ผลการศึกษาชี้น้ำทะเลสูงขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้
คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐเปิดเผยรายงานฉบับหนึ่งระบุว่า ระดับน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่คณะกรรมการระหว่างรัฐว่าด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงแห่งสหประชาชาติ(ไอพีซีซี) คาดไว้ถึงร้อยละ60
โดยปัจจุบันระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.2 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับรายงานการประเมินของไอพีซีซีที่ระบุว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นปีละ 2 มิลลิเมตร จากตัวเลขใหม่นี้ทำให้พบว่า โลกกำลังมีระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อถึงสิ้นศตวรรษนี้ ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นราว 1 เมตร
แกรนท์ ฟอสเตอร์ ผู้เขียนรายงานร่วมของบริษัทเทมโป อะนัลลีติคส์ในสหรัฐบอกว่า พื้นที่ราบต่ำซึ่งมีประชากรอาศัยอย่างหนาแน่นในเขตที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอย่างบังกลาเทศนั้น พื้นที่จะถูกน้ำท่วม และนำไปสู่การอพยพครั้งใหญ่ ซึ่งจะก่อให้เกิดสงครามและความขัดแย้ง อีกทั้งเมืองชายฝั่งขนาดใหญ่อย่างนครนิวยอร์กในสหรัฐ น่าจะได้รับผลกระทบจากพายุที่มีความรุนแรงเหมือนกับพายุเฮอริเคนแซนดี
อย่างไรก็ตาม รายงานการประเมินครั้งที่ 5 ของไอพีซีซีจะถูกนำเผยแพร่เป็น 3 ช่วงในเดือนกันยายนปี 2556 เดือนมีนาคมกับเดือนเมษายนปี 2557
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) หรือที่เราเรียกกันว่า การประชุมปัญหาโลกร้อน ครั้งที่ 18 กำลังดำเนินอยู่ที่กรุงโดฮา เมืองหลวงกาตาร์ ซึ่งการประชุมกำหนด 12 วัน ระหว่าง 26 พ.ย. – 7 ธ.ค. ตัวแทนจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกกำลังหารือ (อันที่จริงเป็นการเจรจาต่อรอง) กันอย่างคร่ำเคร่ง ในประเด็นต่างๆ
วาระสำคัญสุดของการประชุม อยู่ที่อนาคตของ “พิธีสารเกียวโต” ข้อตกลงระหว่างประเทศเพียงฉบับเดียว ที่มีผลผูกพันให้ประเทศต่างๆ ดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนขึ้น ซึ่งข้อตกลงฉบับนี้จะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธ.ค. ที่จะถึง
รายงานข่าวก่อนหน้าการประชุม เห็นบอกว่าอาจจะมีการขยายเวลา ต่ออายุข้อตกลงฉบับนี้ออกไป 5 หรือ 8 ปี
ประเด็นพิธีสารเกียวโต เป็นชนวนขัดแย้งและยังไม่รู้ข้อสรุปจะออกมายังไง ระหว่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา กับกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู ซึ่งมีเครือข่ายสมาชิก 27 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศร่ำรวยพัฒนาแล้วเกือบทั้งนั้น พิธีสารเกียวโตกำหนดให้บรรดาประเทศ ที่จัดอยู่ในขั้นร่ำรวยของโลก ประมาณ 40 ประเทศ และ 27 ประเทศของอียู ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง โดยเฉลี่ย 5 % จากระดับของปี พ.ศ. 2533
กลุ่มประเทศกำลังพัฒนากล่าวว่า การดำเนินการอย่างเคร่งครัด ตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงของพิธีสารเกียวโต เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในการบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติ ที่จะหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส
ดูตามแนวโน้มโดยรวม ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายบอกว่า เป็นไปได้ยาก
ประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) ออกเผยแพร่ไม่กี่วันก่อนการประชุมที่โดฮา บอกว่า อุณหภูมิเฉลี่ของโลกจะสูงขึ้นราว 3 – 5 องศาเซลเซียส ในศตวรรษนี้ ยกเว้นหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะร่วมมือกัน รีบเร่งแก้ไขปัญหาตั้งแต่เดี๋ยวนี้
ยูเอ็นอีพียังเตือนอีกว่า การละลายของทุ่งน้ำแข็งขั้วโลก จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนปลิวสู่ชั้นบรรยากาศ 43,000 – 135,000 ล้านตัน ภายในปี พ.ศ. 2643 และ 246,000 – 415,000 ล้านตัน ภายในปี 2743
ส่วนรายงานของธนาคารโลก ระบุว่า โลกจะร้อนขึ้นประมาณ 4 องศาเซลเซียส ผลกระทบที่จะได้เห็นก็คือ พื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลหลายส่วนของโลกจะถูกนำท่วมขัง หมู่เกาะขนาดเล็กจะจมหายในทะเล ผลผลิตอาหารโลกลดลงอย่างมาก พืชและสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ โรคภัยไข้เจ็บแพร่กระจายไปยังพื้นที่ใหม่ๆ นอกจากนั้น สภาพภูมิอากาศโลกจะแปรปรวนและรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ส่วนหนึ่งของสาเหตุหลัก ความล้มเหลวของพิธีสารเกียวโต คือ “ตัวการใหญ่” 2 ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุดในโลก จีน กับ สหรัฐอเมริกา ไม่รวมอยู่ในกลุ่มประเทศที่ตกลงจะดำเนินการ เพื่อไปสู่เป้าหมายของยูเอ็นด้วย
กลุ่มประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เสี่ยงต่อการจมหายจากภาวะโลกร้อนขึ้น รวมทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (แอลดีซี) สนับสนุนให้ต่ออายุพิธีสารเกียวโตแค่ 5 ปี แต่อียูรวมทั้งออสเตรเลียต้องการให้ขยาย 8 ปี และให้สัญญาฝ่ายเดียว จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20 % ภายในปี พ.ศ. 2563 เมื่อเทียบกับระดับของปี 2533 และพร้อมจะขยายการลดเป็น 30 % หากประเทศผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่อื่นๆ ร่วมมือปฏิบัติตามด้วย.
เลนซ์ซูม