ระบบติดตามเรือประมง อีกก้าวหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีGISกรมประมง
เทคโนโลยีภูมิสาสตร์สารสนเทศ(GIS)คืออะไร
เป็นเรื่องของโครงการทดสอบการประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ใช้ในการติดตามเรือเพื่อตรวจหาตำแหน่งเรือประมงโดยผู้ประกอบการเรือปะมงจะได้รับผลประโยชน์อย่างไร
โครงการทดสอบการประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรร่วมกับระบบติดตามเรือเพื่ตรวจหาตำแหน่งเรือประมง ว่าเป็นโครงงานความร่วมมือการจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในการนำเทคโนโลยีด้านภูมิสารสารสนเทศ หรือ GIS มาใช้ในการติดตามเรือประมงเพื่อเก็บข้อมูลการเดินเรือในแต่ละครั้ง โดยเจ้าของเจ้าของเรือและกรมประมง จะได้รับประโยชน์จากระบบติดตามเรือนี้สามารถสรุปได้ดังนี้
1. เจ้าของเรือประมง
-ลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น โดยเจ้าเรือสามารถทราบตำแหน่งตำบลที่เรือ ณ ปัจจุบันได้ตลอดเวลา หากมีปัญหาเรือเกิดอุบัติเหตุ เครื่องยนต์เสีย เรือจม เรือถูกปล้นกลางทะเล ต้องการความช่วยเหลือด่วนเจ้าของเรือสามารถประสานติดต่อผู้เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
-เส้นทางการเดินเรือ การนำเทคโนโลยีประเภทนี้มาใช้แบบเรียลไทม์ จะทำให้ได้ใช้ข้อมูลเรือตั้งแต่การออกจากท่า การเดินเรือ พฤติกรรมของเรือ จนถึงปลายทางที่เป็นจริงทันต่อเหตุการณ์ นำมาวิเคราะห์เพื่อนำมาวางแผนงานและสามารถควบคุมได้เพื่อกำหนดเส้นทางที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด สั้นที่สุด คุ้มค่าที่สุด
-ประหยัดต้นทุนน้ำมันและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงระหว่างทาง โดยเจ้าของเรือสามารถจำกัดความเร็วเรือที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา กำหนดมาตรการห้ามมิให้พนักงาน ติดเครื่องยนต์ในช่วงที่ไม่จำเป็นกำหนดแผนงานก่อนดำเนินงานจริงในแต่ละครั้งเพื่อคำนวณหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการทำการประมง และกำหนดระยะเวลาในการซ่อมบำรุงเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อลดอัตราสึกหรอและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงระหว่างทาง
-ตรวจสอบจำนวนเที่ยวการออกไปทำประมงและป้องกันการทุจริต ระบบจะบันทึกแหน่งการเดินเรือทุกลำบนแผนที่ ให้มีการเดินเรือตามแผนงานที่กำหนดไว้ ไม่มีการออกนอกเส้นทางเดินเรือ มีการส่งหรือรับสินค้าตามกำหนด ประมาณการเตรียมน้ำแข็งเพียงพอเพื่อรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ทำให้สามารถบริหารการจัดการเรือและประหยัดค่าใช้จ่ายได้
-เป็นการแสดงการทำประมงอย่างรับผิดชอบ บันทึกระบบติดตามเรือยังสามารถใช้เป็นหลักฐานที่สำคัญในการต่อสู้ทางการศาลในกรณีถูกจับกุมข้อหารุกล้ำน่านน้ำ หรือผิดกฎหมายเกี่ยวกับเขตการประมง
2. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
-ระบบติดตามเรือสามารถช่วยในการแจ้งเตือนภัยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในบางพื้นที่ เช่น กรณีเกิดแผ่นดินไหว เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ หรือเกิดพายุ นอกเหนือจากการแจ้งเตือนปกติโดยแจ้งเตือนไปยังเรือประมงที่ไปทำประมงบริเวณนั้นเป็นประจำ
-กรณีเรือประมงประสบเหตุร้ายกลางทะเล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าช่วยเหลือกู้ภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากทราบเส้นทางเดินเรืออย่างสม่ำเสมอ
-สามารถกำหนดให้มีการตั้งระบบการเตือนเมื่อเรือเดินทางเข้าสู่พื้นที่เฝ้าระวัง หรือเขตอนุรักษ์ (Preservation zone) พื้นที่อันตราย หรือเดินทางออกจากพื้นที่เฝ้าระวัง โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างบริเวณพื้นที่เฝ้าระวังนั้นไว้ล่วงหน้า และสามารถส่งรายงานการเตือนผ่านไปยังที่อีเมล์ของผู้ใช้งาน ผ่านระบบดาวเทียมสื่อสาร หรือผ่านระบบ SMS ของมือถือได้ด้วย
-หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามควบคุมเรือประมงในพื้นที่ควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ป้องกันปราบปรามการลักลอบการค้าน้ำมันเถื่อน และป้องกันปราบปราม การลักลอบทำประมงในพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้าน
ระบบติดตามเรือผ่านระบบเครือข่ายมือถือนี้ เป็นระบบที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งตำบลที่ของเรือผ่านทางเครือข่ายมือถือ GSM ซึ่งระบบนี้มีข้อจำกัดในการส่งสัญญาณและข้อมูลคือจะกระทำได้เมื่อเรือประมงนั้นปฏิบัติงานอยู่ภายในเขตพื้นที่ที่เครือข่าย GSM นี้ครอบคลุมถึงเท่านั้น ในการทำงานของระบบเครือข่ายมือถือนี้ประกอบด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ 3 ภาคส่วน คือ ส่วนของTracking Module ส่วนของ Control Track Center และส่วนของ Display Terminal
วันที่: Sun Jan 12 18:40:35 ICT 2025
|
|
|