โรฮิงยา...
เข้าเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอ มีบทความโดย ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ เรื่อง โรฮิงยา ประชาชนที่ถูกลืมในพม่า สรุปความได้ว่า ประเทศพม่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีประชาชนที่เป็นคนเชื้อชาติพม่า กะเหรี่ยง มอญ คะฉิ่น อารากัน ฯลฯ แต่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการพูดถึงมากมายในเวทีวิชาการพม่าจนถึงในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า "โรฮิงยา" (Rohingyas)
ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอารากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่า ติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง Maungdaw, Buthidaung, Rathedaung,
ประวัติศาสตร์ของชาวโรฮิงยายังมีความหลากหลายมากในปัจจุบัน มีรายงานและงานวิจัยหลายส่วนที่ให้ข้อมูลไว้ว่าเป็นผู้คนที่อยู่ในตอนเหนือรัฐอารากันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7-12 และ นับถือศาสนาอิสลามเนื่องจากพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐอารากันมีพ่อค้าชาวอาหรับเข้ามาค้าขายเป็นเวลายาวนาน แต่ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมาจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณา นิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้น ด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า
การที่ชาวโรฮิงยาไม่ได้รับสัญชาติทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จากรัฐบาล ทั้งยังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องมากกว่าชนกลุ่มน้อย หรือประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ โดยเฉพาะจากความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติ ถูกเลือกปฏิบัติในทุกระดับ ซึ่ง รวมถึงสิทธิที่จะนับถือศาสนา การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการรักษาโรค จนถึงไม่สามารถแต่งงานได้ ถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน และไม่สามารถเดินทางเพื่อไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนมาก เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า
นอกจากนี้ ชุมชนชาวโรฮิงยายังต้องผจญกับการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง โดยมีเหตุการณ์สำคัญในปีค.ศ.1962 ค.ศ.1978 และ ค.ศ.1991 ทำให้มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์หลบหนีภัยเข้าไปในบังกลาเทศ ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย เป็นหลัก โดยที่ประเทศรองลงมาคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรชาว โรฮิงยาในไทยไม่ได้มีจำนวนมากเท่าในบังกลาเทศหรือในมาเลเซีย มีจำนวนประมาณ 10,000-15,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดระนองและมหาชัย
และเนื่องจากพม่าไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นประชาชนของพม่า การให้สถานภาพทางการเมืองกับชาวโรฮิงยาจึงเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากชาวโรฮิงยาไม่ได้อยู่ในกลุ่มเชื้อชาติที่กระทรวงมหาดไทยจะให้สถานภาพทางการเมือง เช่น แม้ว่าชาวพม่าทั่วไปจำนวนหนึ่งจะสามารถลงทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ชาวโรฮิงยาไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้มีความรู้ในส่วนนี้และไม่เข้าใจว่าประชาชนชาวโรฮิงยาเป็นคนพม่า และหลายครั้งเข้าใจผิดว่าเป็นคนบังกลาเทศ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงยา ถูกกดขี่มากกว่าแรงงานพม่า
โรฮินญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่
ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า
นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้ ชาวโรฮิงญาจึงน่าจะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง
โรฮินญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่
ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า
นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้ ชาวโรฮิงญาจึงน่าจะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง
วีระ-ราตรี ยิ้ม หลัง สุรพงษ์ เปรยเตรียมพากลับบ้าน
พร้อมเปิดสายด่วน ช่วยนักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอาเปรียบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึง การให้ความช่วยเหลือ นายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนไพบูลย์ 2 คนไทยที่ถูกจำคุกในกัมพูชา นั้น
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และ รมว,ต่างประเทศ ระบุว่า ขณะนี้ น.ส.ราตรี รับโทษจะครบ 1 ใน 3 แล้ว เร็วๆ นี้ จะมีการดำเนินการเพื่อขอโอนตัวนักโทษต่อไป
ซึ่งการโอนตัวนักโทษอาจมีข้อจำกัดเรื่องฐานความผิด จึงต้องไปดูรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าการโอนตัวนักโทษจะทำได้ง่ายกว่าการขอพระราชทานอภัยโทษที่จะ ต้องรับโทษ 2 ใน 3 ก่อน
ส่วนกรณีประเทศออสเตรเลีย ประกาศเตือนนักท่องเที่ยวให้ระวังเกี่ยวกับถูกรีดไถ โดยเฉพาะเจ็ทสกี ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ในอดีตมาก่อน และให้หลีกเลี่ยงการเที่ยวในยามวิกาล เพราะอาจเสียงต่อการถูกชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกาย ว่า
ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เพราะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยได้นำเรื่องนี้หารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำชับทุกหน่วยงาน ให้ดูแลอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยจำนวนมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งอาจดูแลได้ไม่ทั่วถึง
นอกจากนี้ ขอร้องคนไทยในพื้นที่ท่องเที่ยว ให้ช่วยดูแลนักท่องเที่ยวและให้ความช่วยเหลือเมื่อพบว่านักท่องเที่ยวประสบ เหตุ ที่สำคัญขอฝากมิจฉาชีพคนไทย อย่าทำร้ายนักท่องเที่ยว เพราะจะเสียภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย
สำหรับปีนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้วกว่า 21 ล้านคน ซึ่งมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว 4 ล้านคน โดยหากนักท่องเที่ยวมีปัญหาสามารถโทรเข้าสายด่วน 1672 ,1155 , 02-1344077, 02-356 0650 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีผู้รับสายพูดภาษาอังกฤษด้วย และตนเองจะฝากเบอร์ทั้งหมดให้กับสถานทูตต่างๆ เพื่อความสะดวกในการประสานงานต่อไป
สิทธ์ในการประกันตัว นั่นคือพื้นฐานสิทธิมนุษย์ชนเลยนะครับท่านผู้พิจารณา
วันที่: Fri Nov 15 17:00:15 ICT 2024
|
|
|