*** ข่าวพลังภูผา..***
"ศพน้องฉันอยู่ไหน??" นางสายทอง
บุกเข้าห้องขุนแผน ถามหาที่ฝังศพนางวันทอง!!
www.arjanpong.com
#วัดตะไกร #วันทอง #อยุธยา #พลังภูผา
จากหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ ตอนว่าด้วยแผนที่กรุงศรีอยุธยา ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ หน้า ๑๖๖ - ๑๖๗ ได้กล่าวถึงตลาดบกนอกกรุงว่า
ที่หน้าวัดตะไกรเป็นตลาดลงท่าน้ำที่หน้าวัดพระเมรุแห่งหนึ่ง ในจำนวนตลาดนอกกรุงซึ่งมีอยู่ถึง ๒๓ แห่ง ประกอบกับหลักฐานทางด้านวรรณคดีเรื่อง “เสภาขุนช้างขุนแผน” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้ทรงสันนิษฐานโดยอาศัยพงศาวดารและคำให้การชาวกรุงเก่าไว้ว่า มีเค้ามาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ คือ ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔ ถึง พ.ศ. ๒๐๗๒ ได้กล่าวถึงความสำคัญของวัดตะไกรไว้ดังนี้
“ครานั้นสายทองผู้เป็นพี่ ครั้นฟื้นสมประดีขึ้นมาได้
คิดถึงน้องน้อยละห้อยใจ น้ำตาไหลหลั่งละลุมลง
จึงอำลาศรีประจันแล้วครรไล ลงเรือร่ำไห้อาลัยหลง
มาถึงกรุงไกรด้วยใจจง ตรงไปบ้านขุนแผนผู้แว่นไว
ครั้นถึงเข้าไปที่ในห้อง ถามว่าศพวันทองน้องอยู่ไหน
ขุนแผนบอกว่าฝังวัดตะไกร แล้วให้คนนำไปโดยฉับพลัน”
เรื่องราวในบทเสภานี้ได้กล่าวอ้างถึงวัดตะไกรว่า เป็นที่ฝังและทำฌาปนกิจศพของนางวันทอง ผู้ต้องคำพิพากษาถึงประหารชีวิต แล้วนำศพไปฝังยังวัดตะไกร ดังจะเห็นได้จากบทเสภาดังกล่าวอีกตอนหนึ่งที่ว่า
“ครั้นถึงจึงแวะวัดตะไกร จอดเรือเข้าไว้ที่ตีนท่า”
อันเป็นตอนที่ขุนช้างได้ทราบข่าวว่า ได้จัดทำศพนางวันทองที่วัดตระไกร จึงได้เตรียมผ้าไตรและเครื่องไทยทานไปร่วมบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่นางวันทอง
เรื่องพระพันวษา ขุนแผน วัดตะไกร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงและมีจริง ขุนแผนได้เป็นแม่ทัพไปทำศึกกับเชียงใหม่และได้ชัยชนะจึงมีชื่อเสียงและเป็นคนสำคัญ เรื่องการทำศึกกับหัวเมืองเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระพันวษา) นี้พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้บันทึกไว้ว่า
“ศักราช ๘๗๗ กุนศก (พ.ศ ๒๐๕๘) วัน ๓ ๑๕ ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๘ ชั้น ๓ ฤกษ์ ๙ ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จยกทัพหลวงไปตีได้เมืองน (คร) ฯ ลำ (ภารได้) เมือง” หลังจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จยกทัพหลวงไปตีได้เมืองลำปางแล้วพวกเชียงใหม่ก็ไม่ลงมาทำอะไรวุ่นวายอีก
ทีนี้กล่าวถึงเรื่องการประหารชีวิตนางวันทองบ้างว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ข้อนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานไว้ว่า นางวันทองต้องโทษประหารก่อน ส่วนขุนแผนนั้นต้องโทษจำคุกในฐานที่ฆ่าข้าหลวง ต่อมาเกิดศึกเชียงใหม่ จมื่นศรีฯ พยายามทูลยกย่องขุนแผน ขุนแผนจึงพ้นโทษด้วยจะให้ไปทำศึก ในระยะเวลาที่พูดถึงนี้ ซึ่งวัดตะไกรมีอยู่แล้ว จึงน่าสันนิษฐานว่าวัดตะไกรนี้ต้องสร้างก่อนปี ๒๐๕๘ อันเป็นปีที่เสร็จศึกเชียงใหม่
Credit : http://www.qrcode.finearts.go.th/…/ayutthaya02-005/item/307…
วันที่: Fri Nov 15 17:17:22 ICT 2024
|
|
|