คุณประโยชน์ของลำไย
จากผลงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ พบว่าลำไย มีสารประกอบ Polyphenolic จำนวนมากในเม็ด และ เปลือกของลำไย สารประกอบที่เป็นประโยชน์หลักๆจะได้แก่ gallic acid, corilagin (an ellagitannin), และ ellagic acid.
นักวิจัยในประเทศจีนได้ทำการทดลองวิจัยน้ำสกัด จากผลลำไย พบว่ามีคุณสมบัติเป็น Anti-oxidant และ Anti-Inflammatory (ต้านสารอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ)
นักวิจัยสมัยใหม่เชื่อว่าการปล่อยให้อาการอักเสบ นานจนเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง จะเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ เข่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, มะเร็ง, โรคไขข้อเสื่อม...แล้วแต่กรณีที่ไปเกิดที่ไหน เช่น ที่ข้อเข่า ก็จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม, ที่สมองก็จะเป็นโรคสมองเสื่อม ฯลฯ ได้มีการทดลองใช้น้ำสกัดต้านอักเสบจากสารธรรมชาติกับโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นจำนวนมาก ผลที่ได้ พบว่าสามารถรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมให้เบาบางลงไปได้จนถึงหายขาดในเวลาไม่ถึงปีแล้วแต่ความหนักเบาของอาการ ซึ่งดีกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบันที่ใช้ได้เพียงแค่บรรเทาความปวดแต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องกินเป็นประจำและเพิ่ม Dose สูงขึ้นตามเวลา นอกจากนี้ยังเสี่ยงกับ Side Effect ที่จะเกิดกับตับในระยะยาวด้วย
นอกจากนี้ นักวิจัยยังพยายามสกัดสาร Oligosaccharides ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย จากเปลือกลำไย โดยใช้เทคโนโลยี Ultrasonic. Oligosaccharide เป็น Polysaccharide ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2-10 โมเลกุล มีคุณสมบัติ ไม่สามารถถูกย่อยได้ด้วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร แต่จะถูกย่อยสลายได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ เช่น Bifidobacteria ซึ่งเป็นnormal flora ที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ ดังนั้น
เมื่อกินเข้าไป ก็จะเป็นการเพิ่มอาหารของ Bifidobacteria และ Lactobacilli ซึ่งเป็นBacteria ที่มีประโยชน์อันมีผลทำให้
1. ช่วยลดจำนวนของแบคทีเรียร้ายที่ก่อให้เกิดโรค เพราะ Bifidobacteria จะผลิตสารปฏิชีวนะและ กรดไขมันที่จะช่วยควบคุมจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของClostridium perfringens, Salmonella spp. และ E. coli ในลำไส้ ได้
2. ช่วยลดอาการท้องผูก เนื่องจากกรดไขมันซึ่งผลิตโดย Bifidobacteria จะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้และเพิ่มความชื้นของอุจจาระ ซึ่งเป็นผลมาจากแรงดันออสโมติก ทำให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น
3. ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด โดย Lactobacillus acidophilus จะช่วยย่อยสลายคลอเรสเตอรอล และช่วยยับยั้งการดูดซึมคลอเรสเตอรอลผ่านผนังลำไส้
4. ช่วยลดความดันโลหิต ได้มีการศึกษาและพบว่า ความดันโลหิตแปรผกผันกับจำนวนของ Bifidobacteria ในลำไส้
5. ช่วยเพิ่มวิตามินบางชนิด โดยพบว่า Bifidobacteria สามารถผลิตวิตามิน B1, B2, B6, B12, nicotinic acid และ folic acid นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร
6. ช่วยลดปริมาณสารพิษและเอนไซม์ที่เป็นพิษที่เกิดจากกระบวน การเมตาบอลิซึมของแบคทีเรียไม่ดี
7. ช่วยลดการทำงานของตับ การลดปริมาณของสารพิษ เป็นผลทำให้ปริมาณสารพิษที่เข้าสู่ตับลดลงด้วย
เอกสารอ้างอิง 1. Hideo Tomomatsu. Health Effects of ligosaccharides. Food Technology. 1994; 48(10):61-65. 2. Judith E. Spiegel, et. al. Safety and Benefits of
Fructooligosaccharides as Food Ingredients. Food Technology. 1994; 48(1): 85-89.
BACK to Promotion
|
|
|
|