*** กลอนหวานผ่านใจ ***
"อีกนานมั๊ย?.."
....เเค่ความเหงา หนาวมา ไม่ช้าหาย
เดี๋ยวก็คลาย กายที่สั่น มันก็ถอน
เพียงเเต่ว่า ระวังไว้ อย่าให้คลอน
รู้ว่าร้อน หรือเย็นหนาว เดี๋ยวเจ้าไป
....เเต่ความเศร้า เงาที่ทาบ อาบมิดร่าง
เมื่อไหร่จาง? เลี่ยงหลีกหลบ พบฟ้าใส
ชีวิตนี้ อยู่เพื่อขอ หรือรอใคร?
นานเเค่ไหน? มีคู่กอด ตลอดกาล....
********************************
****************************************************************
รังนกมีประโยชน์จริงหรือ?..
รังนก
ชาวจีนแต่โบราณถือว่ารังนกเป็นอาหารบำรุงชั้นเยี่ยม มีสรรพคุณในการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงปอด บรรเทาอาการไอเรื้อรัง และช่วยฟื้นฟูร่างกายในระยะพักฟื้น อีกทั้งช่วยบำรุงสุขภาพเด็กที่ร่างกายไม่แข็งแรง หนังสือ “สืออู้ยี่จี้” กล่าวถึงสรรรพคุณในรังนกไว้ว่า “ช่วยเสริมพลัง กระตุ้นความอยากอาหาร บำรุงไขกระดูก ให้ความชุ่มชื้นกับปอด รักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง ละลายเสมหะ” (Ref: หมอชาวบ้าน ฉบับที่ 389: 12)
จุดเริ่มต้นของรังนกสามารถสืบย้อนไปได้หลายพันปีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง รังนกถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่า มีคำเรียกว่า ‘Guan Yan’ ที่แสดงถึงคุณค่าของรังนก ที่มักใช้มอบเป็นของขวัญให้กับเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการระดับสูง นอกจากนี้แพทย์หลวงก็มักนำรังนกมาปรุงเป็นโอสถบำรุงกำลังถวายแด่องค์จักรพรรดิอีกด้วย ตามแพทย์แผนจีนจัดรังนกมีฤทธิ์ไม่ร้อน ค่อนไปทางเย็น มีฤทธิ์กลางๆ รสหวาน เข้าเส้นลมปราณ ปอด ม้าม ไต มีสรรพคุณทั้งบำรุงพลังและขับระบายความร้อน ค่อนไปทางบำรุงหยินทำให้ภายในไม่แห้ง เกิดความชุ่มชื้น บำรุงพลังไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากทางแพทย์แผนจีนใช้การวิเคราะห์ร่างกายของผู้รักษาเป็นสำคัญ เพื่อปรับสมดุลตามอาการที่แสดงออกของแต่ละคน จึงอาจมีการจัดยาและอาหารบำรุงต่างกันไปไม่เป็นสูตรตายตัว (Ref: หมอชาวบ้าน ฉบับที่ 389: 14)
รู้จักนกแอ่นกินรัง นกแอ่นกินรังอยู่ในกลุ่มนกแอ่นสวิฟต์เลต (Swiftlet) ซึ่งเป็นกลุ่มนกแอ่นที่ทำรังด้วยน้ำลายซึ่งนำรังมากินได้ มีอายุประมาณ 6 - 7 ปี เป็นนกขนาดเล็ก หลังสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ปีกและหางดำ หางเป็นแฉกเล็กน้อย ขาและเท้าเล็ก เล็บยาวและโค้งงอ นิ้วเท้าทั้งสี่เรียงอยู่ด้านหน้าเพื่อใช้สำหรับเกาะเกี่ยวผนังถ้ำหรือขอบรัง นกแอ่นกินรังเป็นนกประจำถิ่นที่มีอยู่เฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย เรื่อยมาทางอ่าวเบงกอล พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์ เป็นนกที่อยู่รวมกันเป็นฝูง มักอาศัยอยู่ตามถ้ำหินปูนบนเกาะกลางทะเล โดยออกหากินตอนกลางวัน เมื่อบินออกจากถ้ำแล้วจะไม่เกาะที่ใดเลยตลอดทั้งวันจนกว่าจะกลับเข้าถ้ำในเวลากลางคืน
สัมปทานรังนก ประเทศไทยมีระบบสัมปทานรังนกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณการเก็บรังนก ซึ่งช่วยอนุรักษ์พันธุ์นกแอ่นกินรังให้อยู่รอดปลอดภัยตลอดมา ปัจจุบันรัฐบาลกำหนดให้เก็บรังนกได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง ผู้รับสัมปทานจะต้องจัดการเก็บรังให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตของนก คือ เก็บรังก่อนที่นกจะวางไข่ โดยเก็บครั้งแรกในเดือนมีนาคม ครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคม จากนั้นปล่อยให้นกทำรังและวางไข่ จนกระทั่งลูกนกฟักออกมาและเติบโตแล้ว จึงเข้าเก็บรังครั้งสุดท้ายในเดือนสิงหาคม และไม่เข้าไปในถ้ำอีกจนกว่าจะถึงฤดูกาลเก็บรังนกปีต่อไป
ประเภทของรังนก
1. รังแรก – รังนกที่เก็บในช่วงเดือนมีนาคมเป็นรังที่นกที่ทำครั้งแรกในปีนั้นๆ จึงเป็นรังที่สมบูรณ์ที่สุดคือ มีเส้นยาว ขาว สะอาด และมีขนาดใหญ่ ถือเป็นรังที่มีคุณภาพดีที่สุด
2. รังนกกลายเป็นหิน – เมื่อลูกนกเติบโตเต็มที่แล้วนกจะไม่ใช้รังอีก รังนกที่ถูกทิ้งไว้กับผนังถ้ำจะมีแร่ธาตุมาเกาะพอกพูนจนกลายเป็นหิน ทำให้นกเสียพื้นที่ทำรังในฤดูผสมพันธุ์ครั้งใหม่ การเก็บรังนกจึงถือเป็นการช่วยเปิดพื้นที่ให้นกได้ทำรังใหม่ได้สะดวกขึ้นตามวงจรชีวิตในธรรมชาติ
3. รังนกแดง – สีแดงของรังนกแดงไม่ได้เกิดจากเลือดนกปะปนออกมากับน้ำลายตามความเชื่อผิดๆของคนบางกลุ่ม แต่เกิดจากออกไซด์ของของธาตุเหล็กหรือแร่ธาตุอื่นๆ จากผนังถ้ำที่แทรกซึมเข้ามาผสมผสานกับเนื้อรังนก
4. รังนกเนื้อทอง – รังนกสีทองอร่าม เกิดขึ้นเฉพาะในถ้ำธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ ท่ามกลางธรรมชาติที่บริสุทธิ์สะอาด ซึ่งพบเพียงบางถ้ำเท่านั้น จึงเป็นของหายากมีจำนวนจำกัด ถือเป็นรังนกที่มีคุณค่าสูงกว่ารังนกทั่วไป
5. รังนกบ้าน – ปัจจุบันมีการสร้างบ้านให้นกมาทำรังอยู่ในเมืองหรือชุมชนหลายแห่ง รังนกบ้านเหล่านี้จะมีเส้นเล็ก สั้น และคุณภาพหลายประการด้อยกว่ารังนกถ้ำ เนื่องจากไม่มีแร่ธาตุจากถ้ำ และนกที่ทำรังก็ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่จะเอื้ออำนวยให้ผลิตรังที่มีคุณภาพได้
6. รังนกปลอม – เนื่องจากรังนกมีราคาสูง จึงมีคนพยายามลอกเลียนแบบทำสินค้าให้มีรูปร่างคล้ายรังนก ซึ่งอาจทำจากวุ้นสาหร่าย เห็ดหูหนูขาว แป้ง ถั่ว ในปัจจุบันมีผู้ผลิตรังนกปลอมที่ทำจากยางคารายา (Karaya gum) ซึ่งได้จากไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายรังนกจนไม่อาจแยกออกได้ด้วยตาเปล่า แต่ไม่มีคุณค่าสารอาหารใดๆ และหากบริโภคมากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย
ประโยชน์ของรังนก จากความเชื่อในอดีตของชาวจีนที่เชื่อว่ารังนกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงปอด ปัจจุบันได้มีการศึกษาถึงองค์ประกอบของรังนกแล้วพบว่ารังนก มีองค์ประกอบหลักคือไกลโคโปรตีน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ โดยช่วยเพิ่มการทำงานของเซลเม็ดเลือดขาว ที่ชื่อ Monocyte ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ Kong Y.C. et al.(1986) คณะนักวิจัยจาก ประเทศญี่ปุ่น ได้พิสูจน์ และค้นพบกลไกการเสริมภูมิคุ้มกันของรังนก
โดยนักวิจัยได้เตรียมตัวอย่างรังนก โดยเลียนแบบกระบวนการผลิต และการย่อยอาหารของมนุษย์ ก่อนจะนำตัวอย่างที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพ นักวิจัยพบว่ารังนกมีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อไวรัส โดยไกลโคโปรตีนที่มีในรังนกจะไปจับเชื้อไวรัส และยับยั้งการเกิด hemagglutination ที่จำเป็นในการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส โดยนักวิจัยได้ทดสอบประสิทธิผลดังกล่าว และพบว่ารังนก ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้หลายชนิด ทั้งไวรัสที่มีในคน เป็ด และหมู ท้ายสุดผู้วิจัยได้สรุปผลว่า รังนกเป็นอาหารที่ปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ Guo CT et al.(2006) ต่อเนื่องจากการศึกษาที่พบว่า สารสกัดจากรังนกมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจาก O- or N-glycoconjugates การศึกษาในระดับโมเลกุลพบว่า ไกลโคโปรตีนที่ผลิตจากต่อมน้ำลายของนกแอ่นกินรังนี้ มีโครงสร้างคือ N-glycosylation มี 2,3-N-acetylneuraminic acid เป็นส่วนประกอบหลัก เป็นตัวทำให้เกิดผลในการต้านไวรัสดังกล่าวได้ Hirokazu Yagi, et al.(2008)
นอกจากนี้รังนกยังประกอบด้วย Epidermal Growth Factor (EGF) ซึ่งมีองค์ประกอบเหมือนกับ EGF ที่มีอยู่ในคน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นนอกสุด และเยื่อบุต่างๆ Kong et al. (1987) นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่า EGF ช่วยกระตุ้นให้เซลเม็ดเลือดขาว ชื่อ Leucocyte ที่ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ Kong et al. (1989)
• Kong Y.C. et al. Potentiation of mitogenic response by extract of the swiftlets's (Collocalia) nest. Biochem Intern 1986;13:521-531
• Hirokazu Yagi, et al. The expression of sialylated high-antennary N-glycans in edible bird’s nest. Carbohydrate Research. 2008; 343: 1373–1377.
• Guo CT et al. Edible bird's nest extract inhibits influenza virus infection. Antiviral Res. 2006 ; 70(3):140-6.
• Kong Y.C. et al. Evidence that Epidermal Growth Factor is present in swiflet's (Collocalia) nest. Comp. Biochem. Physiol 1987;87B(2):221-226
• Kong Y.C., Tsao S.W., Song M.E. and Ng M.H. Potentiated of mitogenic response by extracts of the swiftlet's (Apus) nest collected from Huai-Ji. Acta Zoologica Sinica. 1989; 35: 429-35
ที่มารูปภาพ th.wikipedia.org/
เมื่อปีค.ศ.2006 ราคารังนกนางแอ่นที่รับประทานได้ชนิดสีขาวซึ่งผู้ผลิตฟาร์มรังนกนำออกขายในประเทศมาเลเซีย มีราคาประมาณกิโลกรัมละ4,300ถึง6,500 เหรียญริงกิต (~RM$) ขึ้นอยู่กับคุณภาพของรังนก
ปีค.ศ.2010
ราคาทองคำ (gold) 1,118,421 บาทต่อกิโลกรัม (1บาท=17,000บาท)
ราคารังนก 50,000-150,000 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากทองคำแล้วราคารังนกนางแอ่นสีขาวที่ยังไม่ผ่านกรรมวิธีก็ยังมีราคาแพงกว่าโลหะสำคัญๆอีกมากมายในโลกใบนี้
จำนวนตัวเลขฟาร์มรังนกนางแอ่นทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน
ในปัจจุบันที่ประเทศอินโดนีเซียมีฟาร์มนกนางแอ่นที่เปิดดำเนินการอยู่ประมาณ 150,000 แห่งที่ประเทศไทยปัจจุบันมีฟาร์มรังนกนางแอ่นที่เปิดดำเนินการอยู่ประมาณ 60,000ถึง70,00 แห่ง
ที่ประเทศมาเลเซียปัจจุบันมีฟาร์มนกนางแอ่นที่เปิดดำเนินการอยู่ประมาณ 25,000ถึง 35,000 แห่งหาดูได้จากบทความในเว็บที่มีฟาร์มรังนกแอ่นอยู่แล้วตามเมืองหลักๆ ในประเทศมาเลเซียแสดงไว้ที่
http://swallow-nest.com/article/2006/08/24/swiftlet-population-in-asia
ที่ประเทศเวียตนามปัจจุบันมีฟาร์มรังนกเปิดดำเนินการอยู่ประมาณ 3,000ถึง 5,000 แห่ง
สมุนไพรไทย...สู้ไข้หวัด |
โดย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 038-511189, 038-814337 ต่อ 114, 124 |
ตัวอย่างสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณในการป้องกันและบรรเทาอาการหวัด มีดังนี้ ( download แผ่นพับ คลิกที่นี่) |
- กระเทียม (Allium Sativum)
|
- กะเพรา (Ocimum Sanctum)
ส่วนที่ใช้ : ใบ และยอด ทั้งสดและแห้ง ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัม ชงน้ำดื่ม รับประทานแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียดและปวดท้อง แก้ไอและขับเหงื่อ ลดไข้ได้
|
- ขิง (Zingiber Officinale)
|
- ฟ้าทะลายโจร (Andrographis Paniculata)
|
- บอระเพ็ด (Tinospora crispa)
ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล และเถาสด นิยมใช้เถาแก่สด หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการไข้ ตัวร้อน |
- ตะไคร้ (Cymbopogon Citratus)
ส่วนที่ใช้ : ใช้ตะไคร้ 3-4 ต้น และน้ำ 1 ลิตร เริ่มจากต้มน้ำให้เดือด บุบตะไคร้ใส่ลงไป ปิดฝาหม้อ ต้มประมาณ 5 นาที แล้วยกลง จิบบ่อยๆ แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ |
- แคดอกขาว แคดอกแดง (Sesbania Grandiflora )
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ดอก ใบสด และยอดอ่อน โดยนำใบสดมาต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ หรือใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะ อาจใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูสับหรือทำแกงส้ม รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะช่วย ลดความร้อน ลดไข้ได้ |
- หนุมานประสานกาย (Schefflera Leucantha) |
- มะขามป้อม (Phyllanthus Emblica)
ส่วนที่ใช้ : ผลโตเต็มที่ รับประทานเป็นผลไม้ ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ นอกจากนี้ ถ้านำผลแห้งมาต้มดื่มน้ำ จะช่วยแก้ไข้ได้ด้วย |
- กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus Sabdariffa)
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ใช้เป็นยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ |
- มะรุม (Moringa Oleifera)
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก นิยมใช้ฝักปรุงเป็นอาหารรับประทาน ช่วย ลดความร้อน ลดไข้ได้ |
- เพกา (Oroxylum Indicum)
ส่วนที่ใช้ : ฝักอ่อน รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับลม บำรุงธาตุ เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ เปลือกต้น มีรสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยากัดเสมหะ ช่วยขับเสมหะได้ |
- สะเดา (Azadirachta Indica) ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใช้แก้ไข้ เจริญอาหาร รากใช้ แก้เสมหะ ขับเสมหะ เปลือกรากและก้านใบ ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ เป็นยาขมเจริญอาหาร นิยมใช้ช่อดอก ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
|
- พลูคาว (Houttuynia Cordata) สมุนไพรพลูคาวช่วยบำบัด อาการไอ จาม อักเสบ หอบหืด โรคหวัดเรื้อรัง สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสบางชนิด (Poliovirus, Coxsackievirus)โดยนำใบมาต้ม แล้วคั้นดื่มน้ำ |
ผู้ชายพายเรือแล้วเหตุใดผู้หญิงต้องยิงเรือ
ศุภกร เลิศอมรมีสุข
หลายๆ คนคงเคยได้ยินสำนวน “ผู้ชายพายเรือ” และ “ผู้หญิงยิงเรือ” ซึ่งในปัจจุบันหมายความว่า “ผู้ชายทั่วไป” และ “ผู้หญิงทั่วไป” ปัจจุบันนี้เราพูดสำนวนทั้งสองนี้แยกกันแต่ทราบหรือไม่ว่าในอดีตสองสำนวนนี้เป็นสำนวนเดียวกันคือ “ผู้ชายพายเรือ ผู้หญิงยิงเรือ” หรือ “ผู้ชายรายเรือ ผู้หญิงริงเรือ” หลายๆ คนคงมีความสงสัยเหมือนผู้เขียนว่าเหตุใดในเมื่อผู้ชายพายเรือแล้วผู้หญิงต้องมายิงเรือ
จากการเรียนวิชาสัมนาภาษาไทยปัจจุบันของผู้เขียนทำให้ผู้เขียนได้คำตอบของที่มาของสำนวนดังกล่าวโดยอาจารย์ของผู้เขียนได้ให้อ่านบทความเรื่อง “ผู้ชายพายเรือ-ผู้หญิงยิงเรือ” ซึ่งเขียนโดยอาจารย์มัณฑนา เกียรติพงษ์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งท่านได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับที่มาของสำนวนนี้ไว้อย่างน่าสนใจ จึงขอสรุปความของบทความดังกล่าวมาเผยแพร่ให้ทุกๆ คนได้อ่านไว้เป็นความรู้
สำนวนนี้พบครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์โดยปรากฏในวรรณคดีเรื่องต่างๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้
รามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
“เหวายมนุษย์องอาจประหลาดเหลือ พาผู้หญิงริงเรือมาแต่ไหน
ทำฮึกฮักข่มเหงไม่เกรงใจ เข้าหักโค้นต้นไม้ในอุทยาน”
ไชยเชษฐ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
“เอออะไรไม่พอที่พอทาง มึงช่างชั่วชาติประหลาดเหลือ
ไม่รู้เท่าผู้หญิงริงเรือ ซานซมงมเชื่อนางเมียงาม”
พระอภัยมณี ของสุนทรภู่
“เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง อย่ายักเยื้องเกี้ยวพานะหลานขวัญ
ล้วนนางในไม่ชั่วตัวสำคัญ จะเสียสันเสียเปล่าไม่เข้าการ”
กลอนเสภาขุนช้างขุนแผน
“ฝ่ายข้างพวกผู้หญิงริงเรือ บ่นว่าเบื่อรบพุ่งยุ่งหนักหนา
ให้เสียวไส้ไม่ดูได้เต็มตา เวทนาแต่เจ้าพลายชุมพล”
ฯลฯ
“ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป จะดูเล่นหรือไรไฉนนี่
ช่างกระไรรั้ววังดังไม่มี อีพวกนนี้น่าเฆี่ยนให้เจียนตาย”
จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่าในอดีตเราไม่พูดว่า “ผู้หญิงยิงเรือ” แต่เราพูด “ผู้หญิงริงเรือ” ดังนั้นจึงทำให้สรุปว่า สำนวนผู้หญิงยิงเรือนั้นไม่ได้หมายความถึงผู้หญิงคอยดักยิงเรือของผู้ชายเป็นแน่นอนแต่เป็นเรื่องของการเพี้ยนเสียงคำว่า “ริง” มาเป็น “ยิง” ในปัจจุบัน แล้วถ้าเป็นเรื่องของการเพี้ยนเสียงดังนี้แล้ว “ผู้หญิงริงเรือ” จะหมายความว่าอย่างไร
เรามีสำนวนไทยที่เกี่ยวกับ “เรือ” อยู่อีกสำนวนหนึ่งคือ “ลงเรือลำเดียวกัน” และสำนวนที่เกี่ยวกับการเดินทางทางเรือคือ “ล่มหัวจมท้าย” (โปรดสังเกตว่าสำนวนนี้ปัจจุบันเราก็เพี้ยนเป็น “ร่วมหัวจมท้าย” เสียแล้ว-ผู้เขียน) ซึ่งใช้เปรียบเทียบหรือสั่งสอนว่าเมื่อแต่งงานกันก็เปรียบเสมือน ลงเรือลำเดียวกันจะสุขหรือทุกข์ก็ร่วมกัน ถ้าคนใดคนหนึ่งทำไม่ดีก็จพาอีกคนล่มจมตามไป เหมือนหัวเรือล่มไปแล้วท้ายเรือก็ต้องจมตามหัวเรือไปเป็นธรรมดา
ในเมื่อชายหญิงลงเรือลำเดียวกันแล้ว การจะพานาวาชีวิตไปถึงฝั่งใครเล่าเป็นผู้นำไปก็ต้องผู้ชายซึ่งในสังคมโบราณถือว่าเป็น “ช้างเท้าหน้า” จึงต้องทำหน้าที่ “พายเรือ” นำเรือชีวิตไปให้ตลอดรอดฝั่ง แล้วผู้หญิงล่ะจะทำหน้าที่อะไร หญิงไทยโบราณได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นกุลสตรี เป็นแม่บ้านแม่เรือน มีหน้าที่ดูแลรักษาบ้านช่องให้ทุกคนในบ้านมีความสุข
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผูหญิงมีหน้าที่ “ดูแล” บ้านเรือน มีคำศัพท์คำว่า “หลิง” ซึ่งแปลว่า ดู เล็ง (ยังไม่สามารถหาหลักฐาน ที่มาของคำว่า หลิง ที่แปลว่าดูได้ว่ามาจากภาษาใด- ผู้เขียน) จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่า “ผู้หญิงริงเรือ” มาจาก “ผู้หญิงหลิงเรือ” ซึ่งแปลว่าผู้หญิงดูเรือ นั่นเอง
ดังนั้นสำนวน “ผู้ชายพายเรือ ผู้หญิงริงเรือ” อาจารย์มัณฑนาจึงสรุปว่าเป็นการกำหนดหน้าที่ของสามีภรรยาซึ่งลงเรือลำเดียวกันว่าให้ฝ่ายชายเป็นผู้ออกแรงพายเรือ ซึ่งหมายถึงการทำมาหากินประกอบอาชีพ ส่วนฝ่ายหญิงก็มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเรือ หรือดูแลทุกข์สุขของครอบครัว
ความเห็นดังกล่าวของอาจารย์มัณฑนาข้างต้นก็ยังไม่เป็นข้อยุติถึงที่มาของสำนวน “ผู้ชายรายเรือ ผู้หญิงริงเรือ” หรือ “ผู้ชายพายเรือ ผู้หญิงยิงเรือ” แต่ที่สรุปได้ชัดเจนก็คือสำนวน “ผู้หญิงยิงเรือ” นั้นเพี้ยนมาจาก “ผู้หญิงริงเรือ” แน่นอน จึงทำให้คิดต่อไปได้ว่าถ้าเช่นนั้น ผู้ชายพายเรือจะเป็นสำนวนที่เพี้ยนมาจาก “ผู้ชายรายเรือ” ด้วยหรือไม่ เพราะสำนวนไทยมีลักษณะเป็นคำชุดคล้องจองกัน ถ้าเช่นนั้นก็เป็นที่น่าศึกษา ค้นคว้ากันต่อไปว่าแล้ว “ผู้ชายรายเรือ” นั้นแปลว่าอะไร ถ้าทราบความหมายของผู้ชายรายเรือก็น่าจะเป็นกุญแจไขไปสู่ที่มาและความหมายที่แท้จริงของ “ผู้หญิงริงเรือ” ได้
ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องสำนวนไทยจึ่งขอยกตัวอย่างสำนวนที่ไม่ค่อยคุ้นหูในปัจจุบัน และสำนวนที่มักมีผู้ใช้หรือพูดกันผิดๆ ไว้ให้ได้สังเกตกัน โดยผู้เขียนนำข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากบทออกอากาศทางสถานีวิทยุการศึกษา และบทความที่อาจารย์ของผู้เขียนนำมาให้อ่านในชั้นเรียนซึ่งบางส่วนไม่ได้ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไว้ ทำให้ไม่สามารถระบุการอ้างอิงในบรรณานุกรมได้ครบถ้วน
ได้แกงเทน้ำพริก หมายถึง ได้ใหม่ลืมเก่า
เงื้อง่าราคาแพง หมายถึง ทำอะไรไม่กล้าตัดสินใจลงไป ตีแต่วางท่าหรือทำ
ท่าว่าจะทำเท่านั้น
ไฟสุมขอน หมายถึง อารมณ์ที่คุกรุ่นอยู่ในใจ
ซื้อวัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว,
ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ หมายถึง ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลาย่อมได้ของ
แพง ทำอะไรไม่เหมาะสมกับ กาลเวลา
ย่อมได้รับความเดือดร้อน
เถรส่องบาตร หมายถึง คนที่ทำอะไรตามเขา ทั้งๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว
กินแกลบกินรำ หมายถึง คนโง่ เช่น ฉันไม่ใช่พวกกินแกลบกินรำอย่ามาหลอกเสียให้ยาก ปัจจุบันสำนวนนี้ดูจะตัดสั้นลงเหลือแต่เพียง “กินแกลบ” และความหมายก็ผิดเพี้ยนไปกลายเป็น อดอยาก ไม่มีจะกินกิน ไปเสีย เช่น เพิ่งต้นเดือนเงินเดือนก็หมดแล้วคงต้องกินแกลบไปทั้งเดือน
กงเกวียนกำเกวียน มักพูดกันเป็น กงกำกงเกวียน บางคนเขียนเป็น กงกรรมกงเกวียน เสียด้วยซ้ำ สำนวนนี้แปลว่าทำกรรมเช่นใดย่อมได้รับผลกรรมนั้นตอบสนอง มีที่มาจากล้อของเกวียนที่ประกอบด้วย กง คือ วงล้อที่อยู่ด้านนอก และ กำ คือ ซี่ล้อ เมื่อกงหมุนไปที่ใด เปรียบกับคนที่ทำกรรมอะไรไว้ ซี่ล้อหรือกำซึ่งเปรียบกับผลกรรมหรือผลแห่งการกระทำก็จะหมุนตามกงหรือการกระทำนั้นไปเสมอ
ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ที่แปลว่าค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล ปัจจุบันมักเหลือพร้าแค่เล่มเดียว เป็นช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม
สองแง่สองง่าม บางคนพูดเป็น สองแง่สามง่าม ซึ่งไม่ถูก ของเดิมมีแค่สองเท่านั้น
ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คนสมัยนี้แลดูจะ ”โลภ” มากขึ้นยิงปืนนัดเดียวแต่หวังนกหลายตัว ขอให้จำไว้ว่าแต่เดิมยิงปืนนัดเดียวหวังได้นกเพียงหนึ่ง ถ้าโชคดีได้นกเพิ่มมาอีกตัวเป็นสองตัวก็นับว่าโชคดีแล้ว
ไก่เห็นนมไก่ งูเห็นตีนงู แปลว่าผู้ที่เป็นพวกเดียวกันย่อมมองเห็นเล่ห์เพทุบายหรือเข้าใจในการปฏิบัติของกันและกันได้ดี แต่ปัจจุบันเรามักพูดสำนวนนี้ ”ผิดเพี้ยน สลับกัน” เป็น “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่” ความหมายก็เพี้ยนไปจากเดิมคือกลายเป็น ต่างฝ่ายต่างล่วงรู้ความรับของอีกฝ่ายไปเสีย
เพื่อยืนยันความถูกต้องของสำนวน “ไก่เห็นนมไก่ งูเห็นตีนงู” จึงขอยกโคลงโลกนิติ พระนิพน์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ความว่า
“ตีนงูงูไซร้หาก เห็นกัน
นมไก่ไก่สำคัญ ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจรหัน เห็นเล่ห์ กันนา
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้ ต่างรู้เชิงกัน”
ขายผ้าเอาหน้ารอด แปลว่ายอมสละแม้ของที่จำเป็นเพื่อรักษาชื่อเสียงที่มีอยู่ คนปัจจุบันแค่ขายผ้าคงไม่หนำใจหรือคงไม่พอจะรักษาชื่อเสียงที่มีอยู่เลยต้องถึงกับ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด” เลยทีเดียว มิหนำซ้ำความหมายก็ดูจะ “ผิดเพี้ยน” ไปคือหมายถึงทำสิ่งใดพอให้พ้นตัวไป
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน หมายความว่า จะทำอะไรให้ใครต้องถามความพอใจของผู้ได้รับ เหมือนปลูกบ้านเรือนก็ต้องถามความพอใจของผู้อยู่อาศัย ผูกอู่ หรือผูกเปล ก็ต้องถามผู้นอนว่าพอใจหรือยัง คนในปัจจุบันคงไม่ค่อยได้นอนเปลแล้วจึงไม่ค่อยรู้จักกริยา ผูก มิหนำซ้ำยังไม่รู้ด้วยว่า อู่ แปลว่า เปล รู้จักก็แต่อู่รถ จึงหันไป “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน” กันเป็นแถว สงสัยคนปัจจุบันคงจะย้ายที่นอนไปนอนในอู่รถด้วย
ตื่นก่อนไก่, หัวไก่โห่ ปัจจุบันเรามักพูด ”ผิดเพี้ยน” โดยเอาสองสำนวนนี้มารวมกันเป็น “ตื่นแต่ไก่โห่”
ไม่แน่ไม่แช่แป้ง หมายถึงถ้าไม่มั่นใจย่อมไม่ลงมือกระทำ สำนวนนี้เกี่ยวข้องกับการทำอาหารขนมโบราณซึ่งมีแป้ง กะทิ และน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และการที่จะแปรรูปข้าวให้เป็นแป้งก็ต้องเอาข้าวสารมาแช่น้ำแล้วจึงนำมาโม่ให้เป็นแป้งสำหรับเป็นวัตถุดิบในการทำขนม หากแช่ข้าวสารแล้วไม่โม่ข้าวนั้นก็จะเสียไปไม่สามารถนำมาหุงได้เนื่องจากข้าวสารจะบานหมด ปัจจุบันเราก็มักพูดเพี้ยนไปเป็น “แน่เหมือนแช่แป้ง” ซึ่งไม่สื่อความหมายเอาเสียเลยว่าการแช่แป้งนี่แสดงความแน่นอนอย่างไร
จากตัวอย่างการใช้สำนวนผิดข้างต้นอาจจะเพราะความไม่รู้ และความไม่เข้าใจสังคมตลอดจนวัฒนธรรมโบราณ อีกทั้งสังคมปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก หลายๆ สิ่งก็เปลี่ยนไป เลือนหายไป คนปัจจุบันที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นสังคมวัฒนธรรมโบราณจึงดัดแปลงสำนวนที่มีมาซึ่งฟังแล้วไม่เห็นภาพ ไม่เข้าใจ ไปตามความรู้สึกส่วนตัว
เจตนาที่ยกเอาสำนวนต่างๆ เหล่านี้มากล่าวไม่ได้ต้องการ “จับผิด” หรือว่าไม่ควรจะคิดสำนวนใหม่ๆ ใช้ในภาษาไทย อันที่จริงการคิดสำนวนใหม่ใช้ในภาษาเป็นสิ่งที่ดีแสดงให้เห็นความงอกงามของภาษา แต่ในเมื่อเรามีสำนวนที่เป็นของเก่าใช้สื่อความกันมาก่อนอยู่แล้วก็ควรจะช่วยกันรักษาไว้เป็นมรดกทางภูมิปัญญา ไม่จะควรทำลายให้มรดกที่ได้รับสืบทอดนี้สูญหายไป
บรรณานุกรม
จิตรลดา สุวัตถิกุล และ วัลยา ช้างขวัญยืน. บทวิทยุออกอากาศรายการ “อยู่อย่างไทย” ครั้งที่ ๒ ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
เดชาดิศร, สมเด็จฯ กรมพระยา. โคลงโลกนิติ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๐๘
ปรีชา ช้างขวัญยืน. “สำนวนไทยใช้ผิดกันมากขึ้น”
มัณฑนา เกียรติพงษ์. บทวิทยุออกอากาศรายการ “มนุษย์” ทางสถานีวิทยุสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ราชบัณฑิตยสถาน. ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาย, ๒๕๕๑.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ภาษาไทย ๔. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๖
'เสี่ยอ่าง'ป้อง'เทพเทือก' แฉ'จูดี้'เซ็นเริ่มสัญญา! ทั้งสตช.ขยายเวลา3หน งง..ไม่สอบ'พี่อ้อ-บิ๊กอู๋'
"เสี่ยอ่าง" โดดป้อง "เทพเทือก" แฉคนเซ็นเริ่มต้นสัญญาสร้างโรงพัก-แฟลตตร.คือ "พงศพัศ" ในยุคเป็นผู้ช่วยผบ.ตร. ข้องใจ "ดีเอสไอ" ไม่เรียก "พี่ชายอ้อ-บิ๊กอู๋" ไปสอบด้วย เพราะมีการแอบขยายเวลาให้ผู้รับเหมาถึง 3 หน ทำให้ไม่ต้องเสียค่าปรับรวม 900 ล. ถามกลับเอื้อปย.ให้ใครหรือไม่
กรณีโครงการก่อสร้างอาคารสถานีตำรวจ 396 แห่ง และอาคารที่พักอาศัย ที่กำลังเป็นปัญหา และรัฐบาลหยิบยกขึ้นมาโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่เคยกำกับดูแลงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ทำให้นายสุเทพ ต้องเปิดแถลงข่าวชี้แจงรายละเอียดในช่วงเช้าวันนี้ (7 ก.พ.) นั้น
ล่าสุดนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย เปิดเผยว่า ตนเป็นผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจ เปิดประเด็นในเรื่องนี้ แต่กลับถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางการเมืองเพื่อทำร้ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะหากจะอ้างว่า "สัญญาผิด" ต้องถามว่า "คนเริ่มต้นสัญญาเป็นใคร" เนื่องจากตนมีเอกสารร่างขอบเขตของงานโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ(ทดแทน) หรือ "ทีโออาร์" ซึ่งผู้ลงนามคือพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ในขณะดำรงตำแหน่ง "ผู้ช่วยผบ.ตร. (บร.11)" ซึ่งเป็นประธานกรรมการ ดังนั้นหากจะเปรียบกับการสร้างบ้าน ถ้าอ้างว่าผิดแบบ ก็ต้องดูว่าใครเป็นผู้ร่างแบบก่อสร้าง
"แต่ที่น่าแปลกคือกลับพาดพิงไปถึงอดีตผบ.ตร. 3 คน เพื่อเรียกไปสอบสวน แต่ไม่เรียกพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผบ.ตร. และพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.คนปัจจุบัน ไปชี้แจงด้วย ไม่ใช่เรียกแค่นายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์กับอดีตผบ.ตร.3 คนเท่านั้น จึงเห็นด้วยที่นายสุเทพจะดำเนินคดีกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพราะหากนายสุเทพกับนายอภิสิทธิ์ถูกหมากัด ก็ต้องดำเนินคดี"นายชูวิทย์กล่าวและว่า อยากเสนอให้ดีเอสไอ เรียกตนไปชี้แจงด้วย เพราะมีข้อมูลในเรื่องนี้ แต่ขอสรุปตรงนี้ว่า เรื่องนี้สุดท้ายจะไม่สามารถเอาผิดใครได้
นายชูวิทย์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศร่วม 2 ปี รวมเวลากว่า 600 วัน แต่กลับไม่บริหารให้เป็นไปตามสัญญา จนเกิดความเสียหายขึ้น ทั้งที่มีรายงานจากผู้กำกับโรงพักทั่วประเทศรายงานตามลำดับขั้น จนถึงผบ.ตร.ทุกเดือน เพื่อแจ้งให้ทราบถึงปัญหาการทิ้งงาน แต่กลับไม่ดำเนินการใด ๆ ที่สำคัญเมื่อบอกว่า สัญญานี้ผิด แต่ก็หน้าแตกที่พล.ต.ท.สุพร พันธุ์เสือ ผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง ทำหน้าที่แทนผบ.ตร. กลับลงนามขยายเวลาการก่อสร้างในสัญญาถึง 3 ครั้ง ครั้งละ 60 วัน โดยครั้งล่าสุดเพิ่งมีการอนุมัตให้ขยายเวลาเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่พล.ต.อ.อดุลย์ เป็นผบ.ตร.แล้ว
"จึงต้องถามว่าเหตุใดจึงมีการขยายเวลาการก่อสร้างให้ ทั้งที่เห็นแล้วว่ามีปัญหาเรื่องการก่อสร้าง ว่าไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทที่รับงานหรือไม่ เพราะตามสัญญาระบุว่า เมื่อหมดสิ้นสัญญาให้ปรับวันละ 5.8 ล้านบาท ดังนั้นการต่อสัญญาแต่ละครั้ง ก็เท่ากับประหยัดได้ 300 กว่าล้าน รวมขยายเวลาสามครั้งประหยัดไปกว่า 900 ล้านบาท จึงต้องถามว่ามีผลประโยชน์อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ เรื่องนี้หากสื่อไม่ทำให้กระจ่าง สังคมไทยก็จะมีการว่าจ้างและทิ้งงานผลาญงบประมาณชาติตามมาอีกจำนวนมาก"นายชูวิทย์กล่าวทิ้งท้าย
ต่อสัญญา เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ
ขยายเวลามาถึงเลือกตั้งผู้ว่า อืม ๆ
วันที่: Fri Nov 15 17:30:29 ICT 2024
|
|
|