Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

มือทะลุกระจกเห็นๆ...

ArjanPong | 31-03-2556 | เปิดดู 2759 | ความคิดเห็น 0

 

 

 

                              "พอเเล้วล่ะ!.."

 

 

                

 

 

 

 

....โชคดีนะ พรุ่งนี้ ไม่มีเเล้ว

 

เหมือนเศษเเก้ว เกลื่อนกระจาย กลายเป็นผง

 

สิ่งที่คิด ผิดมหันต์ ว่ามั่นคง

 

หล่นร่วงลง ห้วงหุบเหว เหลวเเหลกพัง

 

 

 

 

นึกไว้ว่า จะนำพา นาวาชีวิต

 

พรหมลิขิต เป็นคู่เเท้ เเลความหวัง

 

ย่อยยับหมด หยดน้ำตา มาประดัง

 

ใจร้องสั่ง "เลิกเสียที" มีเเต่ตรม!!....

 

 

 

 

************************************

 

 

 

 

 

 

 

 

วันเอพริล ฟูลส์ เดย์ (April’s Fool Day) หรือ วันโกหก มีเชื่อเรียกอื่นว่า วันเมษาหน้าโง่, วันโกหกเดือนเมษายน, วันเทศกาลคนโง่ เป็นเทศกาลในวันที่ 1 เมษายน วันนี้เป็นวันที่จะอนุญาตให้โกหกต่อกันได้ โดยไม่ถือโกรธ ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับของวันนี้ อาจมีเหตุการณ์น่าตกใจ ตื่นเต้นเป็นหัวข้อข่าว แต่แล้วในวันรุ่งขึ้นต่อมาจึงได้เฉลยว่าข่าวที่ลงไปนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

 

ที่มา

ประเทศฝรั่งเศส ในยุคศตวรรษที่ 16 ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสมีวันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน กระทั่งมาถึง ค.ศ.1582 สันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันวันที่ 1 มกราคม

คราวนี้สมัยก่อน ข่าวสารไม่ได้กระจายรวดเร็วเหมือนสมัยนี้ คนบ้านนอกของฝรั่งเศสบางกลุ่มยังไม่รู้ แถมบางคนได้ยินแล้วก็ยังไม่เชื่อ เลยฉลองวันปีใหม่กันวันที่ 1 เมษายน เหมือนเดิม ทำให้พวกไม่ตกยุคเย้ยหยันพวกตกยุคว่า “หน้าโง่” แถมยังพยายามจะแกล้งหลอกคนกลุ่มนี้เพื่อความสนุกสนานอีกด้วย

 

วิธีเล่น

วันที่ 1 เมษายน ก็กลายเป็นวัน April’s Fool Day เรื่อยมา และวันที่ 1 เมษายน ก็เลยกลายเป็นวันที่คนแกล้งหลอกกันด้วยการแต่งเรื่องอะไรก็ได้มาหลอกให้คนอื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย

 

ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่าวันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวัน

 

 

 

 

 

***********************************************

 

 

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส (อังกฤษ: French Renaissance) หมายถึงขบวนการทางวัฒนธรรมและศิลปะ ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ที่นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มต้นขึ้นในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศสตามปกติแล้วถือว่าเริ่มราวตั้งแต่การรุกรานของฝรั่งเศสเข้าไปในอิตาลีในปี ค.ศ. 1494 ในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8

 

จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าอองรีที่ 4 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1610 ช่วงที่ว่านี้ไม่รวมการพัฒนาทางเทคโนโลยี, ศิลปะ และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีที่เข้ามาในฝรั่งเศสก่อนหน้านั้น (เช่นโดยทางสำนักดยุคแห่งเบอร์กันดี หรือโดยทางราชสำนักพระสันตะปาปาอาวินยอง) กาฬโรคที่ระบาดในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และสงครามร้อยปีทำให้สถานภาพทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสอยู่ในสภาพที่อ่อนแอมาจนกระทั่งมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการการรับอิทธิพลต่างๆ ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้อย่างเต็มที่

 

รัชสมัยของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 (ระหว่าง ค.ศ. 1515 ถึง ค.ศ. 1547) และพระราชโอรสพระเจ้าอองรีที่ 2 (ระหว่าง ค.ศ. 1547 ถึง ค.ศ. 1559) โดยทั่วไปถือว่าเป็นจุดสุดยอดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศส หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าอองรีที่ 2 จากอุบัติเหตุในการประลองทวนบนหลังม้าแล้ว ฝรั่งเศสก็ปกครองโดยพระอัครมเหสีหม้ายแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ และพระราชโอรสพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2, พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 และต่อมา พระเจ้าอองรีที่ 3 แม้ว่าในช่วงนั้นขบวนการทางฟื้นฟูศิลปวิทยายังคงดำเนินต่อไป แต่ในขณะเดียวกันสงครามศาสนาของฝรั่งเศสระหว่างอูเกอโนต์และโรมันคาทอลิกก็ผลาญประเทศไปด้วยในขณะเดียวกัน

 

สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศสก็รวมทั้งการเริ่มการปกครองระบอบอัตตาธิปไตย, การเผยแพร่ลัทธิมนุษยนิยม; การเริ่มต้นยุคแห่งการสำรวจโลกใหม่ (เช่นโดยจิโอวานนิ ดา แวร์รัซซาโน (Giovanni da Verrazzano) และ ฌาคส์ คาร์ติเยร์ ); การนำเข้า (จากอิตาลี, เบอร์กันดี และอื่นๆ) และการพัฒนาทางเทคนิคและศิลปะในสาขาการพิมพ์, สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม, ดนตรี, วิทยาศาสตร์, และ วรรณกรรม และการสร้างกฎเกณฑ์อันซับซ้อนเกี่ยวกับพฤติกรรมในสังคม

 

 

 

************************************************************

 

 

 

                               มือทะลุกระจกเห็นๆ..

 

 

 

 

 

 

 

******************************************

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Nov 15 18:42:07 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>