สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอะไร
ตลอดระยะเวลา 45 ปี หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ พระองค์ทรงเพียรสั่งสอนเหล่าเวไนยนิกรด้วยความสงสารทุกถ้วนหน้า โดยมิได้แบ่งแยก รวมพระธรรมคำสอนถึง 84,000 ธรรมขันธ์ ซึ่งได้สรุปลงเหลือเพียงแค่ 2 ข้อเท่านั้น คือ
1. ทุกข์
2. หนทางแห่งการพ้นทุกข์
เหตุแห่งทุกข์ 3 ประการ
1. ความโลภ 2. ความโกรธ 3. ความหลง
หนทางดับทุกข์ 3 ประการ
1.ทาน 2.ศีล 3.ภาวนา
ขาดข้อใดข้อหนึ่งมิได้
อริยสัจ4 ความจริง 4 ประการ
ทุกข์ คือ ความทุกข์ ควรกำหนดรู้
สมุทัย คือ เหตุแห่งความทุกข์ ควรละ
นิโรธ คือ วิธีดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง
มรรค คือ การดับทุกข์ ควรเจริญให้มาก ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ทางสายกลาง ประกอบด้วย
๑.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ คือ เห็นว่าความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ และความตายเป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่รัก และประสบสิ่งที่ไม่รัก, ปรารถนาสิ่งใด ไม่สมหวัง ส่งเหล่านี้เป้นทุกข์
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ คิดออกจากกาม ไม่คิดพยาบาท คิดที่จะกำจัดความโกรธและเกลียด ไม่คิดเบียดเบียนใคร
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ หมายถึง การประกอบอาชีพแต่ในทางสุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ประกอบอาชีพเฉพาะที่เหมาะแก่ภาวะ หรือฐานะของตน
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ ความชั่วอันใด หรืออกุศลธรรมอันใดที่ยังไม่ได้ละ ก็พยายามละ อันไหนที่ละได้ แล้วก็พยายามไม่ให้เกิดขึ้นอีก ส่วนกุศลธรรมอันใดที่ยังไม่ได้ทำให้มีให้เป็นขึ้น ก็พยายามทำให้มีให้เป็นขึ้น อันไหนที่มีอยู่แล้ว ก็ทำให้เจริญยิ่งขึ้น
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ กล่าวโดยสรุปแล้ว คือ พยายามให้มีสติอยู่กับตัวเสมอ พยายามที่จะฝึกแต่ในแง่ที่จะทำให้กิเลสน้อยลง หรือเบาบางไปโดยลำดับ ผู้ที่มีสัมมาสติก็คือ ผู้ที่ปฏิบัติอยู่ในสติปัฏฐาน๔ (ไว้กล่าวในคราวต่อไป)
๘. สมัมมาสมาธิ สมาธิชอบ (ตั้งใจมั่นชอบ) หมายถึง การเข้าสมาธิที่เป็นไปเพื่อการละนิวรณ์โดยตรง หรือฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป