สวดมนต์ข้ามปี
โดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ
การสวดมนต์ข้ามปีนั้นเป็นประเพณีนิยมของชาวไทยมาแต่เดิม โดยก่อนสิ้นปี พระสงฆ์จะไปเจริญพระพุทธมนต์บทนพเคราะห์ที่กรมประชาสัมพันธ์ จากนั้นก็จะรอเวลาเที่ยงคืนเพื่อเจริญพระพุทธมนต์บทชัยมงคลคาถา ออกอากาศไปทั่วประเทศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้นำคณะสงฆ์วัดสระเกศ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีขึ้น ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศ โดยอนุวัติตามโบราณพระราชประเพณีแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เคยประกอบพิธีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นประเพณีปีใหม่ของไทยที่มีมาแต่เดิม
การสวดมนต์ข้ามปี จึงถือได้ว่าเริ่มจัดขึ้นที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นครั้งแรก และ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้เห็นความสำคัญของการสวดมนต์ข้ามปี จึงได้ร่วมกับคณะสงฆ์วัดสระเกศ จัดสวดมนต์ข้ามปีขึ้นอย่างเป็นทางการ และ ต่อมา คณะสงฆ์มีความเห็นร่วมกันว่า การสวดมนต์ข้ามปีเป็นที่นิยมของประชาชนอย่างแพร่หลาย และเป็นค่านิยมที่งดงาม ควรแก่การส่งเสริม ที่ประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ตำหนักสมเด็จฯ วัดสระเกศ จึงได้มีมติให้วัดทุกวัดจัดสวดมนต์ข้ามปี โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นศูนย์กลางการอำนวยการ และให้วัดเจ้าคณะจังหวัดเป็นศูนย์กลางการสวดมนต์ของจังหวัดนั้น ๆ
สำหรับวัดสระเกศนั้น เป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับความร่มเย็นเป็นสุขของประเทศชาติบ้านเมืองมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ที่บริเวณสระน้ำวัดสะแก ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดสระเกศในปัจจุบัน เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน จากนั้นจึงประกอบพิธีมูรธาภิเษก ก่อนปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ผ่านพิภพเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ภายหลังเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทรงเปลี่ยนนาม “วัดสะแก” เป็น “วัดสระเกศ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้ต้องตามสถานที่ที่พระองค์ประกอบพิธีมูรธาภิเษก วัดสระเกศจึงถือได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และราชวงศ์จักรี
คณะสงฆ์วัดสระเกศได้รักษาประเพณีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อประกอบพิธีทำน้ำพระพุทธมนต์ในวาระที่สำคัญ ตามโบราณพระราชประเพณีแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ สืบต่อมา
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระองค์โปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูพิธีเจริญพระพุทธมนต์ บทมหาสมัยสูตร ให้มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น โดยโปรดฯ ให้ประกอบพิธีที่พระวิหารพระอัฏฐารส วัดสระเกศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นเทศกาลปีใหม่ตามธรรมเนียมโบราณของชาวไทย เพื่อนำน้ำพระพุทธมนต์ไปแจกจ่ายให้กับประชาชน ได้นำไปประพรมให้ลูกหลานบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
ก่อนหน้าที่ชาวไทยกำหนดเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ พิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยเป็นพิธีสวดมนต์ใหญ่ประจำปี เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่ทางบ้านเมืองจะต้องร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ สำหรับประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ พอถึงวันสงกรานต์ต่างก็จัดให้มีพิธีสวดมหาสมัยขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเช่นกัน แตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องที่นั้นๆ
ต่อมา ทางราชการบ้านเมืองกำหนดวันขึ้นปีใหม่ จากวันสงกรานต์ไปใช้ตามความนิยมของสากล เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ พิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยก็ลดความสำคัญลง และเริ่มเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย
การที่รัชกาลที่ ๓ โปรดฯ ให้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยที่พระวิหารพระอัฏฐารส วัดสระเกศ ด้วยพระองค์ทรงปรารภว่า พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ในมหาสมัยสูตร สืบเนื่องมาจากพระประยูรญาติของพระพุทธองค์เกิดความแตกแยกกันอย่างรุนแรง จนถึงขั้นยกกองทัพมาประจันหน้าจะทำสงครามกัน เพราะแบ่งผลประโยชน์เรื่องน้ำไม่ลงตัว พระพุทธองค์จึงเสด็จมาห้ามทัพ ทำให้สงครามแย่งน้ำยุติลง
พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืน ศิลปะสกุลช่างสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปี หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ โดยไม่มีการเชื่อมต่อ มีความสูงถึง ๒๑ ศอก ๑ นิ้ว นับว่าเป็นการหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะ ที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ชนชาติไทย เดิมประดิษฐานอยู่วัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นวัดประจำพระราชวังจันทน์ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต่อมา รัชกาลที่ ๓ ดำริที่จะให้มีพระอัฏฐารสไว้ประจำพระนคร จึงโปรดฯ ให้ไปเสาะหาตามกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าชำรุดมาก และได้ไปพบที่วัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระวิหารวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
ธรรมเนียมการสร้างพระอัฏฐารส พระพุทธรูปยืนไว้ประจำพระนคร ของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม ป้องกันความแตกแยกของคนในชาติ ให้คนในชาติเกิดความรักความสามัคคี และให้ประเทศชาติสถิตสถาพรมั่นคงยั่งยืนนาน ประหนึ่งพระพุทธปฏิมากรประทับยืนสถิตสถาพรเป็นนิรันดร์
เมื่อครั้งย้ายพระอัฏฐารสมากรุงเทพนั้น ได้ล่องแพมาตามคลองน้ำ เนื่องจากพระอัฏฐารสมีขนาดใหญ่จึงกดทับแพให้จมน้ำมองเห็นเฉาะองค์พระ คนก็ลืออันว่าพระลอยน้ำ ผ่านมาถึงไหน ประชาชนสองฝากฝั่งที่ทราบข่าวก็มารอรับเป็นจำนวนมาก จนมาถึงท่าที่จะขึ้นที่กรุงเทพ ปรากฏว่ามีประชาชนหลั่งไหลมาดูพระลอยน้ำและมาช่วยกันชักพระขึ้นเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าคนที่มาเหลือจะคณานับได้ จนเป็นคำพูดติดปากว่า มีคนถึงสามแสนคน ท่าน้ำที่ชักพระอัฏฐารสขึ้นจึงเรียกท่า “สามแสน” ต่อมา จึงกลายเป็น “สามเสน” ซึ่งเป็นชื่อย่านในปัจจุบัน
ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ให้จัดมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์รับปีใหม่ หรือที่เรียกว่า สวดมนต์ข้ามปีขึ้น โดยถือตามคตินิยมปีใหม่แบบสมัยปัจจุบัน และทางวัดได้นำน้ำพระพุทธมนต์บทมหาสมัยสูตรมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาพิธี ตามธรรมเนียมเทศกาลปีใหม่โบราณของชาวไทยด้วย
การฟังการเจริญพระพุทธมนต์ในช่วงเริ่มต้นปีใหม่ ที่จุดเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เสมือนความเจริญรุ่งเรืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระบรมสารีริกธาตุบนองค์พระเจดีย์ภูเขาทอง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญยิ่ง ของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา จะช่วยคุ้มครองปกปักรักษาชีวิตและครอบครัวให้มีความร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป
*** มุมการเมือง***
ปุชฉา.....
'สดศรี'ชี้'พงศพัศ'เสี่ยงถูกร้องเรียน
'สดศรี' เตือน 'พงศพัศ' ออกสื่อฯ-ขึ้นป้ายโครงการบ้านอุ่นใจ สุ่มเสี่ยงถูกร้องเรียน แอบแฝงหาเสียงลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.
1 ม.ค. 56 นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะส่ง พ.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงสมัครผู้ว่าฯกทม. และช่วงนี้ได้มีการออกสื่อฯ พร้อมขึ้นป้ายโครงการบ้านอุ่นใจ ทั้งที่ยังไม่มีการประกาศชัดเจน อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ ว่า
เรื่องดังกล่าวต้องดูให้ดี เพราะการออกสื่อฯต่างๆ ต้องดูว่าออกในฐานะอะไร และออกเพื่ออะไร ถือเป็นการแอบแฝงในการหาเสียงหรือไม่ คงต้องพิจารณาให้รอบคอบ รวมถึงการขึ้นป้ายโครงการบ้านอุ่นใจ ถือเป็นการทำตามนโยบายและทำในหน้าที่ตำแหน่งปัจจุบันของเขาหรือไม่ แต่เหตุการณ์เช่นนี้ก็อาจสุ่มเสี่ยงให้มีผู้ยื่นร้องต่อกกต.ได้ เนื่องจากในอดีตในการเลือกตั้งท้องถิ่น เคยมีการหาเสียงก่อนที่จะประกาศตัวผู้สมัคร ซึ่งกกต.ก็เคยรับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณาวินิจฉัย แต่ทั้งนี้การวินิจฉัยก็คงต้องดูเป็นกรณีไป
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า สำหรับค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ในปีนี้ กำหนดไว้ไม่เกิน 49 ล้านบาท ซึ่งในส่วนการออกสื่อฯ หรือขึ้นป้ายโครงการบ้านอุ่นใจของ พ.ต.อ.พงศพัศ ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะลงสมัครผู้ว่าฯกทม.หรือไม่ การขึ้นป้ายโครงการบ้านอุ่นใจ ต้องดูว่าเขาทำในหน้าที่ในฐานะข้าราชการหรือไม่ ซึ่งงบประมาณตรงนี้ก็ยังเป็นงบประมาณที่อยู่ในงานที่เขารับผิดชอบ ก็อาจจะยังไม่ถือว่าอยู่ในเรื่องของงบประมาณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงก็เป็น ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากพ.ต.อ.พงศพัศ ลงสมัครผู้ว่าฯกทม.จริง และแพ้การเลือกตั้ง จะสามารถกลับไปรับหน้าที่ในตำแหน่งเดิมได้หรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจ คงต้องไปดูกฎระเบียบข้อบังคับของต้นสังกัดว่าสามารถกลับไปรับราชการใน ตำแหน่งเดิมได้หรือไม่หากแพ้การเลือกตั้ง แต่ที่ผ่านมาในอดีตก็เคยมีข้าราชการสังกัดอื่นเคยลงสมัครส.ส.และแพ้การเลือก ตั้ง ก็สามารถกลับเข้ารับราชการได้
วิสัชนา......
ถ้า กกต.เอาผิด ก็ต้องไปเอาผิดฟักมาร์คกับฟักเทือกด้วย ที่ไปปราศรัยห้ามคนมาลงประชามติ ตอนนั้นอ้างว่ายังไม่ออกกฏหมายลงประชามติ
อ้าว..เขายังเป็นตำรวจอยู่ ทำตามหน้าที่มันผิดตรงไหน อย่ามั่ว กกต.พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ ออกสื่อฯ-ขึ้นป้ายโครงการบ้านอุ่นใจในขณะทำหน้าที่งานประจำในฐานะ รอง ผบ ตร. ยังไม่ประกาศลงสมัคร ผว. กทม
"ที่เค้าทำนี่เค้าทำในฐานะที่ยังเป็นรองผบตร.อยู่...
แล้วเรื่องนี้ คุณพงศพัศเค้าก็ทำต่อเนื่องมาหลายปีแล้วด้วย...
อีกอย่าง "ตอนนี้เค้าก็ "ยังไม่ได้ประกาศตัวว่าเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่า" อย่างเป็นทางการ"...
จะไปเอาผิดเค้าได้ยังไงกันล่ะ???...
แต่คุณชายสุขุมพันธ์ ขึ้นป้ายโฆษณาผลงาน ป้ายรณรงค์ฯลฯ ได้ จะเอายังไงกันเเน่ล่ะคุณป้าสดศรี!!!......
วันที่: Fri Nov 15 17:25:57 ICT 2024
|
|
|