Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ตำนาน ท้าวปาจิต-อรพิม ที่จริงเเล้วมาจากไหน??

ArjanPong | 27-10-2561 | เปิดดู 1401 | ความคิดเห็น 0

*** ข่าวพลังภูผา..***
ตำนาน ท้าวปาจิต-อรพิม ที่จริงเเล้วมาจากไหน??
www.arjanpong.com
ปาจิต-อรพิม เป็นเรื่องราวของการพลัดพรากระหว่างเจ้าชายจากเมืองพรหมพันธ์นคร ที่ได้รับคำทำนายว่าต้องไปตามหาคู่ที่เมืองอื่น และโหรทำนายว่าคู่ของตนจะอยู่ในท้องของหญิงที่มีกลดให้ร่มเงาอยู่ตลอดเวลา...

เจ้าชายปาจิตเดินทางไปพบนางบัว ซึ่งกำลังตั้งครรภ์และกำลังดำนา โดยมีร่มเงาตามนางตลอดเวลา จึงได้ขออาศัยช่วยดูแลลูกที่เกิดมา คือนางอรพิม จึงเป็นแหล่งกำเนิดชื่อบ้านจารย์ตำรา-บ้านสัมฤทธิ์ (เนื่องจากพบนางอรพิม) บ้านตำแย (เพราะไปเรียกหมอตำแยมาให้นางบัว) บ้านนางเหริญ (ที่นางอรพิมหัดเดิน)...


เมื่อนางอรพิมอายุได้สิบหกปี เจ้าชายปาจิตจึงเดินทางไปยังบ้านเมืองของตนเพื่อนำขันหมากมาสู่ขอนางอรพิม ระหว่างทางกลับมาได้แวะพักที่บ้านพลับพลา ได้ยินข่าวว่าท้าวพรหมทัตได้ลักพานางอรพิมไปไว้ในวัง จึงขว้างปาขันหมากที่นำมา ทิ้งเงินทองไว้กลายเป็นชื่อเมืองลำปลายมาศ เป็ดทองไปอยู่ที่ถ้ำเป็ดทอง ทุบเกวียนเหลือแต่ล้อกลายเป็นบ้านกงรถ แล้วรีบไปหานางอรพิมโดยปลอมเป็นพี่ชาย...


เมื่อนางอรพิมเห็นจึงเรียกว่า "พี่มา" กลายเป็นชื่อเมืองพิมายในปัจจุบัน หลังสังหารกษัตริย์พรหมทัต ทั้งสองต่างก็หลบหนีไปตามทาง และพบกับนายพรานซึ่งลอบฆ่าปาจิตและนางอรพิมก็ฆ่านายพรานเสีย นางอรพิมได้รากไม้จากพระอินทร์ทำให้ปาจิตฟื้น เดินทางจนมาพบสามเณรที่พานางอรพิมหลบหนีปาจิต นางจึงออกอุบายให้สามเณรขึ้นไปที่ต้นมะเดื่อแล้วเอาหนามสุมไฟ เณรตายไปกลายเป็นแมงหวี่ตอมผลมะเดื่อ...


นางอรพิมปลอมเป็นชาย ฝากอวัยวะที่แสดงความเป็นหญิงของตนไว้กับต้นไม้ต่างๆ เช่น หน้าอกฝากไว้กับต้นงิ้วป่า ฝากโยนีไว้ที่ต้นมะกอกโคกหรือต้นสำโรง เมื่อเดินทางไปเมืองจัมบากได้ช่วยธิดาเจ้าเมืองและออกบวชจนกลายเป็นสังฆราชา..

ต่อมาสั่งให้คนวาดรูปเรื่องราวของตนและปาจิต จนกระทั่งปาจิตมาพบและได้ร้องไห้กับรูปภาพจนนางอรพิมรู้ว่านี่คือสามีของนาง จากนั้นก็เดินทางกลับไปบ้านเมืองของปาจิตและกลับมาครองเมืองพิมายและได้สร้างเมรุพรหมทัตเพื่อเป็นการไถ่บาปที่ได้ฆ่าท้าวพรหมทัต....

*** ท้าวปาจิต นางอรพิม ในราชสำนักอยุธยา..***

เรื่องราวของปาจิต-อรพิมใน"โคลงทวาทศมาส" ในสมัยอยุธยา ตอนหนึ่งว่า...

"ปราจิตต์เจียรเหน้าหน่อ อรพินท์ 
พระพิราไลยปลง ชีพแล้ว 
คืนสมสุดาจิน รสร่วม กันนา 
กรรมแบ่งกรรมแก้วแก้ว ช่วยกรรม์ ฯ ...."

ท้าวปาจิต นางอรพิม มีในหนังสือทวาทศมาส เป็นวรรณกรรมแต่งเมื่อตอนต้นอยุธยา ราวเรือน พ.ศ. 2000 อ้างอิงการพลัดพรากของตัวละครเอกหนุ่มสาว 6 คู่ ตามลำดับ ดังนี้...

พระราม นางสีดา, พระอนิรุทธ นางอุษา, พระสมุทโฆษ นางพินทุมวดี, พระสุธน นางมโนห์รา, ท้าวปราจิต (ปาจิต) นางอรพินท์ (อรพิม), พระสุธนู นางเจียรัปประภา...

เท่ากับท้าวปาจิต นางอรพิม เป็นวรรณกรรมชั้นสูง 1 ใน 6 เรื่อง ซึ่งเป็นที่ยกย่องของนักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนักตอนต้นอยุธยา...

[4 เรื่อง ได้จากคัมภีร์กับชาดกของอินเดีย ส่วนอีก 2 เรื่อง คือ พระสุธน นางมโนห์รา กับ ท้าวปาจิต นางอรพิม เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นของกลุ่มคนลุ่มน้ำโขง ที่ถูกนักบวชดัดแปลงเป็นชาดกนอกนิบาต (เรียก ปัญญาสชาดก มี 50 เรื่อง) ที่ไม่มาจากอินเดีย แต่แต่งขึ้นเองในล้านนา เพื่อเพิ่มความ “เฮี้ยน” ให้คำบอกเล่าดั้งเดิมซึ่งไม่อินเดีย]...

*** มาจากไหน??..***

ท้าวปาจิต นางอรพิม ในเมืองพิมาย ใครเอามาจากไหน? เมื่อไร? ฯลฯ ยังไม่พบหลักฐานตรงๆ แต่น่าเชื่อว่าเข้าถึงเมืองพิมายได้อย่างน้อย 2 ทาง

1.ลาวลุ่มน้ำโขง โยกย้ายไปอยู่เมืองพิมาย แล้วบอกเล่าสืบต่อกันมา

2. ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา โยกย้ายไปอยู่เมืองนครราชสีมา ราวหลัง พ.ศ. 2000 แล้วบอกเล่าสืบต่อมา

น่าเชื่อว่าไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา นำวรรณกรรมเรื่องท้าวปาจิต นางอรพิม จากราชสำนักอยุธยาเข้าไปสวมใส่สิ่งก่อสร้างในเมืองพิมาย เมื่อคราวที่พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาสร้างเมืองนครราชสีมาเป็นศูนย์อำนาจของอยุธยาที่ลุ่มน้ำมูล แทนเมืองพิมาย (ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจของเขมรเมืองพระนครหลวง)...

สอดคล้องกับเมรุพรหมทัตเป็นเจดีย์ก่อด้วยอิฐ (ตั้งบนเนินดิน) สร้างขึ้นยุคอยุธยาไว้ในเมืองพิมาย แล้วคนสมัยหลังผูกเรื่องว่าเป็นสถานที่เผาศพท้าวพรหมทัตในเรื่องท้าวปาจิต นางอรพิม นั่นเอง........

รูปภาพ : รูปท้าวพรหมทัต (ในเรื่องท้าวปาจิต นางอรพิม 
ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย)

Credit : http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5018
https://www.matichon.co.th/columnists/news_623592

............................

รายการ : #ข่าวพลังภูผา
Radio online : www.arjanpong.com
FM 89.75 MHz. #พระนครศรีอยุธยา 
Time : 06.00-08.00 น./17.00-19.00 น ทุกวัน 
โทร/line : 0898129392
Email : arjanpong123

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Nov 15 17:16:39 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>