Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ใครกันเเน่??เป็นคนเผาและระเบิด พระบรมมหาราชวัง!!

ArjanPong | 08-03-2562 | เปิดดู 1365 | ความคิดเห็น 0

 

          

                      กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ 

 

          

                     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

          

                    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

 

          

ภาษีเข้าประเทศน้อยลง ขุนนางอำมาตย์และกระฎุมพี( ชนชั้นกลาง) รายได้มากมายขึ้น

ฝรั่งต่างชาติก็รายได้มากขึ้นเพราะไม่ต้องจ่ายภาษีให้สยาม ทำให้โครงสร้างของระบบ

ศักดนามีการเปลี่ยนแปลงไป เจ้านายมีอำนาจและรายได้น้อยลง เพราะสิ่งเหล่านั้น

ตกลงไปสู่มือของ ขุนนางอำมาตย์กระฎุมพีมากขึ้น และหลายคนก็เหลิงในอำนาจ

พยายามแข่งอำนาจกับทางในวัง จนเกิดเป็นกรณีอื้อฉาวอย่าง"วิกฤตการณ์วังหน้า"

 

ใครกันเเน่??เป็นคนเผาและระเบิด พระบรมมหาราชวัง!!
www.arjanpong.com
#วังหน้า #ร5 #พระบรมมหาราชวัง 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ตรงกับวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๘๑ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้ายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่หม่อมเจ้า โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า "ยอร์ชวอชิงตัน" ตามชื่อของจอร์จ วอชิงตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรก คนทั่วไปออกพระนามว่ายอด ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า "พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร" และได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ และได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์โต คือ "เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์" (รัชกาลที่ ๕) ยังทรงพระเยาว์เพียง ๑๒ พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ ฝ่ายเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งถูกสงสัยมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระชนม์ว่าคิดจะชิงราชสมบัติจึงได้เสนอให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็น กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ แต่ไม่ได้ตั้งให้เป็นวังหน้า

ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต ๑ วัน ได้มีการประชุมพระญาติวงศ์และขุนนาง ที่ประชุมอันมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นประธาน ตกลงที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ แต่เรื่องนี้ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของที่ประชุม เพราะพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงคัดค้านว่า การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น ตามโบราณราชประเพณีเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของที่ประชุม ซึ่งทำความไม่พอใจให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านจึงได้ย้อนถามว่า "ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ" กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงตอบว่า "ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม" จึงเป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์

เนื่องจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สนับสนุนให้ได้เป็นแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ จึงทรงเกรงใจเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นอันมาก ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๑๘ ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัยโดยโยงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ (Auditing Office ปัจจุบันคือกระทรวงการคลัง) เพื่อรวมรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง ๑ ใน ๓ มีทหารในสังกัดถึง ๒๐,๐๐๐ นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนเป็นสองส่วนคือ ทางเหนือถึงนครเชียงใหม่ ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าครอง ทางใต้ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้น

เหตุการณ์บาดหมางเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง เกิดระเบิดขึ้นที่ตึกดินในวังหลวง ไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวัง ทางวังหลวงเข้าใจว่าวังหน้าเป็นผู้วางระเบิด และไม่ส่งคนมาช่วยดับไฟ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ก็เสด็จหลบหนีไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษไม่ยอมเสด็จออกมา เหตุการณ์ตึงเครียดนี้กินเวลาถึงสองสัปดาห์ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เดินทางกลับจากราชบุรี เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการเมืองภายในของสยาม และไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย

หลังจากนั้นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตเมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ พระชันษา ๔๘ ปี พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง จนถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร และยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช ตั้งแต่นั้นมา....

Credit : https://th.wikipedia.org/wiki/กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Nov 15 14:49:51 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>