Bandwidth (แบนด์วิธ) คืออะไร ?
Bandwidth
Bandwidth (แบนด์วิธ) คือ การวัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second), Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps, Bandwidth ของ สายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น
สัญญาณแบนด์วิธ
ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของคลื่นความถี่ หรือความกว้างของช่องทางในการ รับ-ส่ง ข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้ว คราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency ในการพิจารณาการ รับ-ส่ง ข้อมูล บนระบบบัส หลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนบนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไร รถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับ ข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่ รับ-ส่ง บนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข Single number (0หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข Single number อาจแปรผันได้ตามกาลเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่ง ข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak Bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการ รับ-ส่ง ข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่ง กันระหว่าง CPU และ RAM ภายในหนึ่งคาบเวลา จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและ CPU ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและ CPU ที่สัญญาณนาฬิกา 100เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการ รับ-ส่ง ข้อมูลจำนวน 8ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 100 MHz = 800 MB/s และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและ CPU ที่ 133เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 133 MHz = 1064 MB/s ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ CPU ในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย
พูดง่ายๆ Bandwidth ก็เหมือนช่องทางบนถนน หากมีช่องทางบนถนน 8เลน ก็คือมี Bandwidth 8เลนนั้นเอง
การทำงานของ Bandwidth
ในปัจจุบันกล้องวงจรปิด CCTV แบบ IP Camera นั้น ก็เป็นที่น่าสนใจจากผู้คนที่ต้องการความปลอดภัยและเฝ้าระวังทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งข้อดีของระบบกล้องวงจรปิด CCTV ปิดแบบ IP Camera นั้นมีอยู่หลายข้อเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น มันสามารถติดต่อผ่านระบบเน็ตเวิร์ค โดยใช้แพ็กเก็ตแบบ IP ได้ ทำให้สามารถดูผ่านเว็บไซต์ได้ทุกมุมโลก หรือ มีความสามารถในการติดต่อกับ Internet ผ่านทาง PPP Connection ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องง้อ ADSL Router
เพราะฉะนั้นในการเลือกใช้ Switch จึงต้องเลือกแบบที่สามารถรองรับ Bandwidth ของข้อมูลทั้งหมดได้เพียงพอ ตัวอย่างเช่น ระบบกล้องวงจรปิด CCTV แบบ IP Camera นั้น กล้องวงจรปิด CCTV ประเภทนี้ 1 ตัวนั้น จะมีการส่งข้อมูลภาพอยู่ที่ 32kbps - 3Mbs ซึ่งแล้วแต่คุณภาพของกล้องตัวนั้น ว่าจะมีความละเอียดมากแค่ไหน โดยทั่วไปแล้วการบีบอัดข้อมูล (Compression) แบบ Mpeg4, H.264, H.263 จะต้องใช้ Bandwidth ประมาณ 2Mbps เพราะฉะนั้น ถ้าหากในองค์กร เราใช้กล้องทั้งหมด 10 ตัว จะต้องใช้ Bandwidth อยู่ที่ 20 Mbps เป็นอย่างน้อยตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้เรายังจะต้องเผื่อ Bandwidth สำหรับระบบอื่นๆ ด้วย 20% ของระบบกล้องวงจรปิด CCTV IP Camera
วันที่: Wed Apr 30 21:02:01 ICT 2025
|
|
|