เวลา 05.40 น. โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เป็นองค์ประธานในพิธี และได้อาราธนาพระคุณเจ้าที่มีศีลาจาริวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธามาร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน 62 องค์ เช่นพระอาจารย์ขาว วัดถ้ำกลองเพล, พระอาจารย์วัน วัดถ้ำภูเหล็ก, พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม, พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาลวัน, พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง, พระอาจารย์หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอ, พระอาจารย์หลวงพ่อเทียม วัดกษัตริยาธิราช อยุธยา, พระอาจารย์หลวงพ่อทองอยู่ สมุทรสาคร, พระอาจารย์เจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ ปากช่อง, เจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี ชัยภูมิ, พระครูโอภาสสมณกิจ (หลวงพ่อผาง) วัดธรรมวิเวก ชนบท, เป็นต้น

ในวันทำพิธีปลุกเสก ได้เกิดนิมิตอันดีปรากฏให้เห็นชัดเจน กล่าวคือ ขณะที่พราหมณ์กำลังกล่าวอัญเชิญเทวดา ท้องฟ้ามืดครึ้มขึ้นมาทันที ลมกระโชกแรง มีเสียงฟ้าคำรามอย่างกึกก้อง ฝนตกปรอยๆ ประมาณ 2-3 นาที แล้วก็หายไปราวปาฏิหาริย์ ประชาชนที่มาร่วมพิธีจึงให้ชื่อว่า “เหรียญฟ้าลั่น” เพราะเป็นนิมิตดี น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังนำเทียนชนวนที่จุดไฟเพื่อนำไปจุดเทียนชัยอยู่นั้นบังเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นคือ

“ฟ้าลั่นเปรี้ยงดังสนั่นหวั่นไหวที่ท่าน้ำวัดสุปัฏนารามถึง 2 ครั้งซ้อน และฟ้าได้มืดครึ้มลงอย่างกะทันหันพร้อมมีฝนโปรยปรายลงมาอยู่ครู่ใหญ่แล้วจึงหายไป”ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังจุดเทียนชัยอยู่นั้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ก็ได้เจริญพระพุทธมนตร์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้

1.พระธรรมบัณฑิต วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา

2.พระเทพมงคลเมธี วัดมณีวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

3.พระเทพกวี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

4.พระวิโรจน์รัตนโนบล วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

5.พระศาสนดิลก วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

6.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

7.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

8.พระครูวิรุฬสุตการ วัดวารินทราราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

9.พระครูสังวรศีลขันธ์ วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

10.พระครุกิตยาภรณ์โกศล วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

 

การอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้นได้ประกอบพิธีเป็นชุด ๆ ไปมีทั้งหมด 3 ชุด ดังนี้

 

ชุดที่ 1.

พระพิธีธรรม ชุดที่ 1.

1.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

2.พระครูบวรคณานุศาสน์ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี(ในสมัยนั้นอ.ป่าติ้วยังขึ้นอยู่กับจ.อุบลราชธานีครับ)

3.พระครูปลัดสวัสดิ์ วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

4.พระครูใบฎีกามานะ วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

 

พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 1.

1.พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์ สุนทโร) หรือ ลป.เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษณ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

2.พระครูภาวนานุศาสน์(สาย จารุวัณโณ) วัดป่าหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

3.พระครูสังฆรักษ์(ลป.พั่ว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

4.พระญาณวิริยาจารย์(วิริยังค์ สิรินธโร)วัดธรรมมงคล บางจาก กรุงเทพฯ

5.พระครูนวกรรมโกวิท วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

6.พระครูภัทรคุณาธาร วัดพรหมวิหาร อ.เลิงนกทา จ.ยดสะร

7.พระครูญารวิจิตร วัดประชาอุทิศ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี

8.พระครูพินิจสังฆภาร วัดศรีนวล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

9.พระอาจารย์ประยูร วัดป่าธรรมรังษี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี(ขณะนั้น)

10.พระอาจารย์ภา วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

 

ชุดที่ 2.

พระพิธีธรรม ชุดที่ 2.

1.พระครูอุบลเดชคณาจารย์ วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

2.พระครูธรรมประเวที วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

3.พระครูใบฎีกาจันทร์ วัดบ้านท่าบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

4.พระปลัดหมูน วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

 

พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 2.

1.พระราชสุทธาจารย์(โชติ คุณสัมปันโน) วัดวชิราลงกรณ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

2.พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ อาภัคโค)วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

3.พระโพธิญาณมุนี วัดศรีแก้งค้อ อ.แก้งค้อ จ.ชัยภูมิ

4.พระครูอรุณรังษี วัดแสนสุข อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

5.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสรรค์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ

6.พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อ.เมือง จ.ขอนแก่น

7.พระครูวิจิตรธรรมภาณี วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

8.พระครูอมรวิสุทธิ์(ลต.พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

9.พระครูพุทธิสารสุนทร วัดประดิษฐ์ธรรมาราม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

10.พระครูวินัยธรอุทิศ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

 

ชุดที่ 3.

พระพิธีธรรม ชุดที่ 3.

1.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

2.พระครูชิโนวาทสาธร(อุไทย์ ปภัสสโร) วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

3.พระครูวินัยะร(พิมพ์) วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

4.พระครูวินัยธร(แดง)วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

 

พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 3.

1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ

2.พระราชมุนี(โฮม) วัดปทุมวนาราม ปทุมวัน กรุงเทพฯ

3.พระโพธิญาณเถร(ลป.ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

4.พระชินวงศาจารย์(ลพ.พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

5.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

6.พระครูทัศนประกาศ วัดสำราญนิเวศ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี

7.พระครูชโยบลบริบาล วัดหอก่อง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสะร

8.พระอาจารย์บุญกอง วัดโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี

9.พระครูโอภาสธรรมคุณ วัดสุภรัตนาราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

10.พระมหามณี วัดบ้านก้านเหลือง จ.อุบลราชธานี

 

หมายเหตุ ก่อนทำพิธีพุทธาภิเษกนั้นพระทุกรูปได้ทำสังฆกรรมปลงอาบัติเพื่อความบริสุทธิ์ก่อนทุกรูป

และในพิธีนี้ได้มีพระเถระที่เมตตานั่งอธิษฐานจิตให้ตลอดคืนจนสว่างเลย ได้แก่

1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ

2.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข

3.ลป.ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง

4.ลพ.พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน

ต่อมาคณะกรรมการสมาคมได้นำเหรียญ “เบ็ญจะมหามงคล” เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในโอกาสสำคัญๆ อีก 3 ครั้ง คือ

พุทธาภิเษกครั้งที่ 2 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เมื่อ พ.ศ. 2518 พร้อมปลุกเสกพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และเหรียญพระแก้วบุษราคัมของจังหวัด จัดทำเป็นที่ระลึกสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พุทธาภิเษกครั้งที่ 3 ที่วัดดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เป็นองค์ประธาน

พุทธาภิเษกครั้งที่ 4 ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากเบ็ญจะมะมหาราชสมาคม

 

พิธีที่สอง “ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เมื่อ พ.ศ. 2518 พร้อมปลุกเสกพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และเหรียญพระแก้วบุษราคัมของจังหวัด จัดทำเป็นที่ระลึกสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี “…..ถ้าลองหาภาพพระดูจะพบว่า พิธีเมื่อปี 2518นั้นมีจริง แต่ไม่ใช่จัดทำเป็นที่ระลึกสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี…….มีเหรียญพระเจ้าใหญ่อินแปลงเพียงปีเดียวที่ด้านหลังเขียนไว้ว่า”ที่ระลึก สร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี “…คือปี ๒๕๑๖ และเช็คเวลากลับถึงรู้ว่าเวลาปลุกเสกคือ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๖…..ผมสรุปจากเหรียญที่ออกในปี๒๕๑๖กับปี๒๕๑๘

 

วัตถุประสงค์ในการสร้างพระพุทธศรีอุบลมงคลจักรวาฬ พระกริ่งศรีอุบล พระชัยวัฒน์ เหรียญ พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง เหรียญพระแก้วบุษราคัม พระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม

เพื่อหาปัจจัยบูรณะพระอุโบสถพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงและวัดมหาวนาราม สมทบทุนสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นทุนมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ยากจนแต่เรียนดี

 

การตั้งชื่อ 

ได้ไปปรึกษากับพระเทพโสภณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ซึ่งเป็นเลขาสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จฯ ป๋า) ถึงเรื่องการตั้งชื่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และเหรียญ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะตั้งชื่อว่า “พระกริ่งศรีอุบล (พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง)” “พระชัยวัฒน์หลวงพ่ออินทร์แปลง” “เหรียญหลวงพ่ออินทร์แปลง” “พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง” “เหรียญและพระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม”

สำหรับพระพุทธรูปบูชาได้ปรึกษากับพระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม ถวายพระนามว่า “พระพุทธรูปศรีอุบลมงคลจักรวาฬ” เรื่องนี้พระเทพโสภณ จะได้นำทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อให้พระองค์ถวายพระนามต่อไป

 

กำหนดวันทำพิธีพุทธาภิเษก 

พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม เป็นเจ้าพิธีทำพิธีพุทธาภิเษกวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2516

สถานที่ทำพิธีพุทธาภิเษก

ทำพิธี ณ อุโบสถวัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ผู้ออกแบบและสร้าง

นายเกษม มงคลเจริญ และนายพิชัย มงคลเจริญ เป็นผู้ออกแบบและสร้างพระพุทธรูปบูชา หล่อสร้างโดยจ่าติ่ง

 

รายการวัตถุมงคลทั้งหมดที่สร้างครั้งนี้

1. พระพุทธรูปศรีอุบลมงคลจักรวาฬ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และ 9 นิ้ว สร้างเท่าจำนวนผู้สั่งจอง

2. พระกริ่งหลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 306 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 459 องค์ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 2,363 องค์

3. พระชัยวัฒน์หลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 153 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 153 องค์ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 612 องค์

4. เหรียญหลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 153 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 150 เหรียญ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 2516 เหรียญ

5. เหรียญพระแก้วบุษราคัม เนื้อทองคำ สร้าง 153 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 153 เหรียญ เนื้อนวโลหะสร้าง 2516 เหรียญ และเนื้อทองแดงรมดำ สร้าง 23,630 เหรีญ

6. พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง เป็นพระพิมพ์เนื้อว่าน 108 ผสมด้วยมวลสารที่เป็นสิริมงคลจากพระอาจารย์ทั่วพระราชอาณาจักรเป็นพระพิมพ์ จำลองจากรูปพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง สร้างจำนวน 10,000 องค์

7. พระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม เป็นพระพิมพ์เนื้อว่าน 108 ผสมด้วยมวลสารที่เป็นสิริมงคลจากพระอาจารย์ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นพระพิมพ์จำลองรูปพระแก้วบุษราคัม สร้างจำนวน 10,000 องค์

 

รายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมนั่งปรกปลุกเสก 

1. สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ

2. พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพประดิษฐ์ อ.เมือง จ.นครพนม

3. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

4. พระครูสังฆรักษ์สมาน วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ

5. พระครูสาธุกิจวิมล หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง อ.เมือง จ.นครปฐม

6. พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ

7. พระอาจารย์ใหญ่ วัดกู่คำ อ.เมืองน่าน จ.น่าน

8. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

9. หลวงพ่อเทียม จ.อยุธยา

10. พระครูสมุห์อำพล วัดอัมพวา บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

11. พระวิบูลวชิรธรรมนันท์ (หลวงพ่อสว่าง) วัดคหบดีสงฆ์ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร

12. พระครูเกษมธรรมนันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม

13. พระครูสังฆวิชัย (ปรีชา โชติโก) วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ

14. พระรักขิตวันมนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี

15. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา

16. พระครูประสาทขันธคุณ (หลวงพ่อมุม) วัดปราสาทเยอเหนือ จ.ศรีสะเกษ

17. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี

18. พระครูภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม) วัดซากหมาก จ.ระยอง

19. พระครูปัญญาโชติคุณ (หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ จ.ลพบุรี

20. พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ

21. พระครูพิบูลธรรมภาณ (พระมหาโชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ

22. พระครูนวกรรมโกวิท (หลวงปู่นาค) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่ เมืองอุบลฯ)

23. พระครูสังฆรักษ์ (พัว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ

24. พระครูพรหมวิหาร (พระอาจารย์สิงห์) วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบล

25. พระอาจารย์ประยูร จิตตสันโต วัดป่าธรรมรังสี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลฯ

26. พระครูอุบลเดช (มหาด่วน) วัดศรีอุบลรัตนาราม จ.อุบลฯ

27. พระอาจารย์สาย วัดหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ

28. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดอุดมสมพร จ.สกลนคร

29. พระอาจารย์ขาว (หลวงปู่ขาว) วัดถ้ำกลองเพล จ.สกลนคร

30. พระครูพิศาลสรกิจ (มหาธวัช) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ

31. พระอารย์ขันธ์ วัดพระศรีอารีย์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

32. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม

33. พระอาจารย์บุญมา ต.โนนทัน จ.อุดรธานี

34. พระอาจารย์อ่อน ต.โนนทัน จ.อุดรธานี

35. พระอาจารย์ฝั้น (ฝั่น) วัดถ้ำเอราวัณ อ.วังสะพุง จ.เลย

36. พระอาจารย์ชอบ อ.วังสะพุง จ.เลย

37. พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา

38. พระอาจารย์เครื่อง วัดสระกำแพง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

รายชื่อทั้งหมดนี้มีอยู่ในรายการพิธี ซึ่งเมื่อถึงเวลาประกอบพิธีจริงๆ แล้ว ต้องมีบางรูปไม่ได้มา ไม่สามารถจะมา และขณะเดียวกันก็อาจมีบางรูปที่ไม่มีรายชื่อมาแทนเป็นธรรมดา ผมไม่อยู่ในฐานะจะบอกได้ทั้งหมดว่าพระคณาจารย์รูปใดไม่ได้มา เนื่องจากว่าผมไม่ได้อยู่ร่วมในพิธีนี้ด้วย

แต่สำหรับพระเทพสิทธาจารย์ (เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย) วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม ไม่ได้มาแน่นอน เพราะว่าท่านมรณภาพก่อนพิธีนี้จะเริ่มขึ้น นั่นคือท่านได้สิ้นไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ทำให้พิธีนี้ขาดท่านไป แม้ว่าจะได้นิมนต์ไว้ล่วงหน้า และท่านก็รับนิมนต์แล้วก็ตาม

ส่วนหลวงปู่กินรี จันทิโย ซึ่งไม่มีรายชื่อปรากฏในบัญชีกลับได้มาร่วมพิธีนี้ด้วย

เรื่องขาดๆเกินๆ อย่างนี้ถือเป็นธรรมดา ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม

เกี่ยวกับเหรียญพระแก้วบุษราคัมนี้ผมได้กราบเรียนถามหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่ถ้ำผาปล่อง ว่าท่านได้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ด้วยหรือเปล่า ท่านว่าเปล่า แต่เขานิมนต์ท่านเหมือนกัน บังเอิญไม่ว่าง และท่านได้ขอดูว่าเป็นพระเครื่องหน้าตาอย่างไร เมื่อเห็นท่านก็บอกว่าเหรียญพระแก้วบุษราคัมนี้ท่านพบว่าชาวลาวในประเทศลาว แขวนคอกันอยู่หลายคน สมัยที่ธุดงค์ไปลาวท่านได้เห็นมาดังนี้

อีกรูปหนึ่งที่ไม่มีชื่อปรากฏในบัญชี แต่ว่าท่านได้มาในพิธีจริงก็คือ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ซึ่งท่านผู้หนึ่งในจังหวัดอุบลฯ เล่าว่าได้ไปกราบหลวงปู่แล้วเรียนถามท่านแล้วได้รับคำตอบว่าท่านได้มานั่ง ปรกด้วยเหมือนกัน จริงเท็จอย่างไรผมไม่ยืนยัน เล่าตามที่มีผู้บอกมาเท่านั้น

 

มาถึงพิธีที่๓ ที่วัดพระบรมธาตุดอยตุงนั้น น่าจะมีเพียงครั้งเดียวคือปี ๒๕๑๖ โดยมีพิธีในช่วง ๑๖ พ.ค. ๒๕๑๖…ก่อนหน้าพิธีที่วัดสุปัฎฯเพียงหนึ่งสัปดาห์ โดยมีรายละเอียดตามที่ผมเจอในเวปพะยาวพระเครื่อง ตามที่คัดลอกรายละเอียดพิธีมาดังนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้ในคราวที่ครูบาศรีวิชัย ร่วมกับชาวบ้านได้ทำการบูรณไว้โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์ บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา ในปี พ.ศ.2470 โดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นพุทธบูชาและจัดหารายได้เพื่อการ บูรณะองค์พระบรมธาตุในปีนั้นด้วย ดังนี้

พระสิงห์หนึ่งดอยตุง ขนาด 5-9 นิ้ว

พระกริ่งสิงห์หนึ่งดอยตุง ( ก้น ช ) เนื้อนวโลหะ สูง 3ซ.ม. ฐานกว้าง 1.5 ซ.ม. จำนวนสร้าง 10,000 องค์  ส่วนเนื้อทองคำจัดสร้างตามสั่ง

เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง 3 แบบ มีเนื้อทองคำ อัลปาก้า ทองแดงรมดำ ทองแดงกะไหล่ทอง

พระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสรธิราชเสด็จแทน พระองค์ในการเททอง ณ มณฑลพิธีวัดเจดีย์หลวง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วันที่ 8 มกราคม 2516และมีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระเจ้าล้านทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตรงกับวันวิสาขบูชา 16 พฤษภาคม 2516 เวลา 15.05น.(จุดเทียนชัย) นับเป็นพิธีใหญ่มีเกจิอาจารย์ทั่วประเทศร่วมปลุกเสก

มีพระเถราจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต (ชุดที่แรก) เวลา 19.30 น.

พระพิธีธรรมสำนักวัดราชนัดดารามวรวิหารเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก

พระครูภาวนาภิรัตน์ (ครูบาอินทจักร) วัดบ่อน้ำหลวง จ.เชียงใหม่

พระครูพรหมจักรสังวร(ครูบาพรหมจักร) วัดพระบาทตากผ้า จ.ลำพูน

พระครูสุตตาธิการี(หลวงพ่อทองอยู่) วัดหนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร

พระครูจันทรโสภณ(หลวงพ่อนาค) วัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพฯ

พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

พระครูนนทกิจวิมล(หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี

พระครูสาครกิจโกศล(หลวงพ่อจ้อน) วัดเจ็ดริ้ว จ.สมุทรสาคร

พระครูพิพัฒน์ศิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน จ.พัทลุง

หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง

หลวงพ่อเตียง วัดเขาลูกช้าง จ.พิจิตร

พระครูพิพิธพัชรศาสตร์(หลวงพ่อจ้วน) จ.เพชรบุรี

พระครูพิพิชวิหารการ(หลวงพ่อเทียน) วัดกษัตราธิราช  จ.พระนครศรีอยุธยา

พระครูปัญญาโชติคุณ(หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ  จ.เพชรบุรี

พระครูสมุห์อำพล วัดอัมพวา กรุงเทพฯ

หลวงพ่อมิ่ง วัดกก กรุงเทพฯ

ชุดที่สอง เวลา 01.30 น. พระพิธีธรรมสำนักวัดเลา เจริญพระคาถาจักรพรรดิ์ตราธิราช พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ(เจ้าพิธี)

พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง

พระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี

หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง

หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ

พระครูชุณห์ วัดเขาชายธง จ.นครสวรรค์

พระราชมุนี(หลวงพ่อโฮม) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

พระครูสมุห์ละมัย วัดพระศรีมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

พระครูประภาสธรรมาภรณ์(หลวงพ่อลำยอง) วัดบางระกำ  จ.พิษณุโลก

พระครูสาธุกิจวิมล(หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง  จ.นครปฐม

พระอาจารย์สมวงษ์ วัดวังแดงเหนือ  จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพย์ศักดิ์ จ.สมุทรสงคราม

พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่

พระอาจารย์สิงห์คำ วัดล่ามช้าง จ.เชียงใหม่

พระอาจารย์สิงห์คำ วัดเหมืองง่า จ.ลำพูน

พระราชปัญญาโมลี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดเจ็ดยอด

พระพุทธวงศ์วิวัฒน์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระแก้ว

พระครูพินิตธรรมประภาส วัดมิ่งเมือง จ.เชียงราย

พระครูโสภณธรรมมุนี วัดศรีโคมคำ อ.พะเยา

พระครูเมธีธวัชคุณ วัดราชคฤห์ อ.พะเยา

พระครูนิวัษฐ์สัทธาคุณ วัดอำมาตย์ อ.เทิง

พระครูธีรธรรมวิวัฒน์ วัดกาสา อ.แม่จัน

พระครูหิรัญญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง อ.แม่จัน

เจ้าอธิการฝ้าย จันทโก วัดเหมืองแดง อ.แม่สาย

พระอาจารย์ตี๋ สุวรรณโชโต วัดพรหมวิหาร อ.แม่สาย

 

นอกจากรายนามคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกนี้แล้วยังได้รับการยืนยันจากผู้หลัก ผู้ใหญ่ในขณะนั้นว่ายังมีอีกหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีร่วมปลุกเสกในการครั้งนี้ด้วย แล้วยังชี้แนะด้วยว่าเหรียญในชุดนี้ถือเป็นเหรียญดีครบทุกด้านสมควรมีไว้ใช้ บูชา