คดีเขมรแดงอืดจัด 'เอียงสารี'ชิงตาย
ชิงลาโลกเป็นไปอีกหนึ่งราย "เอียง สารี" อดีตผู้นำระบอบเขมรแดงที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อนร่วมชาติ 1.7 ล้านชีวิต เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 87 เหลือจำเลยตัวเอ้ในศาลพิเศษที่ผลาญงบไปร่วม 5,190 ล้านบาทอีกแค่สอง
การเสียชีวิตของอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศผู้นี้เมื่อวันพฤหัสบดี ยิ่งเพิ่มความหวาดหวั่นว่าจำเลยที่เหลืออีก 2 รายซึ่งชราภาพพอกัน คือ นวน เจีย "พี่ชายหมายเลข 2" วัย 86 และเขียว สัมพัน อดีตประธานาธิบดีวัย 81 จะมีชีวิตอยู่ไม่ทันชดใช้ความผิดในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ลาร์ส โอลเซ็น โฆษกของคณะตุลาการพิเศษแห่งศาลกัมพูชาที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์การสหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชา แถลงว่า เอียง สารี เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเมื่อเช้าวันที่ 14 มีนาคม หลังจากถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 4 มีนาคม "น่าเสียใจที่คดีนี้ เราไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายให้เสร็จสิ้นได้"
ด้านเอลิซาเบธ ซิมงโน ฟอร์ด ทนายความของเหยื่อระบอบเขมรแดง กล่าวว่า สำหรับเหยื่อแล้ว การตายของเขาทำให้ขอบเขตของการพิจารณาคดีแคบลงและจำกัดการค้นหาความจริงและความยุติธรรม "เราพูดได้ว่า การตายทำให้เอียง สารี หนีพ้นความยุติธรรม" ส่วนยุก ชาง จากศูนย์เอกสารหลักฐานกัมพูชา กล่าวว่า การตายของเอียง สารี ไม่ใช่ชัยชนะและแทบไม่มีคุณค่าต่อเหยื่อระบอบเขมรแดงที่รอคอยความยุติธรรมอย่างอดทน
นับแต่ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินบริจาคจากนานาชาติที่ถึงสิ้นปีที่แล้วศาลพิเศษแห่งนี้ใช้งบประมาณไปแล้ว 175 ล้านดอลลาร์ (ราว 5,190 ล้านบาท) ศาลเขมรแดงแห่งนี้เพิ่งตัดสินจำคุกจำเลยไปแค่ 1 รายคือ กัง เก็ก เอียว หรือสหายดุช ผู้คุมเรือนจำตวลสเลงที่สังหารผู้คนมากกว่า 14,000 คน การเสียชีวิตของเอียง สารี ยิ่งขับเน้นปัญหาความล่าช้าของศาลพิเศษนี้ ซึ่งถูกรุมเร้าด้วยปัญหาเงินทุนและการแทรกแซงของรัฐบาลนายกฯ ฮุน เซน อดีตนายทหารเขมรแดง
นอกจากเอียง สารี มีเพียงเขียว สัมพัน เพียงคนเดียวที่อาจมีชีวิตอยู่ชดใช้ความยุติธรรม เนื่องจากนวน เจีย สุขภาพทรุดโทรมต้องเข้า-ออกโรงพยาบาลมาตลอดหลายปี ส่วนเอียง ธิริต อดีตรัฐมนตรีสังคมผู้เป็นภรรยาของเอียง สารี จำเลยคนที่ 4 ในคดีเดียวกัน รอดตัวไปเมื่อปีที่แล้วเมื่อศาลประกาศว่านางมีปัญหาสภาพจิตทำให้ไม่สามารถไต่สวนได้
เอียง สารี สำเร็จการศึกษาจากปารีสพร้อมกับพล พต ผู้นำเขมรแดงซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี 2541 เขารับตำแหน่งรองนายกฯ ดูแลด้านต่างประเทศของระบอบนี้ระหว่างปี 2518-2522 กระทั่งกองทัพเวียดนามบุกโค่นระบอบเขมรแดงได้ ต่อมากษัตริย์นโรดมสีหนุพระราชทานอภัยโทษเขา แต่เขาถูกจับกุมในปี 2550 เพื่อดำเนินคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและละเมิดอนุสัญญาเจนีวา.
เขมรเเดง
เขมรแดง (เขมร : ខ្មែរក្រហម; แขฺมรกฺรหม ; อ่านว่า คแมร์กรอฮอม /ฝรั่งเศสและอังกฤษ : Khmer Rouge[1]) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังลัทธิคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522
เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” (Parti communiste du Kampuchéa – PCK) และ “พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย” (Parti du Kampuchéa démocratique)
รูปแบบการปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง "สังคมใหม่" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน[2]
สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง[3] การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน พ.ศ. 2522 อำนาจการปกครองของเขมรแดงก็สิ้นสุดลง เนื่องจากการบุกยึดกัมพูชาของกองกำลังจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเคลื่อนไหวแบบต่อต้านของเขมรแดง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันตกของกัมพูชา ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในราชอาณาจักรไทย ก็ยังคงดำเนินต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 90 จนกระทั่ง พ.ศ. 2539 พล พต หัวหน้าขบวนการในขณะนั้น ก็ยุติการทำงานของเขมรแดงลงอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพ
พล พต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาคดีสังหารหมู่ประชาชนในช่วงที่เขมรแดงยังมีอำนาจอยู่แต่อย่างใด[4] เช่นเดียวกันกับตา ม็อก อดีตผู้บัญชาการเขมรแดง ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการควบคุมตัวจากรัฐบาลกัมพูชาเพื่อรอพิจารณาคดี[5] ปัจจุบัน มีเพียงคัง เค็ก เอียว (หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ดุช”) อดีตหัวหน้าค่ายกักกันตวล สเลง และนวน เจีย อดีตสมาชิกระดับผู้นำ เท่านั้นที่ถูกนำตัวมาพิจารณาโทษจากศาลพิเศษซึ่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีของอดีตกลุ่มผู้นำเขมรแดงโดยเฉพาะ[6][7][8] โดยได้เริ่มการพิจารณาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 โฮจิมินห์ได้ประกาศจัดตั้ง "พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม" (Parti communiste vietnamien หรือ Việt Nam Cộng Sản Đảng) ขึ้น ด้วยการรวมเอาพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม จากแคว้นตังเกี๋ย อันนัม และเทนินห์ (โคชินจีน) จำนวน 3 กลุ่ม เข้าไว้ด้วยกัน แต่ต่อมาไม่นาน ชื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนามก็ถูกเปลี่ยนเป็น "พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน" (Parti communiste indochinois – PCI) [9][10] และได้รับเอากลุ่มปฏิวัติคอมมิวนิสต์จากกัมพูชาและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกด้วย ในช่วงแรก สมาชิกในพรรคส่วนใหญ่ยังเป็นชาวเวียดนาม จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ชาวกัมพูชาจึงเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อิทธิพลที่สมาชิกชาวกัมพูชามีต่อการเคลื่อนไหวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนและการพัฒนาภายในกัมพูชานั้น ยังอยู่ในระดับต่ำ
ในช่วงที่กัมพูชากำลังทำสงครามเรียกร้องเอกราชกับฝรั่งเศส กองกำลังเวียดมินห์ จากเวียดนาม ก็เริ่มเข้ามาสนับสนุนให้เกิด “การต่อสู้เพื่อปลดปล่อย” ขึ้นในกัมพูชา พร้อมกันนั้น รัฐบาลพลเรือนที่ปกครองราชอาณาจักรไทยช่วง พ.ศ. 2489 – 2490 ก็มีนโยบายสนับสนุนกองกำลัง “เขมรอิสระ” (Khmer Issarak) ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ให้ปฏิบัติการตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่ใต้การยึดครองของไทยในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ เสียมราฐและพระตะบอง ได้ ต่อมาใน พ.ศ. 2493 (25 ปีก่อนที่กองกำลังเขมรแดงจะบุกยึดกรุงพนมเปญ) กลุ่มเขมรอิสระได้จัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติเป็นครั้งแรก ในวันที่ 17 เมษายน ผลจากการประชุมครั้งนั้น นำไปสู่การก่อตั้ง สมาคมเขมรอิสระ (United Issarak Front) โดยมีผู้นำกลุ่มคือเซิง งอกมิญ ร่วมกับกลุ่มแกนนำที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนเชื้อสายเขมร เมื่อเวลาผ่านไป กองกำลังเขมรอิสระภายใต้การควบคุมของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ก็เติบโตมากขึ้น จนกระทั่งใน พ.ศ. 2495 เขมรอิสระ ซึ่งปฏิบัติการร่วมกับขบวนการเวียดมินห์ ก็สามารถครองพื้นที่ได้ประมาณหนึ่งในหกของกัมพูชา และขยายอาณาเขตคลอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศได้ ในอีก 2 ปีต่อมา ในช่วงที่มีการประชุมนานาชาติที่เมืองเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส[11]
ใน พ.ศ. 2494 หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนยุบตัวลง ก็ได้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เอกเทศขึ้น 3 พรรค ได้แก่ พรรคกรรมกรเวียดนาม (parti des travailleurs du Viêt Nam) ในเวียดนาม พรรคลาวอิสระ (Lao Itsala) ในลาว และพรรคปฏิวัติประชาชนเขมร (Parti révolutionnaire du peuple du Kampuchea – PRPK) ในกัมพูชา โดยพรรคที่ถือว่ามีบทบาทในการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือพรรคกรรมกรเวียดนาม
พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรถือเป็นต้นกำเนิดของขบวนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ผู้นำของพรรค คือ เซิง งอกมิญและ ตู สามุต ในช่วงแรกสมาชิกของพรรคส่วนใหญ่คือคนเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่ในกัมพูชา ส่วนชาวกัมพูชาพื้นถิ่นจริง ๆ ที่เข้าร่วมกับพรรคมีจำนวนค่อนข้างน้อย พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรได้ปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังเขมรอิสระอื่น ๆ เข้าควบคุมพื้นที่ชนบทของประเทศได้อย่างกว้างขวาง แต่หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ สามารถเรียกร้องเอกราชของกัมพูชาคืนจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ พระองค์ก็ใช้เวทีการประชุมว่าด้วยปัญหาอินโดจีน ที่จัดขึ้นใน พ.ศ. 2497 ณ เมืองเจนีวา ต่อต้านข้อเรียกร้องของขบวนการคอมมิวนิสต์ ซึ่งที่ประชุมเองก็รับรองเอกราชของกัมพูชาภายใต้การนำของพระองค์ และไม่รับรองสถานะและกำหนดเขตที่ตั้งของฐานที่มั่นฝ่ายคอมมิวนิสต์ให้เช่นกัน จากมติการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้ขบวนการคอมมิวนิสต์ รวมถึงพรรคปฏิวัติประชาชนเขมร สูญเสียบทบาททางการเมืองในกัมพูชา และต้องลี้ภัยไปอาศัยในเวียดนามเหนือตามข้อตกลงเจนีวา จำนวนผู้ลี้ภัยในขณะนั้นมีประมาณ 2,000 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นมีซัน ง็อก มินห์ รวมอยู่ด้วย[12]
ในช่วงปลาย พ.ศ. 2497 ขบวนการคอมมิวนิสต์ที่ยังอาศัยอยู่ในกัมพูชาได้จัดตั้งพรรคการเมืองถูกกฎหมาย โดยใช้ชื่อพรรคว่า “กรมประชาชน” (Krom Pracheachon; กร็อมปราเจียจ็วน) หรือ “กลุ่มประชาชน” เพื่อลงเลือกตั้งสภาใน พ.ศ. 2498 ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคประชาชนได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งครั้งนั้นเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะเข้าไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติได้ ส่วนพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดคือ พรรคสังคมราษฎร์นิยม (Sangkum Reastr Niyum) หรือ "กลุ่มสังคม” ของเจ้าสีหนุ [13]
หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง สมาชิกของพรรคประชาชนก็โดนกลุ่มของเจ้าสีหนุกดดันและตามจับกุมจนต้องหลบหนีไปอยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกันกับพรรคประชาธิปไตยที่ถูกเจ้าสีหนุกดดันจนต้องสลายตัวไปก่อนหน้านั้น เนื่องจากพระองค์กล่าวหาว่าพรรคเป็นอันตรายต่อนโยบายของพระองค์[14] การหลบหนีของพรรคประชาชนในครั้งนั้น ส่งผลให้พรรคไม่ได้ลงเลือกตั้งครั้งต่อมา ใน พ.ศ. 2505 ในช่วงนี้เอง ที่เจ้าสีหนุเริ่มเรียกกลุ่มฝ่ายซ้ายที่แฝงอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วยชื่อว่า “เขมรแดง”[15]
ช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรได้แบ่งคณะกรรมการพรรคเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการฝ่ายเมือง นำโดยเตา สมุธ และคณะกรรมการฝ่ายชนบท นำโดยเซียว เฮง ถึงแม้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติเหมือนกัน แต่เป้าประสงค์ของแต่ละฝ่ายนั้นต่างกัน ฝ่ายเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเหนือ มองว่าการที่เจ้าสีหนุ ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลางและไม่ได้รับความไว้วางใจจากสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น[16] จะทำให้เกิดประโยชน์ในการต่อสู้เพื่อ “ปลดปล่อย” เวียดนามใต้ และมีแนวโน้มว่าพระองค์จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายเป็นแบบฝ่ายซ้ายแทน ส่วนฝ่ายชนบท ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังที่ในท้องที่ชนบทต่าง ๆ กลับสนับสนุนในมีการต่อสู้เพื่อล้มล้าง “ระบบขุนนาง” ของเจ้าสีหนุโดยเร็วที่สุด
ใน พ.ศ. 2502 เซียว เฮง ได้ละทิ้งรัฐบาล และให้อำนาจแก่กองกำลังรักษาความปลอดภัยเพื่อเข้าทำลายโครงสร้างของพรรคฝ่ายชนบทให้มากกว่าร้อยละ 90 ของทั้งหมด จากการกระทำดังกล่าว ส่งผลให้ใน พ.ศ. 2503 จำนวนกองกำลังคอมมิวนิสต์ในกรุงพนมเปญและเมืองอื่น ๆ ของกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้เขตอำนาจของเตา สมุธ เป็นส่วนใหญ่ เหลืออยู่ไม่กี่ร้อยคน
กลุ่มปัญญาชนปารีส (Paris Student Group) คือ กลุ่มนักศึกษาฝ่ายซ้ายชาวกัมพูชา ที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลกัมพูชาให้มาศึกษาต่อในกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในช่วงทศวรรษที่ 1950 พวกเขาได้ร่วมกันจัดตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ ลัทธิมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ของตนเองขึ้น ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่แผ่นดินเกิดและเป็นกำลังสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์เขมร กลุ่มเขมรแดง ในการปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลลอน นอล ใน พ.ศ. 2518 ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
ปัญญาชนคนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดังกล่าวนี้ ได้แก่[17]
นอกจากสมาชิกที่เป็นผู้ชายแล้ว ในกลุ่มปัญญาชนปารีสยังมีสมาชิกผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์ทางการสมรสกับสมาชิกฝ่ายชายอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เขียว พอนนารี ภรรยาของซาลอธ ซาร์ เขียว ธิริธ ภรรยาของเอียง ซารี หรือยุน ยาต ภรรยาของซอน เซน สมาชิกหญิงเหล่านี้ต่างก็มีบทบาทสำคัญในระบอบการปกครองกัมพูชาประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติของเขมรแดง แทบทั้งสิ้น
สาเหตุที่ทำให้คนหนุ่มสาวกลุ่มนี้เชื่อมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ มีแนวโน้มมาจากบริบททางการเมืองโลกในขณะนั้น ที่การเคลื่อนไหวตามแนวทางคอมมิวนิสต์กำลังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็น การยืนหยัดต่อสู้ของขบวนการคอมมิวนิสต์ในกัมพูชาต่อฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคม การได้รับชัยชนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ในจีน การเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเกาหลี หรือการเข้าสู่ยุครุ่งเรืองสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความไม่เสมอภาคทางชนชั้นและความไม่เป็นธรรมในสังคมที่นักศึกษาบางคนประสบในอดีต ก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญเช่นกัน ดังเช่นกรณีปัญหาครอบครัวของเขียว พอนนารี และเขียว ธิริธ ที่บิดาของเธอทั้งสองหนีตามเจ้าหญิงแห่งกัมพูชาไปอยู่จังหวัดพระตะบอง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทิ้งให้มารดาของพวกเธอทำหน้าที่ดูแลครอบครัวเพียงผู้เดียว กรณีดังกล่าวนี้ เดวิด พี. แชนด์เลอร์ นักประวัติศาสตร์และนักการทูตชาวอเมริกัน กล่าวว่า อาจเป็นสาเหตุสำคัญให้พวกเธอมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชนชั้นเจ้าของกัมพูชา จนนำไปสู่การต่อต้านก็เป็นได้[18]
ขณะที่ศึกษาอยู่ในฝรั่งเศส กลุ่มปัญญาชนกลุ่มนี้ได้มีโอกาสศึกษาสำนักคิด/ลัทธิทางด้านสังคมศาสตร์หลาย ๆ แขนง เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิต่อต้านจักรวรรดินิยม และลัทธิอาณานิคมใหม่ เป็นต้น[19] พร้อมกันนั้น พวกเขายังได้ประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์เอาไว้หลายระดับ นับตั้งแต่การรวมกลุ่มการเมืองย่อย ๆ ในหมู่นักศึกษา ที่เรียกกันว่า “วงมาร์กซิสต์” เพื่อนำงานเขียนแนวอุดมการณ์มาร์กซิสต์มาถกเถียงกัน[20] จนถึงการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสและพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวีย และยังรวมไปถึงการเป็นตัวแทนสมาคมนักศึกษาเขมรในกรุงปารีส เข้าร่วมการประชุมเยาวชนนานาชาติ ณ เบอร์ลินตะวันออก ที่ซึ่งพวกเขาได้พบเจอเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน และได้เรียนรู้วิธีการต่อสู้ของขบวนการคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา และการก่อตั้งพรรคปฏิวัติประชาชนเขมรเป็นครั้งแรก[21]
นอกจากนั้น พวกเขายังพยายามขยายอุดมการณ์ของกลุ่มให้ครอบคลุมทั้งสมาคมนักศึกษาเขมร ซึ่งเป็นแหล่งรวมปัญญาชนชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ในปารีส ด้วยการล้มล้างอิทธิพลของผู้นำนักศึกษาแนวอนุรักษนิยม[22]และเปลี่ยนให้กลายเป็นองค์กรสำหรับนักชาตินิยมและนักสังคมนิยมแทน
หลังจากที่เจ้าสีหนุก่อรัฐประหาร ประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติ และเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ใน พ.ศ. 2495[23] กลุ่มปัญญาชนปารีสก็เคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำดังกล่าว ด้วยการออกแถลงการณ์วันที่ 6 กรกฎาคม ประณามการกระทำของพระองค์และเรียกร้องให้พระองค์สละราชสมบัติ[24] พร้อมกันนั้น ซาลอธ ซาร์ ยังได้เขียนบทความชื่อ “ราชาธิปไตยหรือประชาธิปไตย?” (Monarchy or Democracy?) ลงในนิตยสารสำหรับนักศึกษาชาวกัมพูชา ฉบับพิเศษ เพื่อวิพากษ์การกระทำของเจ้าสีหนุอีกด้วย จากการกระทำเหล่านี้ ส่งผลให้พวกเขาโดนระงับทุนการศึกษา[25] และทางการฝรั่งเศสยังออกคำสั่งปิดสมาคมนักศึกษาเขมรในปีต่อมา
อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2499 ฮู ยวน และเขียว สัมพันธ์ ได้ช่วยกันก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า “สหภาพนักศึกษาเขมร” (Khmer Students' Union) ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มนักศึกษาในวงมาร์กซิสเช่นเดิม
หลังจากที่กลุ่มปัญญาชนปารีสเดินทางกลับสู่กัมพูชา สมาชิกในกลุ่มต่างก็แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพและกิจกรรมต่าง ๆ ซาลอธ ซาร์ (กลับมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2496) เดินทางออกจากกรุงพนมเปญเพื่อเข้าร่วมกับกองกำลังเขมรอิสระในพื้นที่ใกล้จังหวัดกำปงสปือ และขบวนการเวียดมินห์ในพื้นที่ชนบทของจังหวัดกำปงจาม[26] เอียง ซารี ประกอบอาชีพครูประจำภาควิชาการเมืองและปรัชญาที่วิทยาลัยศรีสวัสดิ์และวิทยาลัยกัมพูบต เช่นเดียวกับฮู ยวน[27] และเขียว สัมพัน (กลับมาใน พ.ศ. 2502) ประกอบอาชีพอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพนมเปญ และผลิตหนังสือพิมพ์แนวสังคมนิยมเป็นภาษาฝรั่งเศส ชื่อ “ล็อบแซร์วาเตอร์”[28] ซึ่งได้รับความนิยมจากวงนักวิชาการกลุ่มเล็ก ๆ ในพนมเปญ
หลังจากที่ดำเนินการผลิตมาได้ 1 ปี กิจการหนังสือพิมพ์ของเขียว สัมพัน พร้อมกับหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายฉบับอื่น ๆ ที่ตีพิมพ์ในกัมพูชาขณะนั้น ก็ถูกหน่วยรักษาความมั่นคงของรัฐบาลเจ้าสีหนุปิด ส่วนตัวเขียว สัมพัน เองก็ถูกนำไปประจารต่อสาธารณชนโดยการเฆี่ยนตี จับเปลื้องผ้า และถ่ายรูปเก็บไว้ หลังจากนั้นจึงถูกนำตัวไปควบคุมพร้อมกับสมาชิกขบวนการฝ่ายซ้ายอีก 17 คน[29] แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมาเขียว สัมพัน ก็ได้รับการปล่อยตัว และร่วมมือกับเจ้าสีหนุต่อต้านกิจกรรมของสหรัฐอเมริกาในเวียดนามใต้
ทั้งเขียว สัมพัน ฮู ยวน และฮู นิม ต่างก็เป็นปัญญาชนแนวสังคมนิยมที่เจ้าสีหนุเชิญให้เข้ามาร่วมรัฐบาลสังคมราษฎร์ของพระองค์ด้วย โดยฮู ยวน ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรม ฮู นิม ได้รับตำแหน่งสำคัญในสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา[30] และเขียว สัมพัน ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจ[31]
การได้ประกอบอาชีพเป็นครู/อาจารย์ในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง และได้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาล ทำให้สมาชิกกลุ่มปัญญาชนปารีสบางคนสามารถแทรกซึมแนวคิดคอมมิวนิสต์เข้าไปยังหมู่ชนชั้นกลางที่อยู่ในเมือง และฐานมวลชนในเขตเลือกตั้งของตนได้[32]
วันที่ 30 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2503 พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรได้จัดการประชุมสมัชชาพรรคขึ้นอย่างลับ ๆ ในห้องว่าง ณ สถานีรถไฟกรุงพนมเปญ โดยในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำประเด็นที่ว่า พรรคควรจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรหรือเลือกเป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าสีหนุ มาถกเถียงกันด้วย หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง ที่ประชุมได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็นชื่อ “พรรคแรงงานแห่งกัมพูชา” โดยแต่งตั้งตู สามุต ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ และนวน เจีย ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ นอกจากนั้นซาลอธ ซาร์ และเอียง ซารี ก็เข้าร่วมเป็นแกนนำของพรรคนี้ด้วย[33]
การหายตัวไปอย่างลึกลับของเตา สมุธ (สันนิษฐานกันว่าถูกสังหาร) ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทำให้พรรคตกอยู่ใต้การควบคุมของซาลอธ ซาร์ แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งต่อมาซาลอธ ซาร์ ก็ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางของพรรคชุดใหม่ ในการประชุมสมัชชาพรรครอบพิเศษ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2506 โดยมีนวน เจีย และเอียง ซารี ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ และมีโซ พิม กับวอน เวต เป็นแกนนำของพรรค[34] หลังจากนั้นมา ซาลอธ ซาร์ และสหายปัญญาชนปารีสของเขา ก็สามารถควบคุมศูนย์กลางของพรรคได้ทั้งหมด ส่วนกลุ่มสมาชิกเก่าแก่ที่สนับสนุนนโยบายเป็นกลางของรัฐบาล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเวียดนาม นั้น ก็ถูกลดอำนาจในพรรคลง
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506 ซาลอธ ซาร์ กับสมาชิกคณะกรรมการกลางของพรรคส่วนใหญ่ ได้ทยอยเดินทางออกจากกรุงพนมเปญ เพื่อไปสร้างกองกำลังกบฏของตนเองขึ้นในบริเวณชายแดนของจังหวัดกำปงจามกับประเทศเวียดนาม[35] ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ก่อนหน้านั้นไม่นาน เจ้าสีหนุได้รณรงค์ต่อต้านฝ่ายซ้าย และประกาศรายชื่อบุคคล 34 คนที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ที่วางแผนโค่นล้มรัฐบาลของพระองค์ ซึ่งในจำนวนนั้น มีชื่อของซาลอธ ซาร์ กับครูฝ่ายซ้ายอีกหลายคนติดอยู่ด้วย เจ้าสีหนุได้เรียกตัวบุคคลในรายชื่อเหล่านี้มาพบ เพื่อให้พวกเขาเข้าร่วมกับรัฐบาลของพระองค์ และปฏิญาณตนว่าจะจงรักภักดีต่อพระองค์ ทุกคนที่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าวจะถูกติดตามด้วยตำรวจของพระองค์ตลอด 24 ชั่วโมง มีเพียงซาลอธ ซาร์ และเอียง ซารี เท่านั้น ที่ไม่ถูกติดตาม และสามารถหลบหนีออกมาจากกรุงพนมเปญได้[36]
ระหว่าง พ.ศ. 2508 – 2509 ซาลอธ ซาร์ และเพื่อนร่วมงานของเขา ได้เดินทางไปเยือนเวียดนามเหนือและสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เวียดนามเหนือ พวกเขาได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ทั้งที่เป็นชาวเวียดนามและชาวกัมพูชาที่อพยพเข้าไปอยู่ในเวียดนามตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งยังอาจได้รับการฝึกฝนทางการเมืองบางด้านจากที่นั่น[37] ส่วนในจีน พวกเขาได้ไปแสดงจุดยืนของพรรคและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อผู้บริหารระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็น เติ้ง เสี่ยวผิง หรือหลิว เสาฉี เป็นต้น[38] (ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นพันธมิตรกับเจ้าสีหนุ แต่ทางการจีนก็ปิดข่าวการเดินทางมาเยือนของกลุ่มคอมมิวนิสต์กัมพูชาในครั้งนั้นไม่ให้พระองค์ทราบ)
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2509 พรรคแรงงานแห่งกัมพูชาได้รับการเปลี่ยนชื่ออย่างลับ ๆ เป็น "พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา" (Communist Party of Kampuchea – CPK) ซึ่งในช่วงปลายปีเดียวกัน ศูนย์บัญชาการของพรรคก็ต้องถูกย้ายไปอยู่ในพื้นที่จังหวัดรัตนคีรี เนื่องจากฐานที่มั่นเดิมถูกจู่โจมโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกา[38]
ในปีต่อมา ด้วยความช่วยเหลือทางด้านอาวุธและที่พักจากฝ่ายเวียดนามเหนือ พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่ประกอบด้วยกลุ่ม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเขมรแดง (กลุ่มปัญญาชนปารีส) กลุ่มเขมรเวียดมินห์ และกลุ่มเขมรคอมมิวนิสต์[39] ก็เริ่มใช้กำลังต่อต้านรัฐบาลเจ้าสีหนุ โดยเริ่มจากการโจมตีฐานที่มั่นของฝ่ายพระองค์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือก่อน ขณะเดียวกัน บรรดานักศึกษาและครูในเมืองจำนวนมากก็รู้สึกไม่พอใจกับวิธีการปกครองของเจ้าสีหนุ และหันมาศรัทธาต่อความสำเร็จจากการต่อสู้ทางการเมืองในจีน (การปฏิวัติวัฒนธรรม) และฝรั่งเศส (การลุกฮือเดือนพฤษภาคม 1968) ว่าเป็นขบวนการทางเลือกที่ควรจะมาแทนการปกครองแบบเจ้าสีหนุ[40]
ต่อมา หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจเจ้าสีหนุในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 โดยเจ้าสีสุวัตถิ์ สิริมาตะ ลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสีหนุ และลอน นอล นายกรัฐมนตรีกัมพูชาในขณะนั้น กลุ่มพลังฝ่ายขวา หรือฝ่ายสาธารณรัฐเขมร ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับขบวนการคอมมิวนิสต์ ก็สามารถเข้ากุมอำนาจทางการเมืองของกัมพูชาได้แทบทั้งหมด พวกเขาได้ร่วมมือกับกองทัพอเมริกากดดันและปราบปรามขบวนการคอมมิวนิสต์ในเขตชนบทอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ภายในช่วงเวลา 4 ปีของการดำรงอำนาจ รัฐบาลฝ่ายสาธารณรัฐก็ต้องเผชิญปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพกัมพูชา เวียดนามใต้ และอเมริกา กับกองทัพเวียดนามเหนือในกัมพูชา ปัญหาการขาดประสิทธิภาพของกองทัพ ปัญหาการขาดผู้นำที่เข้มแข็ง และปัญหาการทุจริตในกลุ่มนายทหารฝ่ายสาธารณรัฐเอง เป็นต้น ตรงกันข้ามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ถึงแม้ว่าจะถูกกดดันโดยภาวะสงคราม แต่ก็ยังเป็นฝ่ายที่สามารถเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในกัมพูชาได้มากกว่าฝ่ายรัฐบาล[41] และหลังจากที่เจ้าสีหนุเปลี่ยนจุดยืนมาสนับสนุนการต่อสู้ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และตั้งรัฐบาลแนวร่วมแห่งชาติกัมพูชา (Royal Government of National Union of Kampuchea – GRUNK) [42] เพื่อต่อต้านลอน นอล และเจ้าศรีสวัสดิ์ ความนิยมในเขตชนบทที่มีต่อพระองค์ก็เพิ่มมากขึ้น จนเป็นผลให้การขยายอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาเป็นไปอย่างง่ายดาย
ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2515 ถึงต้น พ.ศ. 2516 กองกำลังคอมมิวนิสต์เริ่มทดลองนำโครงการนารวมและระบบสหกรณ์รวมมาใช้กับประชาชนในเขตยึดครองของตนเอง และเริ่มมีข่าวลือว่า หลังจากที่พวกเขายึดหมู่บ้านหรือเมืองได้แล้ว พวกเขาจะบังคับให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่นั้นเข้าไปอยู่ในป่าแทนการจับเป็นเชลย[43]
ต้น พ.ศ. 2518 กองกำลังคอมมิวนิสต์ได้วางระเบิดตัดเส้นทางชายฝั่งแม่น้ำที่ใช้ลำเลียงอาหารและอาวุธเข้าสู่กรุงพนมเปญ[44] และนำกำลังปิดล้อมเมืองหลวงเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเตรียมการบุกยึด ในที่สุด หลังจากการหลบหนีออกจากกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีลอน นอล ในเดือนมีนาคมของปีเดียวกัน และความพยายามของสหรัฐอเมริกา ที่จะนำฝ่ายคอมมิวนิสต์มาเจรจากับฝ่ายรัฐบาล ไม่เป็นผล กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่นำโดยกลุ่มเขมรแดงของซาลอธ ซาร์ ก็เข้าบุกยึดกรุงพนมเปญ ในเช้าตรู่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ของชาวกัมพูชา (เหตุที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์เลือกวันนี้เป็นวันบุกยึด เพราะต้องการให้ปีใหม่ปีนั้นเป็นปีเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของกัมพูชาใหม่ทั้งหมด) [45]
หลังจากที่บุกยึดกรุงพนมเปญและสาธารณรัฐกัมพูชาได้สำเร็จ เขมรแดงได้เปลี่ยนระบอบการปกครองของกัมพูชาให้เป็นระบอบสังคมนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีคณะผู้ปกครองหลักคือ พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย[46] และมีกลุ่มผู้ปกครองสูงสุดที่เรียกตนเองว่า "อังการ์เลอ" (Angkar Loeu) หรือ "องค์การจัดตั้งระดับสูง" ซึ่งชื่อ "อังการ์เลอ" นี้ ถูกนำมาใช้เพื่ออำพรางตนเองจากการรับรู้ของชาวกัมพูชารวมไปถึงสมาชิกระดับล่างของพรรค[47] ภารกิจต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารจะอยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลในคณะกรรมาธิการประจำ (กรมการเมือง) ซึ่งเป็นองค์กรหลักภายในคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ในขณะที่คณะกรรมการของพรรคจะมีหน้าที่ควบคุมทุกระดับของการจัดตั้ง นับตั้งแต่กลุ่มที่ประกอบด้วยครอบครัว 10 ครอบครัว กระทรวง สำนักงานของรัฐ และเขตการปกครองต่าง ๆ ของกัมพูชา[48]
กลุ่มคอมมิวนิสต์ประกาศยกเลิกรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาพลัดถิ่น ทำให้กัมพูชาไม่มีรัฐบาลจนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญกัมพูชาประชาธิปไตยเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2519 เขมรแดงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญกัมพูชาฉบับใหม่ ภายในนั้นได้มีการบัญญัติชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศกัมพูชาว่า "กัมพูชาประชาธิปไตย" (Democratic Kampuchea) [47] แทนชื่อ "สาธารณรัฐกัมพูชา" พระนโรดม สีหนุยังคงเป็นประมุขรัฐจนกระทั่งพระองค์ลาออกไปเมื่อ2 เมษายน พ.ศ. 2519 พระองค์ถูกกักบริเวณอยู่ในพนมเปญ จนกระทั่งเกิดสงครามกับเวียดนาม พระองค์จึงไปสหรัฐก่อนจะลี้ภัยในประเทศจีนในเดือนมกราคม 2519
ศูนย์กลางอำนาจของกัมพูชาในขณะนั้นอยู่ที่ "พล พต" หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่าซาลอธ ซาร์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2519 โดยมีเอียง ซารี ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ วอน เวต ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกิจการเศรษฐกิจ และซอน เซน ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกิจการกลาโหม[49] สมาชิกของพรรคส่วนใหญ่ ได้แก่ กองกำลังติดอาวุธทั้งชายและหญิงจากครอบครัวชาวนาในชนบทอันห่างไกล ซึ่งทั้งยากจนและขาดโอกาสในการศึกษา[50] โดยส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่เจ็บปวดและโกรธแค้นจากการที่ต้องสูญเสียบ้าน การงาน และครอบครัวเพราะระเบิดของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามกลางเมือง[51]
สถาบันหลักทางการเมืองของกัมพูชาประชาธิปไตย คือ “สภาผู้แทนประชาชนกัมพูชา” (Kampuchean People’s Representative Assembly) มีสมาชิก 250 คน ที่ประกอบด้วย 1) ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างลับ ๆ ทุก 5 ปี (ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ใช้ในขณะนั้น) 2) ฝ่ายบริหาร ที่มาจากการคัดเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนประชาชน มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อสภา และ 3) ฝ่ายตุลาการ ที่ทำหน้าที่โดยศาลประชาชน นอกจากนั้นยังมี “สภาเปรสิเดียม” ที่ประกอบด้วยประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี 2 คน ที่ได้รับการคัดเลือกโดยสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนเช่นเดียวกับฝ่ายบริหาร เพื่อทำหน้าที่ตัวแทนของรัฐทั้งในและต่างประเทศ[52] การเลือกตั้งครั้งแรกและครั้งเดียวมีขึ้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2519 โดยประชาชนใหม่ไม่ได้เข้าร่วม ผู้บริหารได้รับเลือกเข้าสู่สภาซึ่งถือเป็นสภาเปรซิเดียมของรัฐ หลังจากพระนโรดม สีหนุลาออก ตำแหน่งประมุขรัฐคือประธานาธิบดี ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งคือ เขียว สัมพัน ระบบศาลเป็นการประชาชนซึ่งควบคุมโดยสภา และไม่ได้ระบุถึงการปกครองส่วนท้องถิ่น
สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองมีกล่าวถึงในมาตราที่ 12 ของรัฐธรรมนูญ ชายและหญิงมีความเสมอภาคกัน และจะไม่มีคนว่างงานในกัมพูชาประชาธิปไตย หลักการเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศถูกระบุไว้ในมาตราที่ 21 โดยระบุถึงความเป็นเอกราช สันติภาพและเป็นกลาง ประกาศสนับสนุนการต่อต้านจักรวรรดินิยมในประเทศโลกที่สาม แม้จะมีการโจมตีแนวชายแดนของไทย ลาว และเวียดนาม แต่ในรัฐธรรมนูญกล่าวว่ารักษาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและใกล้ชิดกับประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน
เขมรแดงได้ประกาศยกเลิกการแบ่งเขตจังหวัดแบบเดิม และแทนที่ด้วยการแบ่งเขตจำนวน 7 เขต คือ เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออก ตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และเขตศูนย์กลาง มีเขตพิเศษ 2แห่งคือ เขตพิเศษกระแจะ หมายเลข 105 และเขตพิเศษเสียมราฐ หมายเลข 106 ซึ่งคงอยู่ถึง พ.ศ. 2520 แต่ละเขตแบ่งย่อยเป็นตำบล ซึ่งถูกกำหนดด้วยหลายเลข หมายเลข 1 อยู่ที่บริเวณสัมลต ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ ตำบลถูกแบ่งย่อยเป็นสรุก ขุม และพู ( (หมู่บ้าน) หมู่บ้านประกอบด้วยคนหลายร้อยคน ภายในหมู่บ้านแบ่งเป็นกรม ที่ประกอบด้วย 10 – 15 หลังคาเรือน การบริหารประกอบด้วยคณะที่มีสมาชิกสามคน สมาชิกพรรคควบคุมการบริหารในระดับสูง การบริหารระดับขุมและหมู่บ้านปกครองโดยคนในท้องถิ่น ส่วนน้อยที่เป็นประชาชนใหม่ ในแต่ละเขตการปกครองจะมีคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาประจำอยู่ เพื่อทำหน้าที่ตัดสินใจทั้งในด้านการเมืองและการทหารในเขตพื้นที่ของตน และรอรับคำสั่งจากศูนย์กลางพรรคเพื่อนำไปตีความและประยุกต์ใช้อีกครั้งตามความเหมาะสมของแต่ละท้องที่[53]
ทันทีที่เข้ายึดพนมเปญได้ เขมรแดงได้สั่งให้อพยพประชาชนทั้งหมดออกจากเมืองหลวงไปสู่พื้นที่ชนบท พนมเปญที่เคยมีประชากรถึง 2.5 ล้านคนกลายเป็นเมืองร้าง ถนนที่ออกจากเมืองเต็มไปด้วยประชาชนที่ถูกบังคับให้เดินทางออกจากเมือง ลต ฉาย พี่ชายของพล พตที่ทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ตายระหว่างการอพยพอกจากพนมเปญ โรงพยาบาลในพนมเปญว่างเปล่า ไม่มีผู้ป่วย เขมรแดงอนุญาตให้ใช้พาหนะได้เฉพาะคนแก่และคนพิการ ในระหว่างการอพยพคนออกจากเมืองนี้ เขียว สัมพันกล่าวว่ามีคนตายราว 2,000 - 3,000 คน ชาวต่างชาติราว 800 คนถูกกักตัวไว้ในสถานทูตฝรั่งเศส และในช่วงปลายเดือนนั้น คนต่างชาติเหล่านี้ ถูกส่งมายังชายแดนไทยด้วยรถบรรทุก หญิงชาวเขมรที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ จะได้รับอนุญาตให้ออกไปได้ แต่ชายชาวเขมรไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตามภรรยาออกไป
หลังจากที่เขมรแดงขึ้นมามีอำนาจแล้ว สิ่งแรกที่ทำคือ ประกาศให้ชาวเขมรทุกคนทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน เงินทอง หรือแม้แต่คนที่ตัวเองรักทั้งหลาย เพื่อมาทำงานให้กับคอมมูน คอมมูนคือหน่วยย่อยของเขมรแดง มีคอมมูนละ 10,000 คน หน้าที่ที่คนในค่ายต้องทำทุกวันคือทำงานเกี่ยวกับการเกษตรทั้งหมด ตามแต่ที่คอมมูนใดจะสั่งลงมา แต่ทุกคอมมูนเหมือนกันหมดคือทำงานโดยใช้แรงงานคนทั้งหมดโดยไม่มีเครื่องมือใด ๆ ช่วยทุ่นแรง และต้องทำงานเป็นเวลา 11 ชั่วโมง เป็นเวลา 9 วันติดใครทำงานช้าหรืออิด ๆ ออด ๆ จะถูกลงโทษอย่างหนัก ส่วนวันที่ 10 ต้องมานั่งฟังพวกเขมรแดงอบรมเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์
หน่วยรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่าสันติบาลที่จัดตั้งขึ้นหลังจาก 17 เมษายน พ.ศ. 2518 นำโดย ซอน เซน รัญมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาประชาธิปไตย เขาได้มอบหมายให้ดุจ เป็นผู้ดำเนินการหน่วยนี้ ในช่วงแรก เขาใช้บริเวณเมืองหลวงเป็นที่กักขังนักโทษ ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2519ดุจได้ย้ายสถานที่คุมขังมาที่คุกตวล แซลงที่คุมขังนักโทษได้ถึง 1,500 คน รัฐบาลเขมรแดงได้สั่งให้จับกุมและประหารชีวิตบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นศัตรูของรัฐ ได้แก่
มีประชาชนประมาณ 17,000 คนที่เคยเข้าคุกตวลซแลง ส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิต มีเพียงราวพันคนที่รอดชีวิตออกมาได้ จำนวนประชากรที่เสียชีวิตในช่วงที่เขมรแดงครองอำนาจยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่ครองอำนาจสืบต่อจากเขมรแดงระบุว่ามีคนตายไป 3.3 ล้านคน แต่ยังหาตัวเลขที่เป็นการสรุปแน่นอนไม่ได้ งานวิจัยสมัยใหม่ที่ศึกษาทางด้านนี้ระบุว่าคนที่เสียชีวิตน่าจะอยู่ที่ 1.4 - 2.2 ล้านคน มีทั้งที่ถูกฆ่าและตายเพราะขาดอาหารและโรคระบาด โครงการวิจัยทางด้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาระบุว่ามีผู้เสียชีวิตราว 1.2 – 1.7 ล้านคน ส่วนข้อมูลของเขมรแดงเอง พล พตระบุว่ามีคนตาย 800,000 คน ส่วนเขียว สัมพันระบุว่าถูกฆ่าไปราว 1 ล้านคน
ประชากรที่อพยพออกจากเมืองจะถูกเรียกว่าประชาชนใหม่ ส่วนประชาชนที่อยู่ในเขตชนบทดั้งเดิมถูกเรียกว่าประชาชนเก่า ในระดับล่างสุดของสังคมคือกรม ประกอบด้วย 10 – 15 ครอบครัว กรมบริหารโดยคณะกรรมการสามคน ประธาน พรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้เลือก มีหน้าที่เผยแพร่ความเป็นสังคมนิยมแก่ประชาชนและรายงานขึ้นไปเป็นลำดับชั้น ในระยะแรกมีประชาชนใหม่อยู่ราว 2.5 ล้านคน ประชาชนใหม่ถูกบังคับให้ใช้แรงงานในพื้นที่ที่ยากลำบาก เช่น ในป่า ที่สูงและที่ลุ่ม และมักเกิดปัญหาขัดแย้งกับประชาชนเก่า สมาชิกในครอบครัวถูกแบ่งแยก เพราะต้องทำงานตามอายุและเพศ และมีการแบ่งไปทำงานยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ประชาชนเก่าจะได้รับการปฏิบัติจากเขมรแดงดีกว่า
จากการสัมภาษณ์ผู้อพยพของไมเคิล วิกกอรี ผู้เขียนหนังสือ Cambodia 1975–1982 กล่าวว่าการตายเกิดขึ้นในพื้นที่ด้อยพัฒนาและเกิดกับประชาชนใหม่ที่ถูกส่งไปบุกเบิกพื้นที่ในบริเวณนั้น ในเขตตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้นิยมเวียดนามอยู่มาก และอิทธิพลของพล พตไม่ได้เข้าไปถึงอย่างเต็มที่ การปฏิบัติต่อประชาชนเก่าและประชาชนใหม่เป็นธรรมกว่าและการประหารชีวิตเกิดขึ้นน้อยกว่า ประชาชนใหม่จะไม่ถูกบีบบังคับถ้าให้ความร่วมมือที่ดี ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่มีความอดอยากมากกว่า เพราะเป็นพื้นที่ที่ต้องส่งข้าวเข้าสู่พนมเปญ เขตเหนือและเขตกลาง ส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิตมากกว่าเป็นเหยื่อของความอดอยากส่วนข้อมูลในเขตตะวันออกเฉียงเหนือมีจำกัด
ปกติในภาษาเขมรจะมีคำที่แสดงถึงระดับชั้นของสังคม ในสมัยเขมรแดง ประชาชนถูกบังคับให้เรียกคนอื่นว่าสหาย (ภาษาเขมร: មិត្ដ) และงดเว้นการแสดงความเคารพ เขมรแดงได้สร้างคำใหม่ขึ้นใช้ในภาษา เช่น ประชาชนกล่าวว่าพวกเขาต้องทำปลอม (lot dam) ลักษณะของนักปฏิวัติ เพราะพวกเขาเป็นเครื่องมือ (opokar) ขององค์กร การคิดถึงช่วงเวลาก่อนการปฏวัติเป็นความทรงจำที่เจ็บป่วย (chheu satek arom) ซึ่งจะทำให้องค์กรมานำตัวไปสู่ตชค่ายกักกันได้
เขียว พอนนารี ภรรยาของพล พตเป็นผู้นำของสมาคนสตรีประชาธิปไตยเขมร และน้องสาวคือเขียว ธิริทธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสังคม ยุน ยัต ภรรยาของซอน เซนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการศึกษา หลาน ๆ ของพล พตทำงานในกระทรวงการต่างประเทศหลายคน ลูกสาวของเอียง ซารีเป็นประธานโรงพยาบาลแม้จะไม่จบชั้นมัธยมศึกษา หลานของเอียง ซารีเป็นผู้แปลภาษาอังกฤษของสถานีวิทยุพนมเปญแม้จะรู้ภาษาอังกฤษน้อยมาก
ระหว่างการมีอำนาจเหนือกัมพูชา ผู้นำเขมรแดงฝันจะรื้อฟื้นจักรวรรดิเขมรเมื่อพันปีก่อนโดยการเข้าครอบครองดินแดนบางส่วนของไทยและเวียดนาม หลังจากที่ได้ครองอำนาจใน พ.ศ. 2518 ได้มีการปะทะระหว่างทหารเขมรแดงกับทหารเวียดนาม เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 ทหารกัมพูชาโจมตีทหารเวียดนามบนเกาะฟู้โกว๊กและเกาะโถเจาและล้ำเขตเข้าไปในจังหวัดตามแนวชายแดนเวียดนาม ในปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาโจมตีโรงกลั่นน้ำมันที่กำปงโสมทางอากาศและเหตุการณ์มายาเกวซ ทหารเวียดนามได้เข้าโจมตีกัมพูชาที่เกาะปูโลไว ทำห้พล พตและเอียง ซารีต้องไปเยือนฮานอย และได้ลงนามในสนธิสัญญาแสดงถึงความเป็นมิตรของทั้งสองประเทศ เวียดนามยังคงยึดครองเกาะนั้นไว้ในเดือนสิงหาคม และยังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับแนวพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างที่เขมรแดงครองอำนาจในกัมพูชานี้ ชาวเวียดนามจำนวนมากได้อพยพออกจากกัมพูชา
ทางเขมรแดงได้ติดต่อกับเวียดนามเหนือตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 เพื่อแก้ไขปัญหาพรมแดนและการยอมรับกัมพูชาในฐานะประเทศเอกราช เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามถือว่าเขมรแดงเป็นเพียงสาขาหนึ่งของตนและพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเป็นพรรคคอมมิวนิสต์หนึ่งเดียวในอินโดจีนอย่างไรก็ตาม ฝ่ายเวียดนามไม่สามารถตกลงกับเขมรแดงได้ เพราะเวียดนามไม่ยอมถอนทหารออกจากบริเวณที่เขมรแดงถือว่าล้ำเข้ามาในดินแดนของกัมพูชา และไม่ยอมรับแนวเบรวิเญ่ ที่ใช้แบ่งเขตน่านน้ำของทั้งสองประเทศ แนวนี้กำหนดโดย จูลส์ เบรวิเญ่ ข้าหลวงใหญ่แห่งสหภาพอินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2482 ทั้งที่ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้กับสมเด็จพระนโรดม สีหนุได้เคยตกลงกันให้ใช้แนวเบรวิเญ่เป็นแนวพรมแดนระหว่างกันตั้งแต่ พ.ศ. 2509
ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและกัมพูชาดีขึ้นใน พ.ศ. 2519 เพราะพล พตมีความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งภายในพรรค ในเดือนพฤษภาคมมีการส่งตัวแทนไปเจรจาเรื่องความขัดแย้งตามแนวชายแดน แต่การเจรจายุติลงโดยไม่สามารถตกลงกันได้ ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศรุนแรงขึ้นอีกในปีเดียวกันนั้นเมื่อทางเวียดนามได้ประกาศรวมชาติอินโดจีน และแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับลาวเพื่อให้เขมรแดงทำตาม เมื่อพล พตขึ้นมาเป็นผู้นำใน พ.ศ. 2520 ความสัมพันธ์กับเวียดนามแย่ลงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2520 กองทัพเขมรแดงได้บุกโจมตีหมู่บ้านตินห์เบียว ในจังหวัดอันยางของเวียดนาม เวียดนามโต้ตอบด้วยการส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดในกัมพูชา เขมรแดงจึงบุกโจมตีจังหวัดไตบินห์และจังหวัดฮาเตียนเป็นการโต้ตอบในเดือนกันยายน [54]
นอกจากนั้น กองกำลังเขมรแดงยังโจมตีตามแนวชายแดนลาวและโจมตีหมู่บ้านในบริเวณชายแดนไทยด้านจังหวัดปราจีนบุรี (ในขณะนั้น ปัจจุบันคือจังหวัดสระแก้ว) หลายครั้ง วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2520 มีกลุ่มชาวเขมรข้ามแดนมาปล้นสะดมที่บ้านน้อยป่าไร่ บ้านกกค้อ และบ้านหนองดอ อำเภออรัญประเทศ โดยกองกำลังเขมรเข้าโจมตีบ้านหนองดอก่อน จากนั้นจึงโจมตีบ้านกกค้อที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้ที่บ้านหนองดอ มีผู้เสียชีวิต 21 ศพ ที่บ้านกกค้อ มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ กองกำลังเขมรที่เข้าโจมตีที่บ้านน้อยป่าไร่ ซึ่งกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนประจำการอยู่ เกิดการปะทะกัน ทำให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 1 ศพคือ จ.ส.ต. ภิรมย์ แก้ววรรณา ในที่สุดกองกำลังฝ่ายเขมรได้ล่าถอยไป[55]วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2520 กองกำลังกัมพูชาข้ามแดนเข้ามาโจมตีที่บ้านสันรอจะงันและบ้านสะแหง อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้มีการปะทะกับตำรวจตระเวนชายแดนและทหารไทย โดย พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตรเป็นผู้นำทหารไทยในการผลักดันกองกำลังกัมพูชาออกไป[55]
ในเวลาใกล้เคียงกัน หมู่บ้านตามแนวชายแดนในเวียดนามถูกโจมตี ทำให้เวียดนามหันมาโจมตีทางอากาศต่อกัมพูชาเป็นการสั่งสอน ในเดือนกันยายน ชาวตามแนวชายแดนเสียชีวิต 1,000 คน ทำให้ในเดือนต่อมา เวียดนามนำทหาร 20,000 นายเข้ามาต่อต้านการโจมตีของเขมรแดง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำเขมรแดงกับเวียดนามเลวร้ายลง เพราะเขมรแดงต้องการทำสงคราม และจีนน่าจะอยู่ฝ่ายเขมรแดงระหว่างความขัดแย้งนี้ ในขณะเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ซึ่งเวียดนามได้ตกลงใจใจช่วงต้น พ.ศ. 2521 ที่จะสนับสนุนฝ่ายต่อต้านพล พต ในที่สุด ได้เกิดการลุกฮือนำโดยโส พิมในภาคตะวันออกในเดือนพฤษภาคม ในระหว่างเวลาดังกล่าว สถานีวิทยุพนมเปญได้ประกาศปลุกระดมให้ชาวกัมพูชาลุกขึ้นต่อสู้กับเวียดนาม โดยกล่าวว่าถ้าทหารกัมพูชา 1 คน ฆ่าชาวเวียดนามได้ 30 คน ทหารกัมพูชาที่มีอยู่ราว 2 คน จะเพียงพอในการฆ่าชาวเวียดนาม 50 ล้านคน และเพียงพอในการยึดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงกลับมาเป็นของกัมพูชา หลังการลุกฮือของโส พิมไม่สำเร็จ ทำให้เกิดการสังหารหมู่ชาวเวียดนามในภาคตะวันออกตามมา ในเดือนพฤศจิกายน วอน เว็ตได้ก่อรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ ทำให้มีทั้งชาวกัมพูชาและชาวเวียดนามจำนวนมากลี้ภัยเข้าไปยังเวียดนาม
ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2521 วิทยุฮานอยได้ประกาศการจัดตั้งแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มผสมระหว่างพวกที่นิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์ที่ไปลี้ภัยในเวียดนาม และต้องการโค่นล้มระบอบของพล พตโดยมีเวียดนามหนุนหลัง เวียดนามเริ่มบุกรุกเข้ามาในกัมพูชาเมื่อ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 และใช้เวลาไม่นานก็สามารถยึดพนมเปญได้ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 พล พตและกองกำลังเขมรแดงหลบหนีมายังแนวชายแดนไทยในเขตป่าเขาเพื่อฟื้นฟูกองกำลังขึ้นใหม่ ส่วนแนวร่วมที่เวียดนามหนุนหลังได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเพื่อฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป
หลังสูญเสียอำนาจ เขมรแดงหนีมาใช้ชายแดนไทยเป็นเขตพักพิงและได้รับความช่วยเหลือจากจีนทำให้กลุ่มนี้ฟื้นตัวขึ้นอีก ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 กองกำลังเขมรแดงนำโดยพล พตยอมให้นักข่าวชาวญี่ปุ่นเข้าไปสัมภาษณ์ได้ คณะนักข่าวญี่ปุ่นจำนวน 8 คนได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เพื่อเดินทางเข้าสู่กัมพูชาที่ชายแดนด้านจังหวัดสุรินทร์ พล พตได้ให้สัมภาษณ์ว่าต้องการร่วมมือกับกัมพูชาทุกฝ่ายเพื่อรวมประเทศและปฏิเสธข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คณะนักข่าวชาวญี่ปุ่นเดินทางกลับสู่ประเทศไทยเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เมื่อข่าวนี้เผยแพร่ออกไป ฝ่ายของเฮง สัมรินได้ออกแถลงการณ์โจมตีการพบปะของเขมรแดงกับนักข่าวญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ว่าเป็นความร่วมมือของจีน ญี่ปุ่น ไทยและอาเซียนในการสนับสนุนเขมรแดง [56]
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2525 เขมรแดงเข้าร่วมในรัฐบาลผสมแนวร่วมเขมรสามฝ่ายภายใต้การนำของสีหนุเพื่อต่อต้านเวียดนามและรัฐบาลพนมเปญ เขมรแดงเข้าร่วมในสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชาโดยตัวแทนคือเขียว สัมพัน และซอนเซน และได้เข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีสเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 และร่วมลงนามในข้อตกลง ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 เกิดเหตุการณ์จลาจลต่อต้านผู้นำเขมรแดง ประชาชนเข้าทำร้ายนายเขียว สัมพันที่เดินทางมาร่วมประชุมสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชาจนบาดเจ็บ ทำให้การประชุมสภาสูงสุดแห่งชาติต้องเลื่อนออกไป[57] เขมรแดงได้จัดตั้งพรรคการเมืองคือพรรคสามัคคีแห่งชาติกัมพูชาเพื่อเตรียมเข้าร่วมการเลือกตั้ง[58] แต่เกิดความหวาดระแวงว่าอาจเป็นกลลวงให้วางอาวุธเพื่อจับตัวไปดำเนินคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[59] จึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยเขมรแดงถอนตัวออกจากการเจรจาสันติภาพ และไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง ไม่ยอมปลดอาวุธและไม่ยอมให้ประชาชนในเขตของตนลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536[60] จุดยืนของเขมรแดงที่ไม่เข้าร่วมในประบวนการสันติภาพ ตามที่เขียวสัมพันระบุ คือ[61]
หลังการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้ง เขมรแดงเข้ายึดปราสาทพระวิหารจากฝ่ายของฮุน เซนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 และขอเปิดการเจรจากับฝ่ายของสีหนุ โดยฝ่ายเขมรแดงยื่นข้อเรียกร้องเข้าร่วมในการบริหารแห่งชาติและตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐบาลใหม่แลกกับการคืนปราสาทพระวิหารและมอบดินแดนที่ยึดไว้คืนให้ฝ่ายรัฐบาล สมเด็จสีหนุทรงเห็นด้วยที่จะรับเขมรแดงเข้าร่วมรัฐบาล แต่ฮุน เซนและนโรดม รณฤทธิ์ไม่เห็นด้วย สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาแทรกแซงโดยประกาศจะตัดความช่วยเหลือกัมพูชา หากมีเขมรแดงร่วมรัฐบาล[62] การเจรจาเพื่อการปรองดองแห่งชาติตามนโยบายของสมเด็จพระนโรดม สีหนุที่เสนอให้เขมรแดงเข้าร่วมในการบริหารประเทศโดยต้องยอมคืนพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศให้แก่รัฐบาลและยุบเลิกกองกำลังทั้งหมด แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากการเจรจาครั้งสุดท้ายเมื่อ 27 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ที่กรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือล้มเหลว ฝ่ายรัฐบาลจึงออกกฎหมายให้เขมรแดงเป็นกลุ่มนอกกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 103 ต่อ 0[63]
เมื่อรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาประกาศให้พรรคการเมืองของเขมรแดงเป็นพรรคที่ผิดกฎหมาย เขมรแดงได้ตอบโต้โดยจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา[64] ที่จังหวัดไพลินและจังหวัดพระวิหารเขมรแดง พยายามเข้ามามีบทบาทเป็นที่ปรึกษาในรัฐบาลใหม่แต่ก็ยังประกาศต่อต้านรัฐบาลใหม่ด้วยอาวุธด้วย รัฐบาลพนมเปญส่งกำลังทหารเข้าปราบเขมรแดงใน พ.ศ. 2537 แต่กองกำลังของเขมรแดงยังยันกำลังฝ่ายรัฐบาลไว้ได้ เขมรแดงพยายามตอบโต้รัฐบาลโดยลักพาตัวชาวบ้านเข้าไปเป็นแรงงานเพื่อเตรียมสู้กับฝ่ายรัฐบาล เช่น ในช่วง 24 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เขมรแดงเข้ามาลักพาตัวชาวบ้านในจังหวัดเสียมราฐไปราว 150 คน เพื่อนำไปซ่อมสร้างถนนและขนอาวุธให้เขมรแดง [65] การรบของเขมรแดงเน้นการรบแบบจรยุทธ์ ส่วนกลยุทธของฝ่ายรัฐบาลคือพยายามขยายนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่ห่างไกล เพื่อไม่ให้ตกอยู่ใต้อิทธพลของเขมรแดง และพยายามชักนำให้ทหารระดับล่างของเขมรแดงแปรพักตร์มาร่วมกับฝ่ายรัฐบาล โดยใน พ.ศ. 2536 มีทหารเขมรแดงมอบตัวราว 1,000 คนและใน พ.ศ. 2537 มีทหารเขมรแดงในจังหวัดกำปอตมอบตัวอีกประมาณ 150 – 200 คน[65] ในขณะเดียวกัน รัฐบาลพนมเปญมักจะกล่าวหาทหารไทยว่าให้ความช่วยเหลือเขมรแดงเมื่อเกิดเหตุปะทะกันตามแนวชายแดน ตัวอย่างเช่น ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ทหารไทยกับทหารกัมพูชาปะทะกันที่ช่องพระประไล อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยทหารกัมพูชาล้ำแดนเข้ามาและซุ่มโจมตีรถบรรทุกทหารในฝั่งไทย ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 2 นาย ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าทหารไทยล้ำแดนกัมพูชาและส่งเสบียงให้เขมรแดง[66]
ใน พ.ศ. 2539 เริ่มมีความแตกแยกอย่างรุนแรงในกลุ่มเขมรแดงซึ่งถึงแม้จะต่อสู้กับรัฐบาลด้วยกำลังทหารได้แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป ความแตกแยกเห็นได้จากการหันมาให้ความร่วมมือกับรัฐบาลพนมเปญของเอียง สารี และทหารเขมรแดงกว่า 3,000 คน ที่เข้ามอบตัวต่อฝ่ายรัฐบาลเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 และจัดตั้งพรรคการเมืองของตัวเองคือขบวนการสหภาพแห่งชาติประชาธิปไตย[67] ในขณะที่วิทยุเขมรแดงออกมาโจมตีเอียง ซารีว่าฉ้อโกงเงินจากกองทัพเขมรแดงจำนวน 400 ล้านบาท และไม่ยอมนำรายได้จากการค้าพลอยและไม้เข้าสู่กองทุนรวมของพรรค[63] และการที่พอล พต สั่งฆ่าซอน เซนและครอบครัวเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540[68] เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 เขมรแดงนำโดยเขียว สัมพัน ตา มก ตา มุต และตา มิตยังเข้าช่วยฝ่ายของพระนโรดม รณฤทธิ์ในการต่อสู้กับทหารฝ่ายของฮุน เซนแต่สุดท้ายฝ่ายของพระนโรดม รณฤทธิ์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้[69] ต่อมาใน พ.ศ. 2540 นี้เอง เขียว สัมพันได้แยกตัวออกจากเขมรแดงไปจัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองคือพรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร เพื่อเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
หลังจากการเสียชีวิตของพอล พต เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 กองกำลังเขมรแดงส่วนใหญ่ได้ยอมวางอาวุธ เขียว สัมพัน กับนายเจียยอมจำนนต่อฮุน เซนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ทำให้เหลือเพียงกองกำลังติดอาวุธจำนวนน้อยของตาม็อกเท่านั้น เขียว สัมพันและตาม็อกประกาศยกเลิกรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชาหลังการเสียชีวิตของพล พต ใน พ.ศ. 2541 ตาม็อกถูกฝ่ายรัฐบาลจับได้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตาม็อกและกังเก็กเอียงที่เป็นผู้บัญชาการคุกต็วล ซแลง ที่ใช้คุมขังนักโทษการเมืองในขณะที่เขมรแดงเรืองอำนาจ ถูกตั้งข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ใน พ.ศ. 2540 รัฐบาลกัมพูชาได้เริ่มดำเนินการที่จะดำเนินคดีกับผู้นำเขมรแดงในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่กระบวนการเกิดขึ้นช้า ซึ่งรัฐบาลกล่าวว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจไม่ดีและชาดแคลนเงินทุน หลายประเทศได้ให้เงินสนับสนุนรวมทั้งอินเดียและญี่ปุ่น แต่จนเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 เงินทุนก็ยังไม่เพียงพอ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลสูงของกัมพูชาได้ตัดสินว่าผู้นำเขมรแดง 30 คนมีความผิด และสหประชาชาติเสนอให้ดำเนินคดีกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
ใน พ.ศ. 2550 นายเอียง ซารีและนางเขียว ธิริธภรรยา ถูกจำคุกที่ศาลนานาชาติกรุงพนมเปญตามคำสั่งของสมเด็จ ฮุน เซนนายกรัฐมนตรีและส่วนนั้นยังไม่มีผู้รายงานมาดำเนินคดี มีเพียงเหลือแต่เขียว สัมพัน อายุ 75 ปี และคัง เค็ค เอียว หรือ สหายดุช อดีตหัวหน้าเรีอนจำตวนสเลง เท่านั้น ที่จะดำเนินคดีล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมร กัง เก็ก เอียวหรือสหายดุจ อดีตผู้ควบคุมคุกตวลแซลงถูกดำเนินคดีเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชากว่า 1.7 ล้านคน
******************************************************************************
เรื่องราวต่อไปนี้นับได้ว่าเป็นความสำคัญระดับโลก
ซึ่งผมWellness 2012ได้พ
ยายามเผยแพร่แนวคิดและความรู้ด้านนี้มาตั้งแต่ 20 สิงหาคม 2012เป็นต้นมา
แนวคิดและความรู้ด้านนี้เป็นการพลิกโต๊ะ…..ล้มกระดาน….ล้มคว่ำอวิชชา ..ความหลงเชื่ออย่างผิดๆตลอดมากว่า60ปี
แน่นอนว่าต้องฝืนกระแส ฝ่าแรงเสียดทานอีกมากกว่าที่คนจะเปิดสมองเปิดใจรับอย่างดุษฎี
แน่นอนว่าคุณมีสิทธิ์จะเชื่อหรือไม่เชื่อ….แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าหากคุณไม่เชื่อ….คุณต้องกล้าเผชิญความเสี่ยงโดยเอาชีวิตและสุขภาพของคุณเองเป็นเดิมพัน….ถูกคืออะไร ผิดคืออะไร
ไม่มีใครสามารถเป็นตัวประกันแทนตัวคุณเองได้
และในวันนี้ก็จะมีหมอผู้มีประสบการณ์ตรงออกมาเป็นพยานและแนวร่วมอีกท่านหนึ่งนอกเหนือจาก นายแพทย์ Stephen Sinatra , Julian Whitaker , Mark Hyman , Mehmet Oz ฯลฯ ที่ได้เป็นเถวหน้าออกมาช่วยกันเผยแพร่ความเป็นจริงที่สั่นสะเทือนวงการแพทย์กระแสหลักMain stream Medicine จนล้มคว่ำความหลงผิด หลงเชื่ออย่างผิดๆตลอดมากว่า60ปี
นายแพทย์ Dr. Dwight Lundell อดีตเป็นหัวหน้าทีมแพทย์ผ่าตัดที่ Banner Heart Hospital , Mesa , AZ.สหรัฐอเมริกา เป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด มากว่า25ปี เคยผ่าตัดหัวใจมามากกว่า 5,000ราย ผ่าตัดหลอดเลือดเลี่ยงหัวใจมาหลายหมื่นเส้น ประสบการณ์ขนาดนี้เราคงไม่ปฏิเสธว่าท่านมีประสบการณ์ตรงไม่ใช่นักวิจัย นักวิชาการในหอคอยงาช้างเป็นแน่
“ แต่ในวันนี้ผม (Dr. Dwight Lundell)ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และขออภัยอย่างที่สุดเพื่อออกมาสารภาพผิดกับท่านทั้งหลายว่า ความเชื่อของผมและเหล่าบรรดาแพทย์ร่วมทีมของผมเกี่ยวกับสาเหตูตลอดจนการจัดการการรักษาโรคหัวใจที่กระทำตลอดมานั้นไม่ถูกต้อง วันนี้ผมจำเป็นต้องออกมาแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้องเสียที ผมต้องยอมรับว่ากระบวนการเรียนการสอน งานวิจัย สัมมนาวิชาการ วิทยานิพนธ์สารพัดที่ผมได้ใช้เป็นแนวทางการวินิจฉัยสาเหตูโรคหัวใจและหลอดเลือด และการรักษาที่ผ่านๆมานั้นไม่ถูกต้อง !!!!!”
“ ครับเป็นเวลากว่า60ปีที่วงการแพทย์ต่างหลงเชื่อว่าสาเหตูการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นเกิดจาก คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว ดังนั้นหมอโรคหัวใจอย่างพวกผมจึงเพ่งเล็งการรักษาไปที่การทานยาลดคลอเลสโตรอลร่วมกับลดหรืองดการบริโภคไขมันอิ่มตัว แต่จากหลักฐานที่ปรากฏชัดมากขึ้นไมกี่ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อข้างต้นไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นความจริง และไม่ควรเชื่ออีกต่อไป “
“ ชัดเจนมากว่าการอักเสบภายในผนังหลอดเลือดต่างหากที่เป็นตัวการที่แท้จริงทำให้หลอดเลือดตีบตัน โรคหัวใจ โรคร้ายแรงเรื้อรังอีกสารพัด”
เอาล่ะตอนนี้ผมจะขมวดสาระสำคัญที่นายแพทย์ Dr. Dwight Lundellได้เรียบเรียงไว้ให้เข้าใจ จดจำเป็นกรอบความคิด เพื่อจะได้เผยแพร่ต่อๆกันไปได้ง่ายขึ้น
1. จากการที่วงการแพทย์มีความเชื่ออย่างผิดๆดังกล่าว มีผลให้วงการโภชนาการตลอดระยะ60ปีที่ผ่านมาเดินผิดทางไปหมด อุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการที่เดินผิดทางได้สร้างประชากรโลกที่เต็มไปด้วยโรคอ้วน เบาหวาน และโรคเซลล์เสื่อมอีกสารพัดโรค สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเศรษฐกิจอย่างไม่สามารถประเมินได้ทีเดียว นับเป็นเรื่องน่าเศร้าของมนุษยชาติ
2. ทั้งๆที่มีประชากร(โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา)ประมาณ 25%ที่ทานยาลดไขมันกลุ่ม statin ราคาแพงๆ และมีสารพัดอาหารLow fat , Fat free มีการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวกันอย่างมากมาย แต่ผลลัพธ์กลับเป็นว่า มีประชากรเสียชีวิตอันเนื่องจากโรคหัวใจภายในรอบเวลา60ปีนี้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริการายงานว่า มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 75 ล้านคน มีผู้ป่วยเบาหวานกว่า20 ล้านคน มีผู้ป่วยใกล้จะเป็นเบาหวาน (pre-diabetes)กว่า57 ล้านคน ในขณะที่มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆว่า อายุเฉลี่ยของผู้ที่เริ่มป่วยด้วยโรคเหล่านี้ล้วนมีอายูน้อยลงๆ(เป็นโรคกันตั้งแต่เด็ก ) มีคำถามตัวโตๆว่าทำไม??
3. คำตอบที่ง่ายๆสั้นๆที่สุดก็คือ หากไม่มีการอักเสบในร่างกาย ก็ไม่มีทางที่คลอเลสโตรอลจะจับเป็นตะกรันอุดตันในหลอดเลือดได้ หากไม่มีการอักเสบคลอเลสโตรอลก็จะไหลลื่นไปตามหลอดเลือดได้อย่างเสรี การอักเสบนี่แหละที่ทำให้คลอเลสโตรอลต้องกลายพันธุ์เป็นตะกรันจับยึดติดภายในหลอดเลือด !!!
4. การอักเสบไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร มันคือขบวนการปกติของร่างกายเพื่อต่อสู้รับมือกับสิ่งแปลกปลอมที่รุกรานเข้ามาในร่างกาย เช่นเชื้อโรค ไวรัส พิษต่างๆ แต่เมื่อใดก็ตามขบวนการอักเสบควบคุมผู้รุกรานไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รุกรานที่เกิดจากพิษ ร้ายในอาหารการกินที่เซลล์ของร่างกายไม่คุ้นเคย กำจัดไม่ได้ จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง(ซ้ำแล้วซ้ำเล่า) การอักเสบเรื้อรังนี่แหละคืออันตรายอย่างแท้จริง
5. พิษร้ายในอาหารการกินที่ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังมากที่สุดก็คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(polyunsaturated fats)ทีอยู่ในน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ และน้ำตาลสูงๆในแป้งขัดขาวและอาหารคาร์โบไฮเดรตทั้งหลายนั่นเอง ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ขนม ได้นำน้ำมันพืชและน้ำตาลไปปรุง เจือปน เป็นส่วนประกอบกันอย่างมโหฬาร ตลอดเวลา60ปีที่ผ่านมา
6. ท่านอาจไม่เคยเห็นสภาพผนังหลอดเลือดที่อักเสบเหมือนที่ผมเห็นและทำการผ่าตัดมาหลายหมื่นเส้นตลอด25ปีที่ผ่านมา แต่ผมพอจะเทียบเคียงง่ายๆโดยให้ท่านหาแปรงสีฟันขนแข็งๆอันหนึ่งแล้วก็ถูไปมาบนผิวนุ่มๆบริเวณท้องแขน ถูไปมาจนค่อยๆแดง เลือดซิบๆ นั่นแหละสภาพผนังหลอดเลือดที่อักเสบก็คล้ายกันคือ ช้ำๆ เลือดซิบๆ นานๆเข้า หากยังคงอัเสบต่อเนื่องเลือดก็จะมาคั่งมากขึ้นจนบวม จนเลือดอาจทะลักมาตามแผลที่แตก
7. ผนังหลอดเลือดที่อักเสบนั้นไม่ได้ถูกแปรงใดๆไปขัดถู แต่เนื่องจากร่างกายเรามีระบบควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ภายในระดับที่คงที่ ไม่เกินโควตา( ในเลือดของคนปกติไม่เป็นเบาหวานจะมีน้ำตาลลอยปนในกระแสเลือดไม่เกิน6-7 กรัมแล้วแต่ขนาดตัวและปริมาณเลือดในร่างกาย ) ทันที่ที่เราทานอาหารที่อุดมด้วยน้ำตาลปริมาณที่มากเกินโควต้า ฮอร์โมนอินซูลินจะรีบทำการขนน้ำตาลที่ทะลักเข้าสู่กระแสเลือดไปเก็บไว้ในเซลล์ก่อนที่จะแปลงสภาพเก็บในรูปของไขมัน แต่หากน้ำตาลภายในเซลล์มีพอเพียงอยู่แล้ว อินซูลินก็ต้องหาทางรีบขับหรือกำจัดออกจากร่างกายต่อไป น้ำตาลที่เป็นส่วนเกินในกระแสเลือดจะเข้าไปจับตัวกับโปรตีนหลายๆชนิดในเลือด กลายสภาพเป็นตัวทำร้ายผนังหลอดเลือดให้อักเสบ การทานน้ำตาลมากวันละหลายๆมื้อจึงเสมือนกับการเอาแปรงไปขัดถูผนังหลอดเลือดจนถลอกครั้งแล้วครั้งเล่า จนอักเสบเรื้อรังวันแล้ววันเล่า ผมอยากจะย้ำๆกับท่านว่าผมซึ่งผ่าตัดหัวใจมากว่า 5000 คน ผ่าตัดเส้นเลือดมาหลายหมื่นเส้น ภาพการอักเสบเรื้อรังในหลอดเลือดมันติดตาผมว่าไม่ได้แตกต่างจากภาพที่ท่านเห็นหลังจากเอาแปรงขนแช็งขัดถูผิวหนังนุ่มบอบางจนช้ำ จนเลือดไหลซิบๆ จนบวมปูด เลือดไหลแต่อย่างใด ต่างกันเพียงว่าน้ำตาลที่ทานเข้าไปวันละหลายๆมื้อ หลายๆปีนี่แหละเสมือนกับแปรงที่ค่อยๆขัดถูผนังหลอดเลือดจนถลอกปอกเปิก อักเสบเรื้อรัง
8. นอกจากน้ำตาลแล้วกลับมาพูดถึงน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ โดยธรรมชาติผนังหุ้มเซลล์ต่างๆของร่างกายนั้นมีส่วนประกอบหลักทำด้วยไขมันหลกหลายชนิดผสมผสานกันเพื่อให้คงความนุ่ม ยืดหยุ่น แต่คงรูป เกลือแร่สารอาหารซึมผ่านเข้าไปในเซลล์ได้เหมาะสม ขยะของเสียซึมผ่านออกจากเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสัดส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 และไขมันโอเมก้า-3 ที่ดีคือ ไม่เกิน 3: 1 แต่ผลจาการที่วงการแพทย์หลงผิดและเผยแพร่ความเชื่อว่าสาเหตูการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นเกิดจาก คลอเลสโตรอลและไขมันอิ่มตัว จนทำให้อุตสาหกรรมอาหารเกาะกระแสโปรโมทน้ำมันพืชว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัว อุดมด้วยไขมันโอเมก้า-6 บางชนิดก็โหนกระแสว่ามีไขมันโอเมก้า-3 อีกต่างหาก เลยกลายเป็นว่าทุกครัวเรือนต่างเลิกทานน้ำมันปรุงอาหารแต่ดั้งเดิมกลับมาฝากสุขภาพกับไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหลายโดยเฉพาะน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ทั้งยังแทรกซึมลงไปในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทุกแขนง เราจึงมักพบขนมขบเคี้ยวทั้งหลาย ฟาสต็ฟู๊ดทั้งหลายล้วนกระหน่ำการใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเป็นส่วนผสมและปรุง เช่นมันฝรั่งทอด กรอบที่ผ่านการทอดและชุ่มด้วยน้ำมันพืช( โดยไม่มีใครเฉียวใจเลยว่าน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเหล่านี้เปิดฝาขวดทิ้งไว้เป็นปีก็ยังไม่เหม็นหืน ???? ทั้งๆที่โดยหลักการแล้วไขมันไม่อิ่มตัวทั้งโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 นั้นจะถูกออกซิไดส์โดยออกซิเจนในอากาศได้อย่างง่ายดาย แต่ไม่เคยมีใครเฉลียวใจกับคำศัพธ์ที่ว่า” ผ่านกรรมวิธี” เลยว่าผ่านอะไรมาทำไมจึงไม่เหม็นหืน ????
9. ผลจากการที่วงการแพทย์เดินผิดทาง(ทำนองแม่ปูเดินนำลูกปู) ภาวะโภชนาการของประชากรโลกก็เลยเดินเป๋จนพิกลพิการ ในอเมริกาพบว่าอาหารการกินของประชากรขาดความสมดุลอย่างรุนแรง สัดส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 และไขมันโอเมก้า-3 กลายเป็น 15:1 จนถึงระดับวิกฤติ คือ 30:1 ผลก็คือผนังหุ้มเซลล์เสียหายอย่างรุนแรงและปลดปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า cytokines ออกมาทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและรุนแรง
10. ปํญหายิ่งหนักสาหัสขึ้น เมื่อมีภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ทานไขมันเหล่านี้ปริมาณมากเกินไป ทานน้ำตาลมาก ก็ยิ่งทำให้ปริมาณ cytokines และสารเร่งการอักเสบนานาชนิด หลั่งออกมามากเป็นทวีคูณ ตกเข้าสู่วัฏจักรเลวร้ายเต็มขั้นจนกลายไปเป็นโรคเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบตัน เส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัลไซเมอร์ ฯลฯ ผมขอย้ำว่าร่างกายมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ทนทานต่อปริมาณน้ำตาลท่วมเลือด หรือ ไขมันโอเมก้า-6 ปริมาณสูงๆจากน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีที่มนษย์ประดิ่ษฐ์ขึ้นมา ท่านทราบไหมว่าน้ำมันข้าวโพด1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6สูงถึง 7,280 mg น้ำมันถั่วเหลือง1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6สูงถึง 6,940 mg ตรงกันข้ามกับไขมันในเนื้อสัตว์ธรรมชาติซึ่งมีไขมันโอเมก้า-6ไม่เกิน20%
11. ยังคงเหลือทางรอดสำหรับประชากรโลกก็คือกลับไปสู่เมนูอาหารที่ปรุงสด ผ่านกรรมวิธีผ่านการแปรรูป ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัดน้ำตาลและความหวานทั้งหลาย ตัดน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี( ผ่านกรรมวิธีอะไรเป็นปีๆจึงไม่เหม็นหืน???) ออกไปเสียจากวงจรอาหารในชีวิตประจำวัน
12. นับจากนี้ไป คำว่าคาร์โบไฮเดรตนั้นหมายถึงให้ทานแต่คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่เมื่อย่อยในร่างกายแล้วค่อยๆกลายเป็นน้ำตาลอย่างช้าๆ ไม่ท่วมเลือดทันที เช่นถั่ว ธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ ไม่ใช่แป้งขัดขาว ไม่ใช่น้ำตาลทราย ทานโปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หากต้องการใช้น้ำมันปรุงอาหารให้คิดถึงน้ำมันมะกอก
13. ถ่ายถอน โล๊ะทิ้งสารพัดข้อมูลซึ่งท่วมทับเราที่ผ่านๆว่า “ ไขมันอิ่มตัวทำให้เป็นโรคหัวใจ” “ ไขมันอิ่มตัวทำให้ระดับคลอเลสโตรอลในเลือดสูงขึ้น” เหล่านี้เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปแล้ว ถึงเวลาที่วงการแพทย์ต้องออกมาแสดงความรับผิด ในความผิดพลาดเหล่านี้ จนทำให้ไขมันอิ่มตัวกลายเป็นผู้ร้ายแต่ทำให้ไขมันโอเมก้า-6กลายเป็นพระเอก จนทำให้โรดร้ายแรงทั้งหลายแพร่ระบาดไปทั้งโลกทั่งๆที่ไม่ใช่โรคติดต่อ !!!!
เขียนโดย นายแพทย์ Dr. Dwight Lundell
แปลเรียบเรียงโดย Wellness 2012ดูเพิ่มเติม
วันที่: Fri Nov 15 18:49:18 ICT 2024
|
|
|